1 / 43

การประเมินผลกระทบจาก

การประเมินผลกระทบจาก การปรับนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท Impact evaluation of the minimum wage policy (300 Baht) on labor market outcomes. ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วัตถุประสงค์.

yachi
Download Presentation

การประเมินผลกระทบจาก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินผลกระทบจาก การปรับนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทImpact evaluation of the minimum wage policy (300 Baht) on labor market outcomes ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ที่มีต่อผลลัพธ์ในตลาดแรงงานไทย (labor market outcomes) ภาคอุตสาหกรรม การแข่งขันของประเทศ และผลกระทบต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ • เพื่อศึกษาการปรับตัวของแรงงาน ผู้ประกอบการ และผู้กำหนดนโยบาย ที่มีต่อนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท • เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวและการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย

  3. ความสำคัญของปัญหา • “ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้วันละไม่น้อยกว่า 300 บาทและผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี” • การปรับขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2555 นั้น จังหวัดที่มีการปรับค่าจ้างสูงสุดมีการปรับขึ้นถึงร้อยละ 40 และน้อยที่สุดที่ร้อยละ 36 และมีการปรับอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยจังหวัดที่มีการปรับมากที่สุดอีกร้อยละ 35 ทำให้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำทั้งสองครั้งมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดยเฉลี่ยรายจังหวัดอยู่ที่ร้อยละ 72 ซึ่งเป็นการปรับสูงสุดตั้งแต่ประเทศไทยมีการใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ

  4. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด 1 ม.ค. 2556 1 เม.ย. 2555 กรุงเทพ และปริมณฑล 215 บาท ภูเก็ต 221 บาท พะเยา 159 บาท ปรับขึ้น เป็น 300 บาทใน 7 จังหวัด คือ กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี และ ภูเก็ต และจังหวัดที่เหลือ ขึ้นในอัตราร้อยละ 40 ของ ค่าจ้างขั้นต่ำเดิม น้อยสุดคือ พะเยา ที่ 222 ทุกจังหวัดมีการปรับขึ้นเป็น 300 บาท ผลกระทบครั้งที่ 1 ผลกระทบครั้งที่ 2

  5. ความสำคัญของปัญหา • การการประเมินผลกระทบของค่าจ้างขั้นต่ำจึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการประเมินว่านโยบายที่ใช้นั้นมีผลอย่างไรต่อตัวแปรต่างๆในตลาดแรงงาน และการปรับตัวที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาในตลาดแรงงานเป็นอย่างไร • การสำรวจเชิงคุณภาพมากกว่าการใช้การใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อมาระบุผลกระทบของนายจ้างและแรงงาน ซึ่งปัญหาที่เกิด คือ ต่างฝ่ายก็ย่อมมีแนวคิดที่สนับสนุนประโยชน์ในฝ่ายตนเองอยู่แล้ว ดังนั้นการผลของสำรวจจึงขั้นอยู่กับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาทำการศึกษา

  6. ข้อสังเกต • การประเมินทั้ง Package ของนโยบาย • Package ที่รัฐสนับสนุน • การเสริมสภาพคล่อง เพิ่มวงเงิน ลดต้นทุน ผ่านกระบวนการให้สินเชื่อ • การลดต้นทุนผู้ประกอบการผ่านกระบวนการทางภาษีและเงินสมทบประกันสังคม • เพิ่มผลิตภาพแรงงานให้ผู้ประกอบการ • เพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการโดยการทบทวนค่าใช้จ่ายของภาครัฐให้เหมาะสมกับสถานการณ์ • กระตุ้นและส่งเสริมการขายผ่านการบริโภค

  7. ความสำคัญของปัญหา - CIPP • กระบวนการ (Process) • การประกาศนโยบายแห่งรัฐ • การปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งที่ 1 และ 2 • มาตรการเสริม • การสร้างความเข้าใจ สื่อสาร • ผลผลิต (Products) • การจ้างงาน ความครอบคลุม • ผลิตภาพ ความสามารถในการแข่งขัน • การยกระดับคุณภาพชีวิต • การกระตุ้นเศรษฐกิจ • บริบท (Context) • ค่าจ้างขั้นต่ำที่ต่ำเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสม + ความเหลื่อมล้ำ • ความต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ • เพิ่มผลิตภาพของแรงงาน • ยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงาน + Definition • Redistribution Policy • ปัจจัยนำเข้า ทรัพยากร (Inputs) • ผู้ประกอบการเอกชนรับภาระค่าจ้าง ที่เพิ่มขึ้น • มาตรการทางภาษี ประโยชน์

  8. งานศึกษาของไทยที่เกี่ยวข้องงานศึกษาของไทยที่เกี่ยวข้อง ประเมินแบบ Pre-Evaluation • ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ (2547) • สมศจี ศิกษมัต (2554) • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2556) • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2555) ผ่าน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประเมินแบบ Post-Evaluation • เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (2555, 2556)

  9. ประเด็นปัญหา - ปฏิบัติ • โจทย์คำถามด้านแรงงาน (คน) • โจทย์คำถามด้านอุตสาหกรรม • โจทย์คำถามของประเทศ

  10. ขอบเขตของการศึกษา • กรอบช่วงเวลาที่ศึกษา คือ ช่วง Q1/2551 - Q1/2556 เพื่อให้ครอบคลุมช่วงก่อนมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำอย่างก้าวกระโดดและภายหลังจากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ในช่วงแรกใน Q2/2555 และช่วงที่สองใน Q1/2556 ข้อมูล (ได้รับความอนุเคราะห์จาก NSO) • Labor Force Survey LFS Q1/2551 – Q1/2556 • Socio-Economic Survey 2550 - 2555

  11. วิธีการศึกษา – Post Evaluation • การวิจัยเชิงปริมาณ • การแสดงค่าสถิติความสัมพันธ์ของค่าจ้างขั้นต่ำที่มีต่อตัวแปรทางทางเศรษฐกิจและสังคม • การวิจัยเชิงคุณภาพ • การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนของนายจ้างหรือผู้ประกอบการ ลูกจ้าง และหน่วยงานของราชการที่เป็นผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง • การศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำที่มีการปรับตัวแบบก้าวกระโดดที่ศึกษาเชิงเปรียบเทียบ

  12. การตอบโจทย์คำถาม: ด้านแรงงาน • ความครอบคลุม ครบถ้วน – คนงานที่ได้รับค่าแรงานน้อยกว่า 300 บาท จำแนกตาม อุตสาหกรรม การศึกษา (LFS51Q1 – LFS56Q1) • การเลิกจ้าง – ข้อมูลประกันสังคม การเลิกจ้าง การลาออก ภาพรวมประเทศ จังหวัด • โครงสร้างรายได้ ประกอบด้วยรายได้หลักจากการทำงาน +Bonus+OT + Food + Other Money + House + Other Things มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือไม่ (Distribution ก่อน/หลัง) • ดัชนีชี้ภาวะตลาดแรงงาน – ค่าจ้าง รายได้และการกระจายตัว โครงสร้างรายได้ รายได้เฉลี่ยที่แท้จริง

  13. การเลิกจ้าง ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม ตัวเลขการเลิกจ้างไม่ได้บ่งชี้ว่าผลกระทบมีความรุนแรง

  14. การจ้างงาน เลิกจ้าง (ประเมินจากจำนวนผู้ประกันตน) • มีการขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือนติดกัน ตั้งแต่ เม.ย. 55 – พ.ค. 2556 ในอัตราร้อยละ 4.75 • การเลิกจ้างลดลงร้อยละ 31.37 เมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน (เม.ย. 56) คำนวณจากผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียน • อัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 (เม.ย. 56) ยังอยู่ในระดับต่ำ • ข้อสังเกต ส่วนนี้เป็นแรงงานในระบบ และ ปัญหาขาดแคลนแรงงานมีความสำคัญมากกว่า

  15. การว่างงานรายจังหวัด ข้อสังเกต อาจมีแรงงานจาก Uncovered Sector กลับสู่ Covered Sector

  16. จำนวน การเลิกกิจการ ที่มา: สสว.

  17. จำนวน การตั้งกิจการ – การเลิกกิจการ การตั้งกิจการสุทธิลดลงภายหลังจากการมีการประกาศนโยบาย ที่มา: สสว.

  18. ด้านการกระจายตัวของรายได้ด้านการกระจายตัวของรายได้ สามารถยกระดับของรายได้ของแรงงานในภาพรวมได้จริง ค่ากลางมีการปรับขึ้น กระจุกตัวมากขึ้น

  19. จำแนกตามจำนวนแรงงานในสถานประกอบการจำแนกตามจำนวนแรงงานในสถานประกอบการ กลุ่ม SME มีการกระจายตัวของค่าจ้างที่สูงกว่า และอาจได้รับไม่ถึง

  20. ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นกับสถานประกอบการที่มีแรงงานจำนวนมาก แต่ สถานประกอบการที่มีแรงงาน 1- 9 คน ยังมีการปรับเปลี่ยนที่น้อยมาก แรงงานที่ได้ประโยชน์เป็นแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

  21. การจำแนกตามระดับการศึกษาการจำแนกตามระดับการศึกษา ระดับของรายได้และการกระจายตัวมีความแตกต่างกันมาก

  22. แรงงานที่มีการศึกษาน้อยกว่ามัธยมศึกษา มีการปรับเปลี่ยนรายได้ที่น้อยกว่า แรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมีการปรับที่มากกว่า แต่อาจเป็นเพราะกรณีนโยบาย 15,000 บาท มาประกอบ

  23. แรงงานในภาคราชการ ระดับของรายได้มีการปรับขึ้นในช่วง 15,000 บาทอย่างชัดเจน ผลจากนโยบาย 15,000

  24. กล่าวโดยสรุปสำหรับตลาดแรงงานกล่าวโดยสรุปสำหรับตลาดแรงงาน • การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแม้ทำให้รายได้ในภาพรวมเพิ่มขึ้น แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นเมื่อจำแนกตามกลุ่มต่างๆจะพบว่า แต่ละกลุ่มจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มแรงงานที่อยู่ใน SME จะเป็นกลุ่มที่อาจเกิดความเสียบเปรียบมากกที่สุด • สำหรับค่าตอบแทนอื่นๆ ยังเห็นภาพไม่ชัดจากข้อมูล • การมีนโยบาย 15,000 บาท ยิ่งทำให้เกิดการแยกกลุ่มของผู้ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด

  25. การตอบโจทย์คำถาม: ด้านอุตสาหกรรม • การจำแนกอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นและการประเมินผลิตภาพของแรงงาน • ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค อุปโภค เปลี่ยนแปลงหรือไม่ (ข้อมูลกรมการค้าภายใน) • ความสามารถในการแข่งขัน นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศต่างๆ - ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศกลุ่ม AEC

  26. ผลิตภาพของแรงงาน การกำหนดอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานแบบเข้มข้น

  27. ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม

  28. เงื่อนไขของการเพิ่มผลิตภาพแรงงานเงื่อนไขของการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน • งานศึกษาของ TDRI ประเมินว่า การขึ้นค่าจ้างและผลิตภาพของแรงงานทักษะต่ำเพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ต้องเพิ่มผลิตภาพถึง 8.4% จึงทำให้การเติบโตของ GDP ไม่ติดลบ • แต่จากอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น บ่งชี้ว่า ผลิตภาพของแรงงานคงที่และเริ่มลดลง ดังนั้นการพึ่งแรงงานทักษะต่ำเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง • สิ่งที่ต้องการคือ ผลิตภาพทั้งสองควรแยกห่างออกจากกัน แต่ต้องมีแนวโน้มที่เพิ่มทั้งคู่

  29. การประเมิน การเปลี่ยนแปลงของอัตราการใช้กำลังการผลิต 2556 (%YOY) อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงจากปีก่อน

  30. การประเมิน การเปลี่ยนแปลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 2556 (%YOY) อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นมีการเปลี่ยนแปลงของดัชนีผลผลิตที่ลดลงจากปีก่อน

  31. ผลกระทบต่อระดับราคา • ระดับราคาสินค้าไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด • Contribution ของสินค้าที่เกี่ยวกับค่าแรง 45 รายการ ไม่ได้ส่งผลต่อระดับราคาในสัดส่วนที่สูง (เหตุผลเพราะ รายการเหล่านี้เป็นรายการที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อค่าใช้จ่ายรวมของครัวเรือนอยู่ในอัตราที่ต่ำ) แต่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น • Contribution ส่วนใหญ่มาจาก รายการอาหารสด พลังงาน และ อาหารปรุงสำเร็จ

  32. ดัชนีราคาและอัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาและอัตราเงินเฟ้อ

  33. ค่าจ้างกับดัชนีราคา

  34. Contribution to Inflation สินค้าที่เกี่ยวกับค่าแรง ที่มา กระทรวงพาณิชย์

  35. ค่าจ้างขั้นต่ำกับการความสามารถในแข่งขัน AEC • การย้ายฐานการผลิตภายในประเทศอาจไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์อีกต่อไป แนวคิดของการส่งเสริมด้วยเขตการส่งเสริมการลงทุนและนิคมอุตสาหกรรม ไม่มีความหมาย เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่งจากภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลาง • ประเทศเพื่อนบ้านต่างขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดเช่นกัน ดังนั้น การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศกลุ่ม AEC ก็อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด • ประเด็นสาธารณูปโภค และความพร้อมด้านทักษะของแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนไปยัง ลาว กัมพูชา พม่า อย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก แรงงานของประเทศเหล่านั้นเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น (เว้นแต่การเข้าไปเพื่อประโยชน์ในทางภาษี)

  36. ตารางเปรียบเทียบนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ AEC

  37. ประเด็นจากการสัมภาษณ์ประเด็นจากการสัมภาษณ์ • การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน และรูปแบบของการจ่ายค่าตอบแทนจากการทำงาน และค่าตอบแทนอื่นๆ • มาตรการบรรเทาผลกระทบอาจยังไม่ตรงจุด • การขาดแคลนแรงงาน และแรงงานต่างด้าว • การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ และการประชาสัมพันธ์ • ความท้าทายและนโยบายในอนาคต

  38. ผลการประเมิน • นโยบายนี้เป็นนโยบายที่มีเจตนาดี คือ เพื่อการจัดกระจายผลประโยชน์ใหม่ (Policy for Redistribution) จากนายจ้างมาสู่แรงงาน • ข้อสำเร็จ การเพิ่มขึ้นของรายได้ภาพรวม และ การกระจายตัวของรายได้บางกลุ่มที่ลดลง • ข้อที่ยังไม่สำเร็จ การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพของแรงงาน การรักษาระดับราคาของสินค้าและบริการ แรงงานเฉพาะกลุ่มอาจยังได้ไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย • ภาพที่ยังไม่ชัด: ทักษะของแรงงาน ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  39. ผลการประเมิน • การดำเนินนโยบาย: ขาดความพร้อม และการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ รวมถึงภาคเอกชน มาตรการรองรับที่กว้างเกินไปโดยผู้รับผลกระทบบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได้ • ข้อพึงระวัง: ผลกระทบจากภายนอก โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงาน และแรงงานต่างด้าว

  40. ความฝัน หรือ ความจริง? • ความจริง:ในเรื่องของการเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานในภาพรวม • ความฝัน:ความครอบคลุม การเลิกจ้าง ผลกระทบต่อระดับราคา ผลิตภาพของแรงงาน มาตรการบรรเทาผลกระทบ การดำเนินการอย่างเป็นระบบบูรณาการ และ ความสามารถในการแข่งขัน เพียงแต่ระดับของความฝันจะมีความแตกต่างกัน

  41. ข้อเสนอแนะ • นโยบายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการเฉพาะกลุ่ม • การทำ Targeting และ Segmentation ที่ถูกต้องในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนนายจ้างและลูกจ้าง ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะกลุ่ม • ตัวอย่างเช่น มาตรการทางภาษี อาจไม่ได้ช่วยให้ SME ได้ประโยชน์เนื่องจากผลกำไรเดิมเป็น 0 หรือขาดทุน ดังนั้นการเปลี่ยนจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ผู้ได้ประโยชน์คือ บริษัทใหญ่

  42. ข้อเสนอแนะ • นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลิตภาพ • การพัฒนาฝีมือแรงงาน การพัฒนาทักษะ โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะต่ำ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ • การพัฒนาระบบค่าตอบแทนตามความสามารถ • การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอนาคตต้องมีการประเมินถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้านเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขผลกระทบอย่างบูรณาการ

  43. จบการนำเสนอ - ข้อเสนอแนะ ขอบคุณครับ ผู้วิจัย ขอขอบคุณสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลดิบเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ชุดที่ 16 ที่ได้ให้เข้าสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้เห็นมุมมองของนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้กำหนดนโยบายอย่างสมบูรณ์มากขึ้น และ คณบดี (รศ.ดร.ภาณุพงศ์ นิธิประภา) รองคณบดีผ่ายวิชาการ (ผศ.ดร.สายพิณ ชินตระกูลชัย) ดร.ชัยพัฒน์สหัสกุล ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ดร.แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล ที่ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ คุณอัญชลี ห่วงทอง คุณอรอนงค์ ทวีปรีดา ผู้ช่วยวิจัย และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้สนับสนุนการทำงานวิจัยโครงการนี้

More Related