1 / 51

การประชุมสัมมนา การปฏิบัติตามกฎหมายและตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ

การประชุมสัมมนา การปฏิบัติตามกฎหมายและตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ วันที่ 10 กรกฎาคม 2550 เวลา 09.00 – 12.00 น. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540. โดย วินิตย์ ปิยะเมธาง หัวหน้ากลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดชัยนาท.

Download Presentation

การประชุมสัมมนา การปฏิบัติตามกฎหมายและตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมสัมมนา การปฏิบัติตามกฎหมายและตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ วันที่ 10 กรกฎาคม 2550 เวลา 09.00 – 12.00 น.

  2. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 โดย วินิตย์ ปิยะเมธาง หัวหน้ากลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานจังหวัดชัยนาท

  3. แนวคิดของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 รัฐรู้อะไร ประชาชนรู้อย่างนั้น หน่วยงานของรัฐ ประชาชน ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น?? มีสิทธิจะรู้ และรู้ที่จะใช้สิทธิ

  4. แนวคิดของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 รัฐรู้อะไร ประชาชนรู้อย่างนั้น หน่วยงานของรัฐ ประชาชน เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น มีสิทธิจะรู้ และรู้ที่จะใช้สิทธิ

  5. คำสำคัญ ข้อมูลข่าวสาร (ม.4) ข้อมูลข่าวสารของราชการ (ม.4) หน่วยงานของรัฐ (ม.4) เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ม.4) ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (ม.4) บุคคล (ม.21)

  6. ประเภทของข้อมูลข่าวสารประเภทของข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบัน K. ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ เป็นอันตรายต่อชีวิต/ความปลอดภัยของบุคคล หน่วยงานจัดไว้ให้ประชาชน เข้าตรวจดู เอกสารประวัติศาสตร์

  7. เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อที่ประชาชนจะได้สามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องตรงกับความเป็นจริง

  8. ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้อย่างไร?ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้อย่างไร? 1. เปิดเผยโดยนำข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่กฎหมายกำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (ม.7) 2. เปิดเผยโดยตั้งแสดงไว้ในสถานที่ที่หน่วยงาน จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ด้วยตนเอง (ม.9) 3. เปิดเผยตามที่ประชาชนมีคำขอเป็นการเฉพาะราย (นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2) 4. การเปิดเผยโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ม.26)

  9. มาตรา 7 หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยต่อไปนี้ ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน (2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน (3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ (4) กฎ มติ ครม. ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้น โดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง (5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

  10. มาตรา 7 กรณีได้จัดพิมพ์ให้แพร่หลายพอสมควรแล้ว และลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่า ได้ปฏิบัติตามมาตรา 7 แล้ว หน่วยงานสามารถจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อจำหน่าย หรือจ่ายแจก ณ ที่หน่วยงานนั้นๆ ได้

  11. มาตรา 9 (1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว (2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4) (3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ (4) คู่มือ หรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน (5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 วรรคสอง

  12. มาตรา 9 (6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ (7) มติ ครม. หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย (8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด (ประกาศประกวดราคา และประกาศสอบราคาของหน่วยงานที่ หน.หน่วยงานลงนามแล้ว – ประกาศ คกก.ฯ ลงวันที่ 21 ต.ค. 42 และ ข้อมูลการประกวดราคา สอบราคา และผลการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนจัดไว้ให้ ปชช.ตรวจดู ตาม ม.9(8) ตามแบบ สขร.1)

  13. มาตรา 9 ในทางปฏิบัติ หน่วยงานควรจัดทำแฟ้มไว้ จำนวน 10 แฟ้ม โดยรวบรวมเอกสารตามข้อ (1) ถึง (8) ตามมาตรา 9 ไว้ในแฟ้มหมายเลข 1 ถึง 8 และเพิ่มแฟ้มที่ 9 และแฟ้มที่ 10 ดังนี้ แฟ้มที่ 9 สำหรับรวบรวมเอกสารที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แฟ้มที่ 10 เป็นแฟ้มดัชนีค้นหาเอกสารในแฟ้มหมายเลข 1 ถึง 9

  14. สถานที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูสถานที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดู (ประกาศของ คกก. ข้อมูลข่าวสารของราชการ ลว. 24 ก.พ. 41 ออกตามความในมาตรา 9) (1) ต้องสะดวกตามสมควร เช่น ไว้ในห้องสมุด หรือห้องประชาสัมพันธ์(2) ต้องทำดัชนีของข้อมูล เช่น หมวดหมู่ และชื่อเรื่อง เพื่อให้ ปชช. ค้นหาได้เอง(3) กรณีมีปัญหาเรื่องสถานที่ จะแยกข้อมูลบางส่วน ไปเก็บไว้ต่างหากก็ได้ แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ บริการข้อมูลได้ทันที(4) กำหนดระเบียบปฏิบัติการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาร ได้ แต่ต้องคำนึงความสะดวกของ ปชช. ด้วย(5) จัดไว้ที่ห้องสมุดของหน่วยงานอื่นที่อยู่บริเวณ ใกล้เคียงกันได้

  15. ข้อมูลข่าวสารอื่นนอกเหนือจากที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา หรือจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ มาตรา 11 จำแนก/จัดทำบัญชีเพื่อการตรวจสอบและจัดหาให้ตามคำขอ ข้อมูลข่าวสารอื่นใด

  16. มาตรา 23 จัดเก็บไว้เป็นระบบพร้อมมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลที่รัดกุม ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

  17. มาตรา 26 เก็บรักษา เอกสารประวัติศาสตร์ ส่งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ คัดเลือกไว้สำหรับประชาชนค้นคว้า - ข้อมูลข่าวสารทั่วไป ครบ 20 ปี- ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถาบัน K. ครบ 75 ปี(ไม่ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่ ครม.ออกระเบียบให้ทำลายได้โดยไม่ต้องรักษา เนื่องจากไม่มีคุณค่าหรือเป็นการสิ้นเปลือง)

  18. มาตรา 15 เปิดเผยได้ตามกรณี ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย ใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ไม่เปิดเผยข้อมูล ข้อมูลที่กระทบกับ1.ความมั่นคงของรัฐ2.ความปลอดภัยของ ประชาชน3.ส่วนได้เสียของบุคคล4.ความเป็นส่วนตัว แจ้งผู้ขอไปใช้สิทธิอุทธรณ์

  19. หลักการใช้ดุลยพินิจ เปิดเผยแล้วจะกระทบต่อการปฏิบัติงานตามกฎหมายของหน่วยงานของตนหรือไม่อย่างไร เปิดเผยแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือสังคมโดยส่วนรวมหรือไม่เพียงใด เปิดเผยแล้วจะกระทบต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างไร หรือมากน้อยเพียงใด

  20. มาตรา 14 ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบัน K. ไม่เปิดเผยข้อมูล

  21. ผู้ขอข้อมูล ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ขอตรวจดูข้อมูลข่าวสาร ตาม ม.7 ม.9 ให้ตรวจดู สำเนาให้ถ้าต้องการ 1.ขอข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานอื่น ให้แนะนำไปที่หน่วยงานนั้น(ม.12วรรคแรก)2.ข้อมูลข่าวสารตาม ม.26 แนะนำให้ไปที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้อมูลข่าวสารตาม ม.11 ม.14 ม.15 ม.23 ให้ส่งไปให้เจ้าของเรื่องพิจารณาคำขอ

  22. สรุปขั้นตอนปฏิบัติกรณีมีผู้ยื่นคำร้องขอข้อมูลสรุปขั้นตอนปฏิบัติกรณีมีผู้ยื่นคำร้องขอข้อมูล ขอไม่มากอาจอนุเคราะห์ ให้ฟรี A4 แผ่นละ 1บาท ขอมาก เปิดเผยได้ ตาม ม.7,ม.9 A4 จนท.รับรอง สำเนาถูกต้อง แผ่นละ 5 บาท ผู้ขอยื่นคำร้อง ขอข้อมูล ( ม.11 ) หน่วยงานของรัฐ พิจารณา เปิดเผยไม่ได้ ตาม ม.14,ม.15 แจ้งผู้ขอพร้อม เหตุผลที่ให้ไม่ได้ *คำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม ม.15 เป็นอำนาจของ ข้าราชการซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นและ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 6 ขึ้นไป [ กฎกระทรวง ฉ.ที่4 (2542) ]

  23. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการต้องทำอย่างไร?ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการต้องทำอย่างไร? (1) จัดระบบข้อมูลข่าวสารตาม ม.7 ม.9 และ ม.อื่นๆ ที่หน่วยงานในสังกัดส่งมาให้ และจัดทำบัตรดัชนีหรือบัญชี เพื่อให้ ปชช.ค้นหาข่าวสารได้เอง (2) จัดทำสมุดทะเบียนสำหรับผู้มาขอตรวจดูข้อมูลข่าวสาร (3) ทำสำเนาหรือสำเนาที่มีคำรับรองกรณีที่มีการขอ (4) การขอข้อมูลข่าวสารตาม ม.อื่นๆ ซึ่งไม่มีในศูนย์ฯให้ส่งคำขอไปยังเจ้าของเรื่องพิจารณา (5) กรณีเป็นข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานอื่น ให้แนะนำไปขอ ณ หน่วยงานนั้น

  24. ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ : ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่ง หน่วยงาน : ธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าของข้อมูล เรื่องที่อุทธรณ์ : ขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหนังสือแสดง เจตจำนงการขอกู้เงินจาก IMF คำวินิจฉัย : การเปิดเผยจะก่อให้เกิดการแสวงหากำไรจากอัตรา แลกเปลี่ยน เป็นอันตรายต่อเสถียรภาพของระบบ เศรษฐกิจ, กระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน และระบบเศรษฐกิจ {ม.15(1)} (ไม่ต้องเปิดเผย)

  25. ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ : นาย ก. (นามสมมติ) หน่วยงาน : กระทรวงคมนาคม เจ้าของข้อมูล เรื่องที่อุทธรณ์ : ขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคล ชื่อพยาน ผู้กล่าวหา และเอกสารพยานหลักฐานต่างๆ คำวินิจฉัย : เป็นเรื่องอยู่ระหว่างดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง อาจทำ ให้การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือการบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ {ม.15(2)} (ไม่ต้องเปิดเผย)

  26. ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ : ข้าราชกาตำรวจถูกพักราชการเนื่องจากถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หน่วยงาน : กองวินัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เจ้าของข้อมูล เรื่องที่อุทธรณ์ : ขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย ในส่วนของบันทึกการประมวลความเห็นของเจ้าหน้าที่ กองวินัย คำวินิจฉัย : อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ กองวินัยในการเสนอความเห็นซึ่งควรมีความเป็นอิสระ ในกรอบการพิจารณาตามข้อเท็จจริง {ม.15(3)} (ไม่ต้องเปิดเผย)

  27. ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ : นาย ข. หน่วยงาน : กกต. เจ้าของข้อมูล เรื่องที่อุทธรณ์ : ขอคัดสำเนาสำนวนการสอบสวนของ กกต.กรณีมีเรื่อง ร้องเรียนว่ามีการกระทำไม่สุจริตในเขตเลือกตั้ง จ.สุราษฎร์ฯ คำวินิจฉัย : การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งเสื่อม ประสิทธิภาพ และจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความ ปลอดภัยของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้แก่ ผู้ร้องเรียน หรือ พยานฯลฯ {ม.15(2), (4)} (ไม่ต้องเปิดเผย)

  28. ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ : นาง ค. หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยขอนแก่น เจ้าของข้อมูล เรื่องที่อุทธรณ์ : ขอให้เปิดเผยข้อมูลการรับนักเรียนอนุบาลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ (1) รายชื่อ วัน เวลาของผู้สมัครทั้งหมด (2) รายชื่อผู้แสดงเจตจำนงในการอุปการคุณพร้อมจำนวนเงินของแต่ละคน (3) มติ คกก.คัดเลือก (ให้ข้อ 1 กับ 3 ส่วนข้อ 2 เป็นข้อมูลส่วนบุคคล) คำวินิจฉัย : ให้เปิดเผยข้อ 2 ได้ เนื่องจากการรับนักเรียนมิได้มีการทดสอบความรู้ความสามารถ ไม่ทำให้นักเรียนเกิดปมด้อยหรือทำความเสียหายแก่ผู้ปกครองหรือครูผู้สอน {ไม่เข้า ม.15(5)}

  29. ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ตัวอย่างคำวินิจฉัยประเด็นที่มีการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ : นาย ง. ผู้ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมในตลาดหลักทรัพย์ฯ หน่วยงาน : สนง.คกก.กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เจ้าของข้อมูล เรื่องที่อุทธรณ์ : ขอให้ กลต.เปิดเผยข้อมูลการตกลงการร่วมลงทุนกองทุนรวมออมสิน กับบริษัทอื่นๆ อีก 4 บริษัท โดย กลต.ปฏิเสธเนื่องจากบริษัทต่างๆ ไม่ยินยอมตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์และ กม.ข้อมูลข่าวสารฯ คำวินิจฉัย : ให้เปิดเผยได้ เนื่องจากจะเปิดโอกาสให้สาธารณชนตรวจสอบการทำงานของ กลต.ได้ และไม่เสียหายต่อ กลต.และเอกชนที่เกี่ยวข้องแม้ว่า กลต.จะมีกฎหมายเป็นการเฉพาะก็ตาม {ไม่เข้า ม.15(6)}

  30. แนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการแนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ (นส.จังหวัดชัยนาท ที่ ชน 0016.1/ว 1599 ลว.23 พ.ค. 50) 1) ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 2) จัดระบบข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 3) บริหารจัดการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบ 4) เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนรับทราบ 5) การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการประกวดราคา ประกาศสอบราคา และการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการ

  31. แนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการแนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ 1) ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ระดับจังหวัด – จัดที่สำนักงานจังหวัด ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ระดับหน่วยงาน – จัดที่หน่วยงาน โดยให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำ และจัดป้ายแสดงสถานที่ตั้ง ป้ายแสดง รายชื่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ

  32. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการจังหวัดชัยนาทศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการจังหวัดชัยนาท

  33. แนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการแนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ 2) จัดระบบข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 จัดข้อมูลข่าวสารไว้บริการ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ครบทุกประเภทและเป็นปัจจุบัน ตามมาตรา 9จัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสารไว้อย่างชัดเจน สามารถสืบค้นได้โดยสะดวก

  34. มาตรา 9 หน่วยงานควรจัดทำแฟ้มไว้ จำนวน 10 แฟ้ม โดยรวบรวมเอกสารตามข้อ (1) ถึง (8) ตามมาตรา 9 ไว้ในแฟ้มหมายเลข 1 ถึง 8 และเพิ่มแฟ้มที่ 9 และแฟ้มที่ 10 ดังนี้ แฟ้มที่ 9 สำหรับรวบรวมเอกสารที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แฟ้มที่ 10 เป็นแฟ้มดัชนีค้นหาเอกสารในแฟ้มหมายเลข 1 ถึง 9

  35. แนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการแนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ 3) บริหารจัดการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบ หน่วยงานจัดทำสถิติผู้ใช้บริการข้อมูลข่าวสาร และสรุปผลการดำเนินการ รายงานให้จังหวัดทราบทุกเดือน

  36. แนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการแนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ 4) เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนรับทราบ หน่วยงานจัดทำสถิติผู้ใช้บริการข้อมูลข่าวสาร และสรุปผลการดำเนินการ รายงานให้จังหวัดทราบทุกเดือน ประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับสิทธิในการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างน้อย 5 ช่องทาง รับฟังความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและนำมาพิจารณาประกอบการบริหารจัดการต่อไป

  37. แนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการแนวทางการปฏิบัติตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ 5) การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการประกวดราคา ประกาศสอบราคา และการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการ เผยแพร่ประกวดราคา ประกาศสอบราคา และสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานตามแบบ สขร.1 ทางเว็บไซต์ของหน่วยงานทุกเดือน

  38. เว็บไซต์จังหวัด

  39. สนง.คลังจังหวัด

  40. สนง.พัฒนาสังคมฯ

  41. สนง.ปฏิรูปที่ดิน

  42. สนง.คลังจังหวัด

  43. สนง.คลังจังหวัด หมายเหตุ เดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน 2550 ไม่มีการจัดซื้อจัดจ้าง

  44. จบแล้วครับพี่น้องครับจบแล้วครับพี่น้องครับ

  45. Q& A

  46. กลุ่มที่ 1 แนวทางการประชาสัมพันธ์ 1. เว็บไซต์ 2. สื่อมวลชน 3. ประชุมสัมมนา 4. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ด้วยตนเอง 5. บอร์ด/ป้ายประชาสัมพันธ์ 6. สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร, แผ่นพับ, นสพ., โบชัวร์ 7. เสียงตามสาย วิทยุชุมชน

More Related