1 / 28

การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย

Delphi Technique. การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย. 7. Introduction :. Discovery. Questionnaire. Experts.

wauna
Download Presentation

การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Delphi Technique การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย 7

  2. Introduction : Discovery Questionnaire Experts การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับองค์ความรู้ในอนาคตของศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

  3. Introduction : Discovery Experts การวิจัยในอนาคต (Futurism) : 1. การคาดการณ์แนวโน้ม (Trend Projection) 2. การเขียนภาพอนาคต (Scenario Writing) 3. การปรึกษาผู้อื่น (Consulting Others)

  4. Delphi Technique : การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: เป็นวิธีการรวบรวมความคิดเห็นหรือการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ในอนาคต จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปมติจากข้อค้นพบให้เป็นความคิดเดียวกันและมีความถูกต้อง โดยที่ไม่ต้องนัดหมายกลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้มาประชุมกันเหมือนการ Brain Stroming แต่ให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นจากการตอบแบบสอบแต่ละรอบ ซึ่งสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ สามารถกลั่นกรองความคิดเห็นได้อย่างรอบคอบ ไม่มีการชี้นำจากกลุ่มและไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลทางความคิดของผู้อื่น ข้อมูลจึงน่าเชื่อถือ ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย

  5. Delphi Technique : ความหมายของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องราวในอนาคต ที่กระจัดกระจายกันให้สอดคล้องกันอย่างมีระบบ ซึ่งจะนำไปใช้ในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเทคนิคในการทำนายเหตุการณ์หรือความเป็นไปได้ในอนาคต โดยอาศัยฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปที่เป็นแนวคิดหรือเป็นการทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือความเป็นไปในอนาคต ข้อสรุปจะสามารถนำไปใช้ประกอบ การตัดสินใจด้านต่าง ๆ ได้ทั้งในเชิงวิชาการและการบริการ

  6. Delphi Technique : ลักษณะทั่วไปของเทคนิคเดลฟาย: เป็นวิธีการแสวงหาข้อมูลจากความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใด ๆ โดยใช้แบบสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องตอบแบบสอบถามที่กำหนดขึ้นในแต่ละรอบ จำนวน 3-4 รอบ เป็นวิธีที่ไม่ต้องการให้ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญคนอื่น มีอิทธิพลต่อการตอบแบบสอบถามของแต่ละคน ทุกคนจึงไม่ทราบว่ามีผู้ใดที่ตอบแบบสอบถามและ ไม่ทราบว่าแต่ละคนมีความคิดเห็นแต่ละข้อคำถามอย่างไร เป็นการวิจัยที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสอบถาม โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้เชี่ยวชาญเผชิญหน้ากันโดยตรงในลักษณะ Brain Stroming 1. 2. 3.

  7. Delphi Technique : ลักษณะทั่วไปของเทคนิคเดลฟาย: การตอบแบบสอบถามแต่ละรอบ เพื่อให้แต่ละคนตอบ ด้วยการกลั่นกรองอย่างรอบคอบ และให้ได้คำตอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผู้วิจัยจะแสดงความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เห็นสอดคล้องกันในแต่ละข้อ ตอบกลับไป ในรอบที่ผ่านมา นำเสนอในรูปของสถิติ แล้วส่งกลับไป ยังผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้จะยืนยันคำตอบเดิม หรือเปลี่ยนแปลงคำตอบใหม่พร้อมระบุเหตุผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติเบื้องต้น เช่น การวัดแนว โน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ฐานนิยม มัธยฐาน ค่าเฉลี่ย และการวัดการกระจายของข้อมูล 4. 5.

  8. Delphi Technique : ลักษณะของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: เป็นภาพอนาคตที่ต้องการศึกษาความเป็นไปหรือศึกษาแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ธุรกิจ และการศึกษา ที่ผู้วิจัยต้องการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบถูกต้องแน่นอน แต่สามารถทำ วิจัยเพื่อศึกษาปัญหาได้ โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาดังกล่าว เป็นปัญหาที่ต้องการศึกษาจากความคิดเห็นหลายๆ ด้าน จากความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิประจำสาขา 1. 2. 3.

  9. Delphi Technique : ลักษณะของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: ผู้วิจัยไม่ต้องการให้ความคิดเห็นของแต่ละคนมีอิทธิพล ต่อการตัดสินปัญหาโดยรวม โดยไม่ต้องการเปิดเผยรายชื่อผู้ให้ข้อมูล อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น อาจเป็นปัญหาที่มีความขัดแย้งมาก มีปัญหากับการพบปะแบบเชิญหน้าโดยตรงในการระดมสมองหรือการประชุมบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูล อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านเวลา การเดินทาง สภาพภูมิศาสตร์ หรืองบประมาณ 4. 5.

  10. Delphi Technique : องค์ประกอบที่ทำให้การวิจัยเดลฟายสำเร็จผล: ผู้วิจัยจะต้องมีเวลามากเพียงพอในการส่งแบบสอบถาม แต่ละรอบ ๆ ไปยังผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งมีกลวิธีการติดตามการตอบกลับจากผู้เชี่ยวชาญอย่างได้ผลการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญที่ จะต้องพิจารณาดังนี้ 1. ผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีความรู้ในสาขาอย่างแท้จริง ต้อง ไม่เลือกผู้ที่ติดต่อง่ายหรือมีเวลาให้แต่ไม่เชี่ยวชาญ2. จะต้องคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความสนใจในเรื่องที่ ผู้วิจัยทำการวิจัย และเต็มใจให้ความร่วมมือวิจัย3. มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากเพียงพอเพื่อให้ได้คำตอบที่ ถูกต้องและน่าเชื่อถือ (17 คนขึ้นไป) 1. 2.

  11. Delphi Technique : องค์ประกอบที่ทำให้การวิจัยเดลฟายสำเร็จผล: แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจะต้องมีคุณภาพและ มีความเที่ยงตรง รวมทั้งวัดผลได้ตรงตามความต้องการ เข้าใจง่าย ชัดเจนและง่ายต่อการตอบผู้วิจัยจะต้องเตรียมตัวดังนี้ 1. ทำความเข้าใจในกระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย อย่างละเอียด 2. มีเวลาเพียงพอในการส่งและเก็บแบบสอบถาม มีกล ยุทธ์ในการติดตามหรือทวงถามแบบสอบถามที่ได้ผล 3. มีความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาคำตอบ และ ไม่มีอคติต่อผลของการพิจารณาคำตอบ 3. 4.

  12. Delphi Technique : กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย- ควรเป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบถูกต้องและสามารถทำวิจัย ได้โดยอาศัยมติจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนาคตคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ - ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยด้วยเทคนิค เดลฟาย ต้องเป็นผู้ที่รู้จริงและมีความเชี่ยวชาญในสาขาสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายก็คือแบบสอบถาม แบ่งการเก็บออกเป็น 3 - 4 รอบ 1. 2. 3.

  13. Delphi Technique : กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

  14. Delphi Technique : กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล รอบที่ 1 แบบปลายเปิด (Opened End) : เป็นการถามอย่างกว้างๆ ให้ครอบคลุมประเด็นปัญหา ของการวิจัย เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ แต่ละคน (ใช้เวลา 2 สัปดาห์) รอบที่ 2 แบบประเมินค่า (Rating Scale) :พัฒนาจากคำตอบในรอบที่ 1 โดยรวบรวมความคิดเห็น ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตัดข้อมูลที่ซ้ำ กันออก แล้วสร้างแบบสอบถามรอบที่ 2 เพื่อถามผู้เชี่ยวชาญเดิมอีกครั้งหนึ่ง 3.

  15. Delphi Technique : กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล รอบที่ 3 แบบประเมินค่า (Rating Scale) : พิจารณาค่า IR ถ้ามีค่าน้อย แสดงว่าความคิดเห็นที่ได้สอดคล้องกัน สามารถสรุปความได้ แต่ถ้า IR มีค่ามาก แสดงว่าความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกระจัดกระจาย สรุปความไม่ได้ ต้องสร้างแบบสอบถามรอบที่ 3 เหมือนรอบที่ 2 แต่เพิ่มตำแหน่งค่า IR และแสดงตำแหน่งที่ผู้เชี่ยวชาญตอบในแบบรอบที่ 2 เพื่อยืนยันคำตอบรอบที่ 4 เหมือนรอบที่ 3 :พิจารณาค่า IR เหมือนรอบที่ 3 สรุปผล 3.

  16. Delphi Technique : ข้อดี-ข้อเสียของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: ข้อดี : 1.มีความเชื่อถือ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นคำตอบที่ได้จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความชำนาญในสาขาวิชานั้น ๆ อย่างแท้จริง ผลการวิจัยได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจากการ ย้ำถามหลายรอบ จึงเป็นคำตอบที่กลั่นกรองอย่าง รอบคอบ เกิดความเชื่อมั่นของผลการวิจัยสูง ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เชื่อถือ ได้ในผลของคำตอบ 2. ใช้เวลาในการวิจัยไม่มาก (2-3 เดือน) 3. ใช้งบประมาณในการวิจัยไม่มาก

  17. Delphi Technique : ข้อดี-ข้อเสียของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: ข้อดี : 4. ทำการวิจัยได้ทุกสถานการณ์ สามารถเก็บข้อมูลจาก ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในสถานที่แตกต่างกันได้ทั้งทางด้าน สภาพภูมิศาสตร์และเวลา 5. เป็นวิธีวิจัยที่มีขั้นตอนการดำเนินการไม่ซับซ้อน รวมทั้งสามารถทราบลำดับความสำคัญของข้อมูล และเหตุผลในการตอบ รวมทั้งความสอดคล้อง ของความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ 6. วิเคราะห์ข้อมูลง่าย

  18. Delphi Technique : ข้อดี-ข้อเสียของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: ข้อเสีย : 1. ถ้าผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่ผู้ชำนาญที่แท้จริง จะทำให้ผล การวิจัยคลาดเคลื่อนหรือเชื่อถือไม่ได้ 2. ผู้วิจัยไม่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม โดยตลอด (3-4 รอบ)3. ขาดการวางแผนยุทธวิธีในการติดตามแบบสอบถาม จากผู้เชี่ยวชาญ4. ขาดความรอบคอบหรือมีอคติในการวิเคราะห์คำตอบ ที่ได้ในแต่ละรอบ 5. ขาดการศึกษาข้อมูลประกอบการทำวิจัยอย่าง เพียงพอ

  19. Ethnographic Delphi Future Research : การวิจัยแบบ EDFR : การวิจัยแบบ EDFR เป็นการวิจัยอนาคตอีกเทคนิคหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพของทั้งวิธี EFR และเดลฟาย พัฒนาขึ้นโดย ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน (1979) เพื่อใช้ในการวิจัยในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยชาติพันธุ์วรรณา เทคนิคเดลฟาย EFR Delphi + EDFR

  20. Ethnographic Future Research (EFR) : การวิจัยชาติพันธุ์วรรณา (EFR) : Ethno = เชื้อชาติ ประชากร Graphein = การเขียน Future = อนาคต Ethnographic = การพรรณนาถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีหรือวัฒนธรรมเฉพาะของสังคม/องค์กร เพื่อให้ทราบถึงวัฒนธรรมนั้นได้อย่างลึกซึ้งเช่น วิถีชีวิตชาวจีน ความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อย วัฒนธรรมของสังคม EFR จึงเป็นการวิจัยในอนาคต เพื่อต้องการทราบถึงขนบ ธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมขององค์กร โดยการ เก็บรวบรวมข้อมูลและสรุปผลภาพในอนาคต (Scenario)

  21. Ethnographic Future Research (EFR) : ตัวอย่างการวิจัยชาติพันธุ์วรรณา (EFR) : การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสูญเสียวัฒนธรรมและการ ผสมผสานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย ขอบเขต : 1. ระบบเศรษฐกิจของศูนย์กลาง 2. ลำดับชั้นทางการเมือง 3. ลัทธิความเชื่อทางศาสนา 4. โครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : 1. การสังเกต/การสัมภาษณ์/การสอบถาม 2. การศึกษา

  22. Ethnographic Delphi Future Research : กระบวนการวิจัยแบบ EDFR: การเตรียมผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบ EDFR จะเหมือนกับเทคนิคเดลฟาย ต้องเป็นผู้ที่รู้จริงและมีความเชี่ยวชาญในสาขาควรใช้วิธีการเลือกแบบ Purposive Sampling หรือ Snowball เพื่อให้ได้ครบตามต้องการ การสัมภาษณ์ EDFR โดยยึดตามกระบวนการ EFR สัมภาษณ์ 3 ประเด็น ดังนี้ ORS(Optimistic Realistic Scenario)ภาพที่พึงประสงค์ PRS (Pessimistic Realistic Scenario) ภาพที่ไม่พึงประสงค์ และ MPS (Most Probable Scenario) ภาพที่เป็นไปได้มากที่สุด (OS, PM และ MS) 1. 2.

  23. Ethnographic Delphi Future Research : กระบวนการวิจัยแบบ EDFR: การสังเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์ โดยใช้วิธี การสรุปสะสม (Cumulative Summarization Techniq.) เพื่อกำหนดเป็นประเด็นของปัญหาต่อไป พัฒนาแบบสอบถาม สร้างแบบสอบถามขึ้นเพื่อนำไปใช้สอบถามผู้เชี่ยวชาญ โดยนำประเด็นต่าง ๆ ที่ได้จากการสังเคราะห์ไปตั้งเป็น ข้อคำถาม และแยกออกเป็นประเด็นย่อย ๆ ให้ครอบคลุม ปัญหาที่ต้องการศึกษาทั้งหมด 3. 4.

  24. Ethnographic Delphi Future Research : กระบวนการวิจัยแบบ EDFR: ใช้วิธีการของเดลฟายการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้วิธีการของ เดลฟายจำนวน 2-3 รอบ หากได้ความคิดเห็นที่พ้องกัน ในประเด็นทั้งหมด ก็สามารถยุติได้ในรอบที่ 2 หากไม่ได้ ข้อสรุป ก็ต้องดำเนินการในรอบที่ 3 อีกครั้ง สรุปผลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล 5.

  25. Ethnographic Delphi Future Research : การประยุกต์ใช้การวิจัยแบบ EDFR : การวิจัยแบบ EDFR เป็นเทคนิคการวิจัยอนาคตที่ได้รวมจุดเด่นของทั้งเทคนิคเดลฟายและ EFR ไว้ โดยใช้ส่วนดีของแต่ละเทคนิคช่วยแก้ปัญหาและแก้ไขจุดอ่อนของกันและกัน จึงนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสาขาอื่นได้ เช่น การศึกษาสาเหตุของการขัดแย้งทางนโยบาย การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษาเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ บัณฑิตที่พึงประสงค์ในอนาคต แนวโน้มการจัดหลักสูตรคอมพิวเตอร์ในระดับ ประถมศึกษา

  26. Delphi Research vs EDFR : ข้อแตกต่างระหว่างการวิจัย Delphi กับแบบ EDFR: Delphi EDFR รอบ 1 : คำถาม Opened End รอบ 1 : สัมภาษณ์ เพื่อถาม ORS, PRS,MPS รอบ 2 : Rating Scale ถาม รอบ 2 : Rating Scale ถาม ระดับความคิดเห็น ระดับความคิดเห็น รอบ 3 : Rating Scale ถาม รอบ 3 : Rating Scale ถาม เพื่อยืนยันคำตอบ เพื่อยืนยันคำตอบ รอบ 4 : Rating Scale ถาม รอบ 4 : Rating Scale ถาม เพื่อยืนยันคำตอบ เพื่อยืนยันคำตอบ และสรุป และสรุป

  27. Delphi Technique Question and Answer 7

More Related