1 / 54

Module 3 Motivational Interviewing Skills

Module 3 Motivational Interviewing Skills. Pilot Training of MI & MET for AUD Curriculum Thai Motivational Interviewing Network (TMIN). การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ Motivational Interviewing (MI).

Download Presentation

Module 3 Motivational Interviewing Skills

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Module 3Motivational Interviewing Skills Pilot Training of MI & MET for AUD Curriculum Thai Motivational Interviewing Network (TMIN)

  2. การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจMotivational Interviewing (MI) • การให้คำปรึกษาแบบยึดผู้ป่วยเป็นหลัก (Client-centered counseling) = Collaborative, Evocative, Autonomy • มีทิศทาง เน้นเป้าหมาย (Goal-directed) เพิ่มแรงจูงใจ • เพื่อการเปลี่ยนแปลง ลดความลังเล เพิ่มช่องว่างระหว่าง • สิ่งที่อยากมีอยากเป็น กับสิ่งที่เป็นอยู่ เสริมศักยภาพในตน • พัฒนาโดย Miller & Rollnick, 1991 • ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม • (Stage of Change; Prochaska & DiClemente)

  3. MI Spirit

  4. การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจMotivational Interviewing (MI) • ทฤษฎีการรับรู้ตนเอง (Self perception theory) • “As I hear myself talk, I learn what I believe” • “หากฉันได้ยินสิ่งที่ฉันคุยกับตนเอง ฉันก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฉันเชื่อ” • เป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดข้อความจูงใจตนเอง (Self-motivational statement, SMS) • การสนทนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Change talk) Elicit-Provide-Elicit (EPE) Approach

  5. ข้อความจูงใจตนเองSelf-Motivational Statement (SMS) • การตระหนักในปัญหา (ProblemRecognition) “ผมเพิ่งจะรู้ว่าผมมีปัญหา” • ความกังวลกับปัญหา (Concern) • “ผมกังวลกับมันจริงๆ” • ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง (Intention to Change)“คงต้องหยุดแล้ว ผมต้องทำอะไรซักอย่าง” • มองทางบวกสำหรับการเปลี่ยนแปลง (Optimism for Change) “ผมมั่นใจว่าผมทำได้”

  6. การสนทนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงChange Talk (DARN-CT) • Desire – แสดงถึงความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง “ผมต้องการพิสูจน์ตัวเองว่าทำได้” • Ability – แสดงถึงศักยภาพในตนว่าเปลี่ยนได้ (Self-efficacy) “ผมรู้ว่าผมสามารถทำได้” • Reasons – แสดงถึงเหตุผลสำหรับการเปลี่ยนแปลง “ผมจะรู้สึกโล่งอก ถ้าผมแก้ปัญหานี้ได้”

  7. การสนทนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงChange Talk (DARN-CT) • Need – แสดงถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง • “ถ้าผมไม่ดูแลตนเอง ผมคงต้องเจ็บป่วย” • Commitment – สัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลง • “ผมจะกระทำสิ่งนี้” • Taking step – แสดงถึงว่ากำลังลงมือทำ • “ผมกำลังลงมือเปลี่ยนแปลงอยู่” Commitment talk ทำนายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

  8. แรงต้านในการเปลี่ยนแปลงResistanceTalkแรงต้านในการเปลี่ยนแปลงResistanceTalk • Advantages of status quo – เป็นข้อความที่สะท้อนถึงข้อดีของการดื่มสุรา “สุราช่วยคลายเครียด” • Disadvantage of change –เป็นข้อความที่สะท้อนถึงข้อเสียของการเลิกสุรา “ถ้าเลิกดื่มสุรา ก็จะนอนไม่หลับ”

  9. แรงต้านในการเปลี่ยนแปลงResistanceTalkแรงต้านในการเปลี่ยนแปลงResistanceTalk • Intention not to change – เป็นข้อความที่สะท้อนถึง ความไม่ตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง • “อีกไม่นานก็ตายแล้ว ช่วงนี้ขอดื่มต่อไปก่อน” • Pessimism about change – เป็นข้อความที่สะท้อนถึง การมองการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ • “ครั้งนี้ก็คงเลิกไม่สำเร็จ เพราะเคยเลิกมาหลายครั้งแล้ว”

  10. ใบงานที่ 1Change Talk, Commitment Talk, Resistance Talk หาผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ยิน • Change talk –ให้ตบที่หน้าตักของตนเอง • Commitment talk – ให้ปรบมือ • Resistance talk –ให้กุมศีรษะของตนเอง

  11. ตัวอย่างประโยค • ผมอยากจะลดปริมาณการดื่มลง • เลิกไม่ยากหรอก มันอยู่ที่ใจ • ผมทำได้ ถ้าผมพยายาม • ถ้าไม่เลิก ภรรยาคงเลิกกับผมแทน • เมื่อวานผมปฏิเสธเพื่อนที่มาชวนดื่ม • ไม่ได้ดื่ม แล้วหงุดหงิดอารมณ์ไม่ดี • เจ้านายกำลังเพ่งเล็งผมอยู่ • ผมจะพยายามทำให้ดีที่สุด • ผมวางแผนไปอยู่กับญาติสักพักนึง • เกือบจะดื่มแล้ว คิดว่าเลิกแล้ว จะดื่มทำไม • ผมควรรับประทานอาหารอะไรบ้าง • ผมกินยาบำรุงตับทุกวัน • ผมรู้สึกแย่ เพราะทำงานไม่ได้ • อีกไม่นานก็ตายแล้วหมอ เลิกทำไม • ผมกลัวความจำของผมเสื่อม • เคยเลิกมาหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ • ไม่ได้ดื่มหนักเหมือนเก่า ดื่มแค่ช่วงวันหยุด

  12. ทักษะที่ผู้ให้คำปรึกษาใช้ (OARS) • การถามคำถามปลายเปิด (Open-ended questioning) • การชื่นชมยืนยันรับรอง (Affirmation) • การฟังอย่างเข้าใจและสะท้อนความ (Reflective listening) • การสรุปความ (Summarization)

  13. การถามคำถามปลายเปิด(Open-ended Questioning) • คำถามปลายเปิด กระตุ้นให้ผู้ป่วยคิด พูด และได้ยิน • ถามอย่างมีทิศทางเพื่อกระตุ้นเร้าข้อความที่ดี หรือข้อความที่จูงใจตนเอง (SMS) • กระบวนการถาม แล้วค่อยบอก และถามต่อElicit-Provide-Elicit (EPE)

  14. Elicit-Provide-Elicit (EPE) Approach • Elicit readiness and interest – ดึงความพร้อม และความสนใจในการเปลี่ยนแปลงออกมา • “ผมมีข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพของคุณ” • “คุณเคยได้ยินเรื่องนี้มาอย่างไรบ้าง” • “ดิฉันไม่แน่ใจว่าคุณอยากจะรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร”

  15. Elicit-Provide-Elicit (EPE) Approach • Provide feedback naturally – ให้ข้อมูลสะท้อนกลับอย่างเป็นธรรมชาติ • “จากผลการตรวจพบว่า................” • “จากความรู้ทางการแพทย์ พบว่า...............” • Elicit patient’s interpretation and follow it – ดึง การแปลผลของผู้ป่วยออกมา และติดตามดู • “คุณมีความเห็นอย่างไรบ้าง” • “คุณได้รับผลกระทบจากสุราอย่างไรบ้าง”

  16. การเสนอข้อแนะนำOffering Advice • Ask permission –ขออนุญาตก่อน • “ถ้าคุณสนใจ ดิฉันมีคำแนะนำให้ลองพิจารณาดู” • “ถ้าคุณโอเค ดิฉันจะเล่าถึงประสบการณ์ความสำเร็จของผู้ป่วยอื่นเผื่อจะเป็นทางเลือกให้คุณ” • Offer advice –ให้คำแนะนำ • “ดิฉันอยากจะให้คุณลองพิจารณา...............” • “จากที่คุณเล่า ดิฉันคิดว่าคุณจะประสบความสำเร็จถ้าคุณ.....”

  17. การเสนอข้อแนะนำOffering Advice • Emphasize choice –เน้นที่ทางเลือก • “มันคงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณ” • “ลองเลือกหนทางที่เหมาะกับตนเองดู” • Voice confidence –น้ำเสียงมั่นใจ • “ดิฉันมั่นใจว่าคุณแก้ปัญหาได้ หากคุณมุ่งมั่น” • Elicit response –ดึงการตอบสนองออกมา • “คุณคิดอย่างไรบ้างเกี่ยวกับ........”

  18. สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการฟังอย่างตั้งใจสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการฟังอย่างตั้งใจ • อย่าชักชวน เทศน์สั่งสอน สั่งการ เตือน หมายหัว หยาบคาย ท้าทาย ให้ความมั่นใจ • อย่าเพิ่งรีบแนะนำ เห็นด้วย หรือรีบให้คำมั่นสัญญา • อย่าขึ้นเสียงสูงหรือเน้นคำท้ายๆ = คำถามปลายปิด • อย่าตัดสินผิดถูก กล่าวหา ประชดประชัน • อย่าใช้คำพูดประโยคเดิมๆ ซ้ำ เช่น ฟังดู แบบว่า คุณคิดว่า........ • อย่าเปลี่ยนเรื่องเร็วเกิน

  19. การฟังอย่างเข้าใจและสะท้อนความ (Reflective listening) • Simple reflection (การสะท้อนความแบบธรรมดา) • Repeating –ทวนความ • Rephrasing –ทวนวลี • Paraphrasing –ถ่ายทอดความ • Complex reflection(การสะท้อนความแบบซับซ้อน) • Client’s true meaning or feeling –ความหมายหรือความรู้สึกที่แท้จริง • Double-sided –สะท้อนสองด้าน ข้อความที่ไม่ดี + ข้อความที่ดี (SMS) • Amplified –สะท้อนความให้หนักขึ้น • Minimizing –สะท้อนความให้เบาลง • Metaphor –คำอุปมาอุปไมย

  20. Reflection C: “ผมไม่ได้ดื่มทุกวัน ผมต้องทำงานหนักทั้งวัน ผมต้องการพักผ่อนในช่วงวันหยุด ผมจึงดื่มเบียร์ 6 ขวด” T: “คุณดื่มเบียร์ 6 ขวด” (repeating) “เบียร์ 6 ขวด”(rephrase) T: “คุณดื่มเพื่อผ่อนคลาย” “คุณดื่มหนักเฉพาะช่วงวันหยุด” (paraphrase) C: “บางครั้งผมอาจจะเอ๋อเพราะสูบกัญชามากเกิน แต่ก็ไม่รู้ว่าแม่จะมาห่วงผมมากมายทำไม ผมก็โตพอที่จะดูแลตัวเองได้แล้ว”

  21. Reflection T: “คุณไม่ชอบที่แม่ห่วงมากเกิน แต่บางครั้งคุณก็กังวลว่าคุณสูบกัญชามากเกินจนสมองแย่ลง”(double-sided) T: “คุณไม่ชอบให้แม่มาทำกับคุณเหมือนคุณเป็นเด็กๆ” (true meaning) C: “ผมไปรักษามาก็หลายครั้ง ก็ยังเลิกไม่ได้” T: “คุณล้มเหลวมาก็หลายครั้ง จนทำให้คุณท้อใจ แต่ขณะเดียวกันคุณก็ยังมีใจอยากเลิกอยู่ คุณจึงได้กลับมาหาหมอ”(double-sided)

  22. Reflection C: “แม่เป็นห่วงผมมากเกินไป ชอบคอยจ้องจับผิด” T: “แม่ของคุณเป็นคนที่น่ารำคาญและไร้เหตุผล” (amplified) C: “ผมไม่รู้ว่าจะกินยาไปทำไม ไม่เห็นจะช่วยให้ดีขึ้นอย่างไร” T: “คุณคิดว่าไม่ว่าอะไรก็ช่วยคุณไม่ได้” (minimizing) C: “ปัจจุบันผมสูบแค่กัญชา ไม่เหมือนก่อนที่สูบยาบ้า” T: “คุณคิดว่าคุณดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เพราะคุณเสพ สิ่งที่ไม่เป็นอันตราย”(minimizing)

  23. Reflection C: “เพื่อนที่มหาลัยส่วนใหญ่สูบกัญชา” T: “การสูบกัญชาเป็นเรื่องปกติของคุณและเพื่อนๆ” (minimizing) C: “ช่วงแรกของการเลิกยา มันเผลอหลุดไปได้ง่ายจริงๆ ต้องคอยระมัดระวัง ” T: “จริงครับ คล้ายกับการฝึกขับจักรยานในช่วงเริ่มต้น” (metaphor) C: “แม้รู้ว่าเหล้าเป็นสิ่งที่ไม่ดีนะหมอ แต่ผมก็ยังอยากจะดื่มมันอยู่” T: “คล้ายกับหนอนในกองอึ”(metaphor)

  24. ใบงานที่ 2Reflective Listening • แบ่งกลุ่มย่อย 3-4 คน สมาชิกคนที่ 1 เป็นผู้รับคำปรึกษา สมาชิกคนที่ 2 เป็นผู้ให้คำปรึกษา สมาชิกที่ 3 และ 4 สังเกตการณ์ • ให้ฝึกการพูดชักชวน (persuasion) โดยให้สมาชิกคนที่ 1 ลองนึกถึงเรื่องที่ตนเองลังเลใจแล้วให้สมาชิกที่ 2 พูดโน้มน้าวด้วยเหตุผล 3 อย่างที่สำคัญในการเลือกทางใดทางหนึ่ง และแนะนำวิธีการเปลี่ยนแปลง ส่วนสมาชิกที่ 3 และ 4 สังเกตการณ์ • ให้กลุ่มย่อยฝึก Reflective listening โดยให้สมาชิกคนที่ 1 พูดคุยเรื่องเดิมแล้วให้สมาชิกที่ 2 ใช้ Simple reflection ส่วนสมาชิกที่ 3 และ 4 สังเกตการณ์

  25. ใบงานที่ 3Simple & Complex Reflection • แบ่งกลุ่มย่อย 3-4 คน ให้สมาชิกคนที่ 1 เป็นผู้กล่าวประโยค สมาชิกคนที่ 2 ทำ Reflection สมาชิกที่ 1, 3 และ 4 ให้การ feedback • ผลัดกัน สมาชิกคนที่ 2 เป็นผู้กล่าวประโยค สมาชิกคนที่ 3 ทำ Reflectionสมาชิกที่ 1, 2 และ 4 ให้การ feedback • ผลัดกันฝึกบทบาทไปเรื่อยๆ โดยพยายามใช้ complex reflection ให้เพิ่มมากขึ้น

  26. การชื่นชมยืนยันรับรองAffirmationsการชื่นชมยืนยันรับรองAffirmations • เป็นการเสริมแรงต่อความคิดที่ดีงาม (SMS) • สนับสนุนความคิดที่ดีงาม จุดแข็ง ความพยายาม ศักยภาพในตน และความเชื่อมั่นในตนเอง • ควรมีความเฉพาะเจาะจง – “ดีมากเลยที่คุณ....” • เน้นว่าเป็นความคิดของผู้ป่วยเอง

  27. การสรุปความSummarization • ควรมีการหยุดและสรุปเป็นระยะๆ • สรุปในสิ่งที่ผู้ป่วยคิดและพูด เน้นความคิดที่ดีงาม เพื่อเสริมแรงทางบวก

  28. ตัวอย่างของ Summarization • “จากที่พูดคุยกันมา ช่วงที่ผ่านมา คุณเริ่มต้นดื่มเพื่อเข้าสังคม การดื่มช่วยให้คุณผ่อนคลาย และคิดงานได้ดีขึ้น สุขภาพของคุณยังไม่มีผลกระทบอะไร แต่ต่อมา คุณเป็นห่วงเรื่องการดื่มว่าจะทำให้สุขภาพแย่ลง สุราทำให้คุณป่วยเป็นตับอักเสบ คุณมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คุณเป็นห่วงว่าหากยังคงดื่มต่อไป ไขมันจะพอกตับ และเป็นตับแข็งในที่สุด ขณะเดียวกัน ภรรยาของคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ คุณเป็นห่วงว่า คุณจะไม่สามารถดูแลครอบครัวได้หากคุณเป็นอะไรไป ภรรยาก็เป็นห่วงสุขภาพของคุณ และที่สำคัญ คุณคิดว่า การดื่มสุราจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อลูกของคุณในอนาคต คุณอยากเป็นพ่อที่ดีของลูกที่กำลังเกิดมา มีอะไรที่ดิฉันสรุปตกหล่นไปบ้าง” • “แล้วคุณคิดจะทำอย่างไรต่อไปเกี่ยวกับเรื่องการดื่มของคุณ”

  29. กลยุทธ์ในการปลุกเร้า SMS(Eliciting change talk or SMS) • ถามเพื่อกระตุ้นเร้า Evocative Questions • ถามตรงๆ • อย่าถามว่าเป็นห่วงกังวลหรือไม่ ให้ถามว่ากังวลอย่างไร • สมมติว่าบุคคลนั้นลังเลใจที่จะเปลี่ยนแปลง หรือ stage 2

  30. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • การตระหนักในปัญหา (Problem Recognition) • “อะไรที่ทำให้คุณคิดว่ามันเป็นปัญหา” • “มันมีผลกระทบต่อคุณหรือคนรอบข้างอย่างไรบ้าง” • “มันเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายในชีวิตของคุณอย่างไรบ้าง” • “คนอื่นพูดถึงเรื่องนี้อย่างไรบ้าง”

  31. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • ความกังวลกับปัญหา (Concern) • “คุณเป็นห่วงกังวลในเรื่องการดื่มสุราของตนเองอย่างไรบ้าง” • “อะไรที่ทำให้ครอบครัวของคุณเป็นห่วง” • “คุณคิดว่ามันจะเป็นอย่างไรบ้างหากคุณยังไม่หยุดดื่มสุรา”

  32. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง (Intention to Change) • “อะไรที่ทำให้คุณอยากหยุด” • “สมมติว่าคุณเลิกได้สำเร็จ ชีวิตมันจะเปลี่ยนไปอย่างไร” • “อะไรเป็นข้อดีของการเลิกสุรา”

  33. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • มองด้านบวกของการเปลี่ยนแปลง (Optimism for Change) • “อะไรที่ทำให้คุณคิดว่าคุณจะทำมันได้สำเร็จ” • “อะไรที่ทำให้คุณมีความเชื่อมั่น” • “อะไรที่เป็นตัวช่วย หากคุณคิดจะเลิก”

  34. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • ตรวจสอบข้อดี-ข้อเสีย (Exploring Pros and Cons) • ตรวจสอบเหตุผลทั้งสองด้านของการเปลี่ยนและไม่เปลี่ยน • ถามรายละเอียด (Elaboration) • ถามเพื่อให้ได้รายละเอียดมากๆจะพบ SMS มากขึ้น แล้วค่อยสรุป

  35. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • จินตนาการ (Imagining) • สมมติสิ่งที่เลวร้ายที่สุดเกิดขึ้น คุณจะเป็นอย่างไร • สมมติสิ่งที่ดีเกิดขึ้น คุณจะเป็นอย่างไร • สมมติ..... • มองไปข้างหน้า (Looking Forward) • ถ้าเปลี่ยนแปลง อะไรจะดีขึ้น • ถ้าไม่เปลี่ยนแปลง ชีวิตจะเปลี่ยนไปอย่างไร • ถ้า......... แล้ว............

  36. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • มองย้อนกลับไป (Looking Back) • เปรียบเทียบช่วงอดีตก่อนที่จะมีปัญหากับปัจจุบันที่มีปัญหา • สุรายาเสพติดทำให้คุณตกต่ำอย่างไร • ค้นหาเป้าหมายและคุณค่าชีวิต (Exploring Goals or Values) • อะไรคือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในชีวิต • อะไรคือเป้าหมายของคุณ ทั้งระยะใกล้และไกล • สุรายาเสพติดเป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายอย่างไร

  37. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • ไม้บรรทัดของความพร้อม (Readiness ruler) • ให้ผู้ป่วยลองให้คะแนน 0-10 สำหรับความสำคัญ ความมั่นใจ และความพร้อมของการเปลี่ยนแปลง • ถามผู้ป่วยว่า เพราะอะไรถึงไม่ให้คะแนน 0 หรือ ตัวเลขที่ต่ำกว่าจำนวนที่เลือก

  38. คำถามเพื่อปลุกเร้า SMS • ขัดเพื่อให้แย้ง Paradoxical Challenge • ผู้บำบัดใช้เหตุผลของจิตใจด้านที่ไม่อยากเปลี่ยนเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยโต้แย้ง • เข้าข้างจิตใจที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง • “ดูแล้วคุณยังติดใจสุรายาเสพติดอยู่มาก คงจะเลิกยาก”

  39. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance

  40. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance • ลักษณะข้อความของแรงต้าน = ตรงข้ามกับ SMS (Non-SMS or Resistance Talk) • ข้อดีของการเสพยา • ข้อเสียของการเลิก • ไม่คิดตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง • มองการเปลี่ยนแปลงในทางลบ • ระลึกว่าแรงต้านเป็นเรื่องปกติ แท้จริงผู้ป่วยสองจิตสองใจ • แรงต้านเป็นเรื่องของผู้บำบัด เตือนใจให้ทบทวนกลยุทธ์

  41. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance • Reflective listening • Simple reflection – เต้นตามไปเรื่อยๆ • Double-sided reflection – ให้เห็นความขัดแย้งในใจเอง • Amplified reflection – ซ้ำเติมให้หนักขึ้น • Minimizing reflection – ผ่อนให้เบาลง • Shifting focus – การเปลี่ยนจุดเน้น เปลี่ยนเรื่องคุย

  42. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance • Responsibility or personal choice –ความรับผิดชอบในตน การตัดสินใจอยู่ที่คุณ • Reframing– yes…but –การมองเชิงบวกใช่....แต่... ในขณะเดียวกัน..... • Paradoxical challenge –การขัดเพื่อให้แย้ง

  43. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance C: “ผมไม่ได้ดื่มทุกวัน ผมต้องทำงานหนักทั้งวัน ผมต้องการพักผ่อนในช่วงวันหยุด ผมจึงดื่มเบียร์ 6 ขวด” T: “คุณดื่มเบียร์ 6 ขวด” (repeating) “เบียร์ 6 ขวด” (rephrasing) “คุณดื่มเพื่อผ่อนคลาย” “คุณดื่มหนักเฉพาะช่วงวันหยุด” (paraphrasing) (simple reflection) C: “บางครั้งผมอาจจะเอ๋อเพราะสูบกัญชามากเกิน แต่ก็ไม่รู้ ว่าแม่จะมาห่วงผมมากมายทำไม ผมก็โตพอที่จะดูแลตัวเองได้แล้ว”

  44. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance T: “คุณไม่ชอบที่แม่ห่วงมากเกิน แต่บางครั้งคุณก็กังวลว่าคุณสูบกัญชามากเกินจนสมองแย่ลง”(double-sided, complex reflection) C: “ผมไปรักษามาก็หลายครั้ง ก็ยังเลิกไม่ได้” (แต่ยังมาพบแพทย์) T: “คุณล้มเหลวมาก็หลายครั้ง จนทำให้คุณท้อใจ แต่ขณะเดียวกันคุณก็ยังมีใจอยากเลิกอยู่ คุณจึงได้กลับมาหาหมอ”(double-sided, complex reflection)

  45. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance C: “แม่เป็นห่วงผมมากเกินไป ชอบคอยจ้องจับผิด” T: “แม่ของคุณเป็นคนที่น่ารำคาญและไร้เหตุผล” (amplified, complex, paradoxical) C: “เพื่อนที่มหาลัยส่วนใหญ่สูบกัญชา” T: “การสูบกัญชาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของคุณและเพื่อนๆ” (amplified, complex, paradoxical) C: “ผมไม่รู้ว่าจะกินยาไปทำไม ไม่เห็นจะช่วยให้ดีขึ้นอย่างไร” T: “คุณคิดว่าไม่ว่าอะไรก็ช่วยคุณไม่ได้” (minimizing, complex, paradoxical)

  46. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance C: “ปัจจุบันผมสูบแค่กัญชา ไม่เหมือนก่อนที่สูบยาบ้า” T: “คุณคิดว่าคุณดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เพราะคุณเสพสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย”(minimizing, complex, paradoxical) C: “ช่วงแรกของการเลิกยา มันเผลอหลุดไปได้ง่ายจริงๆ ท่าจะเลิกยาก” T: “จริงครับ คล้ายกับการฝึกขับจักรยานในช่วงเริ่มต้น” (metaphor) C: “แม้รู้ว่าเหล้าเป็นสิ่งที่ไม่ดีนะหมอ แต่ผมก็ยังอยากจะดื่มมันอยู่” T: “คล้ายกับหนอนในกองอึ”(metaphor) แต่คนกับหนอนต่างกัน (reframing)

  47. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance C: ผมไม่อยากอยู่โรงพยาบาลแล้ว เพื่อนๆ เอาแต่คุยเรื่อง ยาเสพติด ไม่รู้ว่าจะมาอยู่ที่นี่กันทำไม T: “ต่างคนต่างจิตต่างใจ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้ สิ่งที่เราเปลี่ยนได้คือตัวเรา หากเราคิดที่จะเปลี่ยนแปลง จุดสำคัญ คือ เราจะเริ่มต้นอย่างไรดี” (shifting focus) C: “ผมไม่อยากเลิกแล้ว ไม่อยากกินยา ไม่อยากมากลุ่มแล้ว ผมเพียงอยากเสพเป็นครั้งคราวเพื่อคลายเครียด”

  48. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance T: “ที่สุดแล้ว ไม่มีใครจะมาตัดสินใจแทน กระทำแทนคุณ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับตัวเราเองทั้งหมด หมอได้แต่สนับสนุนให้คุณประสบความสำเร็จในสิ่งที่คุณอยากเป็นอยากมี” (responsibility or personal choice) C: “ผมดื่มเหล้าเพื่อช่วยให้นอนหลับ ถ้าไม่ดื่มก็นอนไม่หลับ” T: “เหล้าก็มีส่วนช่วยให้นอนหลับ เพราะเป็นยากล่อมประสาทแต่ต่อมาสมองก็ดื้อต่อเหล้า ก็ทำให้นอนไม่หลับในที่สุด ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณขึ้นไปเรื่อยๆ” (reframing)

  49. วัตถุประสงค์ของการคุยกับญาติ (MI) • สร้างสัมพันธ์กับญาติ • ญาติเห็นความสำคัญในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย • ญาติให้คำมั่นสัญญาในการช่วยเหลือผู้ป่วย • ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในครอบครัว • ญาติจูงใจผู้ป่วย • การจำกัดการมีส่วนร่วมของญาติ

  50. ตัวอย่างคำถามสำหรับการถามญาติตัวอย่างคำถามสำหรับการถามญาติ • “ญาติเป็นห่วงในตัวผู้ป่วยอย่างไรบ้างครับ?” • “ญาติคิดว่าตนเองจะมีส่วนช่วยผู้ป่วยอย่างไรบ้างครับ?” • “ญาติอยากให้ผมช่วยผู้ป่วยอย่างไรบ้างครับ?” • “ญาติต้องการข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนผู้ป่วยเพิ่มเติมบ้างครับ?” • “คุณอยากให้ญาติมีส่วนช่วยสนับสนุนอย่างไรบ้าง?” (ถามผู้ป่วย)

More Related