1 / 27

ประวัติบุคคลสำคัญ และผลงานที่สร้างสรรค์ ในด้านต่างๆแก่โลก

ประวัติบุคคลสำคัญ และผลงานที่สร้างสรรค์ ในด้านต่างๆแก่โลก. มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi). ประวัติส่วนตัว.

Download Presentation

ประวัติบุคคลสำคัญ และผลงานที่สร้างสรรค์ ในด้านต่างๆแก่โลก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติบุคคลสำคัญ และผลงานที่สร้างสรรค์ ในด้านต่างๆแก่โลก

  2. มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi)

  3. ประวัติส่วนตัว ชื่อเต็มคือ โมฮันทาส การามจันทร์ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดที่จังหวัดโพรบันดาร์ (Porbandar) รัฐคุชราต ทางตะวันตกของอินเดีย ในวรรณะแพศย์ (พ่อค้า) บิดาเป็นข้าราชการ มารดาเป็นแม่บ้านที่เคร่งศาสนา คานธีแต่งงานตั้งแต่อายุ 13 ปี ตามธรรมเนียมของชาวฮินดูในสมัยนั้น

  4. การศึกษา ในวัยเด็กเขาไม่ใช่คนเรียนเก่ง หรือมีความสามารถพิเศษอย่างปรากฏใดชัดเจน ญาติ ๆ จึงแนะนำให้เขาไปเรียนที่อังกฤษ (ประเทศเจ้าอาณานิคมของอินเดียสมัยนั้น) เพื่อโอกาสก้าวหน้าทางการงานในอนาคต คานธีเดินทางไปอังกฤษในวัย 18 ปี เข้าเรียนนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน (University College London) เรียนจบแล้วกลับอินเดีย

  5. ชีวิตการทำงาน ต่อมาเดินทางไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาทางกฎหมายที่ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศอาณานิคมของอังกฤษ ที่ชาวอินเดียอพยพไปทำงานกันมาก ที่นี่เขาได้พบประสบการณ์เหยียดสีผิวตั้งแต่วันแรก ๆ ที่ไปถึง คือซื้อตั๋วรถไฟชั้น 1 แต่ถูกขับไล่ให้ไปนั่งชั้น 3 แต่เขาไม่ยอม จึงถูกจับโยนลงจากรถไฟ

  6. จุดเปลี่ยน ความอับอายครั้งนั้นกลายเป็นตัวจุดประกายให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงสังคม จากนั้นเขาก็จัดชุมนุมชาวอินเดีย อันนำไปสู่การเรียกร้องสิทธิของชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ เมื่ออังกฤษออกกฎหมายห้ามชาวฮินดูแต่งงานกับมุสลิม คานธีได้กล่าวปราศรัยโจมตีกฎหมายฉบับนี้

  7. กลับอินเดีย คานธีกลับอินเดียในปี 2458 ขณะนั้นชาวอินเดียสิ้นหวังที่จะเป็นอิสระจากอังกฤษ แต่คานธีพยายามปลุกระดมชาวอินเดียให้ลุกขึ้นเรียกร้องเอกราช เมื่อเกิดการสังหารหมู่ชาวอินเดียที่อำมริสาในปี 2462 ชาวอินเดียรู้สึกโกรธแค้นมาก อยากจะแก้แค้นคืน แต่คานธีได้กล่าวปราศรัยให้ประชาชนเปลี่ยนความโกรธเป็นการให้อภัย จนกลายเป็นหลัก "อหิงสา”หรือ "สัตยาเคราะห์” (Satyagraha)

  8. ต่อต้านอังกฤษจนได้รับเอกราชต่อต้านอังกฤษจนได้รับเอกราช เขายังชวนให้ชาวอินเดียนำเสื้อผ้าของอังกฤษมาเผาไฟ แล้วหันไปสวมเสื้อผ้าพื้นเมือง คานธีทำเป็นตัวอย่างโดยการปั่นด้ายเองและนุ่งผ้าฝ้ายพื้นเมืองเนื้อหยาบ สวดมนต์และปฏิบัติธรรมเป็นกิจวัตร คานธีถูกจับขังคุกหลายครั้ง โดยไม่ขอประกันตัว ในที่สุดท่ามกลางกระแสกดดันจากนานาชาติ อังกฤษจึงยอมคืนเอกราชให้อินเดียในวันที่ 14 สิงหาคม 2490

  9. ถูกลอบสังหาร จนเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับมุสลิม มีการปะทะจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 5 แสนคน คานธีออกมาประท้วงโดยการอดอาหาร แต่พวกหัวรุนแรงทั้งสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกับคานธีที่ต้องการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว ในที่สุดก็ถูกลอบสังหารโดย นาธุราม กอดเส (NathuramGodse) ชาวฮินดูหัวรุนแรงซึ่งเชื่อว่าคานธีสนับสนุนฝ่ายอิสลาม ขณะเดินทางไปสวดมนต์ที่กรุงนิวเดลี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2491 ขณะอายุได้ 78 ปี

  10. อัลเบิร์ตไอน์สไตน์

  11. วัยเยาว์ ไอน์สไตน์เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศ เยอรมันนี เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่มิวนิค เขามีจิตใจรักทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 6ปี พอมีอายุได้ 12ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความที่เขาเรียนเก่งทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริคประเทศสวิสเซอร์แลนด์

  12. ชีวิตการทำงาน หลังจากจบการศึกษาในปี 1900ไอน์สไตน์ก็ทำงานเป็นครูสอนทาง ไปรษณีย์อยู่2ปีจึงได้ทำงานเป็นผู้เชี่ยงชาญทางเทคโนโลยีในสถาบัน แห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ในปี1921 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำ การกวาดล้างชาวยิวไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็น พลเมืองชาวเยอรมันเขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐโดยทำงานอยู่ที่สถาบัน การศึกษาในปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้สัญชาติอเมริกันในปี1941

  13. ชื่อเสียงและบั้นปลาย ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็โดยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความ สัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎี Quantum และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับ ความโน้มถ่วง ตลอดชีวิตของเขาได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย ไอน์สไตน์ถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955

  14. ผลงาน 1.   เป็นผู้ให้กำเนิด "ระเบิดปรมาณู"2.  เป็นเจ้าของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์3.  ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921

  15. เนลสัน แมนเดลา(Nelson Rolihlahla Mandela )

  16. วัยเด็กและการศึกษา • 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461วันเกิด เนลสัน แมนเดลา (Nelson Rolihlahla Mandela ) นักต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคของชนผิวสี และประธานาธิบดีคนแรกของประเทศแอฟริกาใต้ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2536 เกิดที่เมืองอัมทาทา (Mthatha) เป็นลูกชายของหัวหน้าเผ่าเท็มปู (Thempu) ซึ่งเสียชีวิตตอนเขาอายุเพียง 9 ขวบ แมนเดลามีโอกาสได้รับการศึกษาดีกว่าเด็กผิวดำคนอื่น ๆ

  17. ชีวิตช่วงเรียนมหาวิทยาลัยชีวิตช่วงเรียนมหาวิทยาลัย เข้าเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยวิทวอเตอร์สแรนด์ (University of the Witwatersrand) ระหว่างนั้นเขาได้ร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคเอเอ็นซี (African National Congress : ANC) พรรคของคนผิวสี ส่วนพรรครัฐบาลคือพรรคเอ็นพี (Nationalist Party : NP) ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดของคนผิวขาว แม้ประเทศแอฟริกาใต้จะได้รับเอกราชจากอังกฤษตั้งแต่ปี 2453 แต่ในสมัยนั้น คนผิวขาวก็ยังมีอิทธิพลอย่างสูงในประเทศนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนผิวสีถูกปกครองด้วยคนผิวขาวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย มีการแบ่งแยกสีผิวอย่างรุนแรง อีกทั้งยังได้ออกกฎหมายกดขี่ชนผิวสีอีกจำนวนมาก

  18. ชีวิตการเป็นทนายความ หลังจากเรียนจบ แมนเดลาจึงร่วมกับเพื่อนเปิดสำนักงานทนายความเพื่อคนผิวสีแห่งแรก ที่เมืองโยฮันเนสเบิร์ก และได้ติดต่อช่วยเหลือพรรคเอเอ็นซีอยู่เสมอจนกระทั่งได้เป็นรองประธานพรรค พรรคเอเอ็นซีได้เป็นหัวขบวนในการเรียกร้องเอกราช สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคให้แก่ชาวแอฟริกาใต้

  19. ก้าวสู่ผู้นำพรรคการเมืองก้าวสู่ผู้นำพรรคการเมือง ในระยะแรกได้ใช้วิธีการสันติวิธีอย่างมหาตมะคานธี เมื่อไม่เห็นผลจึงหันมาใช้วิธีการรุนแรงมากขึ้น มีจัดตั้งกองกำลัง ประชาชนออกมาเดินขบวนทำลายทรัพย์สินของราชกาล ต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้พรรคเอเอ็นซีเป็นพรรคการเมืองที่ผิดกฎหมาย แมนเดลาถูกจับในวันที่ 5 สิงหาคม 2505 ขณะอายุ 44 ปี ติดคุกยาวนานถึง 27 ปี ถูกปล่อยตัวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 หลังจากนั้นเขาก้าวขึ้นเป็นผู้นำพรรคเอเอ็นซี เรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรี

  20. การทำงานและผลงาน แมนเดลาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2536 ก่อนจะได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศในวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ลาออกในปี 2542 ออกมาทำงานเบื้องหลัง โดยเป็นทูตพิเศษในการเจรจาสันติภาพ และเรียกร้องประชาธิปไตยให้ประเทศในแอฟริกาอีกหลายประเทศ อีกทั้งทำงานรณรงค์แก้ปัญหาโรคเอดส์และภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ในแอฟริกา

  21. แม่ชีเทเรซา

  22. ชีวิตวัยเด็กและการศึกษาชีวิตวัยเด็กและการศึกษา แม่ชีเทเรซา เกิดเมื่อปี  1910  ในครอบครัวที่อบอุ่นในเมืองสโกเปียตอนนั้นได้ชื่อว่าแอ๊คเนสประเทศมาซิโดเนียในปัจจุบันซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรปแต่เมื่ออายุ  9  ปีบิดาก็เสียชีวิตลง เธอจึงอาศัยอยู่กับแม่และพี่สาวเมื่ออายุ  12  ปีได้ตระหนักว่าตนมีชีวิตเพื่อทำงานรับใช้คนยากไร้จึงตัดสินใจไปเรียนที่สำนักชีโลเรโตประเทศไอซ์แลนด์และเข้ามาเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนเซนต์มาเรีย

  23. การทำงานอุทิศตนเพื่อผู้ยากไร้การทำงานอุทิศตนเพื่อผู้ยากไร้ จากนั้นได้ตัดสินใจเข้าสู่สลัมจึงเปิดสอนโรงเรียนกลางแจ้งขึ้นเมื่อท่านอายุได้  38 ปีมีเด็กยากไร้มาเรียนมากมายและในขณะนั้นเองได้มีลูกษิทญ์คนหนึ่งมาขอช่วยแม่ชีจากนั้นมาเธอก็ได้เป็นผู้ช่วยมือขวาของแม่ชีได้รับสมญานามว่าแม่ชีแอ๊คเนสซึ่งเป็นชื่อเดิมของแม่ชีเทเรซา

  24. ภารกิจ จากนั้นการช่วยเหลือก็ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ไปถึงยุโรปที่นั่นมีสาขาของแม่ชีมากมายตั้งแต่นั้นแม่ชีก็ยังไม่ยอมลดละคอยช่วยเหลือผู้ยากไร้มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านเด็กเพื่อรับเด็กที่ไม่มีพ่อแม่มาดูแลเปิดบ้านของผู้รอความตายซึ่งรับคนที่มีอาการเจ็บป่วยเข้ารักษาจนจะถึงวาระสุดท้ายของแต่ละคนและสร้างบ้านพักอาศัยโรคเรื้อน และอื่นๆอีกมากมาย

  25. รางวัลจากการอุทิศตน แม่ชีเทเรซาได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ

  26. ผู้ประกอบแต่คุณงามความดีไม่มีวันตายจากความทรงจำของมวลมนุษยชาติผู้ประกอบแต่คุณงามความดีไม่มีวันตายจากความทรงจำของมวลมนุษยชาติ

  27. สมาชิกในกลุ่ม • นายอมร แสงจำนงค์ม.6/1 • นายสุภาพ ชีทอง ม.6/1 • นายวิทยา สาริกาพันธ์ ม.6/2 • นางสาวสุชาวดี สังข์ปาน ม.6/2 • นางสาวนิศาวรรณ ทับแก้ว ม.6/2

More Related