1 / 21

สื่อเสริม เรื่อง วงจรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญ บัณฑิต

สื่อเสริม เรื่อง วงจรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญ บัณฑิต. **สื่อเสริมนี้ใช้ประกอบการสอนรายวิชา วงจรไฟฟ้า. วัตถุประสงค์ของการเรียน. 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายองค์ประกอบของวงจรไฟฟ้าได้ 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหน้าที่ของอุปกรณ์ในวงจรไฟฟ้าได้.

varden
Download Presentation

สื่อเสริม เรื่อง วงจรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญ บัณฑิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สื่อเสริม เรื่อง วงจรไฟฟ้าสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต **สื่อเสริมนี้ใช้ประกอบการสอนรายวิชา วงจรไฟฟ้า

  2. วัตถุประสงค์ของการเรียนวัตถุประสงค์ของการเรียน 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายองค์ประกอบของวงจรไฟฟ้าได้ 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหน้าที่ของอุปกรณ์ในวงจรไฟฟ้าได้ สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  3. บทนำ วงจรไฟฟ้าคืออะไร วงจรไฟฟ้าคือ การนำเอาแหล่งจ่ายไฟฟ้ามาจ่ายแรงดันและกระแสให้กับโหลด โดยผ่านลวดตัวนำ และใช้สวิตช์ในการเปิดปิดวงจรเพื่อตัดหรือต่อกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับโหลด ในทางปฏิบัติจะมีฟิวส์ในวงจรเพื่อป้องกันปัญหาข้อผิดพลาดที่จะเกิดกับวงจรและอุปกรณ์  เช่น โหลดเกิน หรือไฟฟ้าลัดวงจร วงจรไฟฟ้าเบื้องต้นที่ควรศึกษามีอยู่ 3 ลักษณะคือ วงจรอนุกรม, วงจรขนานและวงจรผสม สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  4. องค์ประกอบของวงจรไฟฟ้าองค์ประกอบของวงจรไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า คือ การนำแหล่งจ่ายไฟฟ้า จ่ายแรงดันและกระแสให้กับ โหลดโดยผ่านลวดตัวนำ (ก) ภาพสัญลักษณ์ (ข) ภาพเสมือนจริง รูปที่ 1 แสดงองค์ประกอบของวงจรไฟฟ้า ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  5. จากรูปที่ 1 เป็นวงจรไฟฟ้ากระแสตรงซึ่ง จะต่อจากขั้วบวกไปยังขั้วลบ และใช้สวิตช์ เป็นตัวเปิดปิดการไหลของกระแสไฟฟ้า  การที่จะทำให้ แรงดัน และกระแสไหลผ่านโหลดได้  จะต้องมีองค์ประกอบ ของวงจรไฟฟ้า ดังนี้ 1. แหล่งจ่ายไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายแรงดันและ กระแสให้กับวงจร เช่น แบตเตอรี่, ถ่านไฟฉาย, เครื่องจ่ายไฟ, ไดนาโม และ เจนเนอร์เรเตอร์  เป็นต้น  รูปที่ 2 แสดงแหล่งจ่ายไฟแบบต่างๆ ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  6. 2. ลวดตัวนำคือ อุปกรณ์ที่นำมาต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า จากขั้วหนึ่งไป ยังอีกขั้วหนึ่ง เพื่อจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าให้กับโหลด ลวดตัวนำที่ นำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุดคือ เงิน แต่เนื่องจากเงินมีราคาแพงมาก จึงนิยม ใช้ทองแดง ซึ่งมีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดีพอสมควรและราคาไม่แพง มากนัก นอกจากนี้ยังยังมีโลหะชนิดอื่น ๆ ที่สามารถนำไฟฟ้าได้ เช่น ทองคำ, ดีบุก,เหล็ก,  อลูมิเนียม,  นิเกิล ฯลฯ เป็นต้น รูปที่ 3 แสดงอุปกรณ์ที่นำมาต่อเป็นลวดตัวนำ ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  7. 3. โหลดหรือภาระทางไฟฟ้าคือ อุปกรณ์ทางไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาต่อในวงจร เพื่อใช้งาน  เช่นตู้เย็น, โทรทัศน์, พัดลม, เครื่องปรับอากาศ, เตารีด, หลอดไฟ, ตัวต้านทาน เป็นต้น รูปที่ 4 แสดงอุปกรณ์ที่นำมาต่อเป็นโหลดทางไฟฟ้า ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  8. 4. สวิตช์คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปิดหรือเปิดวงจร ในกรณีที่เปิดวงจรก็ จะทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับโหลด ในทางปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้า จะต้องต่อสวิตช์เข้าไปในวงจรเพื่อทำหน้าที่ตัดต่อและควบคุมการไหลของ กระแสไฟฟ้า รูปที่ 5 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้เป็นสวิตช์ในวงจร ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  9. 5. ฟิวส์คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้วงจรไฟฟ้าหรือ อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการทำงานผิดปกติของวงจร เช่น โหลดเกิน หรือ เกิดการลัดวงจร เมื่อเกิดการผิดปกติฟิวส์จะทำหน้าที่ในการ เปิดวงจรที่เรียกว่า ฟิวส์ขาดนั่นเอง รูปที่ 6 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้เป็นฟิวส์ในวงจรไฟฟ้า ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  10. วงจรอนุกรม วงจรอนุกรมคือ การนำโหลดมาต่อเรียงกัน โดยให้ปลายของโหลดตัวแรก ต่อกับปลายของโหลดตัวถัดไป หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง การนำโหลดตั้งแต่สองตัวมาต่อเรียงกันไปแบบอันดับ ทำให้กระแสไหลทิศทางเดียวกัน (ในสื่อการเรียนนี้จะขอใช้ตัวต้านทานแทนโหลดทั่ว ๆ ไป) รูปที่ 1 แสดงการต่อโหลดแบบอนุกรม สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html

  11. วัตถุประสงค์ของการเรียนวัตถุประสงค์ของการเรียน 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายของวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมได้ 2. เพื่อให้ผู้เรียนคำนวณค่าความต้านทานรวมที่ต่อแบบอนุกรมได้ 3. เพื่อให้ผู้เรียนวัดค่าแรงดัน กระแส และค่าความต้านทานของ วงจรได้ สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  12. การคำนวณค่าความต้านทานรวมที่ต่อแบบอนุกรมการคำนวณค่าความต้านทานรวมที่ต่อแบบอนุกรม สูตร RT = R1 + R2 + R3+ . . . Rn RT = ค่าความต้านทานรวมของวงจร Rn = ค่าความต้านทานตัวสุดท้ายของวงจร รูปที่ 2 แสดงการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html

  13. จากรูปที่ 2 สามารถหาค่าความต้านทานรวมได้ RT = R1 + R2 + R3 = 10Ω+ 20Ω + 20 Ω = 50Ω สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  14. การวัดค่าความต้านทาน 1. นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์ม ในกรณีที่เป็นมิเตอร์แบบเข็มให้ทำการ ปรับค่าศูนย์ (Zero Ohm Adjust) ก่อนที่จะดำเนินการขั้นตอน ต่อไป 2.นำสายวัดของมัลติมิเตอร์เส้นที่หนึ่งสัมผัสกับขาของตัวต้านทานด้าน หนึ่ง 3. นำสายวัดของมัลติมิเตอร์เส้นที่สองสัมผัสกับขาของตัวต้านทานอีก ด้านหนึ่ง 4. อ่านค่าความต้านทาน สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  15. (ข) การวัดค่าความต้านทานด้วยมิเตอร์แบบดิจิตอล การวัดค่าความต้านทานด้วยมิเตอร์แบบเข็ม รูปที่ 3 แสดงการวัดค่าความต้านทาน สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html

  16. รูปที่ 4 แสดงการวัดค่าความต้านทานรวมที่ต่อแบบอนุกรม สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html

  17. การวัดค่าแรงดันตกคร่อมการวัดค่าแรงดันตกคร่อม 1. นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดแรงดันไฟตรง (DCV) ให้มากกว่าแหล่งจ่าย (E) 2. นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟบวกของตัว ต้านทาน R1 3. นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟลบของตัวต้านทาน R1 4. อ่านค่าแรงดันตกคร่อมความต้านทาน R1 5. ทำขั้นตอนที่ 1-4 เพื่อวัดค่าแรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน R2และ R3 สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  18. รูปที่ 5 แสดงการวัดค่าแรงดันตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัว สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html

  19. การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรอนุกรมการวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรอนุกรม 1. นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดกระแส (mA) ให้มีค่าสูงไว้ก่อน 2. นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟบวกของ แหล่งจ่ายไฟ 3. นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟลบของ แหล่งจ่ายไฟ 4. อ่านค่ากระแสที่ไหลผ่านในวงจร สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

  20. รูปที่ 6 แสดงการวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรอนุกรม สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ที่มาของภาพ http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.html

  21. แบบฝึกหัดท้ายบท 1. วงจรอนุกรมคืออะไรจงอธิบาย 2. จงอธิบายการวัดค่าแรงดันตกคร่อมในวงจรอนุกรม 3. จงอธิบายการวัดค่ากระแสในวงจรอนุกรม 4. การต่อวงจรแบบอนุกรมมีข้อดีอย่างไรจงอธิบาย 5. การต่อวงจรแบบอนุกรมค่าความต้านทานรวมหาค่าได้อย่างไร ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบท โดยส่งทางอีเมล samranlertkonsarn@gmail.com สื่อเสริมเรื่อง วงจรไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

More Related