1 / 36

240-101 Introduction to Computer Programming

Department of Computer Engineering Faculty of Engineering Prince of Songkla University. 240-101 Introduction to Computer Programming. Email: introcom@coe.psu.ac.th. คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์. Department of Computer Engineering Faculty of Engineering

Download Presentation

240-101 Introduction to Computer Programming

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Department of Computer Engineering Faculty of Engineering Prince of Songkla University 240-101Introduction to Computer Programming Email: introcom@coe.psu.ac.th คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

  2. Department of Computer Engineering Faculty of Engineering Prince of Songkla University Chapter 1 Introduction to Basic Computer and Internetแนะนำคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

  3. ความหมายของคอมพิวเตอร์ความหมายของคอมพิวเตอร์ • Hardware & Softwareคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องคำนวณหรือประมวลผล ที่ทำงานได้ตามโปรแกรมที่วางไว้ ซึ่งี่ทำงานโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU, Central Processing Unit) หรือวงจรรวมที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมาก รวมกันบนแผ่นสารกึ่งตัวนำ มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ สามารถทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลและคำสั่งที่ได้รับนำมาประมวลผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

  4. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ • ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน • เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถในการทำงานสูง โดยมักจะนำมาใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ • มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีการใช้ข้อมูลร่วมกันไม่มากนัก • ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูก

  5. ความแตกต่างของซอร์ฟแวร์และฮาร์ดแวร์ความแตกต่างของซอร์ฟแวร์และฮาร์ดแวร์ • Hardware & SoftwareHardwareหมายถึง ส่วนประกอบทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คืออุปกรณ์ที่คุณจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ โมเด็ม รวมทั้งชิ้นส่วนภายในตัวเครื่อง Softwareหมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ ทั้งนี้ซอร์ฟแวร์จะต้องบันทึกในสื่อใดสื่อหนึ่ง เช่น Harddisk, Diskkette, CD เป็นต้น (บางครั้งผู้ใช้ก็เรียนซอร์ฟแวร์ว่า 'โปรแกรม') ประเภทของซอร์ฟแวร์ แบ่งได้ เป็น -ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นซอร์ฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นล่ามระหว่างคนกับเครื่องคอมฯ ให้สามารถเข้าใจกัน และทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น DOS, Windows 3.1, Windows 95, Windows 98 , Windows 2000 ,Windows XP และ Linux • แอปพลิเคชั่น (Application) คือ โปรแกรมการใช้งานต่าง ๆ เช่น MS Word, MS Excel, Photoshop เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้จะทำงานได้จะต้องติดตั้งภายในระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น DOS, Windows, Unix, Linux

  6. เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีระบบปฏิบัติอย่างน้อยหนึ่งตัวเสมอเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีระบบปฏิบัติอย่างน้อยหนึ่งตัวเสมอ • Stand Alone OS คือระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่อง PC ที่ใช้ส่วนตัวทั่วไป ระบบปฏิบัติการที่ใช้ได้แก่ DOS, Windows, Windows NT for Workstation, Windows 2000 professional, Linux, OS/2 เป็นต้น • Network OS คือระบบปฏิบัติการด้านเครือข่าย ทำหน้าที่ในการจัดการ แบ่งปัน ควบคุม ทรัพยากรของระบบ ซึ่งได้แก่ Novell Netware, Unix, Windows NT Server, Banyan VINES, Linux, Solaris เป็นต้น

  7. หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ • Hardware & Softwareระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. หน่วยประมวลผลกลาง 2. หน่วยความจำ 3. อุปกรณ์รับข้อมูล 4. อุปกรณ์แสดงผล

  8. การทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งการทำงานได้เป็น 4 ส่วน 1.รับข้อมูลเข้า (Input Device)เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุท เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด โมเด็ม เป็นต้น 2. เก็บข้อมูล (Storage Device) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปีดิสก์ เทปไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์เป็นต้น 3. ประมวลผล (Processing Device) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล คือ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ "สมอง" 4. แสดงผลลัพธ์ (Output Device)เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์เอ้าต์พุต ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมา เช่น แสดงบนจอภาพ หรือพิมพ์สู่กระดาษ รวมทั้งเสียงที่ขับออกมาจากลำโพง เป็นต้น

  9. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

  10. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

  11. พอร์ตคืออะไร พอร์ต เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างตัวคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ภายนอก

  12. พอร์ตอนุกรม (Serial Port) -พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา) -พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น • พอร์ตขนาน (Parallel Port) -พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) -พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ -การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม

  13. พอร์ต USB (Universal Serial Bus Port) -คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ -เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร -พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป -เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ -การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่ • นอกจากพอร์ตอนุกรมและขนานแล้ว ยังมีพอร์ตอื่น ๆ อีกได้แก่ พอร์ตคีย์บอร์ด, พอร์ตเกมส์, พอร์ตจอ เป็นต้น

  14. แรม (Random Access Memory, RAM) ในปัจจุบันมีแรมให้เลือกใช้อยู่ 3 มาตรฐาน ได้แก่ SDRAM, DDR SDRAM และ RDRAM

  15. ไดรฟ์ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk Drive) ไดรฟ์ฟล็อปปี้ดิสก์เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ที่มีขนาด 3.5 นิ้ว บรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์

  16. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีรูปแบบการเชื่อมต่ออยู่ 3 มาตรฐานคือ E-IDE SCSI และล่าสุดก็คือ Serial ATA

  17. ไดรฟ์อ่าน-เขียนแผ่นซีดี (CD-ROM/CD-RW Drive) ไดรฟ์ซีดีรอมเป็นไดรฟ์ที่ใช้ในการอ่านแผ่นซีดีรูปแบบต่างๆ แต่ไดรฟ์ CD-RW เป็นไดรฟ์ที่มีรูปร่างลักษณะไม่แตกต่างจากซีดีรอมมากนัก แต่มีความสามารถมากกว่าเพราะนอกจากจะใช้อ่านแผ่นซีดีแล้ว ยังสามารถใช้เขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีได้อีกด้วย

  18. การ์ดแสดงผล (Graphic Card) การ์ดแสดงผลเป็นการ์ดที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูออกสู่จอภาพ ซึ่งอยู่ในรูปของข้อความและรูปภาพ

  19. การ์ดเสียง (Sound Card) การ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถนำเสียงออกมาเล่นทางลำโพงได้

  20. เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เพาเวอร์ซัพพลายทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะทำการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์

  21. จอภาพ (Monitor) ปัจจุบันมีจอภาพ อยู่ 2 ชนิดคือ จอภาพ CRT(Cathode Ray Tube) และจอภาพแบบ LCD(Liquid Crystal Display) จอภาพแบบ LCD จอภาพแบบ CRT

  22. คีย์บอร์ด (Keyboard) คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการป้อนข้อมูลต่างๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะรับข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์

  23. เมาส์ (Mouse) เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเลื่อนตัวชี้ (มีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกศร) ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ ทำให้เราเลือกคำสั่งและเปิดโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว

  24. ประเภทของเครื่องพิมพ์ หลัก ๆ แบ่งได้ดังนี้ Dotmatrix ดอทแมทริกซ์ - เครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกผ้าหมึกลงบนกระดาษ ทำให้เกิดจุด จำนวนเข็มของหัวพิมพ์ มีสองแบบคือ ชนิด 9 เข็ม และชนิด 24 เข็ม Ink Jet เครื่องพิมพ์พ่นหมึก - ใช้วิธีพ่นหมึกลงบนกระดาษ สำหรับเครื่องพิมพ์สี จะใช้แม่สีในการพิมพ์ได้แก่ สีฟ้า แดง เหลือง และดำ ผสมกันเพื่อสร้างสีต่าง ๆ Laser เครื่องพิมพ์เลเซอร์ - เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการยิงแสงเลเซอร์ ไปสร้างภาพบนกระดาษ ปัจจุบันมีการพัฒนาความเร็วมากขึ้น ทำให้มากกว่า 20 หน้าต่อนาที สำหรับการพิมพ์ด้วยเลเซอร์สี • นอกจากเครื่องพิมพ์ข้างต้นแล้ว ยังมีเครื่องพิมพ์ประเภทอื่น ๆ อีก เช่น Ploter, Line Printer ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ ทีใช้สำหรับงานขนาดใหญ่ โรงงาน และอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ และราคาก็สูงมาก เช่นเดียวกัน

  25. อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย • HUB คืออุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ หรือข้อมูล โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports • LAN Card คือ Card ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เท่ากับ VGA Card หรือ Sound Card สำหรับ Lan Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ต้องการ เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mpbs • Network Cable คือสายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์ ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTP, STB ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำไปใช้ เช่น ติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน

  26. พื้นฐานการใช้งานอินเตอร์เน็ตพื้นฐานการใช้งานอินเตอร์เน็ต • Hardware & Softwareอินเตอร์เน็ต(Internet) เป็นกลุ่มเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยที่ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน ผู้เป็นสมาชิกในอินเตอร์เน็ตจะมีที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail Address) เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Mail) กับสมาชิกอื่นได้ทั่วโลก

  27. เลขที่อยู่อินเตอร์เน็ต (Internet Address) • Hardware & Softwareเลขที่อยู่จะบ่งบอกถึงกลุ่มเครือข่าย และหมายเลขประจำตัวของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆ ในเครือข่าย เลขที่อยู่นี้เป็นค่าที่มีอยู่เพียงหนึ่งเดียว กล่าวคือไม่มีเลขที่ซ้ำกันอยู่เลย เลขที่อยู่นี้เรียกว่า เลขที่อยู่ IP (IP Address) หรือเลขที่อยู่อินเตอร์เน็ต (Internet Address)

  28. เลขที่อยู่อินเตอร์เน็ตสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

  29. ชื่อเครื่องในอินเตอร์เน็ตชื่อเครื่องในอินเตอร์เน็ต • Hardware & Softwareในอินเตอร์เน็ตมีการเชื่อมโยงของคอมพิวเตอร์เป็นล้านเครื่อง ดังนั้นจากเดิมที่มีการใช้เลขที่อยู่อินเตอร์เน็ต เพื่อความสะดวกในการใช้งานจึงมีการแทนด้วยชื่อเครื่องในอินเตอร์เน็ต และการกำหนดชื่อที่อ้างถึงคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องให้ไม่ซ้ำกันนั้น ชื่อเครื่องหรือ ชื่อโฮสต์(host name) ในอินเตอร์เน็ตได้กำหนดมาตรฐานไว้โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ บอกถึงองค์กรที่เครื่องนั้นสังกัดโดยใช้เครื่องหมายจุดเป็นตัวแบ่งไว้ เช่น ratree.psu.ac.th เป็นเครื่องratree

  30. th ac psu ระบบชื่อโดเมน(Domain name system) • Hardware & Softwareการตั้งชื่อเครื่องมีหลักเกณฑ์สากลเพื่อป้องกันการตั้งชื่อซ้ำซ้อนกัน และให้ชื่อที่ตั้งขึ้นมาบ่งบอกถึงกลุ่มเครือข่ายได้ ในอินเตอร์เน็ตมีระบบการตั้งชื่อเป็นลำดับชั้นที่เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System หรือ DNS) การเขียนชื่อโดเมนจะใช้เครื่องหมายจุดแบ่งลำดับชั้นของโดเมน ตัวอย่างเช่น www.psu.ac.th หรือ www.coe.psu.ac.th

  31. โดเมนระดับบนสุด

  32. ที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic-mail address) • Hardware & Softwareสมาชิกผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนจะมีชื่อบัญชี(account name, login name)ในเครื่องที่ใช้ เพื่อแสดงสิทธิ์ในการขอเข้าใช้เครื่อง เช่น ผู้ใช้มีชื่อบัญชี paijit บนเครื่อง ratree.psu.ac.th จะได้ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตคือ paijit@ratree.psu.ac.th

  33. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต • การใช้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มจากในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยต่างๆ โดยการเช่าวงจรสื่อสารต่างประเทศ • การให้บริการอินเตอร์เน็ตจะเรียกบริษัทเหล่านี้ว่า ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือ ไอเอสพี (Internet Service Provider, ISP) โดยทางบริษัทเหล่านี้มีการร่วมทุนกับทาง กสท. เพื่อเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

  34. การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยผ่านทางไอเอสพีมี 2 แบบ 1. เชื่อมต่อกันโดยตรง (Direct connection) เข้ากับเครือข่ายของไอเอสพี 2. เชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายโทรศัพท์

  35. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต 1.ด้านการศึกษาสามารถเข้ามาหาข้อมูลทางวิชาการต่างๆ 2.ด้านการสื่อสารสามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อรับส่งข่าวสารระหว่างกัน 3.ด้านธุรกิจการค้าสามารถซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยผ่านทางเวบไซต์(Web site) 4. ด้านบันเทิง

  36. บริการในระบบอินเตอร์เน็ตบริการในระบบอินเตอร์เน็ต 1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(E-mail, Electronic mail) 2.ขนถ่ายแฟ้มข้อมูล 3.การใช้โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นสามารถทำได้โดยการใช้โปรแกรม Telnet 4.บริการค้นหาแฟ้มข้อมูล 5.กลุ่มสนทนาและข่าวสาร 6.บริการ เวิลด์ไวด์เวบ(World Wide Web, WWW)

More Related