1 / 51

ข้อความหลายมิติ/สื่อหลายมิติ Hypertext / Hypermedia

ข้อความหลายมิติ/สื่อหลายมิติ Hypertext / Hypermedia. ความหมายของ hypertext.

Download Presentation

ข้อความหลายมิติ/สื่อหลายมิติ Hypertext / Hypermedia

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อความหลายมิติ/สื่อหลายมิติHypertext/Hypermediaข้อความหลายมิติ/สื่อหลายมิติHypertext/Hypermedia

  2. ความหมายของ hypertext • ข้อความหลายมิติ (hypertext)หมายถึง ข้อความหรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยมีการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ (interaction) ด้วยการนำข้อความที่ใช้มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะปรากฏในลักษณะที่เด่นกว่าข้อความอื่น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง เป็นต้น

  3. ระบบช่วยเหลือที่ใช้ข้อความหลายมิติระบบช่วยเหลือที่ใช้ข้อความหลายมิติ

  4. ความหมายของ hypermedia • ในระบบสื่อประสม ได้นำหลักการของข้อความหลายมิติมาเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอจากเดิมที่มีการเชื่อมโยงเฉพาะข้อความหรือตัวอักษรเท่านั้น มาเป็นการเชื่อมโยงโดยใช้ภาพนิ่ง เสียง และวิดีโอโดยเรียกกันโดยทั่วไปว่า hypermedia

  5. สื่อประสม สื่อหลายมิติ ข้อความหลายมิติ ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อประสม ข้อความหลายมิติ และสื่อหลายมิติ

  6. ตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำสื่อหลายมิติมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำสื่อหลายมิติมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอ

  7. แบบจำลองระบบข้อความหลายมิติแบบจำลองระบบข้อความหลายมิติ แบบจำลองดั้งเดิมของระบบข้อความหลายมิติ

  8. แบบจำลองระบบข้อความหลายมิติ (ต่อ) • แบบจำลองระบบข้อความหลายมิติที่มักนิยมนำเสนอและใช้อ้างอิง ได้แก่ • แบบจำลอง ham (hypertext abstract machine) • แบบจำลอง dexter (dexter’s model) • แบบจำลอง ahm (amsterdam hypermedia model) • แบบจำลอง hdm(hypermedia design model) • แบบจำลอง oohdm (object oriented hypermedia design model) • แบบจำลอง rmm (relationship management methodology)

  9. User Interface Application Tools Hypertext Abstract Machine Host File Systems ภาพแบบจำลอง Hypertext Abstract Machine (HAM)

  10. แบบจำลอง ham • ถูกนำเสนอโดย campbell และ goodman ในปี ค.ศ.1988 มีสาระสำคัญของแบบจำลองที่ได้นำเสนอนี้ เป็นส่วนของกรอบแนวความคิดในการจัดทำระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้วยระบบข้อความหลายมิติ โดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ graph,content, node, link และ attribute โดยนำมาประมวลผลรายการ (transaction) เพื่อจัดเก็บสารสนเทศทั้งหมดไว้บนระบบไฟล์ของเครื่องแม่ข่าย และมีการใช้งานเป็นแบบ multi-user มีความใกล้เคียงกับ WWW

  11. องค์ประกอบของระบบข้อความหลายมิติองค์ประกอบของระบบข้อความหลายมิติ • มีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 องค์ประกอบ • พอยต์ (point) • โหนด (node) • ลิงค์ (link) • โครงสร้างไฮราคี่ (hierarchies structure)

  12. point • หมายถึง กลุ่มคำ หรือวลี ที่เป็นข้อความพิเศษที่แสดงว่ามีการเชื่อมโยงเกิดขึ้น โดยที่ข้อความเหล่านี้จะถูกแสดงในลักษณะที่ต่างกันออกไป ทำให้รู้ว่าเป็นพอยต์ เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง หรือบางครั้งเรียกว่า “สมอเชื่อมโยง (link anchor)”

  13. พอยต์ ลักษณะของ point

  14. node • หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่สัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกันซึ่งถูกจัดไว้เป็นกลุ่มเดียว ซึ่งภายในโหนดนั้นอาจมีพอยต์อยู่มากกว่าหนึ่งพอยต์ก็ได้ ความยาวของโหนดนั้นไม่สามารถระบุตายตัวได้บางครั้ง อาจมีความยาวเป็นหน้ากระดาษหรือกว่านั้น หรือจะมีความยาวเพียงไม่กี่บรรทัดก็ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเรื่องราวนั้นๆ ซึ่งในบางครั้งอาจเรียก โหนด ว่า “การ์ด (card)”

  15. จุดต่อ ลักษณะของ Node

  16. link • หมายถึง การเชื่อมโยงเอกสารจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยมีกลไกภายในที่ช่วยนำทางไปยังเป้าหมายได้อย่างทั่วทั้งระบบข้อความหลายมิติ ทั้งที่เป็นแบบการเชื่อมโยงภายใน และแบบการเชื่อมโยงภายนอก จำแนกลิงค์ได้เป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย • ลิงค์ชนิดอ้างถึง (referential link) • ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (organization link) • ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ด (keyword link)

  17. ลิงค์ • ลิงค์ชนิดอ้างถึง (referential link) ใช้สำหรับเชื่อมโยงการอ้างถึงโดยตรงระหว่างจุดสองจุด ประกอบด้วยจุดเริ่มต้น (start point) และจุดสิ้นสุด (end point) เช่น ปุ่มหรือข้อความที่ลิงค์ไปข้างหน้า (forward) หรือย้อนกลับ (backward) • ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (organization link) มีความคล้ายคลึงกับลิงค์ชนิดอ้างถึง จะแตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างโหนดด้วยกันในลักษณะที่เป็นโครงสร้างไฮราคี่ • ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ด (keyword link) เป็นการนำกลุ่มคำหรือวลีต่างๆ ที่มีความหมายและสัมพันธ์ระหว่างกันมาเชื่อมโยงด้วยวิธีการเดียวกับการลิงค์ชนิดอ้างถึงหรือแผนภูมิ ลิงค์เหล่านี้ จะเป็นตัวบอกปลายทางของข้อมูลที่จะนำเสนอ

  18. จุดต่อ เชื่อมโยง เชื่อมโยง จุดต่อ จุดต่อ เชื่อมโยง ลักษณะของการ Link

  19. hierarchies structure • เป็นการผสมผสานของโครงสร้างระบบข้อความหลายมิติ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ชนิดที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน (unstructured hypertext) กับชนิดที่มีโครงสร้างแน่นอน (structured hypertext) โครงสร้างแบบนี้ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ • ชนิดจำกัดความสัมพันธ์ (strict hierarchy) • ชนิดไม่จำกัดความสัมพันธ์ (compromised hierarchy) • ชนิดซ้อน (overlapping hierarchy)

  20. จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบเนื้อหาสัมพันธ์ชนิดจำกัดความสัมพันธ์

  21. จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบเนื้อหาสัมพันธ์ชนิดไม่จำกัดความสัมพันธ์

  22. จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบเนื้อหาสัมพันธ์ชนิดซ้อน

  23. structured hypertext • โครงสร้างระบบข้อความหลายมิติชนิดที่มีโครงสร้างแน่นอน สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ • โครงสร้างชนิดเรียงลำดับ (sequential structured hypertext) • โครงสร้างชนิดจดหมาย (structured hypertext for mail)

  24. โครงสร้างชนิดเรียงลำดับโครงสร้างชนิดเรียงลำดับ • จะมีการจัดเรียงเนื้อหาไว้อย่างเป็นระเบียบ ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูลในแต่ละโหนดนั้น จำเป็นต้องผ่านโหนดที่อยู่ก่อนหน้าไปตามลำดับ เว้นแต่การเข้าถึงโหนดแรกหรือโหนดเริ่มต้นเท่านั้น

  25. จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบมีโครงสร้างชนิดเรียงลำดับเป็นเส้นตรง

  26. โครงสร้างชนิดจดหมาย • ผู้ออกแบบจะต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างละเอียด และจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาทั้งหมดแล้วจึงกำหนดว่าโหนดใดเป็นโหนดหลักและโหนดใดเป็นส่วนขยาย จากนั้น จึงทำการเชื่อมโยงโหนดต่างๆ เข้าด้วยกัน

  27. จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบมีโครงสร้างชนิดจดหมาย

  28. unstructured hypertext • โครงสร้างระบบข้อความหลายมิติ ชนิดที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน จะเป็นการเชื่อมโยงโหนดในลักษณะของการสุ่มจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดอื่นๆ ซึ่งอาจมากกว่าหนึ่งโหนดขึ้นไปก็ได้โดยเนื้อหาภายในโหนดจะมีการจัดเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ

  29. จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบไม่มีโครงสร้าง

  30. ประโยชน์ของระบบข้อความหลายมิติประโยชน์ของระบบข้อความหลายมิติ • ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เส้นทางที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะไปยังข้างหน้าหรือย้อนกลับในเส้นทางเดิมได้ • ผู้ใช้สามารถควบคุมเส้นทางเลือกจากเครื่องช่วยนำทางได้ตามความต้องการ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงทั้งระบบ • ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานของระบบข้อความหลายมิติจะเป็นลักษณะที่มีการเชื่อมโยงที่ไม่เป็นในแนวทางเส้นตรง • ผู้ใช้สามารถค้นหาและติดตามร่องรอยของข้อมูลที่ผ่านมาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจาก ระบบมีเครื่องช่วยนำทางที่คอยบันทึกและจัดเก็บข้อมูล ได้แก่ บุ๊คมาร์ค (bookmark) และระบบเชื่อมโยงลัด (quick link) หรือระบบไกด์ทัวร์ (guide tour) เป็นต้น • ผู้สร้างสามารถสร้างเอกสารได้โดยการเชื่อมโยงเอกสารทั้งที่เป็นภายในหรือต่างเอกสารกันด้วยข้อความและ/หรือผนวกกับสื่อประสมเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมได้ • ผู้สร้างสามารถเผยแพร่ชิ้นงานของตนสู่สาธารณชนได้ โดยนำเสนอและเผยแพร่ผ่านบนระบบเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ เครือข่ายระยะใกล้ (lan : local area network) เครือข่าย internet / intranet หรือเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless communication) เป็นต้น รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ • ผู้สร้างสามารถเข้าถึงและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยวิธีการแก้ไขการเชื่อมโยงและการอ้างถึงข้อมูลภายในระบบในคราวเดียว ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  31. ปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบข้อความหลายมิติปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบข้อความหลายมิติ • วิธีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอข้อมูล (presentation) และการนำทาง (navigation) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างอิสระและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยเรียกวิธีการนี้ว่า “adaptive hypertext/hypermedia systems”

  32. presentational adaptation • วิธีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและเข้าถึงข้อมูลได้ตรงประเด็นมากที่สุด โดยมีเทคนิคในการนำเสนอทั้งหมด 5 วิธี ประกอบด้วย • conditional text • stretch text • page variants • fragment variants • frame-based

  33. conditional text • เป็นวิธีการแสดงกลุ่มของข้อความหรือตัวอักษรที่กำหนดเงื่อนไขตามประเภทของผู้ใช้ ทั้งที่มีทักษะและไม่มีทักษะในการใช้งานมาก่อน กล่าวคือ การนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ใช้ที่มีทักษะมาก่อนจะมีรายละเอียดมากกว่าการนำเสนอข้อมูล (เพียงบางส่วน) ให้กับผู้ใช้ที่ไม่เคยมีทักษะมาก่อนเลย

  34. ข้อความหรือตัวอักษรที่นำเสนอข้อความหรือตัวอักษรที่นำเสนอ Aaaaaa aaaaaa aaaaaa aaaaaa aaa Aaaaaa aaaaaa aaaaaa Aaaaaa aaaaaa แสดงข้อความทั้งหมดสำหรับผู้มีทักษะ แสดงข้อความเกือบทั้งหมดสำหรับผู้มีทักษะบ้าง แสดงข้อความเพียงบางส่วนสำหรับผู้ไม่มีทักษะเลย รูปแบบข้อความมีเงื่อนไข

  35. stretch text • เป็นวิธีการแสดงคำอธิบายของข้อความที่ต้องการขยายความ แทนที่จะต้องแสดงข้อความของคำอธิบายเดียวกันนี้ไปไว้อีกหนึ่งหน้าเอกสารโดยไม่จำเป็น เพียงแต่คลิกที่ข้อความที่ได้ทำการเชื่อมโยงไว้ ก็จะปรากฏคำอธิบายภายในกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมา เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เมนูป็อปอัพ (menu popup)”

  36. รูปแบบข้อความขยายหรือรายการเลือกแบบผุดขึ้นรูปแบบข้อความขยายหรือรายการเลือกแบบผุดขึ้น

  37. page variants • เป็นวิธีการแสดงหน้าเอกสารที่มีจำนวนมากกว่า 2 หน้าขึ้นไป โดยแต่ละหน้าเอกสารจะแสดงข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ตามแต่ระดับของความแตกต่างหรือรูปแบบที่ใช้งาน โดยระบบจะแสดงหน้าเอกสารที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้งาน

  38. ข้อความหรือตัวอักษรที่นำเสนอข้อความหรือตัวอักษรที่นำเสนอ ชุดเอกสาร ก แต่ละหน้าบรรจุข้อความที่แตกต่างกัน ชุดเอกสาร ข แต่ละหน้าบรรจุข้อความที่แตกต่างกัน รูปแบบการแปรหน้า

  39. การนำรูปแบบการแปรหน้ามาประยุกต์ใช้ในโปรแกรม FrontPage

  40. fragment variants • เป็นวิธีการแยกส่วนของหน้าเอกสาร ซึ่งทุกหน้าจะถูกแยกออกเป็นส่วนๆ ตามจำนวนที่ต้องการ พร้อมกับบรรจุข้อมูลลงไปในแต่ละชิ้นส่วน โดยที่ระบบจะแสดงข้อมูลภายในของชิ้นส่วนนั้นๆ ให้กับผู้ใช้

  41. หน้าเอกสารแสดงข้อความหน้าเอกสารแสดงข้อความ ส่วน ก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน หน้าเอกสาร ส่วน ข แบ่งออกเป็น 2 ส่วน หน้าเอกสาร ส่วน ค แบ่งออกเป็น 4 ส่วน หน้าเอกสาร รูปแบบการแปรส่วน

  42. การนำรูปแบบการแปรส่วนมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรม FrontPage

  43. frame-based • เป็นวิธีการแบ่งช่อง (เฟรม) ของหน้าเอกสาร โดยกำหนดพื้นที่ของหน้าเอกสารออกเป็นเฟรมๆ เพื่อใช้แสดงข้อมูลของเอกสารปลายทางตามที่ได้เชื่อมโยงไว้ ให้มาปรากฏอยู่ภายในช่องตามที่ต้องการ

  44. หน้าเอกสาร ก แบ่งออกเป็น 4 กรอบ หน้าเอกสาร ข แบ่งออกเป็น 3 กรอบ กรอบเชื่อมโยงแบบเร็ว กรอบหัวเรื่อง กรอบหัวเรื่อง กรอบนำเสนอ กรอบเชื่อมโยงแบบเร็ว กรอบนำเสนอ กรอบหมายเหตุ รูปแบบกรอบ

  45. การนำรูปแบบกรอบมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรม FrontPage

  46. navigational adaptation • วิธีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำทาง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว จะมีเทคนิคในการนำเสนอทั้งหมด 5 วิธี ประกอบด้วย • annotations • ordering or link sorting • direct guidance • hiding • mapping

  47. annotations • เป็นวิธีการเชื่อมโยงโดยใช้คำอธิบายประกอบ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของข้อความหรือไอคอนที่แสดงให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับทราบข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้เส้นทางนี้

  48. ordering or link sorting • เป็นวิธีการเชื่อมโยงโดยการเรียงลำดับตัวเชื่อมได้ใหม่ โดยส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้งานร่วมกับระบบฐานข้อมูล (database system) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligent system) เพื่อช่วยในการค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นระบบช่วยเหลือ (help system) หรือเครื่องมือประเภทค้นหา (search engine) ได้แก่ yahoo, excite เป็นต้น

  49. direct guidance • เป็นวิธีการเชื่อมโยงโดยใช้เครื่องช่วยนำทาง โดยที่ระบบสามารถนำพาผู้ใช้ไปยังปลายทางตามเส้นทางที่ได้สร้างไว้อย่างเป็นขั้นตอน

  50. hiding • เป็นวิธีการเชื่อมโยงโดยการซ่อนเร้นข้อมูล เพื่อไม่ให้แสดงข้อมูลทั้งหมด โดยจะแสดงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น หากผู้ใช้ต้องการดูในรายละเอียด ก็สามารถคลิกที่ข้อความหรือไอคอนเพื่อขยายส่วนของข้อมูลที่ซ่อนไว้ให้ปรากฏเห็นได้ ตัวอย่างเช่น การใช้งานสารบัญ (table of content) ผู้ใช้สามารถคลิกที่หัวเรื่องเพื่อขยายหัวข้อย่อยที่ได้ซ่อนไว้ให้ปรากฏขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อคลิกที่หัวเรื่องอีกครั้ง หัวข้อย่อยทั้งหมดก็จะถูกเก็บซ่อนไว้ดังเดิม

More Related