1 / 39

การส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ

การส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ. บรรยายโดย นายกิตติ ทองบำรุง หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการก่อสร้าง โครงการปฏิบัติการคันคูน้ำที่ 15 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักชลประทานที่ 15. e-mail : kittis40@yahoo.com Tel 0-7733-1191. วัตถุประสงค์.

Download Presentation

การส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ บรรยายโดย นายกิตติ ทองบำรุง หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการก่อสร้าง โครงการปฏิบัติการคันคูน้ำที่ 15 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักชลประทานที่ 15 e-mail : kittis40@yahoo.com Tel 0-7733-1191

  2. วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจในหลักการส่งน้ำแบบหมุนเวียนจนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถคำนวณการส่งน้ำหมุนเวียนอย่างง่ายได้ 3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำหลักการการส่งน้ำแบบหมุนเวียนไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบได้

  3. หลักการชลประทาน องค์ประกอบของโครงการชลประทาน เมื่อได้ก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ จะมีองค์ประกอบ สำคัญ 5 ประการ -พื้นที่ดินและพืช -แหล่งน้ำ -หัวงานของโครงการ -ระบบส่งน้ำ -ระบบชลประทานในไร่นา

  4. หลักการชลประทาน องค์ประกอบของโครงการชลประทาน พื้นที่ดิน แสดงขอบเขตพื้นที่ของโครงการชลประทาน มี 2 ชนิด -พื้นที่ทั้งหมด -พื้นที่ชลประทาน พืช ในการพิจารณาโครงการจะกำหนดชนิดพืชไว้แต่แรก เพื่อคำนวณค่าชลภาระ มาใช้กำหนดขนาดคลองส่งน้ำ

  5. หลักการชลประทาน องค์ประกอบของโครงการชลประทาน แหล่งน้ำ มาจากฝนและหิมะ ส่วนที่ไหลไปตามผิวดิน(น้ำท่า) ส่วนที่ซึมลงไปในดิน(น้ำใต้ดิน) ซึ่งทั้งสองจะนำไปใช้เพื่อการชลประทาน หัวงาน บรรดาสิ่งก่อสร้างที่ต้นน้ำ เพื่อ เก็บกัก ยกระดับน้ำ ให้ไหลเข้าคลองส่งน้ำได้สะดวก

  6. หลักการชลประทาน องค์ประกอบของโครงการชลประทาน ระบบส่งน้ำ เพื่อนำน้ำจากหัวงานไปยังพื้นที่เพาะปลูก ประกอบด้วย คลองส่งน้ำสายใหญ่ สายซอย และสายแยกซอย ระบบชลประทานในไร่นา เพื่อนำน้ำจากระบบส่งน้ำไปยังพื้นที่เพาะปลูกโดยตรง คูส่งน้ำ ระบบเปิด และระบบปิด

  7. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การส่งน้ำชลประทาน การส่งน้ำจากแหล่งน้ำ สู่ ระบบส่งน้ำ เพื่อให้น้ำไหลไปยังพื้นที่เพาะปลูกที่ต้องการใช้น้ำ โดย ปริมาณน้ำที่ส่งต้องพอเหมาะกับความต้องการของพืชพื้นที่เพาะปลูกและเวลาที่ต้องการใช้น้ำ

  8. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ รูปแบบการนำน้ำจากแหล่งน้ำไปสู่พื้นที่เพาะปลูก มี 3 รูปแบบ - แบบตลอดเวลา (Continuous Flow Method) - แบบตามความต้องการของผู้ใช้น้ำ (Demand Method) - แบบหมุนเวียน (Rotation Method)

  9. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบตลอดเวลา พื้นที่ทุกแปลงได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก จะมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อ แปลง เพาะปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ มีสระเก็บน้ำสำรองไว้ในพื้นที่ เพาะปลูก *ขนาดคลองจะลดหลั่นกันลงมา*

  10. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบตลอดเวลา

  11. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบตลอดเวลา สามารคำนวณหาปริมาณน้ำได้จากสูตร Q= ปริมาณน้ำ (ลิตร/วินาที) A=พื้นที่ส่งน้ำ (ไร่) d= ความต้องการน้ำชลประทานสุทธิ (มม./วัน) Ef=ปสภ.การชลประทาน (ทศนิยม) Q = Ad 54Ef

  12. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบตามความต้องการของผู้ใช้น้ำ ส่วนใหญ่ปฏิบัติกันในประเทศที่ได้มีการพัฒนาด้านการเกษตรแล้ว เกษตรกรแต่ละรายมีพื้นที่มากและรู้จักการใช้น้ำชลประทาน โครงการชลประทานต้องมีน้ำสนับสนุนอย่างเพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก เกษตรกรจะแจ้งความต้องการน้ำล่วงหน้า วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ มีการเก็บค่าน้ำ และมีมาตรการป้องกันการขโมยน้ำ

  13. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบตามความต้องการของผู้ใช้น้ำ

  14. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบหมุนเวียน เป็นการส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ เจ้าหน้าที่โครงการและเกษตรกรมีการวางแผนการใช้น้ำร่วมกัน เกษตรกรต้องรักษากติกาการได้รับน้ำ

  15. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบหมุนเวียน แบ่งตามลักษณะการหมุนเวียนได้ 3 ประเภท 1.หมุนเวียนโดยคลองสายใหญ่ ส่งเข้าคลองสายใหญ่ทีละส่วน

  16. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบหมุนเวียน แบ่งตามลักษณะการหมุนเวียนได้ 3 ประเภท 2.หมุนเวียนโดยคลองซอย คลองสายใหญ่ตลอดเวลา แบ่งคลองซอยออกเป็นส่วนๆ

  17. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบหมุนเวียน แบ่งตามลักษณะการหมุนเวียนได้ 3 ประเภท 3.หมุนเวียนโดยคูน้ำ แบ่งคูน้ำเป็นส่วนๆ

  18. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบหมุนเวียน ส่วนใหญ่การออกแบบจะออกแบบหมุนเวียนในคูน้ำ คลองส่งน้ำสายใหญ่ ขนาดจะลดหลั่น ตลอดเวลา คลองส่งน้ำสายซอย ขนาดจะลดหลั่น ตลอดเวลา คูส่งน้ำ ขนาดเท่ากัน หมุนเวียน

  19. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ วิธีการส่งน้ำ แบบหมุนเวียน

  20. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ บทบาทของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรในการใช้น้ำแบบรอบเวร ก่อนส่งน้ำ -จนท.วางแผนการส่งน้ำ และจัดประชุมชี้แจง -กลุ่มฯรวบรวมความต้องการใช้น้ำ -เข้าร่วมประชุม หัวหน้ากลุ่มฯชี้แจงสมาชิก -พิจารณาน้ำต้นทุนร่วมกัน ถ้า... เพียงพอ จนท.จัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนร่วมกับกลุ่มฯ ไม่เพียงพอ กำหนดมาตรการแก้ไข...

  21. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ บทบาทของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรในการใช้น้ำแบบรอบเวร ระหว่างการส่งน้ำ -ปฏิบัติตามหน้าที่การเปิด-ปิดบาน ของแต่ละฝ่าย -ตรวจสอบรอบเวรการรับน้ำ -รายงานความก้าวหน้าการปลูกพืช -กำหนดวันหยุดการส่งน้ำ หลังฤดูกาลส่งน้ำ -ประเมินผลการส่งน้ำ -บำรุงรักษา คลอง อาคาร คูส่งน้ำ

  22. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ #วิธีแบ่งตามสัดส่วนพื้นที่รับน้ำ# ข้อมูล 1. แผนที่คูน้ำ แสดงความจุคูน้ำ ขนาดคูน้ำ อาคารประกอบต่างๆ 2. แผนที่แปลงกรรมสิทธิ์ แสดงหมายเลขแปลง รายชื่อเจ้าของที่ดิน 3. เวลาการได้รับน้ำจากคลองส่งน้ำ

  23. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ #วิธีแบ่งตามสัดส่วนพื้นที่รับน้ำ# ตัวอย่าง

  24. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ #วิธีแบ่งตามสัดส่วนพื้นที่รับน้ำ# ตัวอย่าง กำหนดให้ เวลาการได้น้ำจากคลองส่งน้ำ 107 ชั่วโมง ท่อส่งน้ำเข้าแปลงนา ความจุ 30 ลิตร/วินาที ความจุคูส่งน้ำสาย 01 = 60 ลิตร/วินาที ความจุคูส่งน้ำสาย 01-1 = 60 ลิตร/วินาที

  25. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ รายชื่อเจ้าของที่ดิน รวม 209

  26. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 1สะเก็ตแนวคูน้ำ ใส่ตำแหน่งอาคารอัดน้ำ อาคารแบ่งน้ำ เขียนความจุของคูตรงปากคูและจุดแยก 60 60 60 01 60 01-1

  27. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 2แบ่งหน่วยหมุนเวียนย่อยพร้อมให้หมายเลขหน่วยหมุนเวียนย่อย รวมพื้นที่แต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย **การแบ่งใช้อาคารอัดน้ำ อาคารแบ่งน้ำ**

  28. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 2แบ่งหน่วยหมุนเวียนย่อยพร้อมให้หมายเลขหน่วยหมุนเวียนย่อย รวมพื้นที่แต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย **การแบ่งใช้อาคารอัดน้ำ อาคารแบ่งน้ำ** แบ่งหน่วยหมุนเวียนย่อยได้ 4 หน่วย หาพื้นที่แต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย A1= 27+11+17=55 ไร่ A2=25+21 =46 ไร่ A3=25+23 =48 ไร่ A4=29+9+22 =60 ไร่

  29. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 3หาจำนวนท่อส่งน้ำเข้าแปลงนาที่เปิดได้พร้อมกัน (N) N = ความจุคูน้ำตามแบบ (ลิตร/วินาที) ความจุท่อส่งน้ำเข้าแปลงนา(ลิตร/วินาที) = 60/30 = 2 ท่อ สามารถเปิดท่อส่งน้ำเข้าแปลงนาได้ 2 ท่อ พร้อมกัน

  30. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 4ตรวจสอบเวลาการได้น้ำ คือ เวลาการได้น้ำจากคู ไม่เกิน เวลาการได้น้ำจากคลอง สามารถหาได้จาก เวลาการได้น้ำของคูน้ำ = (A / N) x 1 ชม./ไร่/ท่อ โดยที่ A = พื้นที่คูน้ำ(ไร่) N = จำนวนท่อส่งน้ำเข้าแปลงนาที่สามารถเปิดได้พร้อมกัน ถ้า เวลาการได้น้ำของคู มากกว่า เวลาการได้น้ำของคลอง ต้องกำหนดมาตรการ เช่น -ปรึกษา หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำฯ -เพิ่มเวลาการส่งน้ำของคลอง ลดชั่วโมงการได้น้ำของคูส่งน้ำ -เปลี่ยนแผนการปลูกพืช -อื่นๆ ...

  31. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 4ตรวจสอบเวลาการได้น้ำ คือ เวลาการได้น้ำจากคู ไม่เกิน เวลาการได้น้ำจากคลอง สามารถหาได้จาก เวลาการได้น้ำของคูน้ำ = (A / N) x 1 ชม./ไร่/ท่อ โดยที่ A = พื้นที่คูน้ำ(ไร่) N = จำนวนท่อส่งน้ำเข้าแปลงนาที่สามารถเปิดได้พร้อมกัน จากตัวอย่าง เวลาการได้น้ำของคู = (209 / 2 ) x 1 = 104.5 ชั่วโมง น้อยกว่า เวลาการได้รับน้ำของคลอง 107 ชั่วโมง OK

  32. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 4ตรวจสอบเวลาการได้น้ำ คือ เวลาการได้น้ำจากคู ไม่เกิน เวลาการได้น้ำจากคลอง สามารถหาได้จาก หาเวลาการได้รับน้ำของแต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย จาก Tu = (Au / A ) x Tโดยที่ Tu = เวลาการได้รับน้ำของแต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย (ชม.) Au = พื้นที่ของแต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย (ไร่) A = พื้นที่คูส่งน้ำทั้งหมด (ไร่) T = เวลาการได้น้ำของคู (ชม.)

  33. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 4ตรวจสอบเวลาการได้น้ำ คือ เวลาการได้น้ำจากคู ไม่เกิน เวลาการได้น้ำจากคลอง สามารถหาได้จาก หาเวลาการได้รับน้ำของแต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย จาก Tu = (Au / A ) x T T1= (55/209)x107=28.158 ใช้ 29 ชม. T2=(46/209)x107=23.350 ใช้ 24 ชม. T3=(48/209)x107=24.574 ใช้ 24 ชม. T4=(60/209)x107=30.718 ใช้ 30 ชม. รวม 107 ชม.

  34. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 5กำหนดเวลาการส่งน้ำแต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย โดย มีข้อแนะนำ คือ -ช่วงเปลี่ยนเวลาของแต่ละหน่วยหมุนเวียนควรอยู่ในช่วงเวลากลางวัน(06.00-18.00) -สามารถ เพิ่ม/ลด ชม. ตามความเหมาะสมของเวลาการเปิด-ปิด

  35. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 6หาเวลาการได้น้ำของแต่ละแปลง หาได้จาก Tp = Tu x (Ap/Au) x N โดย Tp=เวลาการได้รับน้ำแต่ละแปลง(ชม.) Tu=เวลาการได้รับน้ำแต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย(ชม.) Ap=พื้นที่ของแต่ละแปลง(ไร่) Au=พื้นที่ของแต่ละหน่วยหมุนเวียนย่อย(ไร่) N=จำนวนท่อส่งน้ำเข้าแปลงนาที่สามารถเปิดได้พร้อมกัน(ท่อ)

  36. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 6หาเวลาการได้น้ำของแต่ละแปลง หาได้จาก Tp = Tu x (Ap/Au) x N หน่วยหมุนเวียนย่อยที่ 1 T201 = 29 x (27/55) x 2 = 28.47 ใช้ 29 ชม. T202 = 29 x (11/55) x 2 = 11.60 ใช้ 11 ชม. T203 = 29 x (17/55) x 2 = 17.90 ใช้ 18 ชม. หน่วยหมุนเวียนย่อยที่ 2 … หน่วยหมุนเวียนย่อยที่ 3 … หน่วยหมุนเวียนย่อยที่ 4 …

  37. การจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูส่งน้ำ การคำนวณการจัดทำแผนการส่งน้ำหมุนเวียนระดับคูน้ำ ขั้นตอนที่ 6หาเวลาการได้น้ำของแต่ละแปลง หาได้จาก จากผลการคำนวณ และนำมาจัดเวลาการได้น้ำของแต่ละแปลง

  38. การฝึกการคำนวณ เกษตรกรโครงการบางทรายนวล อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

  39. ขอบคุณครับ นายกิตติ ทองบำรุง โครงการปฏิบัติการคันคูน้ำที่ 15 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (84150)

More Related