1 / 42

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ. การบรรยายพิเศษ โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วันที่ 2 7 ธันวาคม 2552. คำสำคัญ และจุดเน้น. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย บทความวิจัย การเขียนทางวิชาการ วารสารวิชาการ.

xena
Download Presentation

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ การบรรยายพิเศษ โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วันที่ 27ธันวาคม 2552

  2. คำสำคัญ และจุดเน้น • การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย • บทความวิจัย • การเขียนทางวิชาการ • วารสารวิชาการ

  3. วัตถุประสงค์ของการบรรยายวัตถุประสงค์ของการบรรยาย • อธิบายลักษณะและเงื่อนไขของวารสารวิชาการ • อธิบายลักษณะของบทความวิจัย • บอกเคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยทีดี • แนะนำขั้นตอนการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ • แนะนำข้อควรและไม่ควรในการเขียนบทความวิจัย • ทำแบบฝึกหัด.

  4. วารสารวิชาการ คือ อะไร • คำสำคัญคือ วารสาร วิชาการ • วารสารคือ หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เพื่อเสนอความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่ในสาขาวิชาหรือเนื้อหาด้านใดด้านหนึ่ง.

  5. มาตรฐานของวารสารวิชาการ (สากล) • 1.ออกตามกำหนดเวลา • 2. ตีพิมพ์บทความที่เขียนโดยนักวิชาการ • 3. เป็นเรื่องที่เป็นที่สนใจของชุมชนวิชาการ • 4. เป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่.

  6. เงื่อนไขของวารสารวิชาการ (สากล) • บทความควรมีความยาวไม่เกิน 20 หน้า • ไม่รับบทความแสดงความคิดเห็น ข้อสรุปต้องมีหลักฐาน • บทความต้องแสดงผลการวิเคราะห์ของผู้เขียนเอง • มีวัฒนธรรมการเขียนแบบวิชาการ(academic writing) • ใช้วัจนลีลาการเขียนแบบวิชาการ • มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์และการอ้างอิง (peer review) • รักษากฎระเบียบของระบบการอ้างอิง.

  7. บทความวิจัย คืออะไร • บทความวิจัย เป็นการเขียนแบบวิชาการ(academic writing) มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ • 1. เขียนโดยนักวิชาการ (scholars) เพื่อนักวิชาการอื่นๆ • 2. เรื่องที่เขียนเป็นเรื่องที่ชุมชนวิชาการ(academic community) สนใจ • 3. เนื้อหาที่เขียนต้องเสนอในรูปของ การให้เหตุผลที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ (Informed argument).

  8. 13ลักษณะของบทความวิจัย • 1. เขียนโดยนักวิชาการ (scholars) • นักวิชาการ คือผู้ที่ต้องอ่าน คิด โต้เถียงด้วยเหตุผล และเขียน เพื่อเผยแพร่ความคิดที่ยิ่งใหญ่ ในเชิงวิชาการ • อะไรที่เราเขียนเพื่อให้นักวิชาการคนอื่นอ่าน คือ การเขียนแบบวิชาการ.

  9. ลักษณะของบทความวิจัย (ต่อ) • 2. เรื่องที่เขียนเป็นที่สนใจของชุมชนวิชาการ(academic community) • หัวข้อต้องเหมาะสม และเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา • ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว หรือความรู้สึกส่วนตัว • ต้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ทางวิชาการ • ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่าน อ่านแล้วบรรลุ.

  10. ลักษณะของบทความวิจัย (ต่อ) • 3. เนื้อหาที่เขียนต้องเสนอในรูปของการให้เหตุผลที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่(Informed argument) • ต้องเสนอว่าผู้เขียนรู้อะไรและต้องการให้ผู้อ่านรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เขียน (inform) • ต้องเสนอว่าผู้เขียนคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย (argue) • ให้ความรู้ใหม่ • มีการโต้แย้งแสดงเหตุผล • ต้องเขียนแบบ analytical ไม่ใช่แบบ personal.

  11. ลักษณะของบทความวิจัย(ต่อ)ลักษณะของบทความวิจัย(ต่อ) • 4.ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานได้มาจากการวิจัยของผู้เขียนเอง • 5. เป็นการรายงานผลการวิจัย (ต้องทำวิจัยก่อน) • 6. เน้นสมมติฐาน และการวิธีดำเนินการวิจัย • 7. เน้นการทดสอบทฤษฎี • 8. เน้นการได้ทฤษฎีใหม่ (ได้คำอธิบายใหม่) • 9. หรือเน้นการนำผลไปใช้เฉพาะเรื่อง • 10. บทความมาจากการนำประเด็นเด่นที่ค้นพบมาเขียน.

  12. ลักษณะของบทความวิจัย (ต่อ) • 11.มีลักษณะเล็กแต่ลึก • 12.มีจุดยืนหรือข้อสรุปของตนเอง • 13.การเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนต้องรู้จัก 4 ประการดังนี้ • ต้องรู้จักสรุปความ (summarize) • ต้องรู้จักประเมิน (evaluate) • ต้องรู้จักวิเคราะห์ (analyze) • ต้องรู้จักสังเคราะห์ (synthesize).

  13. ประเภทของบทความวิจัย • บทความวิจัยมี 2 แบบ • 1.แบบวิเคราะห์ (analytical) • 2.แบบโต้แย้ง (argumentative)

  14. ประเภทของบทความวิจัย (ต่อ) • บทความวิจัยแบบวิเคราะห์ (analytical) • การวิเคราะห์คือการหั่น สับ ชำแหละ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงออกเป็นชิ้นๆ เพื่อศึกษา ตรวจสอบ และเข้าใจอย่างถ่องแท้ • มีการสรุปภาพรวมในเชิงที่มีความหมายสำหรับผู้วิจัย • บทความวิเคราะห์มักแสดงว่าผู้เขียนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่วิเคราะห์.

  15. ประเภทของบทความวิจัย (ต่อ) • บทความวิจัยแบบโต้แย้ง (argumentative) • มีการแสดงจุดยืน • ใช้ข้อค้นพบสนับสนุนจุดยืน • มีการให้เหตุผลเป็นขั้นตอน • นำไปสู่ข้อสรุป • มักเป็นเรื่องที่มีข้อขัดแย้ง หรือ ยังหาข้อสรุปไม่ได้.

  16. เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยทีดีเคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยทีดี • อ่านบทความวิชาการมากๆ โดยเฉพาะที่เขียนโดยนักวิชาการเก่งๆ • จดจำวิธีการและลีลาการเขียนของคนเก่งเหล่านั้น • พยายามเข้าร่วมการสัมมนาบ่อยๆ และจับผิดคนอื่นมากๆ • รู้จักเลือกเรื่องหรือประเด็นที่น่าสนใจมาเขียน.

  17. เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยทีดี(ต่อ)เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยทีดี(ต่อ) • บทความต้องมีขนาดและน้ำหนักพอเหมาะ มีเอกภาพ ไม่ควรนำวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยทั้งเรื่องมาเขียนย่อเป็นบทความบทความไม่ใช่ mini-thesis • อย่าสับสนระหว่าง ความเห็น กับ ข้อเท็จจริง และ ข้อสันนิษฐาน กับ หลักฐาน • ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมการเขียนแบบวิชาการ • ให้ความสนใจวัจนลีลาการเขียนแบบวิชาการ.

  18. เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยทีดี(ต่อ)เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยทีดี(ต่อ) • ต้องเข้าใจมโนทัศน์ และศัพท์บัญญัติที่ใช้อย่างถ่องแท้ • อย่าเชื่อผู้ใด หรือเอกสารใดง่ายๆ จงอ่านอย่างระมัดระวัง • ระวังเรื่องการใช้ผลงานคนอื่น อย่าขโมยงานผู้อื่น (plagiarism) • ใช้ภาษาวิชาการ • รักษากฎระเบียบของระบบการอ้างอิง.

  19. ขั้นตอนการเขียนบทความวิจัยขั้นตอนการเขียนบทความวิจัย • เขียนเมื่อวิจัยเสร็จแล้ว หรือวิเคราะห์เสร็จแล้ว • เลือกหัวข้อ หรือเรื่องที่จะเขียน ควรเป็นประเด็นเดียว ที่น่าสนใจ • กำหนดชื่อเรื่อง • กำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐาน

  20. ขั้นตอนการเขียนบทความวิจัยขั้นตอนการเขียนบทความวิจัย • กำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐาน • ทำโครงร่าง • เริ่มต้นเขียน • ก่อนอื่นต้องเขียนความเป็นมา หรือเหตุผลที่เขียนบทความ • เมื่อเขียนบทความเสร็จ ต้องเช็คความถูกต้องของข้อมูล ตัวสะกด การอ้างอิง ความชัดเจน ฯลฯ.

  21. ขั้นตอนการเขียนบทความวิจัย (ต่อ) • ให้ผู้อื่นอ่าน เช่นอาจารย์ รุ่นพี่ หรือนำเสนอในที่ประชุม เพื่อรับคำวิจารณ์ • นำคำวิจารณ์มาปรับปรุงโดย ตัด แต่ง ต่อ เติม • ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ต้องให้เจ้าของภาษาช่วยอ่านและแก้ภาษาก่อนส่งไปตีพิมพ์ • ส่งไปยังวารสารที่มีสาขาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน.

  22. ขั้นตอนการเขียนบทความวิจัย (ต่อ) • เมื่อได้ต้นฉบับกลับ ให้ทำความเข้าใจกับคำวิจารณ์ • แก้ไขตามผู้วิจารณ์ และสรุปข้อที่แก้ไขส่งกลับบรรณาธิการ • เมื่อมีการตรวจภาษาแล้ว ต้องแก้ไขให้สมบูรณ์ และเป็นระบบ • เมื่อบรรณาธิการส่งต้นฉบับให้ตรวจปรู๊ฟ ต้องตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะเป็นการตรวจครั้งสุดท้าย • ควรอ่านและอ้างอิงงานของผู้อื่นในวารสารที่เราตีพิมพ์.

  23. ข้อควรระวังในการเขียนภาษาไทยข้อควรระวังในการเขียนภาษาไทย • ใช้ภาษาเรียบง่าย ไม่เยิ่นเย้อ • เช่น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงการดำเนินการการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยนอกระบบ • บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารมหาวิทยาลัยนอกระบบ.

  24. ข้อควรระวังในการเขียนภาษาไทยข้อควรระวังในการเขียนภาษาไทย • ผลการวิเคราะห์ทำให้ผู้วิจัยสามารถสรุปประเด็นซึ่งสำคัญหลายประเด็นได้ดังต่อไปนี้ • ผลการวิเคราะห์ สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ • โรงสีข้าวทำหน้าที่ในการแปรรูปข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร โรงสีข้าวทำหน้าที่แปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร • ทำการวิเคราะห์วิเคราะห์, ทำการทดลอง ทดลอง, ทำการสำรวจ สำรวจ.

  25. ข้อควรระวังในการเขียนภาษาไทยข้อควรระวังในการเขียนภาษาไทย • ภูพระบาทเป็นแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกแห่งหนึ่งที่มีศักยภาพ • ภูพระบาทเป็นแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกที่มีศักยภาพ • ภูพระบาทเป็นชื่อของภูเขาขนาดเล็กลูกหนึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี • ภูพระบาทเป็นชื่อภูเขาขนาดเล็กตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี.

  26. ข้อควรระวังในการเขียนภาษาไทยข้อควรระวังในการเขียนภาษาไทย • งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการใช้จ่ายของคู่สมรสชาวต่างชาติในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ •  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่ายของคู่สมรสชาวต่างชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

  27. ข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษ • ระวังเรื่องไวยากรณ์ (เพราะต่างจากภาษาไทย) • เอกพจน์ พหูพจน์นามนับได้ นับไม่ได้ • กาล (tense) • คำนำหน้านาม a, an, the ชี้เฉพาะ ไม่ชี้เฉพาะ • คำกริยา vs. คำคุณศัพท์ • กริยาแท้ กริยาไม่แท้ • ประโยคต้องมีกริยาแท้ตัวเดียว.

  28. ข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษ ตัวอย่าง ผิดMy previous house is in the small town. ถูกMy previous house was in a small town. ผิด He is also accepted among the White Americans. ถูก He is also accepted among White Americans.

  29. ข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษ ผิด The purpose is to analyze color term in Thai language. ถูก The purpose is to analyze color terms in the Thai language. ถูก The purpose is to analyze color terms in Thai.

  30. ข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษ ผิด do a research ถูกdo research ผิด this research ถูกthis study ผิด Based on the research findings, that expendituresaffected on the income and employment in the northeast. ถูกthose… had effect on/affected.

  31. การตั้งชื่อบทความวิจัยการตั้งชื่อบทความวิจัย • สั้น กระชับ ใช้ศัพท์เฉพาะแทนมโนทัศน์ • เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ ไม่ทำให้คนอ่านตีความผิด • สะท้อนทุกอย่างที่เขียนในบทความอย่างถูกต้อง • ไม่หวือหวา ไม่ตื่นเต้น ไม่ใช้ ภาษาปาก หรือคำสแลง • ไม่กว้างเกินไป • ทำให้คนเห็นว่าเป็นเรื่องอะไร แนวอะไร สาขาอะไร ประชากรคือใคร หรืออะไร.

  32. ตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัยตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัย • ผลกระทบของคู่สมรสชาวต่างชาติที่มีต่อเศรษฐกิจอีสาน • ประสิทธิภาพทางเทคนิคของโรงพยาบาลชุมชน กรณีศึกษา: โรงพยาบาลขอนแก่น • แนวทางการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก • การพยากรณ์ภาวะล้มละลายของอุตสาหกรรมโรงสีข้าวในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา.

  33. ตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัยตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัย • ASEAN AND LOW-LEVEL SECURITY COOPERATION (Johannes Lund2004) • BUDDHISM AND POLITICAL LEGITIMATION IN BURMA (1988-2003)(Rattanaporn Poungpattana2004) • CONTINUITY AND CHANGE IN HMONG CULTURAL IDENTITY: A CASE STUDY OF HMONG REFUGEES FROM LAOS IN WAT THAMKRABOK, SARABURI, THAILAND (Heidi Jo Bleser2004) • CROSS-CULTURAL ADJUSTMENT AND INTEGRATION OF WESTERN EXPATRIATE WOMEN IN BANGKOK (Maria Ida Barrett2004) • REWAT BUDDHINAN’S INFLUENCE ON THAI POPULAR MUSIC (1983-1996) (Prit Patarasuk2004)

  34. ตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัยตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัย • BANGLADESH’S ENGAGEMENT WITH ASEAN: RETROSPECT AND PROSPECT (Md. Morshed Alom 2005) • DEMOCRACY IN THAILAND UNDER THAI RAK THAI GOVERNMENT(Dermot Michael Monaghan 2005) • EDUCATIONAL OPPORTUNITIES OF BURMESE MIGRANT CHILDREN IN SAMUT SAKHON PROVINCE (Chawandhorn Muangmee 2005) • IMPACTS OF MEKONG RIVER COMMISSION’S FISHERIES PROGRAMME ON SUSTAINABLE DEVELOPMENT IN ANGNAMHOUM AND HOINAMYEN VILLAGES, VIENTIANE, LAO PDR(Bangone Santavasy 2005) • LOCAL GOVERNMENT: A STUDY OF BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION AND DHAKA CITY CORPORATION(Syama Afroz 2005)

  35. ตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัยตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัย • Fernando Bernstein and A. Gürhan Kök • Dynamic Cost Reduction Through Process Improvement in Assembly NetworksMANAGEMENT SCIENCE 2009 55: 552-567, published online • John P. Lightle, John H. Kagel, and Hal R. Arkes • Information Exchange in Group Decision Making: The Hidden Profile Problem ReconsideredMANAGEMENT SCIENCE 200955: 568-581, published online • Victor Richmond R. Jose, Robert F. Nau, and Robert L. Winkler • Sensitivity to Distance and Baseline Distributions in Forecast EvaluationMANAGEMENT SCIENCE 2009 55: 582-590, published online • Daniel Dorn and Paul Sengmueller • Trading as Entertainment?MANAGEMENT SCIENCE 200955: 591-603, published online

  36. ตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัยตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัย • Serden Özcan and Toke Reichstein • Transition to Entrepreneurship from the Public Sector: Predispositional and Contextual EffectsMANAGEMENT SCIENCE 2009 55: 604-618, published online   • Gad Allon and Awi Federgruen • Competition in Service Industries with Segmented MarketsMANAGEMENT SCIENCE 200955: 619-634, published online b • Joanne Oxley and Tetsuo Wada • Alliance Structure and the Scope of Knowledge Transfer: Evidence from U.S.-Japan AgreementsMANAGEMENT SCIENCE 2009 55: 635-649, published online

  37. การเขียนวัตถุประสงค์ • วัตถุประสงค์ คือประเด็นที่ศึกษา • ถ้ามีหลายประเด็น ให้แยกข้อ และทุกข้อต้องสัมพันธ์กัน • ใช้คำกริยาที่เป็นการกระทำ เช่น ศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบสำรวจ ไม่ใช้คำว่า เข้าใจ รู้ ซาบซึ้ง • วัตถุประสงค์ไม่ใช่เป้าหมาย หรือประโยชน์ • ไม่ใช้คำกริยา เช่น ใช้ ประยุกต์ สร้าง เป็นประโยชน์ พัฒนา ฯลฯ.

  38. การเขียนสมมติฐาน • สมมติฐาน ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ • เป็นประโยคบอกเล่า ไม่ใช้คำว่า จะ • เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยคาดหมายว่าจะพบในการวิเคราะห์ • แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ • แสดงทิศทาง หรือแนวทางการวิเคราะห์ • เชื่อมโยงกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง.

  39. การอ้างอิง • ใช้ระบบสมัยใหม่ อ้างชื่อในตัวเรื่อง • อย่านำบางส่วนของบทความอื่นมาแล้วทำเชิงอรรถตอนท้าย • ให้อ้างชื่อไปในประโยคเลย เช่น อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2549: 38-40) กล่าวว่า/โต้แย้งว่า/สันนิษฐานว่า/สรุปว่า/เห็นว่า/ให้คำจำกัดความว่า ...... • อ้างต่อๆกัน ให้เขียนว่า ลาบอฟ (Labov 1972: 54 อ้างใน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ 2545: 78).

  40. การอ้างอิง • ชื่อทุกชื่อที่อ้างในบทความ ต้องบรรจุไว้ในรายชื่อหนังสืออ้างอิงข้างท้าย • ชื่อที่อ้างกับชื่อในรายการอ้างอิง ต้องขึ้นต้นเหมือนกัน และเป็นระบบ • ชื่อภาษาอังกฤษ ให้อ้างนามสกุล เช่น นักวิชาการชื่อ Roger Brown ให้อ้างในบทความว่า บราวน์ (Brown 2005: 45) ...และในรายการอ้างอิง ให้เขียนว่า Brown, Roger. 2005. …. • คนไทยให้อ้างทั้งชื่อและนามสกุล ถ้าผลงานเป็นภาษาอังกฤษให้อ้างเหมือนต่างประเทศ.

  41. การเขียนบทคัดย่อ • แล้วแต่วารสารกำหนด แต่โดยทั่วไป ควรมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 • เนื้อหาประกอบด้วย การเกริ่นความเป็นมาเล็กน้อยถึงภูมิหลังของบทความ ตามดัวยวัตถุประสงค์ สมมติฐาน ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ และการประเมิน (ถ้าต้องการ) • เขียนอย่างกระชับที่สุด ชัดเจนที่สุด • ต้องครอบคลุมสิ่งที่ค้นพบทั้งหมด.

  42. แบบฝึกหัด • ให้ผู้เข้าอบรมนำบทความมาเป็นตัวอย่าง • ให้พิจารณาชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ สมมติฐาน การอ้างอิง บทคัดย่อ และองค์รวม ในประเด็นดังนี้ • ความชัดเจน • ความกระชับ • ความถูกต้องในการอ้างอิง • สอดคล้องกับหลักการที่บรรยายวันนี้หรือไม่ เพียงใด.

More Related