1 / 42

นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโรคติดต่ออุบัติใหม่

นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโรคติดต่ออุบัติใหม่. โดย นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. วันที่ 21 กรกฎาคม 2552 โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร. ประเด็นการนำเสนอ. สถานการณ์ความเสี่ยงภัย โครงสร้างการบริหารจัดการสาธารณภัย นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

Download Presentation

นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโรคติดต่ออุบัติใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโรคติดต่ออุบัติใหม่นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดย นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย วันที่ 21 กรกฎาคม 2552 โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร

  2. ประเด็นการนำเสนอ • สถานการณ์ความเสี่ยงภัย • โครงสร้างการบริหารจัดการสาธารณภัย • นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • การเตรียมรับสถานการณ์ของกระทรวงมหาดไทย • แนวโน้มในอนาคต

  3. สถานการณ์ความเสี่ยงภัยสถานการณ์ความเสี่ยงภัย สาธารณภัยที่เกิดในประเทศไทยที่ผ่านมา มีหลายประเภท เกิดจากธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย อุบัติภัยทางถนน อุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย ฯลฯ

  4. 1.1 ภัยธรรมชาติ (1) อุทกภัย * เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในพื้นที่ 5 จังหวัด ทางภาคเหนือ ได้แก่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.แพร่ จ.ลำปาง และ จ.น่าน จำนวนผู้เสียชีวิต 88 ราย ผู้สูญหายอีกกว่า 29 ราย

  5. (2) วาตภัย พ.ศ. 2532 พายุไต้ฝุ่นเกย์ จ.ชุมพร และจังหวัดใกล้เคียง (จำนวนผู้เสียชีวิต 602 ราย)

  6. อุทกภัยและดินถล่ม 5 จังหวัดภาคเหนือ จ.อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน และลำปาง 21-23 พฤษภาคม 2549 เสียชีวิต 88 คน สูญหาย 29 คน

  7. เหตุการณ์เพลิงไหม้ 1 ม.ค. 2552ซานติก้าพับ กรุงเทพมหานคร ตาย 66 คน บาดเจ็บ 225 คน

  8. พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 • มีผลบังคับใช้ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 • ยกเลิก พ.ร.บ. ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 (ม.3) • ยกเลิก พ.ร.บ. ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 (ม.3)

  9. ขอบเขต สาธารณภัย ภัยอื่นที่มี ผลกระทบต่อ สาธารณชน -ธรรมชาติ -มนุษย์ -อุบัติเหตุ -อื่นๆ - อัคคีภัย - วาตภัย - อุทกภัย - ภัยแล้ง - โรคระบาด - ภัยทางอากาศ - การก่อวินาศกรรม

  10. 2. โครงสร้างการบริหารจัดการสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  11. 2. โครงสร้างการบริหารจัดการสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศโดยมีอำนาจหน้าที่ • จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ • จัดให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อหามาตรการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย • ปฏิบัติการ ประสานการปฏิบัติ ให้การสนับสนุน และช่วยเหลือหน่วยงาน ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคเอกชนในการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและให้การสงเคราะห์เบื้องต้น • แนะนำ ให้คำปรึกษา และอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย • ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล

  12. กำหนดนโยบายในการจัดทำแผนฯ กำหนดนโยบายในการจัดทำแผนฯ • ให้ กปภ.ช เห็นชอบแผนฯ • บูรณาการพัฒนาระบบป้องกัน • และบรรเทาสาธารณภัย • ให้คำแนะนำ ปรึกษา สนับสนุน • วางระเบียบ ค่าตอบแทน - อื่นๆ 2. โครงสร้างการบริหารจัดการสาธารณภัย คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(กปภ.ช) 2.1 คณะกรรมการระดับชาติ องค์ประกอบ หน้าที่ ประธาน - นรม. รอง 1 - รมว.มท. รอง 2 - ปมท. กรรมการ - ป.กลาโหม -ผบ.เหล่าทัพ -ป.พัฒนาสังคมฯ -ผู้ทรงคุณวุฒิ - ป.เกษตรฯ ฯลฯ เลขานุการ - อ.ปภ. คณะอนุกรรมการ

  13. 2. โครงสร้างการบริหารจัดการสาธารณภัย(ต่อ) 2.2 ระบบการสั่งการ นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการ (รมว.มท) รองผู้บัญชาการ (ป.มท.) ผอ.กลาง (อ.ปภ.) ผอ.จังหวัด (ผวจ.) ผอ.กทม.(ผว.กทม.) รองผอ.จังหวัด(นายก อบจ.) รองผอ.กทม.(ป.กทม.) ผอ.อำเภอ (นายอำเภอ) ผช.ผอ.กทม.(ผอ.เขต) ผอ.ท้องถิ่น (นายก อปท.) ผช.ผอ.ท้องถิ่น (ป.อปท)

  14. 3. นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข นโยบายของคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (1) พัฒนาและส่งเสริมระบบการป้องกันสาธารณภัยและลดผลกระทบให้มีประสิทธิภาพ (2) พัฒนาและส่งเสริมระบบการเตรียมความพร้อม (3) พัฒนาศักยภาพการจัดการภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉิน (4) พัฒนาระบบการฟื้นฟูบูรณะ (5) พัฒนาระบบเชื่อมโยงหน่วยงานเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ

  15. 3. นโยบายตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ขั้นตอนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย • การดำเนินการก่อนเกิดภัย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัยทั้งด้านโครงการสร้างและด้านไม่ใช้โครงสร้าง • การดำเนินการระหว่างเกิดภัย การดำเนินการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยระดมทรัพยากรที่มีอยู่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย • การดำเนินการหลังจากภัยผ่านพ้นไป เป็นการฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐาน อาชีพ/สุขภาพจิตของผู้ประสบภัย และสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนภาวะปกติ

  16. ระยะก่อนเกิดภัย

  17. การจัดทำแผนแม่บทเฉพาะประเภทภัยการจัดทำแผนแม่บทเฉพาะประเภทภัย

  18. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) การฝึกซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ

  19. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) การเตรียมความพร้อมชุมชน การจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน CBDRM(Community - Based Disaster Risk Management)คือ ชุมชน/หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสาธารณภัยของชุมชน (ขณะนี้ดำเนินการแล้ว 3,976 แห่ง)

  20. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) การเตรียมความพร้อมชุมชน (ต่อ) OTOS OTOS (ONE TAMBON ONE SEARCH AND RESCUE TEAM) หนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย เป้าหมาย 7,850 แห่ง ผลดำเนินการ 6,293 แห่ง

  21. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) การพัฒนาบุคลากร(ต่อ) • มีหลักสูตรมาตรฐานให้การบริการแก่หน่วยงานเครือข่ายทุกภาคส่วน มากกว่า 43 หลักสูตร • มี 6 วิทยาเขต ที่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พิษณุโลก ภูเก็ต และสงขลา • วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยณ ตำบลบางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี

  22. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) การพัฒนาบุคลากร(ต่อ) ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (EmergencyResponse Team : ERT) ประจำศูนย์ ปภ. เขต 18 แห่ง ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (EmergencyResponse Team : ERT)

  23. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) การจัดเตรียมอาสาสมัคร สถานภาพปัจจุบันมีสมาชิก อปพร. 1,111,982 คน (17 มิ.ย.52)

  24. “มิสเตอร์เตือนภัย” 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) มติ ครม. วันที่ 18 ก.ค.2549 มอบหมายให้ มท. รับไป ดำเนินการสร้างเครือข่ายเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยกำหนดให้ ผู้รับผิดชอบในพื้นที่โดยตรงซึ่งเรียกว่า “มิสเตอร์เตือนภัย” คัดเลือกประชาชนที่ผ่านการอบรม จำนวน 2 คน/หมู่บ้านและมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นอาสาสมัครแจ้งเตือนภัยและประสานงานการอพยพประชาชน ปัจจุบันมีจำนวน 9,294 คน

  25. การดำเนินการระหว่างเกิดภัยการดำเนินการระหว่างเกิดภัย 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ)

  26. การดำเนินการระหว่างเกิดภัยการดำเนินการระหว่างเกิดภัย 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) • การตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ • การเฝ้าระวังสถานการณ์และแจ้งเตือนภัย

  27. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) • การประสานงานในภาวะฉุกเฉิน • ระบบการสื่อสารสำรอง • 1784 สายด่วนนิรภัย

  28. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) • การแจกจ่ายถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย

  29. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) • การอพยพประชาชนไปยังที่ปลอดภัย • การจัดหาที่พักชั่วคราว

  30. การดำเนินการภายหลังภัยสิ้นสุดการดำเนินการภายหลังภัยสิ้นสุด 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ)

  31. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) • การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

  32. 3. การดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย(ต่อ) • การฟื้นฟูบูรณะสิ่งสาธารณประโยชน์ที่เสียหายให้กลับ สู่ภาวะปกติ

  33. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ใช้เงินทดรองราชการฯ ในอำนาจของผว.จว.ซึ่งมี งบฉุกเฉินในวงเงิน 50 ล้านบาท • หากเงินในอำนาจ ผว.จว. ไม่เพียงพอ อ.ปภ. สามารถ ให้ความช่วยเหลือได้อีกในวงเงิน 50 ล้านบาท และหากไม่เพียงพอให้ใช้ของ ป.มท. ในวงเงิน 50 ล้านบาท และหากภัยที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรี มีอำนาจอนุมัติเพิ่มอีก 100 ล้านบาท

  34. แผนปฏิบัติการแม่บทการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ พ.ศ. 2552 บทบาทกระทรวงมหาดไทย 9 ประการ ได้แก่ 1) สนับสนุน อำนวยความสะดวกในการเตรียมความพร้อมและฝึกซ้อมแผนฯ 2) ประสานงาน สั่งการ ให้การสนับสนุน จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ 3) อำนวยการ กำกับ ดูแล ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 4) อพยพ จัดหาแหล่งพักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัย 5) ประกาศภัยพิบัติ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย 6) รักษาความสงบเรียบร้อย ปลอดภัย ระงับการแตกตื่นเสียขวัญ 7) สงเคราะห์ผู้ประสบภัย โดยประสานกับองค์กรสาธารณกุศลและภาคเอกชน 8) ร่วมจัดทำหรือประสานจัดทำนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง 9) จัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร

  35. 4. การเตรียมรับสถานการณ์ ของกระทรวงมหาดไทย 4.1 สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1)

  36. 4.1 การเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดใหญ่ โรคไข้หวัดนก และโรคไข้หวัดใหญ่ 1) ประชุมเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจแผนเตรียมความพร้อมฯ 2) ปรับปรุงแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ ของโรคไข้หวัดใหญ่ ระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร 3) พิจารณาฝึกซ้อมแผนฯ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนงบประมาณจังหวัดละ 50,000 บาท 4) กำกับ ติดตามและสนับสนุนการฝึกซ้อมเตรียมความพร้อมฯ

  37. 4.2 การป้องกัน ควบคุมแก้ไขสถานการณ์และการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) - ให้ทุกจัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมฯ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นเลขานุการ - ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมการแพร่ระบาด

  38. 4.3แนวทางการแก้ไขปัญหาสำคัญในการระบาดของไข้หวัดใหญ่4.3แนวทางการแก้ไขปัญหาสำคัญในการระบาดของไข้หวัดใหญ่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเน้นมาตรการหลักคือ - การส่งเสริมพฤติกรรมอนามัย เน้นการล้างมือ การไอและจามอย่างถูกวิธี และการใช้หน้ากากอนามัย เมื่อมีอาการไข้ - ให้ผู้ป่วย หยุดอยู่กับบ้าน และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

  39. สรุป • สภาวะโลกร้อนอาจมีผลทำให้เกิดสาธารณภัยบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้น • การป้องกันสาธารณภัยเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำล่วงหน้า • การประชุมลดภัยพิบัติโลกที่กรุงเจนีวาประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อเดือน มิถุนายน 2552 ได้ขอให้ทุกประเทศยึดถือแนวคิดเรื่อง “Invest Today for safer Tomorrow”

  40. ขอบคุณ และ สวัสดี

More Related