1 / 63

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ และ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ และ. การปฏิบัติหน้าที่ กับความรับผิดของเจ้าหน้าที่. การปฏิบัติหน้าที่. ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย.

xanthe
Download Presentation

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ และ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ และ

  2. การปฏิบัติหน้าที่ กับความรับผิดของเจ้าหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจเป็นความรับผิดอย่างอื่น เป็นเหตุพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น /สมาชิกสภาท้องถิ่น ทำให้เกิดความเสียหาย เข้าเหตุตามมาตรา 81-85 เจตนาทุจริต กลั่นแกล้ง ให้เสียหาย รับผิดทางอาญา รับผิดทางละเมิด รับผิดทางวินัย

  3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าการเร่งรัด ติดตามเกี่ยวกับกรณีเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต พ.ศ.2546 หลักการ -สตง.ตรวจพบว่าหน่วยงานของรัฐเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ทุจริตและชี้มูลทางวินัย ทางอาญาและทางแพ่ง - หน่วยงานต้องดำเนินการโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริง

  4. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การทำละเมิด 1. กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ 2. ต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย 3. ทำให้เขาเสียหายถึงแก่ ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ

  5. จงใจ • จงใจ คือ จงใจให้เขาเสียหาย รู้สำนึกของการกระทำว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น แต่ไม่หมายเลยไปถึงกับว่าจะต้องเจาะจงให้เกิดผลเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเช่นการกระทำโดยเจตนาในทางอาญา • ฎ 1104/2509 ที่อ้างว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย จึงไม่มีความจงใจทำละเมิดนั้น เป็นการเลี่ยงเจตนารมณ์กฎหมาย เพราะการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตาย ก็ได้ชื่อว่าทำละเมิด แต่การละเมิดนั้นถึงกับมีเจตนาจะฆ่าหรือทำให้ตายโดยไม่มีเจตนานั้น เป็นเรื่องของเจตนาในทางอาญา การเจตนากระทำการกับการจงใจกระทำจะตีความอนุโลมอย่างเดียวกันหาได้ไม่ • กรณีทุจริต เป็นการกระทำโดยจงใจ

  6. ประมาท 1. การกระทำ ที่มิได้กระทำโดยเจตนา 2. แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมี ตามวิสัยและพฤติการณ์ 3. และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

  7. เหตุสุดวิสัย 1. เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้น หรือจะให้ผลพิบัติ 2. เป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้ 3. แม้บุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบ จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาด- หมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น

  8. ประมาทเลินเล่อ (เล็กน้อย/ธรรมดา) • เก็บรักษาทรัพย์สินที่มีค่าของทางราชการไว้ที่เดียวกันกับทรัพย์สินที่มีค่าของตนเอง • คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ ๑๐๔๔/๒๕๕๐ การที่ผู้ฟ้องคดีวางกระเป๋าเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ที่ชั้นวางของตามสภาพที่เป็นอยู่ภายในห้องพักและวางไว้ใกล้เคียงกับทรัพย์สินที่มีค่าของตนเอง เป็นการเก็บรักษาทรัพย์สินของทางราชการดังเช่นวิญญูชนพึงกระทำในสภาวการณ์และสถานที่เช่นนั้น และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเก็บรักษาโดยขาดความระมัดระวังอย่างผิดปกติ

  9. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานอย่างมาก • ไม่ใช้ความระมัดระวัง หากใช้เพียงเล็กน้อยก็จะสามารถป้องกันความเสียหายได้ • ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหาย • ลำพังความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย มีเหตุอื่นด้วยจึงเกิดความเสียหาย ไม่เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • มีตัวอย่าง และการเตือน

  10. กรณีที่ถือว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” • ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเลยสักนิด • ทำผิดซ้ำๆในเรื่องแบบเดียวกัน • ปฏิบัติผิดมาตรฐานวิชาชีพ • ฝ่าฝืนกฎหมาย/ระเบียบ • กฎหมาย/ระเบียบ กำหนด วิธีปฏิบัติไว้ แต่ไม่ได้ทำ หรือปฏิบัติตามนั้น

  11. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • ฎ 1789/2518ควันไฟอันเกิดจากไฟไหม้เศษปอจากโรงงานของจำเลยถูกลมพัดลอยไปครอบคลุมผิวจราจรเป็นเหตุให้รถโจทก์ถูกชนท้าย ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มควันไฟอันเกิดจากการเผาเศษปอของจำเลยได้เคยถูกลมพัดพาไปครอบคลุมถนนเป็นเหตุให้รถยนต์เกิดชนกันมาแล้ว ๒-๓ ครั้ง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยวางมาตรการป้องกัน คงปล่อยปละละเลยให้เหตุการณ์เป็นเช่นเดิม กระทั่งได้เกิดเหตุคดีนี้อีก พฤติการณ์ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยเพราะจำเลยย่อมทราบดีว่าลมอาจจะพัดพาเอาควันไฟไปครอบคลุมผิวจราจรได้ ซึ่งจำเลยอาจจะป้องกันได้โดยย้ายบ่อเผาเศษปอให้ห่างไกลพอที่ลมไม่สามารถจะพัดพาควันไฟมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุได้ จำเลยก็หาได้กระทำเช่นว่านั้นไม่ คดีจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย จำเลยต้องรับผิด

  12. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๐/๒๕๕๒ การกระทำที่จะถือว่าเป็นการกระทำการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนั้น หมายถึง การกระทำโดยมิได้เจตนา แต่เป็นการกระทำซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ และหากใช้ความระมัดระวังแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้ แต่กลับมิได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย • แม้จะรับฟังได้อย่างที่กล่าวอ้างว่าขับรถเร็วเกินกว่าที่แจ้งจริง แต่ก็มิได้แสดงให้เห็นว่า ในภาวะที่มีรถยนต์บรรทุกกระบะเร่งเครื่องแซงรถยนต์บรรทุกสิบล้อเข้ามาในช่องทางเดินรถของผู้ฟ้องคดีอย่างกะทันหัน ผู้ฟ้องคดีอาจใช้ความระมัดระวังแม้เพียงเล็กน้อยอย่างไรก็อาจป้องกันมิให้รถยนต์เกิดความเสียหายได้ แต่ผู้ฟ้องคดีกลับมิได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย เพราะการที่ผู้ฟ้องคดีขับรถมาด้วยความเร็วเกินกว่าที่แจ้งเพียงประการเดียวยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุละเมิดในครั้งนี้ เนื่องจากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่ามีรถยนต์บรรทุกกระบะขับแซงรถยนต์บรรทุกสิบล้อเข้ามาในช่องทางเดินรถของผู้ฟ้องคดีในระยะกระชั้นชิดด้วย ดังนั้น จึงเห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

  13. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๓๘-๓๓๙/๒๕๔๙กรรมการตรวจการจ้างลงชื่อตรวจรับสินค้าโดยไม่ได้ตรวจสินค้าจริง เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๒๖๗/๒๕๕๐ ผู้ควบคุมงานก่อสร้างถนนไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามที่ระเบียบกำหนดไว้ ถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

  14. ขั้นตอนการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดขั้นตอนการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด

  15. หลักเกณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติหลักเกณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติ • ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ • ขั้นตอนการดำเนินการเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ • ขั้นตอนการดำเนินการเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก • การเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน • การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง • การนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ในกระบวนการหาผู้รับผิดทางละเมิด • ประเด็นคำวินิจฉัยชี้ขาดฯ เกี่ยวกับการกระทำละเมิด • การอุทธรณ์คำสั่ง

  16. หลักกฎหมายในเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดหลักกฎหมายในเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด • ไม่ใช่เรื่องการลงโทษผู้กระทำละเมิด • แต่เป็นการเยียวยาให้ผู้เสียหายกลับสู่สถานะที่ควรเป็น หากไม่มีการละเมิดเกิดขึ้น • ผู้เสียหายจึงไม่อาจได้รับการเยียวยาเกินกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงตามที่ได้รับ • ศาลจะต้องกำหนดโดย • คำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด • พิจารณาถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด • พิจารณาถึงผลการกระทำละเมิดว่าก่อให้เกิดความเสียหายที่แท้จริงแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด • โดยสรุป การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน • คืนทรัพย์สิน หรือใช้ราคาทรัพย์นั้นให้แก่ผู้ถูกกระทำละเมิด • หากได้รับความเสียหาย ก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ด้วย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๘๐/๒๕๔๘

  17. ต้องนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับด้วยต้องนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับด้วย คำสั่งทางปกครอง การพิจารณาปกครอง การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง มาตรการบังคับทางปกครอง แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินตามมาตรา 12

  18. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 สาระสำคัญ... เป็นกฎหมายที่กำหนดกระบวนการพิจารณา วินิจฉัย สั่งการ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น การมีคำสั่ง อนุญาต อนุมัติ แต่งตั้ง หรือคำสั่งอื่นใด ที่มีผลให้เกิดความ เปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธิ หรือหน้าที่ต่อบุคคลอื่นโดย วางระเบียบให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้อำนาจตามที่กฎหมาย กำหนดไว้.

  19. “คำสั่งทางปกครอง” หมายถึง 1. การใช้อำนาจตาม ก.ม.ของ จนท. 2. คำสั่งทำให้มีผล - เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในการจะ ก่อ/เปลี่ยนแปลง/โอน/สงวน/ระงับ หรือ - กระทบต่อสถานะภาพของสิทธิ/หน้าที่ ของบุคคล เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง การรับจดทะเบียน แต่ไม่รวมกึงการออก “กฎ”

  20. การพิจารณาทางปกครอง หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง มาตรการภายในของฝ่ายปกครอง

  21. ขั้นตอนการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดขั้นตอนการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด กระทำละเมิดต่อหน่วยงาน กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก

  22. ขั้นตอนการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานขั้นตอนการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงาน

  23. ขั้นตอนการดำเนินการหาผู้รับผิดชอบทางละเมิดขั้นตอนการดำเนินการหาผู้รับผิดชอบทางละเมิด • แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด • รวบรวมหลักฐานและให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจง • คณะกรรมการฯ เสนอความเห็นไปยังผู้แต่งตั้ง • วินิจฉัยว่ามีผู้รับผิดหรือไม่ เท่าใด แต่ยังไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ • ส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและพิจารณา • ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง • แจ้งคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ พร้อมสิทธิฟ้องคดีและอายุความฟ้องคดี

  24. ขั้นตอนการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐขั้นตอนการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ • ผู้ดูแล/ใช้ทรัพย์สินการรายงานความเสียหายถึงหัวหน้าหน่วยงาน • แต่งตั้ง “คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด” กรณี “มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่”  กรณีความเสียหายไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่  จำนวนไม่เกิน ๕ คน กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ • คุณสมบัติและข้อห้ามของคณะกรรมการฯ “ต้องไม่เป็นผู้ที่มีลักษณะที่ขัดต่อหลักความเป็นกลาง (ตามหมวด 2 ภาค 1 วิปฏิบัติ)”

  25. การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ (ตามหมวด 5 วิปฏิบัติ)  องค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการฯ  ประธานไม่อยู่/ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้เลือกกรรมการที่มาประชุมเป็นแทน  ระยะเวลาการพิจารณา ควรกำหนดในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ หากไม่เสร็จขอขยาย (ตามหมวด 3 วิปฏิบัติ)  ลงมติโดยถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์  กรรมการที่ไม่เห็นด้วย สามารถทำความเห็นแย้งมติที่ประชุมได้ ความเห็นของคณะกรรมการฯ ต้องมี ก) ข้อเท็จจริงข) ข้อกฎหมายค) พยานหลักฐานที่สนับสนุน

  26. คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่(ส่วนที่ 3 วิปฏิบัติ)  ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำละเมิด  รวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง  รับฟังพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ  ตรวจสอบเอกสาร วัตถุ หรือสถานที่ • เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเต็มที่และเป็นธรรมทุกฝ่าย • (มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน)

  27. มาตรา 30 วรรคหนึ่งในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน ข้อ 15 คณะกรรมการต้องให้โอกาสแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรม เปรียบเทียบมาตรา 30 กับข้อ 15

  28. ตัวอย่าง • คำสั่งศาลปกครองกลางที่ 2163/2545 ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าคำสั่งของหน่วยงานที่เรียกเงินจากผู้ฟ้องคดี (คำสั่งตามมาตรา 12) ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจาก... • ผู้ฟ้องคดีสำเร็จการศึกษาด้านพาณิชย์ ไม่มีความรู้เรื่องระบบเครื่องยนต์ กลไก แต่กลับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับยานพาหนะ... • คณะกรรมการเรียกผู้ฟ้องคดีไปสอบสวนในฐานะพยาน แต่ภายหลังกลับมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วยนั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียสิทธิในการชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรมตามระเบียบฯ ข้อ 15 ...

  29. คำสั่ง (คำขอทุเลาฯ) ที่ ๒๗๒/๒๕๕๑(นาย อ. กับ ๑ ปสธ. ๒ รมว.สธ. และ ๓ กรมบัญชีกลาง) • หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดโดยไม่ชักช้า เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้นั้นต้องชดใช้ และ • ข้อ ๑๕ กำหนดว่า คณะกรรมการต้องให้โอกาสแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรม

  30. ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดกรณีนาง ก. ซึ่งมีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเงินของ รพ. ป. ได้อาศัยโอกาสตำแหน่งหน้าที่แก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขและตัวหนังสือข้อความในเช็คเงินสดของ รพ. ให้มีค่าสูงขึ้นกว่าจำนวนเงินจริง เมื่อถอนเงินแล้วได้ทุจริตยักยอกเอาเงินส่วนที่เกินจำนวนเงินจริงเป็นของตนและโอนเข้าบัญชีบุคคลอื่น • ต่อมา ประธานกรรมการฯ มีหนังสือถึง ผวจ. แจ้งว่าคณะกรรมการฯ กำหนดวันสอบข้อเท็จจริงบุคคลต่างๆ ที่ สสจ. จึงขอให้เตรียมบุคคลตามรายชื่อซึ่งมีชื่อของผู้ฟ้องคดีด้วย

  31. ผู้ฟ้องคดีให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการฯ ว่า • ผู้ฟ้องคดีเกี่ยวข้องกับเรื่องในฐานะผู้บังคับบัญชาของนาง ก. ทราบเรื่องกรณีนาง ก. ทุจริตยักยอกฯ และ • ยังให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บังคับบัญชาของนาง ก. และผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในเช็คของ รพ. ด้วย • จึงเห็นได้ว่า ผู้ฟ้องคดีได้ตระหนักรู้ในขณะให้ถ้อยคำว่า คณะกรรมการฯ เรียกให้ผู้ฟ้องคดีให้ถ้อยคำในฐานะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ รพ. กล่าวคือ ในฐานะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกรณีนาง ก. ทุจริตยักยอกเงิน มิใช่ในฐานะพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ และ • เห็นได้จากถ้อยคำว่าคณะกรรมการฯ ได้ให้โอกาสผู้ฟ้องคดีในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรมตามนัยข้อ ๑๕ แล้ว

  32. นอกจากนั้น หลังจากผู้ฟ้องคดีให้ถ้อยคำ ผู้ฟ้องคดีก็มิได้เสนอพยานหลักฐานใดเพิ่มเติมทั้งที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้และ • โดยที่เป็นเพียงการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด มิใช่การสอบสวนพิจารณาข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ที่จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบก่อนทำการสอบสวน ตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง แห่ง พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ • คณะกรรมการฯ จึงไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ฟ้องคดีทราบก่อนให้ผู้ฟ้องคดีให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการฯ แต่อย่างใด จึงยังไม่อาจถือได้ว่า คำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดความเสียหายแก่ราชการน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากออกโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการออกคำสั่งดังกล่าวดังที่ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัย

  33. ประเด็นพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนฯ ประเด็นพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนฯ

  34. ความเสียหายมีสาเหตุจากการทุจริต เงินขาดบัญชีหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. หรือข้อบังคับต่าง ๆ ไม่ต้องส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ดังนี้ก)สาเหตุจากทุจริตหน่วยงานให้ผู้ทุจริตรับผิดชดใช้เต็มจำนวน และให้ผู้เกี่ยวข้องที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นโอกาสหรือช่องทางให้เกิดการทุจริตชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้วข)สาเหตุจากเงินขาดบัญชีหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. หรือข้อบังคับต่าง ๆและไม่ได้เกิดจากการทุจริต เมื่อหน่วยงานฯ ให้ผู้จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงชดใช้เต็มจำนวนแล้ว กรณีที่ไม่ต้องส่งให้กระทรวงการคลัง หน่วยงานฯ ต้องรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นตามแบบ ให้กระทรวงการคลังทราบทุก ๓ เดือน

  35. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการสอบสวนข้อสังเกตเกี่ยวกับการสอบสวน • เป็นการกระทำละเมิด • กระทำโดยผิดกฎหมาย/ระเบียบ/ละเลย/ล่าช้า เกิดความเสียหาย ความเสียหายเกิดจากการกระทำไม่ชอบนั้น (เหตุ – ผล) • เพื่ออธิบายว่าเป็นละเมิด • เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • ต้องอธิบายลักษณะว่าเป็นการการกระทำจงใจหรือประมาทเลินเล่อร้ายแรง • เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ • เพื่ออธิบายว่าต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิด และรับผิดจำนวนเท่าใด • การแบ่งส่วนความรับผิด และเหตุลดหย่อน

  36. การสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด • เกิดจากเหตุใด • ค่าเสียหายจำนวนเท่าใด กรณีมีค่าเสื่อมราคาต้องหักค่าเสื่อมราคาก่อน • ความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานฯ หรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมมีหรือไม่ หากมีจะต้องหักออกจากความเสียหายด้วย • ผู้ใดต้องรับผิด และชดใช้เป็นจำนวนเท่าใด โดยคำนึงถึงความร้ายแรงแห่งการกระทำ และความเป็นธรรม • กรณีเห็นว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องพิจารณาด้วยว่าจะให้รับผิดชดใช้เท่าใด • กรณีการกระทำละเมิดเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายคน จะให้แต่ละคนรับผิดจำนวนเท่าใด นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้ไม่ได้

  37. คณะกรรมการเสนอความเห็นไปยังผู้แต่งตั้งคณะกรรมการเสนอความเห็นไปยังผู้แต่งตั้ง • ผู้สั่งแต่งตั้งวินิจฉัยว่า มีผู้รับผิดหรือไม่ เท่าใด แต่ยังไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ • การส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและพิจารณาความเสียหายเกิดกับทรัพย์สินจากสาเหตุทั่วไป ไม่ใช่ทุจริต เงินขาดบัญชีหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. หรือข้อบังคับต่างๆ ไม่ต้องส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ดังนี้ก) ส่วนราชการ ค่าเสียหายครั้งละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาทข)ราชการส่วนท้องถิ่น/รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานอื่นของรัฐ ค่าเสียหายครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทค) ความเสียหายเกิน ก) ข) และผู้ต้องรับผิดชดใช้ตั้งแต่ ๗๕% ของค่าเสียหายทั้งหมด

  38. กระทรวงการคลังต้องพิจารณาให้เสร็จภายในกำหนดเวลา กรณีส่วนราชการไม่เกิน ๑ ปี ครึ่ง (ก่อนขาดอายุความ ๖ เดือน) กรณีราชการส่วนท้องถิ่น/รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่เกิน ๑ ปี (ก่อนขาดอายุความ ๑ ปี) • หากกระทรวงการคลังพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหัวหน้าหน่วยงานฯ มีคำสั่งตามที่เห็นสมควร และแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ เตรียมการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทน หรือเตรียมพยานหลักฐานสำหรับการฟ้องคดี อย่าให้ขาดอายุความ ๒ ปีข้อสังเกต.- กรณีกระทรวงการคลังขอหลักฐานเพิ่มเติม ก็จะต้องจัดหาหลักฐานให้กระทรวงการคลัง

  39. ข้อ ๑๘ เมื่อกระทรวงการคลังพิจารณาเสร็จแล้ว ให้ผู้แต่งตั้งมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังและแจ้งคำสั่งนั้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ แต่ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เสียหายเป็นราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจฯ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้กำกับดูแลหรือควบคุมหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นวินิจฉัยสั่งการให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวปฏิบัติตามที่เห็นว่าถูกต้อง • ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เสียหายสั่งการตามความเห็นของกระทรวงการคลังให้ผู้แต่งตั้งดำเนินการเพื่อออกคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนหรือฟ้องคดีต่อศาลอย่าให้ขาดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้แต่งตั้งแจ้งคำสั่งให้ผู้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทราบ

  40. เมื่อกระทรวงการคลังพิจารณาเสร็จและส่งสำนวนคืน กรณีเป็นส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานฯ ต้องมีคำสั่งตาม ความเห็นนั้นให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ [โดยแจ้งเป็น “คำสั่งทางปกครอง”จึงต้องแจ้งสิทธิการอุทธรณ์คำสั่งฯ ต่อผู้ออกคำสั่งภายใน ๑๕ วันนับแต่วันได้รับแจ้งต่อผู้ออกคำสั่งฯ] กรณีเป็นราชการส่วนท้องถิ่นฯ หากไม่เห็นด้วยกับความเห็น กค. จะสั่งการเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นว่าถูกต้อง โดยจะต้องมีเหตุผลที่ดีกว่าและหักล้างเหตุผลของ กค. ได้ หากไม่สามารถหาเหตุผลมา หักล้างได้ ผู้สั่งการจะต้องรับผิดหากเกิดความเสียหายขึ้น หากหน่วยงานฯ เห็นว่า ไม่ต้องมีผู้ใดรับผิด แต่ กค. เห็นว่า มีเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมฯ มีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่หัวหน้าหน่วยงานฯ มีคำสั่งตามความเห็น กค. (หัวหน้า หน่วยงานฯ ต้องออกคำสั่งตามมาตรา ๑๒ ภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ หน่วยงานมีคำสั่งตามความเห็นของ กค. ตามข้อ ๑๘)

  41. หัวหน้าหน่วยงานฯ สั่งการตามความเห็นของ กค. (ข้อ ๑๘) • หัวหน้าหน่วยงานฯ ออกคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนภายใน ๒ ปี นับแต่วันที่รู้เหตุฯและรู้ตัวฯ (คำสั่งตามมาตรา ๑๒) พร้อมแจ้งสิทธิอุทธรณ์คำสั่งฯ ตามมาตรา ๔๐ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง • หากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว จะต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ออกคำสั่งภายใน ๑๕ วัน ตามมาตรา ๔๔ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง • หากวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ยังไม่พอใจ เจ้าหน้าที่สามารถฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งฯ ต่อศาลปกครองได้ภายใน ๙๐ วัน • หากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายในระยะเวลาที่กำหนด หน่วยงานมีอำนาจออกคำสั่งยึด/อายัด ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่และนำออกขายทอดตลาดได้ (ตามมาตรา 57 วิปฏิบัติ)ข้อสังเกต.- การออกคำสั่งทางปกครองต้องปฏิบัติตามวิปฏิบัติ

  42. การตั้งกรรมการสอบสวนร่วมกัน : กรณีความเสียหายเกิดจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐอื่น หรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายมากกว่า ๑ แห่ง และหรือความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน หัวหน้าหน่วยงานฯ ที่ได้รับความเสียหาย และหัวหน้าหน่วยงานฯ ที่เจ้าหน้าที่สังกัด ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการฯขั้นตอนการสอบสวน กระบวนการพิจารณาเสนอความเห็น การลงมติ ฯลฯ เหมือนขั้นตอนปกติผู้แต่งตั้งมีอำนาจทำคำวินิจฉัยได้ แต่คำวินิจฉัยจะตรงกันหรือไม่ก็ได้ แล้วรายงาน กค. เพื่อตรวจพิจารณาต่อไป

  43. กรณีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่-รัฐเสียหายกรณีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่-รัฐเสียหาย 1. รถราชการเสียหาย/สูญหาย - รถคว่ำ(ไม่มีคู่กรณี) - รถชนกัน - รถถูกโจรกรรม : กรณีรถราชการเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหาย และมีผู้บาดเจ็บ ให้แจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ( กค 0508/ว 27274 ลว.19 กรกฎาคม 2525)

  44. 2. ทรัพย์สินราชการ ชำรุดเสียหาย/ถูกโจรกรรม 3. ทุจริต/ยักยอกเงินของทางราชการ - เบิกจ่ายเงินเท็จ - ปลอมเอกสารเบิกจ่าย 4. เพลิงไหม้ 5. การจัดซื้อ/จัดจ้าง 6. เบิกจ่ายเงินโดยผิดกฎหมาย/ระเบียบ

  45. การปฏิบัติหน้าที่ในการใช้-รถเกิดอุบัติเหตุการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้-รถเกิดอุบัติเหตุ 1. การใช้รถราชการ/การเก็บรักษา - ขออนุมัติใช้ตามระเบียบ/บันทึกการใช้รถ - ใช้ในงานราชการเท่านั้น/ไม่ออกนอกเส้นทาง - เก็บสถานที่ราชการ/ที่อื่นชั่วคราว ขออนุญาต 2. กรณีรถราชการเกิดอุบัติเหตุ - ถ่ายภาพรถ/สถานที่เกิดเหตุ - รายงาน ผบ. - แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ( กค 0508/ว 27274 ลว.19 กรกฎาคม 2525)

  46. ตัวอย่างการละเมิดที่มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวอย่างการละเมิดที่มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ 1. นำรถราชการไปใช้ส่วนตัว แล้ว รถคว่ำ(ไม่มีคู่กรณี)/ รถชนกัน /รถถูกโจรกรรม 2. นำทรัพย์สินราชการไปใช้ส่วนตัว แล้ว - ชำรุดเสียหาย/สูญหาย - ถูกโจรกรรม - ลักทรัพย์สินทางราชการ 3. การรักษาพยาบาล ที่ทำส่วนตัว

  47. การเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิรับไป1. ถือว่า เป็นความบกพร่องและความประมาทเลินเล่อ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจสอบหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย 2. ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด (ที่ กค.0518.6/14708 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2545)

  48. คำส่งให้แพทย์คืนเงิน จำนวน ๓๘๐,๐๐๐ บาท เป็น คำสั่งทางปกครองการที่แพทย์ทั้งสองอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาจริง แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานการลงชื่อและเวลาทำงานนอกเวลาราชการ เพราะเป็นการเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข มิใช่การเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง จึงไม่ต้องคืนเงินจำนวน ๓๘๐,๐๐๐ บาท ให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้แพทย์ทั้งสองชดใช้เงินจำนวนดังกล่าว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๓/๒๕๔๘)

  49. ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีงดเบิกค่าเช่าบ้านและให้คืนเงินค่าเช่าบ้านที่เบิกไปแล้ว โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีมิได้อาศัยอยู่ในบ้านของมารดาในฐานะผู้เช่ากับผู้ให้เช่า แต่เมื่อมารดาประกอบอาชีพให้เช่าบ้านและมีหลักฐานแสดงชัดเจนว่าได้มีการเช่าจริง อีกทั้งไม่มีกฎหมายห้ามข้าราชการเช่าบ้านบิดามารดา จึงไม่มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งอนุมัติเบิกค่าเช่าบ้าน (อ.๑๖๐/๒๕๔๘)

More Related