1 / 54

รศ.ดร. โชติ จิตรังษี ( Ph.D. Organic Chemistry ) Email: jchote@sci.ubu.ac.th Office: Chem 1208

ดร.ศักดิ์ศรี สุภาษร ( Ph.D. Sci. & Tech. Education ) Email: ssaksri@sci.ubu.ac.th Office: SC 1381. เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry) บทที่ 8 กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ ( Carboxylic Acids & Derivatives ).

Download Presentation

รศ.ดร. โชติ จิตรังษี ( Ph.D. Organic Chemistry ) Email: jchote@sci.ubu.ac.th Office: Chem 1208

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ดร.ศักดิ์ศรี สุภาษร(Ph.D. Sci. & Tech. Education) Email: ssaksri@sci.ubu.ac.thOffice: SC 1381 เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry)บทที่ 8 กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ (Carboxylic Acids & Derivatives) รศ.ดร. โชติ จิตรังษี(Ph.D. Organic Chemistry)Email: jchote@sci.ubu.ac.thOffice: Chem 1208 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  2. วัตถุประสงค์ (Learning Objectives) นักศึกษาสามารถ ... • อธิบายลักษณะด้านต่างๆของกรดคาร์บอกซิลิก ได้แก่ โครงสร้างทั่วไป หมู่ฟังก์ชัน การเขียนชื่อ การเรียกชื่อของกรดฯ และอนุพันธ์ที่สำคัญ • อธิบายสมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมีที่สำคัญ ที่นักศึกษาต้องนำไปใช้ในการเรียนวิชาขั้นสูงต่อไป (เช่น วิชาชีวเคมี เป็นต้น) • อธิบายปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญของกรดฯ และของอนุพันธ์ของกรดฯ โดยเฉพาะที่จะต้องใช้ในวิชาที่ต้องเรียนต่อไป (เช่น วิชาชีวเคมี เคมีของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นต้น)

  3. 8.1 หมู่ฟังก์ชันและโครงสร้างของกรดคาร์บอกซิลิก หมู่ฟังก์ชันของกรดคาร์บอกซิลิก คือ หมู่คาร์บอกซิล (carboxyl group, -COOH) • - ถ้า R- เป็นหมู่แอลคิล (alkyl, R) เรียกว่า กรดคาร์บอกซิลิกแบบ ……………….. • ถ้า R เป็นหมู่ aromatic (Ar) เรียกว่า กรดคาร์บอกซิลิกแบบ …………….…. • - ถ้าหมู่ R- เป็นสายยาว =>..................... (fatty acid) คำถาม 1) นักศึกษาเคยพบหมู่ฟังก์ชันทั้งสอง (-C=O, -OH)นี้มาก่อนหรือไม่ ? 2) ถ้าเคย พบในสารประกอบชนิดใด ?

  4. มีหมู่คาร์บอนิล (C=O, carbonyl) ต่อกับหมู่ไฮดรอกซิล (-OH, hydroxyl) หมู่คาร์บอกซิลเป็นหมู่มีขั้ว (polar functional group) O เป็น nucleophile (..................................................) C เป็น electrophile (...................................................) โครงสร้างของหมู่คาร์บอกซิล

  5. กรดคาร์บอกซิลิกที่พบในธรรมชาติกรดคาร์บอกซิลิกที่พบในธรรมชาติ ..................... (formic acid) พบในมด ................................ (กรดน้ำส้มในน้ำส้มสายชู) ................................ในเนย ใช้.................................ในการสังเคราะห์โพลิเมอร์ต่างๆ ............................ เป็นสารกันบูด (preservative) ในอาหาร และเครื่องดื่ม สูตรโครงสร้างของกรดคาร์บอกซิลิกสามัญบางชนิด

  6. ตัวอย่างของสารประกอบกรดคาร์บอกซิลิกในธรรมชาติตัวอย่างของสารประกอบกรดคาร์บอกซิลิกในธรรมชาติ • ........................................................หรือ.................................. ........................... ซึ่งพบในผลไม้ต่างๆ • กรดยูริก (uric acid) • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโมเลกุล................................ ........................... ในร่างกายของสัตว์ แมลง และมนุษย์ • ถูกขับออกจากร่างกายในรูปแบบต่างๆ • ถ้าสะสมมากจะเป็นสาเหตุของโรค.................................. ซึ่งมีอาการปวดเพราะมีกรดสะสมที่ข้อต่อ จะเห็นว่าเป็นโครงสร้างที่ไม่มีหมู่ฟังก์ชันอิสระของ –COOH (carboxyl group) แต่อยู่ในรูปของอนุพันธ์ของกรดแบบต่างๆ

  7. 8.2 การเรียกชื่อ (Nomenclature) • การเรียกชื่อหลายแบบ ที่สำคัญมี 2 แบบ คือ • ชื่อสามัญ (common name) • ชื่อตามระบบ IUPAC (IUPAC name) • การเรียกชื่อสารจะมี 2-3 ส่วน คือ prefix + parent name + suffix (ถ้าไม่มีหมู่แทนทีจะไม่มีส่วน prefix) ................................ หมู่แทนที่ [substituent(s)] ................................ parent structure ส่วนที่เป็น alkane ................................ หมู่ฟังก์ชั่น [functional group(s)]

  8. 8.2.1) การเรียกชื่อสามัญ อาศัยชื่อจากแหล่งที่พบสาร กรดฟอร์มิก (กรดมด) กรดอะซิติก (พบในน้ำส้มสายชู) เป็นต้น ตั้งชื่อตามความสัมพันธ์ของสารหรือวัสดุที่มีสารนั้นเป็นองค์ประกอบ

  9. 8.2.2) การเรียกชื่อในระบบ IUPAC prefix บอกตำแหน่ง จำนวน และชื่อหมู่แทนที่ โครงสร้างหลัก ที่เป็น alkane คำลงท้าย (suffix) บอกหมู่ฟังก์ชั่น • ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับสารอินทรีย์อื่นๆ alkane oic acid = + hexane oic acid = + ………………acid …………………acid ....................acid ………………acid

  10. ตัวอย่างการเรียกชื่อ carboxylic acid

  11. ตัวอย่างการเรียกชื่อ carboxylic acid ____________ acid ________butanoic acid _____________ acid ____________ carboxylic acid ___________pentanoic acid _____________cyclohexane carboxylic acid

  12. Aromatic carboxylic acid ที่สำคัญ คือ กรดเบนโซอิก ___________benzoic acid __________ acid _____________benzoic acid ______________benzoic acid

  13. แบบฝึกหัด 1. จงเขียนชื่อในระบบ IUPAC ของกรดคาร์บอกซิลิกต่อไปนี้ ______________________ ____________________ ______________________ ______________________________ ______________________ ______________________ ______________________ __________________________________ ______________________

  14. 2. จงเขียนสูตรโครงสร้างของกรดคาร์บอกซิลิกต่อไปนี้ 1) 2,3,3-trimethylbutanoic acid 2) 4-isopropylbenzoic acid 3) 3,3-dimethylpentanoic acid 4) 4-bromo-4-fluoro-3-hydroxyhexanoic acid 5) 4-amino-2-methoxybutanoic acid แบบฝึกหัด

  15. 8.3 สมบัติทางกายภาพของกรดคาร์บอกซิลิก 8.3.1)ความเป็นขั้ว (Polarity)ของโมเลกุล • ........................ (……………….) คือ พันธะที่มีอะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบ (electronegativity; EN) ต่างกันมาต่อกัน • เช่น พันธะระหว่าง O กับ H ในโมเลกุลของน้ำ หรือ พันธะระหว่าง H กับ F ใน H-F เป็นต้น • อะตอมที่มี EN สูงกว่าจะมีสภาพขั้วเป็นลบ ได้แก่ ……………….. • อะตอมที่มี EN ต่ำกว่าจะมีสภาพขั้วเป็นบวก ได้แก่ ……………… พันธะสีแดงเป็นพันธะมีขั้ว เพราะมีอะตอมที่มีค่า EN ต่างกันทำพันธะกัน

  16. 8.3.2) พันธะไฮโดรเจน(Hydrogen bonds) • พันธะไฮโดรเจนเกิดขึ้น เมื่อมีอะตอมของไฮโดรเจนมาอยู่ระหว่างอะตอมที่มีค่า EN สูง เช่น O หรือ X (เฮโลเจน) • ในกรณีของกรดฯ จะมีพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลได้ทั้ง 3 มิติ การเกิดพันธะไฮโดรเจนของโมเลกุลกรดอะซิติกเป็น__________________ electrostatic potential map สีแดงแทนสภาพขั้วลบ (หรือประจุลบ) สีน้ำเงินแทนสภาพขั้วบวก (หรือประจุบวก) (ความเข้มของสีจะแทนขนาดของประจุ)

  17. ผลของพันธะไฮโดรเจนต่อค่าจุดเดือดและการละลายผลของพันธะไฮโดรเจนต่อค่าจุดเดือดและการละลาย H-bond ………………….covalent bond แต่เมื่อเกิดเป็นจำนวนมาก จะมีความแข็งแรงมากขึ้นและทำให้โมเลกุล....................สูงกว่าโมเลกุลอื่นๆ ที่ไม่มีพันธะไฮโดรเจน (ดูตัวอย่างในหน้าต่อไป) สารใดเกิด H-bond ได้ดีกับโมเลกุลของน้ำ สารนั้นจะ..................................... เปรียบเทียบค่าจุดเดือดของสารอินทรีย์ต่างๆ ที่มีการเกิด H-bond แตกต่างกัน แสดงว่าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล carboxylic acid .... alcohol .…. aldehyde ….. alkane

  18. 8.3.3) การละลายของสารในตัวทำละลาย (Solubility) • การละลายของสารขึ้นกับความเป็นขั้วของโมเลกุลของตัวถูกละลาย (solute)กับตัวทำละลาย (solvent) • โมเลกุลของกรดคาร์บอกซิลิกมี 2 ส่วนที่มีความเป็นขั้วต่างกัน • หมู่คาร์บอกซิลมีขั้ว จึงเรียกว่า hydrophilic region • ส่วนที่เป็นสายไฮโดรคาร์บอนจะเป็นhydrophobic region การละลายจะขึ้นกับ 2 ส่วนนี้ • ถ้าส่วน hydrophobic ยิ่งมาก (มีสาย HC ยาว) การละลายในตัวทำละลายมีขั้วจะ............ • ถ้าส่วน hydrophobic ยิ่งน้อย (มีสาย HC สั้น) การละลายในตัวทำละลายมีขั้วจะ.............. Decanoic acid

  19. การเปรียบเทียบการละลายของสารอินทรีย์ต่างๆ ในน้ำ - ต้องเปรียบเทียบระหว่างสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลใกล้เคียงกัน - กรดคาร์บอกซิลิก …. แอลกอฮอล์ ….. แอลดีไฮด์ ….. แอลเคน - กรดที่มีสาย HC ยาวกว่า จะละลายน้ำได้.................

  20. สมการทั่วไป : 8.4การเตรียมกรดคาร์บอกซิลิก กรดคาร์บอกซิลิกสามารถเตรียมได้จากหลายวิธี แต่จะกล่าวถึงเพียง 3 วิธี คือ 8.4.1) เตรียมจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของแอลกอฮอล์ปฐมภูมิ (1o alcohol)

  21. สมการทั่วไป : 8.4.2) เตรียมจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของแอลคิลเบนซีน ประโยชน์ของปฏิกิริยานี้คือ 1. หมู่แอลคิลทุกหมู่จะถูกเปลี่ยนเป็นหมู่ ………… 2. หมู่แอลคิลมีขนาดเท่าใดก็ได้

  22. สมการทั่วไป 8.4.3) เตรียมจากปฏิกิริยาคาร์บอกซิเลชันของสารประกอบกรินยาด์ (Grignard reagent)

  23. 8.5 สมบัติทางเคมีของกรดคาร์บอกซิลิก สมบัติทางเคมี => การเกิดปฏิกิริยาเคมีของหมู่คาร์บอกซิล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ปฏิกิริยาที่หมู่ไฮดรอกซิล (a) 2. ปฏิกิริยาที่คาร์บอนของหมู่คาร์บอนิล (b) หรือหมู่เอซิล(acyl group) หมู่ –COOH และหมู่ –OH เป็นหมู่มีขั้ว เพราะ .......................................... สภาพขั้วบวกและลบของพันธะต่างๆ ใน carboxylic acid

  24. อะตอมที่มีลักษณะเป็นขั้วจำเพาะ จะบอกถึงลักษณะการเกิดปฏิกิริยา แบบต่างๆ ซึ่งแสดงในโครงสร้างต่อไปนี้ อะตอมที่มีสภาพขั้วเป็นบวก (หรือประจุบวก) เป็น …………………… center ซึ่งจะถูก attacked (...........................)โดย ……………….. reagent เช่น HO- , CN-, X- อะตอมที่มีสภาพขั้วเป็นลบ (หรือประจุลบ) เป็น ………………… center จะถูก attacked (ปะทะหรือโจมตี)โดย ……………….. reagent เช่น H+ ข้อความต่อไปนี้ สำคัญมาก ถ้าบอกความเป็นelectrophilic หรือnucleophilicของอะตอมต่างๆ ได้ ก็สามารถทำนายชนิดการเกิดปฏิกิริยาระหว่างรีเอเจนต์ชนิดต่างๆ ที่อะตอมนั้นได้

  25. ตัวอย่างโครงสร้างของ procaine มีหมู่ฟังก์ชันที่หลากหลาย มีอะตอมที่แสดงความเป็นขั้วจำเพาะ จึงอาจเกิดปฏิกิริยาหลายแบบขึ้นกับชนิดของรีเอเจนต์นั้นๆ

  26. ตัวอย่างการทำนายลักษณะของปฏิกิริยาต่างที่หมู่คาร์บอนิลตัวอย่างการทำนายลักษณะของปฏิกิริยาต่างที่หมู่คาร์บอนิล จงทำนายว่ารีเอเจนต์ต่อไปนี้จะเกิดปฏิกิริยาที่ตำแหน่งใดของหมู่คาร์บอนิลหรือหมู่ไฮดรอกซิล และจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารใด

  27. 8.5.1) การแตกตัว (Dissociation) ของกรดคาร์บอกซิลิก กรดคาร์บอกซิลิกแตกตัวในน้ำได้เล็กน้อย - กรดอะซีติก (CH3COOH) มี Ka = 1.76 x 10-5 หรือ pKa =4.75 ซึ่งเป็นกรดอ่อน - สารที่มี Kaสูง (หรือมี pKa น้อย) จะเป็นกรดแก่ - สารที่มี Kaต่ำ (หรือมี pKa สูง) จะเป็นกรดอ่อน

  28. กรดคาร์บอกซิลิกเป็นกรดแก่กว่าแอลกอฮอล์กรดคาร์บอกซิลิกเป็นกรดแก่กว่าแอลกอฮอล์ ในทางเคมีอินทรีย์ จะตัดสินความเสถียร (stability) ของโมเลกุลจากลักษณะการกระจายของประจุในไอออน ถ้าประจุมีการกระจาย (delocalization) ไปที่อะตอมต่างๆ ได้ดี ไอออนนั้นจะมี................................

  29. ในกรณีของ ethanol และ acetic acid

  30. เมื่อกรดฯทำปฏิกิริยากับเบส จะเกิดเกลือคาร์บอกซิเลต 8.5.2 การเกิดเกลือ - NaHCO3เป็นเบสอ่อนกว่า NaOH จะใช้ทดสอบหรือบอกความแตกต่างของความเป็นกรด (acidity) ระหว่างสารอินทรีย์ประเภทต่างๆ ได้ - กรดอ่อน (เช่น phenol) ทำปฏิกิริยากับ …….แต่ไม่ทำปฏิกิริยากับ

  31. 8.5.3ปฏิกิริยาที่หมู่คาร์บอนิลและการเกิดอนุพันธ์ต่างๆ ของกรดฯ • กรดคาร์บอกซิลิกเกิดปฏิกิริยากับรีเอเจนต์ต่างๆ ให้สารประกอบอนุพันธ์(derivatives) มีโครงสร้างที่หลากหลาย ดังแสดงในสมการต่อไปนี้

  32. 8.5.3.1) ปฏิกิริยาแทนที่ด้วยนิวคลีโอไฟล์ (Nucleophilic Acyl Substitution) - ปฏิกิริยาระหว่างนิวคลีโอไฟล์กับหมู่เอซิลของกรดคาร์บอกซิลิกให้ผลิตภัณฑ์เป็นอนุพันธ์ต่างๆ มีกลไกเป็นNucleophilic acyl substitution - ในปฏิกิริยาเหล่านี้ หมู่ที่ต่อกับหมู่เอซิลจะหลุดออกไป และมีหมู่ nucleophile เข้าแทนที่

  33. กลไกทั่วไปของ nucleophilic acyl substitution • มีขั้นย่อย 2 ย่อย คือ • ขั้นที่ 1 เกิด Nucleophilic addition โดย nuclephile เข้าต่อที่คาร์บอนของหมู่เอซิล • ขั้นที่ 2 หมู่เดิมที่ต่ออยู่ที่หมู่เอซิลจะหลุดออกไป เรียกหมู่นี้ว่า leaving group ………… group ………………..

  34. 8.5.3.2) อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acid derivatives) • จำง่ายๆว่า อนุพันธ์ = …………….. อนุพันธ์ของกรดฯ จึงมีพ่อ-แม่เป็นกรด (parent acid) • “เราสามารถเปลี่ยนอนุพันธ์ของกรดทุกชนิด ให้กลับเป็นตัวพ่อ-แม่” • อนุพันธ์ของกรดฯ เป็นสารประกอบที่หมู่ hydroxy (-OH) ถูกแทนที่ด้วยหมู่หรืออะตอมอื่น

  35. สูตรโครงสร้างทั่วไปของอนุพันธ์ของกรดฯ ชนิดต่างๆ ขอให้จำสูตรโครงสร้างของอะตอมหรือหมู่ที่ต่อกับคาร์บอนของหมู่คาร์บอนิล (-C=O) และชื่อของสารประกอบที่มีหมู่นั้น

  36. การเรียกชื่อของอนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิกการเรียกชื่อของอนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก • ต้องจำการเรียกชื่อของสารอนุพันธ์เหล่านี้ เพราะมีการเรียกชื่อแตกต่างกัน แต่มีส่วนที่มาจากชื่อของ parent acid เสมอ (1) การเรียกชื่อ Acyl halides แทนที่คำลงท้าย -ic acid ด้วย -yl halide

  37. (2) การเรียกชื่อแอซิดแอนไฮไดรด์ (Acid anhydride) Acid anhydride (หมายถึง ………………..) ได้มาจากการควบกรด 2 โมเลกุลและสูญเสียโมเลกุลน้ำออกไป เรียกชื่อโดยแทนที่คำลงท้าย –acid ด้วยคำว่า -anhydride เช่น

  38. (3) การเรียกชื่อเอสเทอร์ (Ester) • มีโครงสร้างที่หมู่ไฮดรอกซี (OH) ถูกแทนที่ด้วยหมู่แอลคอกซี (OR) หรือหมู่ • ฟีนอกซี (OAr) จะเรียกชื่อหมู่แอลคิลหรือฟีนิลที่ต่อกับ O แล้วตามด้วยชื่อของกรด ที่เปลี่ยนคำ –ic acid เป็น –ateเช่น

  39. เอสเทอร์ที่มีวง (cyclic ester) จะมีชื่อเฉพาะว่า lactone และบอกตำแหน่งของคาร์บอนที่อะตอมของออกซิเจนของเอสเทอร์ต่ออยู่ด้วยอักษรกรีก เช่น b , g,หรือd ดังตัวอย่าง

  40. (4) การเรียกชื่อเอไมด์ (Amides) • เอไมด์เป็นอนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิกที่มีหมู่อะมิโน (-NH2) แทนที่ หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) • จัดเป็น primary- , secondary-, หรือ tertiary-amide ตามจำนวนหมู่แอลคิลที่ต่อกับอะตอมของไนโตรเจนของหมู่อะมิโน

  41. การเรียกชื่อเอไมด์ • ได้ชื่อจากการตัดคำลงท้าย –oic acid หรือ -ic acid ของกรด แล้วเติมคำว่า –amide • บอกชื่อและจำนวนหมู่ที่ต่อกับอะตอมของไนโตรเจน โดยมีอักษร N- นำหน้า .............amide ………………….amide ……………………..amide (g-chlorobutyramide) (Benzamide)

  42. 3) การเรียกชื่อของ primary amides และ secondary amides • มีเอไมด์ที่เป็นวง เรียกว่า lactam และบอกชื่อโดยระบุตำแหน่งที่ไนโตรเจนต่อกับคาร์บอนของหมู่คาร์บอนิล

  43. Fischer esterificationเป็นปฏิกิริยาระหว่าง............................กับ.................... (เมื่อมีกรดอนินทรีย์อยู่ด้วย) ให้เอสเทอร์ 8.5.4 การเกิดเอสเทอร์ (Esterification) ปฏิกิริยานี้เกิดได้ช้า วิธีที่ช่วยให้เกิดได้เร็วขึ้น คือ 1) ใช้แอลกอฮอล์ในปริมาณ....................... (excess alcohol) 2) แยกเอสเทอร์ออกไป ขณะทำปฏิกิริยา 3) ใช้สารตั้งต้นที่ว่องไวมากกว่ากรดฯ ได้แก่ acid chloride หรือ acid anhydride (ดูแผนที่ เปรียบเทียบความว่องไวของอนุพันธ์)

  44. กลไกของปฏิกิริยาการเกิดเอสเทอร์กลไกของปฏิกิริยาการเกิดเอสเทอร์ แอลกอฮอล์เป็นnucleophileโดยมีกลไกเป็น nucleophilic acyl substitution (ดูแผ่นที่ 33) กรณีของesterification ของ carboxylic acid : • Y คือ .............................และ X คือ ............................... • สภาพเบส (basicity) ของทั้ง 2 หน่วยนี้ใกล้เคียงกัน (เพราะ H2O และ ROH มีสภาพกรด (acidity) ใกล้เคียงกัน • ปฏิกิริยานี้จะอยู่ในสมดุลที่มีทั้งสาร (I) และ (II) ในปริมาณใกล้เคียงกัน

  45. แต่เมื่อใช้ acyl halideแทน carboxylic acid สมดุลของปฏิกิริยาจะเคลื่อนไป....................... เพราะ halideเป็น……......…………ที่ดีกว่าหมู่แอลคอกซี (OR)ของ alcohol - ในกรณีนี้ X - คือ halide เช่น chloride, Y เป็น ROH - Halide ion เป็น ……………… มากกว่า ROH หรือ-OR เพราะ halide ion เป็นอนุมูลเบสของ HCl ซึ่งเป็นกรดแก่ (แก่กว่า ROH มาก)

  46. เราพบสารประกอบต่างๆ เหล่านี้อย่างมากมายในธรรมชาติ • เอสเทอร์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็กมักมีกลิ่นหอม จะพบในผลไม้และดอกไม้ต่างๆ (.................) (จาก............, ...............) (........................) • เอสเทอร์ที่สำคัญคือ ไขมัน (fats) และน้ำมัน (oils) ที่พบในพืชและสัตว์ต่างๆ .................................... ……………

  47. ไทโอเอสเทอร์ (thioester) ที่สำคัญในกระบวนการชีวเคมี คือ acetyl coenzyme A หรือ………………….. พบในเนื้อหาของวิชาชีวเคมี เช่น .............................. (Kreb’s cycle) เป็นต้น Coenzyme A มีสูตรโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบด้วย 4 หน่วยย่อยจะเขียนชื่อย่อเป็น CoASH Coenzyme A หรือ CoASH

  48. ในธรรมชาติ มีการสร้าง acetyl-CoA โดยมีโครงสร้างที่มีหมู่อะซิทิล (CH3C=O) ต่อกับอะตอมของซัลเฟอร์ของ CoASH ..................... โครงสร้างทั้งหมดนี้คือ acetyl-CoA • ในสมการเคมี จะเขียนสูตรโครงสร้างของ acetyl-CoA เป็นดังนี้เสมอ

  49. 8.6 ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา (Reactivity) ของอนุพันธ์ของกรดฯ • ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาของอนุพันธ์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน • มีข้อสังเกต คือ อนุพันธ์ที่ว่องไวมาก มีอะตอมที่มี EN สูงต่อที่คาร์บอนของหมู่คาร์บอนิล (ลำดับของ electronegativity คือ ……………………….. ) • ลำดับของความว่องไว (จากต่ำไปหาสูง) เป็นดังนี้

  50. ความว่องไวของสารเหล่านี้ ขึ้นกับลักษณะของคาร์บอนที่หมู่คาร์บอนิลว่าเป็นบวกมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งขึ้นกับชนิดของอะตอมหรือหมู่ที่ต่อที่คาร์บอนนั้น ถ้าอะตอมที่ต่ออยู่เป็น electronegative atom (เช่น ............) มันสามารถ.......... ............... ได้ดี ทำให้คาร์บอนที่มันต่ออยู่มี..................ได้มาก จึงเกิดปฏิกิริยา ได้ดีกับ....................... นั่นคือ มันมีความว่องไวสูง บริเวณที่ลูกศรชี้ คือ C ของหมู่คาร์บอนิลที่จะเกิดปฏิกิริยากับนิวคลีโอไฟล์ ถ้ามีประจุบวกมาก แสดงว่าเกิดปฏิกิริยากับนิวคลีโอไฟล์ได้ดี หรือ.................. นั่นเอง

More Related