1 / 24

รัฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Political Science)

รัฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Political Science). ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 นครแห่งการเรียนรู้. สภาพ ขอบเขตและการศึกษาวิชารัฐศาสตร์. วิชารัฐศาสตร์คืออะไร? ทำไมเราต้องศึกษาวิชารัฐศาสตร์? และจะมีประโยชน์กับเราอย่างไรบ้าง?. ความหมายของวิชารัฐศาสตร์.

vivi
Download Presentation

รัฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Political Science)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รัฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Political Science) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 นครแห่งการเรียนรู้

  2. สภาพ ขอบเขตและการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ • วิชารัฐศาสตร์คืออะไร? • ทำไมเราต้องศึกษาวิชารัฐศาสตร์? • และจะมีประโยชน์กับเราอย่างไรบ้าง?

  3. ความหมายของวิชารัฐศาสตร์ความหมายของวิชารัฐศาสตร์ • รัฐศาสตร์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Political Science เป็นการศึกษาถึงเรื่องราวทางการเมือง • science ในที่นี่หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาการ • ส่วนคำว่าการเมือง มาจากภาษาอังกฤษว่า politics ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า polis แปลว่า เมือง หรือ นครรัฐ โดยนครรัฐในกรีกโบราณ ได้แก่ เอเธนส์และสปาร์ตา เป็นต้นในภาษาอังกฤษคำว่ารัฐกับการเมืองมีความหมายคล้ายคลึงกัน

  4. รัฐศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่กล่าวถึงทฤษฎีการจัดตั้งองค์การรัฐบาล การดำเนินงานของรัฐหรือองค์การการเมืองการปกครอง การกำเนิดและวิวัฒนาการของรัฐ การจัดองค์การต่างๆ ในทางปกครอง รัฐบาลหรือสถาบันทางการเมืองในฐานะที่เป็นผู้ออกกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเอกชนหรือกลุ่มชนกับรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ แนวคิดทางการเมือง ตลอดจนการแสวงหาอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองหรือภายในกลุ่มการเมืองอันมีลักษณะพิเศษจากรัฐ โดยมุ่งที่จะแสวงหาอิทธิพลต่อนโยบายรัฐและทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

  5. การศึกษาวิชารัฐศาสตร์หมายถึงการศึกษาวิชาการเมืองโดยใช้ศาสตร์หรือวิชาการเข้ามาวิเคราะห์ หรืออาจจะกล่าวสรุปแบบสั้นๆ ได้ว่า รัฐศาสตร์ Political Science คือศาสตร์แห่งรัฐ รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาถึงการที่มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคม

  6. ความหมายของรัฐศาสตร์ในมุมมองของนักวิชาการความหมายของรัฐศาสตร์ในมุมมองของนักวิชาการ • ปรมาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ชาวอเมริกาชื่อดัง Harald Lasswell ได้เขียนหนังสือซึ่งเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันดีในแวดวงนักรัฐศาสตร์ในปี 1936 ที่มีชื่อว่าPolitics: Who Gets What, When, How และได้ให้คำนิยามของคำว่า การเมืองคือการได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อที่จะตัดสินว่า ใครจะได้อะไร เมื่อใดและอย่างไร อีกทั้งยังได้กล่าวเอาไว้อย่างกว้างๆ ว่า การศึกษาการเมืองคือการศึกษาถึงอิทธิพลและผู้ทรงอิทธิพล

  7. D.A.Cutchin ได้ให้ความหมายของการเมืองไว้อย่างกว้างๆ เช่นเดียวกันว่า การเมือง ได้แก่ กระบวนการในการตัดสินใจว่า ผู้ใดได้รับอะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร กระบวนการในการหาข้อยุติความขัดแย้งที่กำหนดในการจัดสรรทรัพยากร กระบวนการใช้อำนาจให้มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการของรัฐบาลในเรื่องใดๆ

  8. คำว่า รัฐศาสตร์ กับ การเมือง มักใช้แทนกันได้ แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ รัฐศาสตร์ เป็นเรื่องที่หนักไปในทางวิทยาการหรือศาสตร์ที่มีการจัดระบบหมวดหมู่อย่างชัดแจ้ง การเมือง มีลักษณะหนักไปในเชิงการกระทำหรือเป็นกิจกรรม

  9. ความสำคัญของวิชารัฐศาสตร์:ทำไมต้องเรียนรัฐศาสตร์?ความสำคัญของวิชารัฐศาสตร์:ทำไมต้องเรียนรัฐศาสตร์? • มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงลำพังบนโลกใบนี้ได้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและเป็นสัตว์การเมือง • การเมืองเกิดจากความเป็นจริงที่ว่า ความจำเป็นต่างๆ ของมนุษย์มีจำกัดในขณะที่ความต้องการของมนุษย์มีอย่างไม่จำกัด การเมืองจึงเกิดขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นกฎเกณฑ์ในการแบ่งสรรความจำเป็นต่างๆ เหล่านี้

  10. การศึกษาหรือการเรียนรู้วิชาการทางการเมืองเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้ เพราะการเมืองเป็นเรื่องศิลปะการปกครอง เรื่องส่วนรวมหรือกิจกรรมของรัฐ เป็นเรื่องราวของการประนีประนอมและความเห็นที่สอดคล้องกันเพราะการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ และการแบ่งสรรทรัพยากร

  11. ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร กล่าวถึงประโยชน์ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์เอาไว้ว่า “ได้ประโยชน์ในแง่ขององค์ความรู้ที่จะใช้ในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น แต่สิ่งที่มีความสำคัญโดยตรงและเป็นเป้าหมายหลักในการเรียนรัฐศาสตร์คือ การทำให้บัณฑิตที่จบมากลายเป็นพลเมืองของระบอบประชาธิปไตย รู้จักใช้สิทธิ เคารพหน้าที่ เคารพกฎหมายและความเท่าเทียม มีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่เฉยเมยต่อสิ่งที่อยุติธรรม มีภูมิรู้และภูมิธรรมและเป็นหนึ่งในแรงสร้างสรรค์ประชาธิปไตย”

  12. พัฒนาการและความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์พัฒนาการและความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์ David Easton ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สมัยด้วยกัน คือ

  13. ยุคกรีก การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคกรีกโบราณนี้รวมอยู่กับการศึกษาเกี่ยวกับสังคมทั่วไป นักรัฐศาสตร์หรือปราชญ์คนสำคัญในสมัยกรีกนี้ได้แก่ เพลโตและอริสโตเติล เพลโตได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งปรัชญาการเมือง ผลงานที่ทรงคุณค่าทางปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตกคือหนังสือ The Republic (อุตมรัฐ หรือรัฐในอุดมคติ) โดยมีแนวคิดเรื่อง “ราชาปราชญ์”

  14. อริสโตเติลนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ มีผลงานจำนวนมากและไม่จำกัดเฉพาะในวงรัฐศาสตร์เท่านั้น ผลงานทางรัฐศาสตร์โดยตรงที่สำคัญของเขาคือ Politics (การเมือง) รัฐศาสตร์ในยุคนี้มุ่งเน้นการศึกษาปรัชญาทางศีลธรรม ยังไม่มีการศึกษาวิชาการเมืองโดยเฉพาะที่ได้แยกสาขาย่อยเกิดขึ้น แนวความคิดของเพลโต เป็นการศึกษาในแนวอุดมคติมากกว่า ขณะที่อริสโตเติลได้นำหลักการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการศึกษารัฐศาสตร์ โดยได้พยายามเอาการเมืองในนครรัฐต่างๆ มาเปรียบเทียบกัน และพยายามหาจุดร่วมที่ดีที่สุดของระบอบการเมืองเพื่อสร้างระบอบการเมืองที่ดีที่สุด

  15. ยุคโรมัน • มีศูนย์กลางอยู่ที่นครรัฐโรม • เน้นรูปแบบการศึกษากฎหมาย ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายมาก เพราะจักรวรรดิโรมันมีอาณาเขตกว้างขวาง ประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งแตกต่างไปจากยุคกรีกโบราณ จึงสร้างกฎหมายให้เป็นระเบียบการแบบกว้างๆ ที่ใช้ได้โดยทั่วไป • มีการรวบรวมกฎหมายหรือประมวลกฎหมายโรมัน (code) ของจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) อันเป็นรากฐานของประมวลกฎหมายในแถบภาคพื้นทวีปยุโรปมาจนถึงทุกวันนี้

  16. ในช่วงยุคสมัยกลางของยุโรปหลังจากที่จักรวรรดิของโรมได้ล่มสลายลง • ยุโรปสมัยนั้นเป็นยุคสมัยที่รัฐศาสตร์ไม่ได้รับความสนใจ ช่วงนั้นจึงกลายเป็นยุคสมัยที่ไม่มีรัฐหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายุค อนาธิปไตย (anarchy)วิชารัฐศาสตร์ไม่มีความสำคัญ ให้ความสำคัญกับศาสนศาสตร์ • รัฐถูกทำให้ลดความสำคัญลง วิชารัฐศาสตร์ได้ถูกจัดให้เป็นเพียงแขนงหรือสาขาของวิชาเทววิทยา ดังนั้นเมื่อมีปัญหาทางด้านการเมืองเกิดขึ้น การแก้ไขหรือการหาทางออกก็จะใช้วิธีการตัดสินโดยอาศัยผู้รู้ทางศาสนาคือ พระหรือนักบวช

  17. ยุคฟื้นฟู การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ความสนใจเกี่ยวกับการเมืองและเรื่องของรัฐได้กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในยุคฟื้นฟูนี้หรือที่เรียกยุดนี้กันว่า renaissances ได้เกิดความสนใจในการนำการเรียนรู้ในสมัยยุคกรีกและยุคโรมันกลับมาฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง

  18. นักคิดคนสำคัญในยุคนี้คือ มาเคียเวลลี่ นักปรัชญาชาวอิตาลี เป็นผู้ริเริ่มในการแยกการเมืองออกจากศาสนา • ให้รัฐเป็นส่วนรวมของความสามัคคีของคนในชาติ ความมั่นคง และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผลประโยชน์แห่งชาติ • ในยุคนี้เกิดความสนใจที่จะแสวงหาคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการกำเนิดรัฐ • ในยุคนี้ได้เกิดรัฐต่างๆ ขึ้นมามากมาย และเกิดสงคราม และความพยายามในการขยายดินแดน การเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งในปลายของยุคนี้นี่เอง ที่รัฐชาติตะวันตกมีการล่าอาณานิคมกันเกิดขึ้น

  19. ยุคใหม่ • การศึกษาในยุคใหม่นี้มุ่งให้ความสนใจในปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นจริง เน้นการศึกษาเชิงพฤติกรรม (behavioral) • นำหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการศึกษารัฐศาสตร์ โดยการสังเกต ตั้งสมมุติฐาน สำรวจ และสรุป • วิธีการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใหม่มักจะไม่สนใจว่าอะไรคือมาตรฐานของความดีหรือความชั่ว และมักจะไม่สนใจว่าสิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการวัด “ความควร” หรือ “ความไม่ควร” ในทางการเมือง แต่จะให้ความสนใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป

  20. ขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์ขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์ ศ.ดร.ทินพันธ์ นาคะตะ ได้แบ่งสาขาวิชารัฐศาสตร์ออกเป็นสาขาที่สำคัญๆ หกสาขาด้วยกัน ดังนี้คือ • สาขาวิชาทฤษฎีการเมือง: มีรากฐานมาจากวิชาปรัชญาอธิบายถึงแนวความคิดที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์ • สาขาวิชากฎหมายมหาชน: ศึกษาถึงปรากฏการณ์ทางกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง การปกครอง

  21. สาขาวิชาการเมืองภายในประเทศ: ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองในประเทศด้านต่างๆ อาทิ ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเมือง พรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพล สถาบันทางการเมือง เป็นต้น • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: ศึกษาเรื่องการปฏิบัติการที่จะบริหารรัฐตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

  22. สาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบ : ศึกษาลักษณะการปกครองในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนนำเอารูปแบบการปกครองของรัฐๆ มาวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : ศึกษาพิจารณาในด้านนโยบาย หลักการและวิธีการในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ แขนงวิชาที่รวมอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ นโยบายต่างประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และการดำเนินการทางการทูต

  23. ความสัมพันธ์ระหว่างวิชารัฐศาสตร์กับวิชาสาขาอื่นๆ วิชารัฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ซีลีย์ (Seeley) กล่าวว่า “History without political science has no fruit, Political science without history has no root” (ประวัติศาสตร์ที่ขาดรัฐศาสตร์ย่อมไร้ผล รัฐศาสตร์ที่ปราศจากประวัติศาสตร์ย่อมไร้ราก) กล่าวคือประวัติศาสตร์เป็นหลักฐานให้ทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ทำให้เราสามารถทราบและเข้าใจถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในรัฐ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีค่าหลายประการเกี่ยวกับตัวรัฐในอดีต สามารถที่จะนำเอามาวิเคราะห์ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนั้น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สามารถทำให้นักรัฐศาสตร์เข้าใจถึงปัญหาต่างๆ และจะเป็นสิ่งที่ให้ความกระจ่างในการวิเคราะห์หาคำตอบปัญหาบางประการแก่นักรัฐศาสตร์ หรือผู้วางทฤษฎีรัฐศาสตร์อีกด้วย

  24. วิชารัฐศาสตร์กับสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาวิชารัฐศาสตร์กับสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา • สังคมวิทยาเป็นการศึกษาถึงเรื่องราวในสังคมมนุษย์ทั้งหมด ส่วนวิชามานุษยวิทยาซึ่งเป็นแขนงวิชาที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสังคมวิทยาก็ศึกษาเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับตัวมนุษย์ และวิชารัฐศาสตร์จำต้องอาศัยผลและเนื้อหาของวิชาทั้งสองนี้ เพราะรัฐนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับสังคม ชุมชน และมนุษย์อย่างใกล้ชิด ฉะนั้น ในการปกครองและบริหารประเทศ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาหลักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาประกอบด้วย

More Related