1 / 8

โรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอี. โรคเอสแอลอี หรือโรคลูปัส เป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่ง ที่สามารถมีอาการและอาการแสดง ได้กับทุกระบบในร่างกาย โรคจะมี ลักษณะเด่นคือ.

Download Presentation

โรคเอสแอลอี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคเอสแอลอี

  2. โรคเอสแอลอีหรือโรคลูปัส เป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่ง ที่สามารถมีอาการและอาการแสดง ได้กับทุกระบบในร่างกาย โรคจะมี ลักษณะเด่นคือ มีอาการกำเริบและสงบเป็นช่วงๆ ในระยะที่กำเริบอาจมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

  3. สาเหตุของโรคเอสแอลอี คืออะไร สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ จากการศึกษาพบว่า โรคนี้เป็นผลมาจากการผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างสารโปรตีนชนิดหนึ่งต่อต้านเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายตนเอง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม การติดเชื้อบางอย่าง หรือยาบางชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคได้

  4. โรคนี้เป็นกับใครได้บ้าง ? โรคนี้พบได้เกือบทุกอายุ แต่จะพบมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ โดยพบได้มากกว่าผู้ชาย 10 เท่า

  5. จะมีอาการอย่างไรบ้าง 1. ไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด อาจเป็นอาการนำในระยะแรก 2. อาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นแพ้แดด อาจมีจุดเลือดออกตามปลายมือปลายเท้า 3. อาการทางระบบข้อ เช่น ปวดข้อ ข้ออักเสบ 4. อาการทางระบบไต เช่น อาการบวม ไตอักเสบ 5. อาการทางระบบเลือด เช่น ซีด จุดเลือดออกตามตัว 6. อาการทางระบบสมอง เช่น ซึม ชัก โรคจิต เป็นต้น 7. อาการทางระบบหายใจและปอด เช่น ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น

  6. รักษาอย่างไร 1. การรักษาทางยา เป็นส่วนสำคัญที่สุด ได้แก่ ยาคอติโคสเตียรอยด์ และยากดภูมิคุ้มกันอื่นฯ ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหา และไม่ควรหยุดยาเอง เนื่องจากอาจทำให้โรคกำเริบได้ 2. การรักษาอื่นฯ มักจะเป็นส่วนประกอบในการรักษา เช่น ยากันแดด ยาลดความดันในรายที่มีความดันโลหิตสูง

  7. การตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์และการรับประทานยาคุมกำเนิด อาจกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ ในรายที่สามารถควบคุมอาการ และมีอาการสงบของโรคเป็นเวลานานพอสมควร ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้เช่นคนปกติดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน

  8. มีชีวิตอยู่อย่างไรให้มีคุณภาพมีชีวิตอยู่อย่างไรให้มีคุณภาพ โรคนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจได้บ่อย ยาที่ใช้ในการรักษาอาจทำให้ผู้ป่วยหน้าบวม หรือผมร่วง ดูไม่สวยงาม ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้จะหายไปเมื่อโรคสงบลง และมีการลดปริมาณของยาที่รับประทานลง ผู้ป่วยควรสร้างกำลังใจให้ตัวเอง ยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับโรค เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

More Related