1 / 43

ยุทธศาสตร์และทิศทางการวิจัยของชาติ

ยุทธศาสตร์และทิศทางการวิจัยของชาติ. ดร . สันทัด โรจนสุนทร ราชบัณฑิต ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ. การเรียนรู้. พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ เมื่อเราบุกเบิกเข้าไปในบริเวณหรือเรื่องที่เราไม่รู้ เมื่อไม่รู้เราต้องวิจัย” ความอยากรู้ ทำให้ลองผิดลองถูก (หาหนทาง)

Download Presentation

ยุทธศาสตร์และทิศทางการวิจัยของชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยุทธศาสตร์และทิศทางการวิจัยของชาติยุทธศาสตร์และทิศทางการวิจัยของชาติ ดร. สันทัด โรจนสุนทร ราชบัณฑิต ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ

  2. การเรียนรู้ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เมื่อเราบุกเบิกเข้าไปในบริเวณหรือเรื่องที่เราไม่รู้ เมื่อไม่รู้เราต้องวิจัย” ความอยากรู้ ทำให้ลองผิดลองถูก (หาหนทาง) การวิจัย เสาะหาวิธี รวบรวมข้อมูล ทดลองทำ กระบวนการวิจัย เมื่อมีหรือได้วิธีที่เหมาะสมเพื่อหาคำตอบ

  3. สังคมฐานความรู้ (knowledge based society) เพิ่มการเรียนรู้ด้วย globalization เพราะ ความสามารถของ ICT เศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge based economy) การพัฒนาใช้ฐานความรู้ (knowledge based development)

  4. บทบาทของสภาวิจัยแห่งชาติบทบาทของสภาวิจัยแห่งชาติ 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งสภาวิจัยแห่งชาติวัตถุประสงค์ให้ทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางเกี่ยวกับการวิจัยของประเทศ 2507,2515 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ 2522 โอนไปขึ้นกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและพลังงาน 2543 โอนกลับมาอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นหน่วยงานกลาง ในการทำหน้าที่เสนอแนะนโยบาย และแผนงานวิจัย ทั้งวิทยาศาสตร์และสังคม ขึ้นตรงต่อประธานสภาวิจัยแห่งชาติ

  5. การดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา - จัดทำนโยบายและแผนการวิจัยของชาติ - ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยตามสาขา และการวิจัยเชิงนโยบาย - อบรมนักวิจัย - เสนอแนะให้มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยเฉพาะทาง - วิเคราะห์และตรวจสอบโครงการวิจัยของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ - ติดตามและประเมินผลการวิจัยในภาพรวม - จัดทำฐานข้อมูลการวิจัยของประเทศ - ขึ้นทะเบียนนักวิจัย - ให้รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม นักวิจัยดีเด่น ผลงานประดิษฐ์คิดค้น - ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการวิจัย

  6. ระบบวิจัยของต่างประเทศระบบวิจัยของต่างประเทศ ข้อเสนอของสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1996 เหมาะที่จะยึดเป็นหลักการที่สำคัญและใช้ได้ทั่วโลก 1. การวิจัยถือว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต 2. ความเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยและการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ 3. ความเป็นเลิศทางวิชาการเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริม 4. การวิจัยจำเป็นต้องได้รับการริเริ่มในลักษณะบูรณาการ

  7. ระบบการวิจัยของทุกประเทศต่างมีสภาวิจัยแห่งชาติเป็นผู้ช่วยในการกำหนดทิศทางของการวิจัยทั้งสิ้น ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยวิจัยอิสระ โดยรัฐให้การสนับสนุน แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ 1. กลุ่มประเทศที่มีการวิจัยและพัฒนามานาน เช่น อเมริกา อังกฤษ ประเทศในยุโรป การวิจัยเริ่มในมหาวิทยาลัยและต่อไปธุรกิจ 2. กลุ่มประเทศพัฒนาใหม่ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จะใช้งาน R&D ที่ทำ มาแล้วมาต่อยอด ใช้สถาบันวิจัยเฉพาะทางและผลิตเพื่อขาย 3. กลุ่มประเทศเล็กๆ ซึ่งมีสังคมฐานความรู้ สามารถสร้างนวัตกรรมที่สำคัญๆ เช่น ฟินแลนด์โทรศัพท์มือถือโนเกีย ฮอลแลนด์เมล็ดพันธุ์พืช สิงคโปร์บริหารจัดการ ทำหน้าที่นายหน้า และบริหารการเงิน

  8. ***

  9. ECONOMIC PERFORMANCE(8) Domestic Economy International Trade International Investment Employment Prices GOVERNMENT EFFICIENCY(20) Public Finance Fiscal Policy Institutional Framework Business Legislation Social Framework BUSINESS EFFICIENCY(23) Productivity Labor Market Finance Management Practices Attitudes and Values Ranking as of May 2004 • INFRASTRUCTURE(50) Basic Infrastructure Technological Infrastructure Scientific Infrastructure Health and Environment Education

  10. Sustainable economy Professor Stephane Garelli (IMD World Competitiveness year book 2004) predicts that in 2050 Largest economy in the world GDP: China = 44,453 $ bn USA = 35,165 $ bn India = 27,803 $ bn Middle size: Japan = 6,673 $ bn Brazil = 6,064 $ bn Russia = 5,870 $ bn Cluster of small nations in Europe e.g. Germany, England= 3,500 $ bn (according to Goldman Sachs Investment Bank)

  11. ยุทธศาสตร์ประเทศ • 1. ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน • 2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพของประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน • 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต • 4. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ การต่างประเทศและการอำนวยความยุติธรรม • 5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศ

  12. แผนยุทธศาสตร์และแผนงานวิจัยแบบบูรณาการแผนยุทธศาสตร์และแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ • สอดคล้องกับแผนนโยบายของรัฐ • สะท้อนภารกิจ การจัดอันดับความสำคัญก่อนหลัง • ให้มีความสามารถในการแข่งขัน • งบประมาณต้องเน้น ประสิทธิภาพและประสิทธิผล • คุ้มค่าต่อเศรษฐกิจ และสภาวะสังคม • ดูแลภัยคุกคามของประเทศได้ • เป็นแผนต่อเนื่อง ชัดเจนในเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ปฏิบัติ • เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง

  13. การดำเนินงานปัจจุบัน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 ให้ วช เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนงบประมาณการวิจัยของประเทศในเชิงบูรณาการ - จัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณการวิจัย ของประเทศปี 2547 - วช. ได้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนงานวิจัยแบบ บูรณาการระยะปานกลางปี 2548-2550 และ เน้นโครงการวิจัยบูรณาการนำร่อง

  14. การดำเนินงานปัจจุบัน โครงการวิจัยแบบบูรณาการปี 2547 มีจำนวน 7 clusters 31 โครงการ เน้น โครงการที่มีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ชาติ การเพิ่มศักย-ภาพในการแข่งขันของประเทศ ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และคุณค่าเพิ่มทางสังคมและวัฒนธรรม ตัวอย่างโครงการวิจัยบูรณาการ - ความร่วมมือทางการวิจัยในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง - การวิจัยด้านยา เคมีภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ -การพัฒนาการผลิต การแปรรูป และการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร -เครือข่ายวิจัยวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีลำอนุภาคและพลาสมา

  15. การวิจัยบูรณาการ หมายถึง การค้นคว้า หรือการศึกษาที่ต้องการข้อมูล จากหลายสาขาวิชาการ เพื่อให้ได้มาซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ/หรือบริการ ทำให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือคุณภาพชีวิต ทั้งนี้การวิจัยบูรณาการจะต้องเป็นการร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยหลายหน่วยงาน ผู้ประสานการวิจัยจะต้องเป็นศูนย์กลางของวิทยาการนั้นๆ

  16. ตัวอย่างของบูรณาการ 1. เชิงยุทธศาสตร์ ให้ยุทธศาสตร์แต่ละด้านมีจุดร่วม โดยใช้ ยุทธศาสตร์การวิจัยเป็นฐานสำหรับการทำให้เกิดผลต่อเป้าหมายของยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ ที่วางไว้ 2. ทางความรู้ (สาขาวิชา) เช่น วิทยาศาสตร์กับสังคม สังคมศาสตร์กับมนุษศาสตร์ 3. ทางประเด็นปัญหาพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย เช่น ลุ่มน้ำ จังหวัด 4. Value chainผนึกกำลังระหว่าง ผู้ผลิต ผู้วิจัย ตลาด การส่งเสริมภาครัฐ โดยมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ชัดเจน 5. ด้านการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ร่วม เพื่อสร้างชุมชนวิจัยในการพัฒนาระดับภูมิภาค 6. บูรณาการระบบจัดการ และการพัฒนาคุณภาพของการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการวิจัยให้ได้ผลตามยุทธศาสตร์

  17. บูรณาการแบบที่ถือเป็นมิติใหม่บูรณาการแบบที่ถือเป็นมิติใหม่ การวิจัยด้านเศรษฐกิจ(ว&ท) เน้นการผลิตของใหม่ และใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มักเป็นผลเสียต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม -สร้างความทันสมัย - การแข่งขันสูงมาก - มีผลิตภัณฑ์ใหม่เสมอ - เกิดความแตกต่างใน สถานภาพของคนและ ประเทศ การวิจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม เน้นการดูแลสิ่งแวดล้อมและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีผลกระทบสูงจาก สังคมไทย 4 ฐานคือ -สังคมแห่งความด้อยโอกาส -สังคมแห่งความพอเพียง -สังคมฐานานุภาพ -สังคมแห่งการแข่งขันเพื่อ ค้ากำไร ยุทธศาสตร์ที่มีดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจกับสังคมและวัฒนธรรมทำให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืน

  18. งบประมาณเชิงบูรณาการ - เป็นภารกิจที่หลายหน่วยงานร่วมดำเนินการ - มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน - มีการทำงานประสานเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

  19. หลักเกณฑ์ในการกำหนดลำดับความสำคัญการวิจัยและผลผลิตที่รัฐควรได้หลักเกณฑ์ในการกำหนดลำดับความสำคัญการวิจัยและผลผลิตที่รัฐควรได้ 1. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (5 ด้าน) 2. เป็นตัวคูณส่งผลสะเทือนสูง 3. สร้างมูลค่าเพิ่มได้ 4. เชื่อมโยงจากท้องถิ่น สู่ชาติและนานาชาติได้ 5. ภาคเอกชนและ/หรือภาคประชาชนมีส่วนร่วม

  20. องค์ประกอบที่จำเป็นของการวิจัยองค์ประกอบที่จำเป็นของการวิจัย 1. มีแผนยุทธศาสตร์ 2. มีผู้ปฏิบัติที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ 3. จัดงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 4. มีผู้ดูแลหรือคณะผู้ดูแลงานวิจัยชิ้นนั้นๆ 5. มีระบบการติดตามและตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

  21. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9มีนาคม 2547 เห็นชอบในหลักการ 1. การปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรในระบบวิจัยของประเทศ 2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ 3. แผนงบประมาณการวิจัยเชิงบูรณาการประจำปี 2548

  22. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9มีนาคม 2547 เพื่อให้การวิจัยของประเทศมีความเป็นเอกภาพและเป็นระบบ การกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการวิจัยต้องสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประเทศ หน่วยงานที่จะปฏิบัติงานวิจัย (research agencies) ควรแยกจากหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัย (funding agencies) และการนำผลการวิจัยไปเผยแพร่และใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงให้มีการทบทวนในเชิงบูรณาการร่วมกันกับรองนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร) สภาพัฒน์ฯ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนแล้วเสร็จแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

  23. สิ่งที่ประเทศควรมี • 1. ต้องมีการสนับสนุนจากผู้นำหรือกลุ่มผู้นำของประเทศ • 2. การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องการผลักดันแบบ • ก้าวกระโดดที่มีแผนยุทธศาสตร์และต้องมีความต่อเนื่อง • 3. มีการพัฒนาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถควบคู่ไปด้วย • เงินวิจัยปัจจุบัน 0.8 % GDP จะต้องเป็น 2 -3 % GDP • การวิจัยลงทุนด้วยรัฐ 80% จะต้องมีเอกชนร่วมมากกว่า 40% • ปัจจุบันมีบุคลากรวิจัย 2 คนต่อประชากร 10,000 คน • จะต้องมี 20 - 30 คน ต่อประชากร 10,000 คน

  24. สิ่งที่ประเทศควรมี (ต่อ) 4. ต้องเริ่มทำโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นวาระแห่งชาติ มีบูรณาการ โครงการที่เลือกมีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศ 5. ต้องมีงาน Research & Development ทั้งที่เป็นพื้นฐาน ปรับใช้ได้ และสร้างประโยชน์โดยตรงต่อประเทศ 6. ต้องมีโครงการดูแลทรัพยากรธรรมชาติโดยรวม ซึ่งรวมไปถึง การฟื้นฟู สร้างตัวชี้วัดให้ชัดเจน 7. ยึดการพัฒนาแบบยั่งยืน และมีหลักการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง 8. มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  25. งานวิจัยของมหาวิทยาลัยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย • งานวิจัยพื้นฐาน (basic research) • งานวิจัย (แบบหาคำตอบ ทดสอบ ทดลองหรือแก้ปัญหา) • งานวิจัยและพัฒนา (R&D) • งานวิจัยที่เป็นความเชี่ยวชาญของแต่ละ มหาวิทยาลัย • งานสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่

  26. มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) 1. การมอบหมายงานวิจัย 2. ลดภาระอื่นในการทำงาน 3. การจัดกิจกรรมวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร 4. การพัฒนาฐานข้อมูลสนับสนุนงานวิจัย 5. การเชื่อมโยงงานวิจัยกับภายนอก การเผยแพร่งานวิจัย - ผู้ประกอบการ - หน่วยสนับสนุนการวิจัย (เครื่องมือ คน) - หน่วยงานวิจัยอื่นๆ 6. การแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย ที่มา: ข้อเสนอต่อการปฏิรูประบบวิจัยในมหาวิทยาลัย โดย ศ. ดร. ปรัชญา เวสารัชช์ (2546) ชุดหนังสือโครงการพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ

  27. ระบบวิจัยของมหาวิทยาลัยระบบวิจัยของมหาวิทยาลัย บัญญัติ 10 ประการของ ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช เกี่ยวกับการวิจัยไทยที่ต้องปฎิรูป 1. ระบบการจัดการงานวิจัย 2. ระบบวารสารวิชาการและการตีพิมพ์ผลงานวิจัย 3. ระบบทรัพย์สินทางปัญญา 4. ระบบบัณฑิตศึกษาเชื่อมโยงกับงานวิจัย 5. ระบบตำแหน่งทางวิชาการ

  28. บัญญัติ 10 ประการของ ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช เกี่ยวกับการวิจัยไทยที่ต้องปฎิรูป (ต่อ) 6. ระบบวัฒนธรรมกับการวิจัย 7. ระบบบรรยากาศสร้างสรรค์ 8. ความสัมพันธ์ระหว่างการวิจัยกับภารกิจด้านอื่นๆ 9. ระบบภารกิจของอาจารย์ 10. การปฏิรูปสถาบันวิจัย ที่มา: การบรรยายในการประชุมปฏิบัติการ การปฏิรูประบบการวิจัยในมหาวิทยาลัย ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด ขอนแก่น 12 มีนาคม 2546

  29. THE SOIL PIT MENTALITY/SYNDROME

  30. กลยุทธ์ 1. วิจัยบูรณาการหวังผลเป็นผลิตภัณฑ์ ลดการนำเข้า เพิ่มการส่งออก (ถือเป็นหลักสำคัญและต้องให้ priority กับงบประมาณด้วย) 2. เลือกทำในสิ่งที่เราสามารถทำได้และทำให้สำเร็จ 3. ยกเลิกระบบจัดเงินแบบคงที่ (มากน้อยขึ้นกับผลงาน) 4. ต้องดึงภาคเอกชนมาร่วม R&D ให้มากขึ้น (ต้องเน้นเรื่อง incentive ให้เพียงพอ)

  31. กลยุทธ์(ต่อ) 5. สถาบันวิจัยไม่ควรผลิตคน แต่ควรใช้คนและฝึกคน เพราะการผลิตคนเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัย 6. เน้นโครงการใหญ่ ชุดโครงการหรือแผนงาน มีผลิตภัณฑ์เป้าหมาย ทำงานครบวงจร ผู้บริหารมีประวัติการทำงานดี 7. งานด้าน Fundamental Research ซึ่งต่อเป็น Applied Research งานด้าน Social Science ควรสนับสนุนต่อไปตามความเหมาะสม

  32. การวิจัยของประเทศในภาพรวมการวิจัยของประเทศในภาพรวม • ฐานกำลังคือ มหาวิทยาลัย • สอน - พัฒนา คน • วิจัย - พัฒนา งาน • สร้างประโยชน์เชิงธุรกิจ (เทคโนโลยีปาร์ค) • ผ่านกระบวนการบ่มเพาะทางเทคโนโลยี • ผ่านกระบวนการบ่มเพาะทางธุรกิจ • สร้างความยั่งยืน • ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ • ความอยู่รอดทางสังคม • การประเมินผล กิจกรรมที่ถูกละเลย

  33. ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลาน ใช้ฐานทรัพยากรเพื่อการพัฒนา ยึดความได้เปรียบที่เหนือกว่า ฐานพัฒนาคือ เงินทอง แรงงาน พื้นที่ ผลิตมากได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ใช้ฐานความรู้เพื่อการพัฒนา ยึดการแข่งขันที่เหนือกว่าฐานพัฒนาคือนวัตกรรม ผลิตเร็วจึงจะได้เปรียบทางเศรษฐกิจ

  34. ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลาน (ต่อ) เพิ่มโดยขยายพื้นที่หรือเติมปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ทำไร่นาด้วยปุ๋ยเคมี และเคมีภัณฑ์เน้นการมีการผลิตหลากหลาย เพิ่มพื้นที่ไม่ได้และเกิดมลพิษจากเคมีภัณฑ์ทำไร่นาด้วยวัสดุอินทรีย์เน้นการผลิตที่ตรงใจผู้บริโภค

  35. ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลาน (ต่อ) ควบคุมโดยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว เน้นสิ่งที่จับต้องได้ (โรงงาน, รถ, เรือ) ผลักดันโดยการลงทุนมากๆ คิดแบบต้องมีไฮ-เทค มากกว่า โล-เทค ควบคุมโดยใช้กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจร่วมกันเน้นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (ซอฟแวร์, ความชอบ)ผลักดันด้วยการคิดแบบสร้างมูลค่าต่อเนื่อง (value chain)คิดแบบต้องมีไฮ-ทัช มากกว่า โล-ทัช

  36. ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลาน (ต่อ) ผลิตของมากๆ แต่มีค่าน้อย ติดต่อทางไปรษณีย์, ใช้คนส่งของ การใช้ประโยชน์ของยุคอนาล็อค ผลิตของน้อยๆ แต่มีค่ามากติดต่อทางอินเตอร์เนต, เวบไซต์ ใช้เฟดเด็กซ์, ยูพีเอสการใช้ประโยชน์ของยุคดิจิตอล

  37. การยอมรับการเปลี่ยนแปลงการยอมรับการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ การเปลี่ยนแปลง การปรับตัวจะต้องเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หากต้องการความยั่งยืน มีเรื่องของการปรับตัวอยู่ 3 แบบ 1. ปรับที่“ใจ” ตามตัวอย่างพระราชดำรัสที่ว่า “เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกไม้ลงในใจคนเสียก่อนแล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วย”

  38. 2. ปรับที่สิ่งแวดล้อม พระราชดำรัสอีกตอนหนึ่ง ทรงเน้นในเรื่องของการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก “ถ้าเลือกที่ได้แล้ว ก็ทิ้งป่าไว้ตรงนั้น ป่าก็จะเจริญเติบโตโดยไม่ต้องปลูก ไม่ไปรังแกป่าหรือต้นไม้ เพียงแต่ดูแลให้ขึ้นได้ในสภาพป่าเต็งรัง ป่าเสื่อมโทรม ไม่ต้องทำอะไรเพราะตอไม้ก็จะแตกออกมาอีก”

  39. 3. ปรับที่ระบบการสร้างมูลค่าต่อเนื่อง (value chain) งานที่โครงการหลวงต้องปฏิบัติในพื้นที่โดยมี value chain คู่ขนาน คือ การผลิตเพื่อขาย ซึ่งเป็นการแข่งขัน ในขณะเดียวกันต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ดิน และน้ำ เพื่อรักษา ความยั่งยืน การปรับตัวดังกล่าวต้องให้สมดุลซึ่งกันและกัน

  40. การแข่งขัน ผลที่ได้รับ คุณภาพที่กำหนดและปริมาณที่ต้องการ หลังการเก็บเกี่ยวและการบรรจุหีบห่อ ตลาด • รายได้ • คุณภาพชีวิต • ความผาสุข • ความยั่งยืน • ความมั่นคงของประเทศ การผลิต การบริหารจัดการ คน คน มูลนิธิโครงการหลวง การวิจัย การพัฒนา อำนวยการ ฟื้นฟูอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ กระบวนการปฏิบัติ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ความยั่งยืน การสร้างมูลค่าต่อเนื่องแบบคู่ขนานของมูลนิธิโครงการหลวง

  41. การพัฒนาที่ยั่งยืน การทำให้กิจกรรมของมนุษย์สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติปยุตโต, 2541 ยุทธศาสตร์ที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีการปรับตัวที่เรียกว่า สมดุลที่มีพลวัต ทำให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืน สันทัด, 2546

  42. โดยสรุปหมายความว่าอย่าแก้ปัญหาอย่างเดียวแต่จะต้องแก้ในเชิงรุก นั่นคือเมื่อแก้ปัญหาได้แล้ว เราจะต้องป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป • ซึ่งแปลว่า ถ้าเราไม่ทำให้ยุทธศาสตร์และทิศทางของการวิจัยของชาติเป็นไปตามที่เสนอข้างต้น… • เมื่อพวกเรามาถึงวันนี้ก็จะเป็นพรุ่งนี้ของผู้อื่นแล้ว

  43. “ ขอบคุณและสวัสดี ”

More Related