1 / 24

การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท : เศรษฐกิจพอเพียง

การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท : เศรษฐกิจพอเพียง.

truong
Download Presentation

การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท : เศรษฐกิจพอเพียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท:เศรษฐกิจพอเพียงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท:เศรษฐกิจพอเพียง

  2. “...คนเราถ้าพอใจความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศ มีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็เป็นสุข...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

  3. หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ระเบิดจากข้างใน แก้ปัญหาที่จุดเล็ก ทำตามลำดับขั้น ค่อยเป็นค่อยไป ภูมิสังคม องค์รวม ไม่ติดตำรา ประหยัดเรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด ทำให้ง่าย การมีส่วนร่วม ประโยชน์ส่วนรวม บริการรวมที่จุดเดียว(One Stop Service ) ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ใช้อธรรมปราบอธรรม ปลูกป่าในใจคน ขาดทุนคือกำไร คุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุน • การพึ่งตนเอง พออยู่พอกินเศรษฐกิจพอเพียง ความซื่อสัตย์สุจริตและกตัญญู ทำงานให้สนุกมีความสุขในการทำงาน ความเพียร : พระมหาชนก รู้ รัก สามัคคี ความอดทนมุ่งมั่นยึดธรรมะ และความถูกต้อง

  4. สหประชาชาติทูลเกล้าฯถวายรางวัล”ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์”สหประชาชาติทูลเกล้าฯถวายรางวัล”ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาส ครองสิริราชสมบัติครบ๖๐ปี เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

  5. World Intellectual Property Organisation (WIPO) U.N. ถวายรางวัล Global Leader Award เมื่อ 14 มกราคม 2009 “in recognition of his extraordinary commitment to promoting intellectual property and his important contribution to society as a prolific inventor”

  6. “... เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

  7. “...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔

  8. “...สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน สมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีความพอเพียงได้ ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ. อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือระบบพอเพียง...พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น. ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

  9. “...เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ขอย้ำว่า เป็นการทั้งเศรษฐกิจ หรือ ความประพฤติ ที่ทำอะไรเพื่อให้เกิดผลโดยมีเหตุและผล คือเกิดผลมันมาจากเหตุ ถ้าทำเหตุที่ดี ถ้าคิดให้ดีให้ผลที่ออกมาคือ สิ่งที่ติดตามเหตุ การกระทำ ก็จะเป็นการกระทำที่ดี และผลของการกระทำเช่นนั้นก็จะเป็นการกระทำที่ดี ดี แปลว่ามีประสิทธิผล ดี แปลว่ามีประโยชน์ ดี แปลว่ามีความสุข...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

  10. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

  11. ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในภายนอกทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ

  12. โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อม ต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี.

  13. หลักความพอประมาณ ความพอดีพอเหมาะ ต่อความจำเป็นที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

  14. หลักความมีเหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับ ของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่าง มีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่ เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่ คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

  15. หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว การเตรียมตัวให้พร้อมรับ ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึง ความเป็นไปได้ของสถานการต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งใกล้และไกล

  16. เงื่อนไขความรู้ ความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

  17. เงื่อนไขคุณธรรม ความตระหนักใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน มีความเพียร และใช้สติปัญญา ในการดำเนินชีวิต

  18. กรอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง ฐานราก มีความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เป็นคนดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน วิธีปฎิบัติ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี นำไปสู่ ความสุข ความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน เป้าหมาย รองรับการเปลี่ยนแปลง สร้างเครือข่ายมีส่วนร่วม อิสรภาพ เสรีภาพ

  19. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ทั้งภาคการ เกษตร ภาคชนบท ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกัน คือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอ ประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม

  20. ทฤษฎีใหม่ แนวทาง / หลักการในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็ก ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๓๐  เป็นสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และเสริมการปลูกพืชในหน้า แล้งตลอดจนเลี้ยงสัตว์น้ำ ๓๐  ๓๐  ๓๐  ปลูกข้าว ๓๐  ๑๐  ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ ๓๐  เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ โรงเรือน ถนน คู คลองต่างๆ ๑๐ 

  21. ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ นายจันทร์ที ประทุมภา ปัญหา เกิดวิกฤติชีวิต ประสบปัญหาหนี้สิน ต้องนำทรัพย์สินไปขาย นำที่ดินไปจำนอง กระทั่งไปทำงานรับจ้างในประเทศมาเลเซียเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ จุดเด่น เมื่อใช้หนี้สินหมดและไถ่ที่นาคืนได้ จึงเริ่มทำเกษตรผสมผสาน และต่อมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริโดยใช้แรงงานในครอบครัว 6 คน ไม่จ้างแรงาน ด้วยทุนความขยัน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างแหล่งอาหารให้มีกินตลอดปี ด้วยแนวคิด “มีพอกิน เหลือกินแจก เหลือแจกขาย” และ “ปลูกทุกอย่างที่คนอื่นซื้อกิน” รวมถึง ปิดรายจ่ายด้วยแนวคิด ทำแทนจ่ายเช่น ถ่านและปุ๋ยอินทรีย์ อีกทั้งมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น ผล ปัจจุบันไม่มีหนี้สิน มีเงินออม ครอบครัวไม่ข้องแวะกับอบายมุขและมีความสุข มีบทบาทางสังคมเป็นผู้นำชุมชน ตัวอย่างปราชญ์ชาวบ้าน อีสาน และเปิดเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

  22. ด้านธุรกิจขนาดใหญ่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ปัญหา ประสบวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบให้มีหนี้สิน เพิ่มขึ้น และเกิดภาวะขาดทุนกว่า 52,000 ล้านบาท ซี่งเป็น บทเรียนมาจากการบริหารแบบตะวันตกที่ให้ความสำคัญ เพียงแต่ความเติบโตและหวังกำไรระยะสั้น จุดเด่น นำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับโครงสร้างธุรกิจ โดยลดขนาด ธุรกิจให้เหลือไว้เฉพาะที่องค์กรชำนาญ ลดบทบาทที่ไม่ถนัดใช้ ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพัฒนา ระบบการบริหารองค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่เป็นภูมิคุ้มกัน เน้น สร้างคนดีและคนเก่ง ผล บริษัทเติบโตอย่างมั่นคง เกิดความมั่นคงและการสนับสนุน จากผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีวัฒนธรรมองค์กรที่ เสริมสร้างให้บุคลากรมีความสามัคคี และมีกำไรสุทธิ เพิ่มมากขึ้น

More Related