1 / 30

การพยากรณ์โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ.2555 Leptospirosis: A Forecast Report for 2012

การพยากรณ์โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ.2555 Leptospirosis: A Forecast Report for 2012 กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา. ความสำคัญ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 โรคเลปโตสไปโรซีส จัดว่าเป็น

Download Presentation

การพยากรณ์โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ.2555 Leptospirosis: A Forecast Report for 2012

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพยากรณ์โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ.2555 Leptospirosis: A Forecast Report for 2012 กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา

  2. ความสำคัญ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 โรคเลปโตสไปโรซีส จัดว่าเป็น ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะมีอัตราป่วยสูงกว่าระดับประเทศ มาต่อเนื่องทุกปี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของโรคเลปโตสไปโรซีส ของพื้นที่เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 ระหว่างปี 2545-2555 2. เพื่อพยากรณ์โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ.2555 ในพื้นที่เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14

  3. วิธีการศึกษา 1. เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive study) ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นสูง 2. ทบทวนเอกสารจากแหล่งข้อมูล 2.1 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา(รง.506) โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ. 2545 – พ.ศ.2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้าน โรคเลปโตสไปโรซีส พาหะของโรค และปศุสัตว์

  4. 3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาดังนี้ 3.1 สถิติเชิงพรรณนา 3.2 สถิติเชิงอนุมาน ใช้วิธีการ สหสัมพันธ์ถดถอยอย่างง่าย (Simple linear regression) ทดสอบความแตกต่างของจำนวนป่วย และประมาณน้ำฝนรายปี รายเดือน ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว(one way ANOVA) 4. การพยากรณ์โรคล่วงหน้า ใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ ( Time Series Model)

  5. ผลการศึกษา 1. สถานการณ์โรคเลปโตไปโรซีส รูปที่ 1 อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนโรคเลปโตสไปโรซีสประเทศและ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2545 - 2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  6. รูปที่ 2 อัตราตายต่อประชากรแสนคนโรคเลปโตสไปโรซีสประเทศและ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2545 - 2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  7. รูปที่ 3 อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนโรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกตามกลุ่มอายุ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2552 -2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  8. รูปที่ 4 สัดส่วนของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกตามอาชีพ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2552- 2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  9. รูปที่ 5 อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนโรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่14 พ.ศ. 2552-2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  10. รูปที่ 6 อัตราป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 จำแนกรายเดือน พ.ศ. 2545-2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  11. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสพฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส ตารางที่ 1 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส จากรายงานสอบสวนโรค พฤติกรรมเสี่ยง จำนวน (N = 34) ร้อยละ - ลงแช่น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ 17 50.0 - เดินย่ำน้ำ/พื้นที่ 14 41.2 ชื้นแฉะโดยไม่สวมรองเท้า - ชำแหละหนูนา 1 2.9 - ไม่ทราบ 2 5.9 รวม 34 100

  12. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสจากรายงานการศึกษาวิจัยพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสจากรายงานการศึกษาวิจัย • - การไถนาในที่เปียกนานเกินกว่า 6 ชั่วโมง • - การถอนกล้าในที่เปียกเกิน 6 ชั่วโมง • - การใส่ปุ๋ยในที่เปียกเกิน 6 ชั่วโมง และการเดินย่ำน้ำนานกว่า 6 ชั่วโมง • เสี่ยงต่อการเป็นโรคเลปโตสไปโรซีสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

  13. การศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส มีพฤติกรรมหลายอย่างที่ทำต่อเนื่องกันได้แก่ การทำนา การหาปลา การเลี้ยงสัตว์ และพบว่ามีเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การเลี้ยงโค กระบือ เป็นอาชีพเสริม บทบาทชายหญิงในภาคเกษตรกรรม ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อเลปโตสไปร่าเพิ่มมากขึ้น

  14. ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีส 1. ปริมาณน้ำฝน 2. ปริมาณปศุสัตว์/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่า 3. ปริมาณหนูนา/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่า 4. ปริมาณแหล่งน้ำในพื้นที่ 5. ปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม

  15. 1. ปริมาณน้ำฝน รูปที่ 9 ปริมาณน้ำฝนรายเดือน เปรียบเทียบกับอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน โรคเลปโตสไปโรซีส เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2543 – 2554 ที่มา : 1. ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กรมชลประทานอุทก 2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  16. 2. ปริมาณปศุสัตว์/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่า ตารางที่ 2 ปริมาณปศุสัตว์และการคาดประมาณการติดเชื้อเลปโตสไปร่าในปศุสัตว์ จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2554 หมายเหตุ สัดส่วนการติดเชื้อในกระบือ = 32.5 สัดส่วนการติดเชื้อในโค = 7.6

  17. ปัจจัยด้านปริมาณหนูนา/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่าปัจจัยด้านปริมาณหนูนา/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่า ตารางที่ 3 การคาดประมาณจำนวนหนูนา และการคาดประมาณการติดเชื้อเลปโตสไปร่าในหนูนา จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2553 หมายเหตุสัดส่วนการติดเชื้อในหนูนา = 7.1

  18. ปัจจัยด้านแหล่งน้ำในพื้นที่และการมีน้ำท่วมขัง ปัจจัยด้านแหล่งน้ำในพื้นที่และการมีน้ำท่วมขัง ตารางที่ 4 จำนวนแหล่งน้ำ จำแนกรายประเภทและรายจังหวัด เขตตรวจราชการ สาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2553 ที่มา: โครงการชลประทานบุรีรัมย์

  19. ปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม - ลักษณะที่ดินในนา ในพื้นที่ที่มีการระบาด ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัด สภาพเป็นกลางถึงด่างอ่อนเอื้อต่อการอยู่รอดของเชื้อเลปโตสไปร่า ในขณะที่พื้นที่ที่ไม่มีการระบาดมีทั้งดินเหนียวและดินร่วนปนทรายบางส่วน - จำนวนแหล่งน้ำ พื้นที่ที่มีการะบาดมีแหล่งน้ำทั้งขนาดใหญ่และเล็กเป็นจำนวนมาก ส่วนในพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่คือ แม่น้ำมูล บึง และแหล่งน้ำขนาดเล็กอีก 2 แห่ง -ปริมาณสัตว์ พบว่าในพื้นที่ที่มีการระบาด มีการเลี้ยงสัตว์(โค กระบือ สุกร) มากกว่าพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด และพบว่าพื้นที่ที่มีการระบาดมีปริมาณหนูมากกว่า

  20. ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค ทั้งพื้นที่ที่มีการระบาด และพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด มีความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดโรค แบ่งเป็น 3 กลุ่มคล้ายกัน คือ กลุ่มที่ 1 เชื่อว่าเกิดจากสารเคมี พวกสารเคมีกำจัดวัชพืช กลุ่มที่ 2 เชื่อว่าเกิดจากเยี่ยวหนู กลุ่มที่ 3 เชื่อว่าเกิดจากเยี่ยวหนู ผสมสารเคมี

  21. นอกจากนั้น ยังพบว่าพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดของโรค มีความเชื่อเรื่องศาลปู่ตาที่มีงูสิงห์เป็นพาหนะ จึงไม่ฆ่างู ในขณะที่พื้นที่ที่มีการระบาด ไม่มีความเชื่อเรื่องศาลปู่ตา ทำให้มีการจับงูไปขายและฆ่างูสิงห์ ทำเป็นอาหาร

  22. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับการเกิดโรค ตารางที่ 5 จำนวนแหล่งน้ำ จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสสะสม จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2539 -2554

  23. ตารางที่ 6 ปริมาณหนูนา จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสสะสม จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2539-2554

  24. ตารางที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่าง จำนวนป่วยรายเดือนและปริมาณน้ำฝน รายเดือน พ.ศ.2543-2554 a เมื่อตัวแปรตามคืออัตราป่วย b เมื่อตัวแปรตามคือจำนวนป่วย

  25. การพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรคล่วงหน้า พ.ศ.2555 จากโมเดลของวินเตอร์ :Yt= [β0 + β1 t] (St) (I) จะได้จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน ตามสมการ Yt = [134.42+ (-0.40) t] (St) (1) เมื่อ t = ช่วงเวลาที่มีระยะห่างเท่าๆกัน (ต่อเนื่องกัน) Yt = ค่าจริงเมื่อเวลา t (จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน) β0 = ระยะตัดแกน (ส่วนประกอบถาวร) β1 = ค่าความชันของแนวโน้ม (ของข้อมูลชุดนี้) SI = ค่าดัชนีฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เมื่อเวลา t (1-12 เดือน) I = ค่าความไม่แน่นอน (ให้ค่าเท่ากับ 1) (134.42) เป็นค่าเริ่มต้นที่ได้จากข้อมูลชุดนี้ (ปรับให้เรียบยกกำลังสาม) (-0.40) เป็นค่าแนวโน้มของข้อมูลชุดนี้ (แยกรายเดือน ในช่วงเวลา 10 ปี)

  26. รูปที่ 11 จำนวนผู้ป่วยเลปโตสไปโรซีส ปี 2545 – 2554 และการพยากรณ์แนวโน้มปี 2555 ในปี 2555 คาดว่าน่าจะมีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส ประมาณ 1,575 ราย โดยเดือนตุลาคม จะมีรายงานผู้ป่วยสูงสุด (จำนวน 305 ราย)

  27. รูปที่ 12 จำนวนผู้ป่วยเลปโตสไปโรซีส ปี 2545 – 2554 และการพยากรณ์แนวโน้มปี 2555

  28. ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคเลปโตสไปโรซีสข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคเลปโตสไปโรซีส • การแก้ไขปัญหาระยะสั้น • 1.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการป้องกันควบคุมโรค ควรมี • ถ่ายทอดความรู้และแนวทางการปฏิบัติตนในการป้องกันควบคุมโรคที่ถูกต้องและเหมาะสม • 1.2 ควรทำการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของซีโรวาร์ของเชื้อในปศุสัตว์และหนูนา • เพื่อยืนยันและหามาตรการการป้องกันการติดต่อโรคในปศุสัตว์และในคนต่อไป • 1.3ในพื้นที่ที่ปริมาณน้ำน้อย แหล่งน้ำน้อย แต่พบการติดเชื้อในปศุสัตว์สูง • ควรเน้นให้ประชาชนระวังและป้องกันการติดเชื้อ ให้เข้มข้นและมากกว่าพื้นที่ • ที่แหล่งน้ำมาก และมีการติดเชื้อน้อย

  29. การแก้ไขปัญหาระยะยาว • 2.1 ควรทำการศึกษาวิจัยหรือหานวัตกรรมใหม่ ในการป้องกันควบคุม • โรคเลปโตสไปโรซีส • 2.2 ควรกำหนดให้โรคเลปโตสไปโรซีสอยู่ในแผนการเรียนการสอนของโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง • 2.3 ควรปรับปรุงมาตรฐานการทำปศุสัตว์ เพื่อป้องกันการเข้ามาหากินของหนูในเขตปศุสัตว์ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อโรคเลปโตสไปร่าในปศุสัตว์ได้ • 2.4 จากการศึกษาพบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ต้องเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยทำให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อนเชื้อน้อยที่สุด เน้นการแก้ปัญหาแบบสหวิชาชีพ

  30. สวัสดี

More Related