1 / 122

หัวเรื่อง : หน้ายินดีต้อนรับเข้าบทเรียน

File : fn312_welcome_02.swf. หัวเรื่อง : หน้ายินดีต้อนรับเข้าบทเรียน. ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บทที่ 2 อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน ในหลักทรัพย์เดี่ยว. ENTER. คลิกที่ปุ่มเพื่อเข้าสู่บทเรียน. แสดงข้อความ. เสียงดนตรี. File : fn312_objective_02.swf.

trinh
Download Presentation

หัวเรื่อง : หน้ายินดีต้อนรับเข้าบทเรียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. File : fn312_welcome_02.swf หัวเรื่อง : หน้ายินดีต้อนรับเข้าบทเรียน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บทที่ 2 อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน ในหลักทรัพย์เดี่ยว ENTER คลิกที่ปุ่มเพื่อเข้าสู่บทเรียน • แสดงข้อความ เสียงดนตรี

  2. File : fn312_objective_02.swf หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์การเรียนรู้ บทที่ 2 อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจาก การลงทุน ในหลักทรัพย์เดี่ยว วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • เพื่อให้สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนในตราสารต่างๆ ต่องวดระยะเวลาลงทุน •  เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการคำนวณอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งแบบเลขคณิต เรขาคณิต • และค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด • เพื่อให้เข้าใจผลของภาษีและเงินเฟ้อที่มีต่ออัตราผลตอบแทน • เพื่อให้สามารถระบุปัจจัยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ • เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนของหลักทรัพย์รายตัว ทั้งในกรณีการวัดค่าความเสี่ยงเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์เพียงชนิดเดียว และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเป็นกลุ่มหลักทรัพย์ • เพื่อให้สามารถคำนวณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์รายตัว ทั้งจากข้อมูลที่คาดไว้ด้วยการกระจายของโอกาสความเป็นไปได้ต่างๆ และชุดข้อมูลในอดีต • เพื่อให้เข้าในแนวคิดการวัดค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบ และสามารถคำนวณค่าเบต้าของหลักทรัพย์ • เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ประเภทหรือสาเหตุของความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ • ทั้งประเภทของความเสี่ยงในมุมมองของการทำธุรกรรมของกิจการผู้ออกหลักทรัพย์ • และประเภทของความเสี่ยงในมุมมองการกระจายการลงทุน คลิกที่ปุ่มเพื่อเข้าสู่บทเรียน ENTER • แสดงข้อความพร้อมเสียงบรรยาย สวัสดีนักศึกษา ยินดีต้อนรับนักศึกษาเข้าสู่บทเรียนที่สอง เรื่องอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน ในหลักทรัพย์เดี่ยววัตถุประสงค์การเรียนรู้ของบทนี้มีดังต่อไปนี้ 1 เพื่อให้สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนในตราสารต่างๆ ต่อ งวดระยะเวลาลงทุน 2 เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการคำนวณอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งแบบเลขคณิต เรขาคณิต และค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด 3 เพื่อให้เข้าใจผลของภาษีและเงินเฟ้อที่มีต่ออัตราผลตอบแทน 4 เพื่อให้สามารถระบุปัจจัยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ 5 เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนของหลักทรัพย์รายตัว ทั้งในกรณีการวัดค่าความเสี่ยงเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์เพียงชนิดเดียว และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเป็นกลุ่มหลักทรัพย์ 6 เพื่อให้สามารถคำนวณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์รายตัว ทั้งจากข้อมูลที่คาดไว้ด้วยการกระจายของโอกาสความเป็นไปได้ต่างๆ และชุดข้อมูลในอดีต 7 เพื่อให้เข้าในแนวคิดการวัดค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบ และสามารถคำนวณค่าเบต้าของหลักทรัพย์ 8 เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ประเภทหรือสาเหตุของความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ทั้งประเภทของความเสี่ยงในมุมมองของการทำธุรกรรมของกิจการผู้ออกหลักทรัพย์และประเภทของความเสี่ยงในมุมมองการกระจายการลงทุน นักศึกษาสามารถ คลิกที่ปุ่มเพื่อเข้าสู่บทเรียนได้เลยค่ะ

  3. File : fn312_02_home.swf หัวเรื่อง : หน้าสารบัญบทที่ 2 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน สารบัญบท อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทน อัตราผลตอบแทนกับภาษี อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation สาเหตุของความเสี่ยง การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Beta Coefficient แบบฝึกหัดท้ายบท  คลิกบทเรียนที่ต้องการศึกษา • Mouse over ที่ปุ่ม แสดง active bottom • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน แสดง File : fn312_02_01.swf • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด แสดงFile : fn312_02_10.swf • เมื่อคลิก ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทน แสดงFile : fn312_02_20.swf • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนกับภาษี แสดง File : fn312_02_27.swf • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ แสดง File : fn312_02_30.swf • เมื่อคลิก การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation แสดงFile : fn312_02_33.swf • เมื่อคลิก สาเหตุของความเสี่ยง แสดง File : fn312_02_51.swf • เมื่อคลิก การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่าBeta Coefficient แสดง File : fn312_02_54.swf • เมื่อคลิก แบบฝึกหัดท้ายบท แสดงFile : fn312_02_exercise.swf เสียง music background

  4. File : fn312_02_01.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ผลตอบแทนจากการลงทุน กระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนได้รับจากการถือหลักทรัพย์ 2 1 ผลตอบแทนต่องวดเวลาลงทุน 3 4 การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักทรัพย์ระหว่างงวด เมื่อพิจารณาต่อ 1 งวดระยะเวลาลงทุน ผลตอบแทนของการลงทุนรายงวด ได้แก่ กระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนได้รับจากการถือหลักทรัพย์นั้น บวกกับการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักทรัพย์ระหว่างงวด • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • ลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข

  5. File : fn312_02_02.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อัตราผลตอบแทนต่องวดเวลาลงทุนจึงเป็นการคำนวณอัตราผลตอบแทน 1 งวดเวลาลงทุน (Holding Period Return) งวดต่องวด ผลตอบแทน มูลค่าหลักทรัพย์ต้นงวด อัตราผลตอบแทน = มูลค่าหลักทรัพย์ต้นงวด จากผลตอบแทน สามารถนำมาคำนวณ อัตราผลตอบแทน ได้โดยการหาค่าอัตราร้อยละของ ผลตอบแทน ต่อ มูลค่า หลักทรัพย์ต้นงวด ทั้งนี้การคำนวณอัตราผลตอบแทนต่องวดดังกล่าว ไม่จำเป็นว่าผู้ลงทุนต้องมีการขายหลักทรัพย์ออกไปจริง (กรณี long) หรือไม่จำเป็นที่ผู้ลงทุนต้องซื้อหลักทรัพย์เพื่อคืนจริง (กรณี short) อัตราผลตอบแทนของการลงทุนใดๆ คำนวณจากการเทียบผลตอบแทนรวมจากการลงทุนกับเงินลงทุนต้นงวด ในรูปอัตราต่อมูลค่าต้นงวด ดังนี้ • แสดงเสียงบรรยาย+ ข้อความ • แสดงสูตร

  6. File : fn312_02_03swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 1 2 1 6 4 3 5 แสดงกระแสเงินสดจากการลงทุนตามเส้นของเวลาใน 1 งวดเวลาลงทุน ในกรณีที่เป็นการคำนวณอัตราผลตอบแทนงวดต่องวด มักจะไม่คำนึงว่า กระแสเงินสดระหว่างงวดนั้นมีช่วงจังหวะของเวลาที่เข้ามา ณ กลางงวดหรือปลายงวด แต่จะสมมติว่าเป็นกระแสเงินสดที่เข้ามา ณ ปลายงวด • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • ลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข

  7. File : fn312_02_04.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ตัวอย่างเช่นการลงทุนประเภทหนึ่ง มีมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 100 บาท เป็น 110 บาท ในช่วงเวลา 1 ปี และระหว่างช่วงเวลา 1 ปี นั้น ผู้ออกตราสารจ่ายกระแสดเงินสดจำนวน 4 บาทแก่ผู้ลงทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าวคำนวณดังนี้ 3 2 4 5 1 ตัวอย่างเช่นการลงทุนประเภทหนึ่ง มีมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 100 บาท เป็น 110 บาท ในช่วงเวลา 1 ปี และระหว่างช่วงเวลา 1 ปี นั้น ผู้ออกตราสารจ่ายกระแสดเงินสดจำนวน 4 บาทแก่ผู้ลงทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าวคำนวณดังนี้ อัตราผลตอบแทนร้อยละ 14 นี้ เป็นอัตราผลตอบแทนในช่วงระยะเวลาลงทุน (holding period return หรือ HPR) โดยในที่นี้สมมติช่วงเวลาลงทุน (time horizon) ระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ HPR จำแนกเป็นกระแสเงินสดรับ (ในกรณีหุ้นสามัญได้แก่ เงินปันผลรับ) จำนวนร้อยละ 4 และกำไรจากส่วนเพิ่มของราคาร้อยละ 10 จะสังเกตได้ว่ามูลค่าเงินลงทุนต้นงวดมีความสัมพันธ์เชิงผกผันกับอัตราผลตอบแทน หากกำหนดให้กระแสเงินสดรับในอนาคตไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ ยิ่งราคาหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนต้องจ่ายซื้อตอนต้นงวดยิ่งมีราคาสูง อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะยิ่งต่ำลง • แสดงเสียงบรรยาย+ข้อความ • ลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข • เมื่อกล่าวถึง ดังนี้ แสดง วิธี คำนวณ • เมื่อแสดงเสร็จ เริ่มเสียงบรรยายที่ 2 • แสดงเส้นลูกศร ตามลำดับตัวเลข + เสียงบรรยาย

  8. File : fn312_02_05.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณอัตราผลตอบแทนจากชุดข้อมูลในอดีต แม้ว่าในการวิเคราะห์การลงทุนจะเกี่ยวเนื่องกับการคาดหมายอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับในอนาคต แต่การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนที่ประจักษ์จริงที่เกิดขึ้นแล้ว ของหลักทรัพย์แต่ละชนิดหรือของหลักทรัพย์เฉลี่ยรวมทั้งตลาด จะช่วยเป็นอย่างมากต่อการเข้าใจในพฤติกรรมในอดีตของหลักทรัพย์และของตลาดหลักทรัพย์นั้น แม้ว่าในการวิเคราะห์การลงทุนจะเกี่ยวเนื่องกับการคาดหมายอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับในอนาคต พร้อมกับประเมินถึงโอกาสที่จะไม่ได้รับอัตราผลตอบแทนตามที่คาดไว้ แต่การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนที่ประจักษ์จริงที่เกิดขึ้นแล้ว (realized return) ของหลักทรัพย์แต่ละชนิดหรือของหลักทรัพย์เฉลี่ยรวมทั้งตลาด จะช่วยเป็นอย่างมากต่อการเข้าใจในพฤติกรรมในอดีตของหลักทรัพย์และของตลาดหลักทรัพย์นั้น • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ

  9. File : fn312_02_06.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณอัตราผลตอบแทนจากชุดข้อมูลในอดีต วิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญจากชุดข้อมูลในอดีต หาผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับในแต่ละปี (ในกรณีที่ใช้ชุดข้อมูลรายปี) 1 3 2 ในรูปของเงินปันผลรับ ส่วนต่างของราคา วิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญจากชุดข้อมูลในอดีต ใช้หลักการเดียวกันกับการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากหุ้นสามัญในช่วงระยะเวลา 1 ปี ซึ่งอาจดัดแปลงเป็นการคำนวณเป็นแต่ละช่วง 1 เดือน หรือช่วงระยะเวลาอื่นๆ ตามความเหมาะสม กล่าวคือ หาผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับในแต่ละปี (ในกรณีที่ใช้ชุดข้อมูลรายปี) ในรูปของเงินปันผลรับ และส่วนต่างระหว่างราคาปลายปีและราคาต้นปี อันเป็นผลประโยชน์ส่วนของกำไร (หรือขาดทุน) จากการขายหุ้น แม้ว่าจะไม่มีการขายหุ้นจริงๆ ก็ตาม • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • ลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข

  10. File : fn312_02_07.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ตัวอย่างการคำนวณอัตราผลตอบแทนรายปีจากชุดข้อมูลในอดีต 2 1        ตัวอย่างการคำนวณอัตราผลตอบแทนรายปีจากชุดข้อมูลในอดีต ตั้งแต่ปี 25X0 ถึง 25X6 ข้อมูลแสดง  ราคาปิด กำไรต่อหุ้น และ เงินปันผลต่อหุ้น จากข้อมูลในตาราง สามารถนำมาคำนวณอัตราผลตอบแทน หรือ Holding Period Return (HPR) รายปีได้ ตั้งแต่ ปี 25X1 ถึง 25X6 เช่น อัตราผลตอบแทนที่เท่ากับ 2.80% ในปี 25X1 มีวิธีคำนวณดังนี้ ส่วน HPR ปีอื่น ๆ ก็คำนวณโดยใช้หลักเดียวกัน สำหรับ HPRst ปี 25X0 ไม่สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลราคาต้นปี 25X0 • แสดงเสียงบรรยาย+ตาราง • แสดงตารางตามลำดับตัวเลข • เมื่อกล่าวถึงขั้นตอนที่  2.80% แสดง pop up สูตรด้านล่าง

  11. File : fn312_02_08.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1 3 เฉลี่ย 15.59% 2 เฉลี่ย 4.42% 4 1 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นตลาดรองเพื่อค้าตราสารทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกอบด้วย อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (market dividend yield) และส่วนเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ซึ่งในที่นี้คำนวณจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET index) ค่าเฉลี่ยต่อปีของอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาประมาณ 16 % ส่วนค่าเฉลี่ยของ Market Dividend Yield ประมาณ 4 % รวมเป็นอัตราผลตอบแทนจากตลาดหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อปี ประมาณ 20 % • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • แสดงกราฟเป็นอนิเมชั่น • แสดงทีละเส้นตามลำดับ

  12. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ฝากธนาคาร อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) 20.01% 7.98% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 45.06% 3.84% File : fn312_02_09.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนใน ตลท.และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปี 2518-2550 1 2 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นมาตรวัดหนึ่ง ที่ใช้วัดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ จากกราฟดังกล่าว แสดงถึงอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากผลลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงปี 2518 – 2550 เท่ากับ เฉลี่ยประมาณ 20 % โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทน สูงถึง 45 % เมื่อเทียบกับการฝากเงินกับธนาคาร มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับ 7.98% และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เฉลี่ย 3.84 % ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นมาตรวัดหนึ่ง ที่ใช้วัดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ • แสดงเสียงบรรยาย+ตาราง • แสดงเสียงและการนำเสนออ้างอิงจากลำดับตัวเลข

  13. File : fn312_02_10.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด ตราสารขายลดจากหน้าตั๋ว การประมูลซื้อตั๋วเงินคลัง 1 ตราสารขายลดจากหน้าตั๋ว เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอนหรือราคาหน้าตั๋ว เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน 2 ตัวอย่าง  คลิกภาพเพื่อขยาย ตราสารขายลดจากหน้าตั๋ว เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอนหรือราคาหน้าตั๋ว เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินคลัง (treasury bill) เป็นหลักทรัพย์ที่รัฐบาล (โดยกระทรวงการคลัง) เป็นผู้ออกเพื่อกู้ยืมระยะสั้น โดยปกติอายุแรกออกเท่ากับ 28 วัน หรือ 91 วัน หรือ 182 วัน ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ชนิดไม่ตราดอกเบี้ย หรือเป็นหลักทรัพย์ที่ขายในราคาต่ำกว่าราคาครบกำหนดไถ่ถอน (pure discount security) ผลประโยชน์ที่ผู้ถือตั๋วเงินคลังได้รับเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ได้แก่ ส่วนลด ซึ่งเท่ากับ ส่วนต่างระหว่างมูลค่าไถ่ถอน กับราคาซื้อ ในประเทศไทยผู้ลงทุนสามารถซื้อตั๋วเงินคลังได้โดยการประมูลซื้อหรือโดยการเสนอซื้อจากธนาคารแห่งประเทศไทย • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • คลิกที่ภาพเพื่อขยาย • แสดงภาพที่ 1 ต่อด้วยภาพที่ 2

  14. File : fn312_02_12.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด การกำหนดอัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลดในตลาดเงิน (1) Banker’s Discount Basis (2) Bond Equivalent Yield (BEY)  คลิกภาพเพื่อขยาย อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด ได้มีการกำหนดอัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลดในตลาดเงิน 2 ส่วน ดังนี้ 1. Banker’s Discount Basis และ 2 Bond Equivalent Yield (BEY) นักศึกษาสามารถคลิกที่ ปุ่มเพื่อเข้า สู่เนื้อหาได้เลยค่ะ • แสดงเสียงบรรยาย+ปุ่ม • เมื่อคลิก ที่ ปุ่ม 1 แสดง • เมื่อคลิกที่ปุ่ม 2 แสดง

  15. File : fn312_02_13.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด Banker’s Discount Basis เป็นอัตราดอกเบี้ยในรูปอัตราลดต่อปีเทียบกับราคาหน้าตั๋วหรือราคาตรา เช่น ตั๋วเงินคลัง และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง ส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง ราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้  คลิกเพื่อศึกษาเนื้อหา 1 Banker’s Discount Basis หรืออัตราลด (discount yield) เป็นอัตราดอกเบี้ยในรูปอัตราลดต่อปีเทียบกับราคาหน้าตั๋วหรือราคาตรา ใช้กำหนดราคาเสนอซื้อหรือราคาเสนอขายตราสารหนี้ประเภทตราสารขายลด เช่น ตั๋วเงินคลัง และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง (banker’s acceptance) โดยจำนวนวันต่อปีตามมาตรฐานที่ถือปฏิบัติทั่วไปเท่ากับ 360 วัน • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • เมื่อจบเสียงบรรยายแสดงปุ่ม • เมื่อคลิก ส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง แสดง pop up ที่ 1 ใน slide ถัดไป • เมื่อคลิก ราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ แสดง pop up ที่ 2 ใน slide ถัดไป

  16. File : fn312_02_13.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด 1 Banker’s Discount Basis การหาค่าส่วนลดจากอัตราลด แสดงการหาค่าส่วนลดจากอัตราลด โดยมีที่มาจากการเทียบค่าอัตราลดต่อ 360 วัน เป็นส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง ตัวอย่าง การหาค่าส่วนลดจากอัตราลด แสดงการหาค่าส่วนลดจากอัตราลด โดยมีที่มาจากการเทียบค่าอัตราลดต่อ 360 วัน เป็นส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง การคำนวณราคาจากอัตราลด อีกทางเลือกหนึ่งในการคำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังได้แก่ จากอัตราลดที่ระบุ สามารถนำมาคำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ โดยใช้สมการที่ • แสดงเสียงบรรยาย • คลิกตัวอย่าง ใน pop up ที่ 1 แสดง File : fn312_02_14.swf • คลิกตัวอย่าง ใน pop up ที่ 2 แสดง File : fn312_02_15.swf • ด้านล่างเป็นเสียงบรรยายของ pop up ที่ 2 • คลิกปิดกลับไปยังหน้าหลัก 2 การคำนวณราคาจากอัตราลด อีกทางเลือกหนึ่งในการคำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังได้แก่ จากอัตราลดที่ระบุ สามารถนำมาคำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ โดยใช้สมการที่ ตัวอย่าง

  17. File : fn312_02_14.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง ตัวอย่างที่1 นาย ก. ประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ตั๋วเงินคลังมีอายุ 63 วัน ราคาตรา 1,000,000 บาท และประมูลได้อัตราส่วนลด 9.0% ราคาตรา 100 บาท ระยะเวลา 360 วัน ส่วนลด 9.0 บาท 1 5 ราคาตรา 1,000,000 บาท ระยะเวลา 63 วัน ส่วนลด 2 7 4 6 9 3 12 แสดงว่า นาย ก. จ่ายเงินค่าซื้อตั๋วเงินคลัง = 1,000,000 – 15,750 บาท = 984,250 บาท 10 8 11 13 • แสดงเสียงบรรยาย+การคำนวณ • แสดงตามลำดับตัวเลข ตัวอย่าง นาย ก. ประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ตั๋วเงินคลังมีอายุ 63 วัน ราคาตรา 1,000,000 บาท และประมูลได้อัตราส่วนลด 9.0% ราคาตรา 100 บาท ระยะเวลา 360 วัน ส่วนลด 9.0 บาท ราคาตรา 1,000,000 บาท ระยะเวลา 63 วัน ส่วนลด เท่ากับ 1 ล้าน คูณ 63 ส่วนด้วย 360 คูณด้วย 0.09 ผลลัพธ์ เท่ากับ 15,750 บาท ดังนั้น แทนค่าส่วนลดตามสูตร แสดงว่านาน ก.จ่ายเงินค่าซื้อตั๋วเงินคลัง ดังตัวเลข 1 ล้าน ลบด้วย ส่วนลด 15,750 จะเท่ากับ 984,250 บาท นั่นเอง

  18. File : fn312_02_15.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ ตัวอย่าง นาย ก. ประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ตั๋วเงินคลังมีอายุ 63 วัน ราคาตรา 1,000,000 บาท และประมูลได้อัตราส่วนลด 9.0% ตามตัวอย่างข้างต้น คำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยใช้สมการ ได้ดังนี้ 1 2 = 984,250 บาท 4 3 • แสดงเสียงบรรยาย+การคำนวณ • แสดงตามลำดับตัวเลข ตัวอย่าง นาย ก. ประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ตั๋วเงินคลังมีอายุ 63 วัน ราคาตรา 1,000,000 บาท และประมูลได้อัตราส่วนลด 9.0% ตามตัวอย่างข้างต้น คำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยใช้สมการ ได้ดังนี้

  19. File : fn312_02_16.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด Bond Equivalent Yield (BEY) อัตราผลตอบแทนเทียบเท่าพันธบัตร เป็นอัตราผลตอบแทนของ ตราสารขายลด เช่น ตั๋วเงินคลัง ที่คำนวณบนฐานของราคาซื้อที่หักส่วนลดแล้ว และคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี ตั๋วเงินคลัง การหา BEY จากค่าส่วนลดและราคาซื้อ  คลิกเพื่อศึกษาเนื้อหา • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย อัตราผลตอบแทนเทียบเท่าพันธบัตร เป็นอัตราผลตอบแทนของตราสารขายลด เช่น ตั๋วเงินคลัง ที่คำนวณบนฐานของราคาซื้อที่หักส่วนลดแล้ว และคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี ทั้งนี้ ส่วนลดของตั๋วเงินคลังที่คำนวณจากฐานของราคาตราตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง นำมาคำนวณเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรได้

  20. File : fn312_02_17.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การหา BEY จากค่าส่วนลดและราคาซื้อ ในขณะที่ซื้อ นาย ก.จ่ายเงินเพียง 984,250 บาท และเมื่อถือไว้ครบ 63 วัน จะได้รับเงิน 1,000,000 บาท 1 4 ถือไว้ครบ 63 วัน 6 ดังนั้น ส่วนลดจำนวน 15,750 บาท ที่ได้ตลอดระยะเวลา 63 วัน คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปีในรูป BEY (หรือ 365 วัน) ได้ 9.271% 2 5 จ่ายเงิน จะได้รับเงิน 1,000,000 บาท นาย ก. 984,250 บาท 3 ตามตัวอย่างข้างต้น ในขณะที่ซื้อ นาย ก.จ่ายเงินเพียง 984,250 บาท และเมื่อถือไว้ครบ 63 วัน จะได้รับเงิน 1,000,000 บาท ดังนั้น ส่วนลดจำนวน 15,750 บาท ที่ได้ตลอดระยะเวลา 63 วัน คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปีในรูป BEY (หรือ 365 วัน) ได้ 9.271% อัตราผลตอบแทนเทียบเท่าพันธบัตร หรือ BEY 9.271% สูงกว่าอัตราลด 9.0% ทั้งๆ ที่เป็นรายได้จากการถือตั๋วเงินคลังจำนวน 15,750 บาท จำนวนเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากอัตราผลตอบแทน BEY คำนวณจากเงินค่าซื้อตั๋วเงินคลังเป็นฐาน แต่ส่วนลดคำนวณจากราคาที่ตราไว้ของตั๋วเงินคลังเป็นฐาน และเนื่องจากจำนวนเงินค่าซื้อตั๋วเงินคลังต่ำกว่าราคาที่ตราไว้ ดังนั้นอัตราผลตอบแทน BEY ของตั๋วเงินคลังจึงสูงกว่าอัตราส่วนลดตั๋วเงินคลังในทุกกรณี • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงสูตรด้านล่าง เมื่อเริ่มเสียงบรรยาย ที่ 2

  21. File : fn312_02_18.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การหา BEY จากค่าส่วนลดและราคาซื้อ การคำนวณ BEY จากอัตราลด จากอัตราลดของตั๋วเงินคลัง สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทน BEY โดย ใช้สมการดังนี้ ( ) การคำนวณ BEY จากอัตราลด จากอัตราลดของตั๋วเงินคลัง สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทน BEY โดย ใช้สมการดังนี้ จากตัวอย่างข้างต้น อัตราลดเท่ากับ 9% จำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลังเท่ากับ 63 วัน คำนวณ BEY โดยใช้สมการที่ ดังนี้ • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงสูตรด้านล่าง เมื่อเริ่มเสียงบรรยาย ที่ 2 ( )

  22. File : fn312_02_18.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ตัวอย่าง อัตราลด หรือ Banker ’ Discount Basic ของตั๋วในคลังอายุ 63 วัน ที่เท่ากับ 9.0 % คำนวณ หา Bond Equivalent yield ( หรือ BEY) ได้ เท่ากับ 9.271 % โดยวิธี การ คำนวณ ที่แสดง ข้างต้น 0.09271 = 9.271% BEY = 15,750 984,250 365 63 = X หรือ อัตราลด หรือ Banker ’ Discount Basic ของตั๋วในคลังอายุ 63 วัน ที่เท่ากับ 9.0 % คำนวณ หา Bond Equivalent yield ( หรือ BEY) ได้ เท่ากับ 9.271 % โดยวิธี การ คำนวณ ที่แสดง ข้างต้น โดย BEY ที่ เท่ากับ 9.271 เปอร์เซ็น นี้เป็น อัตรา BEY ที่คำนวณแบบไม่ทบต้น หรือ Simple Yield หากนักศึกษาต้องการคำนวณ BEY แบบทบต้น หรือ Effective AnnualRate (EAR) ใช้วิธีดังนี้ • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงสูตรด้านล่าง เมื่อเริ่มเสียงบรรยาย ที่ 2

  23. File : fn312_02_19.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง Effective Annual Rate (EAR) สำหรับอัตราผลตอบแทนต่อปีที่คำนึงถึงการทบต้นของดอกเบี้ย หรือ Effective Annual Rate (EAR) โดยจำนวนครั้งที่ทบดอกเบี้ยกับเงินต้น เท่ากับ m คำนวณโดยใช้สมการดังนี้ 4 3 1 m = 365วัน = 5.793651 ครั้ง 63 วัน 2 สำหรับอัตราผลตอบแทนต่อปีที่คำนึงถึงการทบต้นของดอกเบี้ย หรือ Effective Annual Rate (EAR) โดยจำนวนครั้งที่ทบดอกเบี้ยกับเงินต้น เท่ากับ m จึงเท่ากับ 5.793651 ครั้งคำนวณโดยใช้สมการดังนี้ จากตัวอย่างข้างต้น APR เท่ากับ 9.271% คำนวณ EAR ได้เท่ากับ 9.6339% รายละเอียดการคำนวณเป็นดังนี้ • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงสูตรที่ ลำดับที่ 1 • แสดงลูกศรชี้ พร้อมปรากฏ ส่วนขยายที่ มา ของ m • เมื่อจบเสียงบรรยายที่ 2 แสดง ลูกศรพร้อมสูตร ลำดับที่ 4

  24. File : fn312_02_20.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทน ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่ากระแสเงินสด (money-weighted average) หรือ Internal Rate of Return  คลิกเพื่อศึกษาเนื้อหา เมื่อวิเคราะห์การลงทุนหลายงวดเวลา และต้องการคำนวณค่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อ 1 งวดเวลาตลอดช่วงเวลาที่ลงทุน ทางเลือกต่างๆ ในการคำนวณค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด (money-weighted average) และค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา (time-weighted average) ซึ่งอาจคำนวณโดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หรือค่าเฉลี่ยเรขาคณิต นักศึกษาสามารถเลือกคลิกที่ปุ่มเพื่อศึกษาได้ละค่ะ • แสดงปุ่ม+เสียงบรรยาย • เมื่อคลิกแสดง ดังนี้ • เมื่อคลิก ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา แสดง • เมื่อคลิก ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่ากระแสเงินสด แสดง

  25. File : fn312_02_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา คำนวณโดยการหาอัตราผลตอบแทนรายงวดก่อน แล้วจึงนำอัตราผลตอบแทนนั้นมาคำนวณค่าเฉลี่ยต่องวด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Average) ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (geometric average)  คลิกเพื่อศึกษาเนื้อหา ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา (time-weighted average) คำนวณโดยการหาอัตราผลตอบแทนรายงวดก่อน แล้วจึงนำอัตราผลตอบแทนนั้นมาคำนวณค่าเฉลี่ยต่องวด ค่าเฉลี่ยที่คำนวณอาจใช้วิธีการคำนวณค่าเฉลี่เลขคณิต (arithmetic average) หรือค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (geometric average) นักศึกษาสามารถคลิกที่ปุ่มเพื่อศึกษาได้ละค่ะ • แสดงภาพและข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงปุ่มเมื่อกล่าวถึง ค่าเฉลี่ยที่คำนวณ • แสดงปุ่มซิงค์เสียง • เมื่อคลิกแสดง pop up +เสียงบรรยาย

  26. File : fn312_02_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Average) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทน คำนวณได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทน คำนวณโดยหารผลรวมของข้อมูลอัตราผลตอบแทนด้วยจำนวนข้อมูล ถ้าให้ n คือจำนวนงวดที่คำนวณอัตราผลตอบแทน • แสดงภาพและข้อความ+เสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปิดกลับไปยังหน้าเมนูหลัก

  27. File : fn312_02_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (geometric average) ตัวอย่าง ส่วนการหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิตเป็นการหาราก (root) ที่ n ของผลคูณของ “อัตราผลตอบแทน + 1” โดย n คือจำนวนข้อมูล ทั้งนี้เนื่องจากในบางกรณีอัตราผลตอบแทนของบางช่วงเวลาอาจมีค่าติดลบ อาจส่งผลให้ผลคูณติดลบ ทำให้การถอดรูทมีปัญหา หรือในบางกรณีอัตราผลตอบแทนของบางปีอาจเป็นศูนย์ ทำให้ผลคูณเป็นศูนย์ด้วย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ก่อนที่จะหาผลคูณของอัตราผลตอบแทนจึงนำอัตราผลตอบแทนในแต่ละงวด บวกกับ 1.0 ก่อน เรียกผลลัพธ์นี้ว่า return relative เมื่อได้รูทที่ n ของผลคูณแล้ว จึงเอา 1.0 มาลบออก ผลที่ได้คือ ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของอัตราผลตอบแทน นักศึกษาสามารถคลิกที่ปุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาได้ละค่ะ • แสดงภาพและข้อความ+เสียงบรรยาย • คลิกที่ปุ่มตัวอย่าง แสดง ตาราง • เมื่อคลิกปิดกลับไปยังหน้าเมนูหลัก

  28. File : fn312_02_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ตัวอย่างการคำนวณค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนจากชุดข้อมูลในอดีต 1 4 5 2 3 6 7 • ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 12.54 % = 2.09 • 6 • แสดงตารางและข้อความ+เสียงบรรยาย • เสียงบรรยายและลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข • เมื่อคลิกปิดกลับไปยังหน้าเมนูหลัก • จากข้อมูลอัตราผลตอบแทนต่องวดเวลาลงทุน หรือ Holding Period Return ตั้งแต่ปี 25x 1 ถึง ปี25x6 • นำ HPR ของแต่ละงวดมาบวกด้วย 1เช่น ปี 25 x1 HPR = 2.80% เมื่อนำ 1 มาบวก จะได้ 1.0280 • ตัวเลขที่นำ 1 มาบวกแล้ว • เมื่อ HPR +1 • นำ HPR +1 ของทุกปี มาคูณกัน จะได้ 1.120166 • ถอดรากที่ 6 ของ 1.120166 จะได้เท่ากับ 1.10190 เมื่อเอา 1 มาลบ จะได้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต = 1.91 %

  29. File : fn312_02_22.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 5 เป็นค่าเฉลี่ยที่บ่งถึงการสะสมทวีค่าของการลงทุน ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทั้งสองจะยิ่งมากขึ้นหากข้อมูลมีความกระจายมากขึ้น หากเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าการลงทุนในอดีตในช่วงเวลาหลายงวด ควรใช้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 2 2 4 3 ตัวอย่าง เปรียบเทียบการหาค่าเฉลี่ย 1 ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตจะให้ค่าที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตเสมอ ยกเว้นกรณีที่ข้อมูลทุกงวดเท่ากันหมด ซึ่งในกรณีดังกล่าวค่าเฉลี่ยทั้งสองจะให้ค่าที่เท่ากัน ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทั้งสองจะยิ่งมากขึ้นหากข้อมูลมีความกระจายมากขึ้น หากเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าการลงทุนในอดีตในช่วงเวลาหลายงวด ควรใช้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต เพราะเป็นค่าเฉลี่ยที่บ่งถึงการสะสมทวีค่าของการลงทุนอย่างแท้จริง ดังเช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้ นักศึกษาสามารถคลิกที่ปุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาได้ละค่ะ • แสดงภาพและข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงภาพเปรียบเทียบซิงค์เสียง ดังนี้ • เมื่อกล่าวถึง จะให้ค่าที่ต่ำกว่า แสดง แท่งสีของ เรขาคณิต เลื่อนลง • เมื่อกล่าวถึง เท่ากัน ก็เลื่อนขึ้นมาให้เท่ากัน • แสดงกล่องข้อความเมื่อกล่าวจบ • อ้างอิงการนำเสนอจากวงกลมตัวเลข

  30. File : fn312_02_23.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 3 7 1 4 5 6 2 8 9 10 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบการหาค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนในอดีตในช่วงหลายงวดเวลา ตามตารางแสดงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น A และหุ้น B จากงวดที่ 0 ในราคาเท่ากับ 10 บาท เท่ากันทั้งสองหุ้น หุ้น A มีราคาสูงขึ้นเป็น 20 บาท และลดต่ำลงเหลือ 10 บาท หรือคิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเท่ากับ +100% และ -50% ในงวดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ในขณะที่หุ้น B มีราคาลดต่ำลงเป็น 8 บาท และสูงขึ้นเป็น 12 บาท หรือคิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเท่ากับ -20% และ +100% ในงวดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ นักศึกษาสามารถคลิกที่ภาพตาราง เพื่อดูตัวอย่างการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยได้เลยค่ะ • แสดงตัวอย่าง+เสียงบรรยาย • แสดงลำดับการนำเสนอจากวงกลมตัวเลข • ทำให้ตารางเป็นปุ่มเมื่อคลิกแสดงดัง slide ถัดไป

  31. File : fn312_02_23.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทนของหุ้น A เท่ากับ 25% ซึ่งแสดงผลลัพธ์ที่ไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากหุ้น A มีราคาเริ่มจาก 10 บาท และกลับมาอยู่ที่ระดับ 10 บาทเท่าเดิม การถือหุ้น A น่าจะให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่องวดเท่ากับ 0% ซึ่งตรงตามค่าเฉลี่ยเรขาคณิต สำหรับหุ้น B มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทนต่องวดเท่ากับ 15% หากเป็นเช่นนี้ การลงทุนในหุ้น B 10 บาท น่าจะทำให้มูลค่าปลายงวดที่ 2 เท่ากับ 10(1.15)(1.15) = 13.23 บาท ซึ่งไม่ถูกต้องเนื่องจากราคาหุ้นปลายงวดที่ 2 เท่ากับ 12 บาท ส่วนค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของอัตราผลตอบแทนรายงวดที่เท่ากับ 9.54% นั้น ส่งผลให้ราคาปลายงวดที่ 2 ของหุ้น B เท่ากับ 10(1.0954)(1.0954) = 12 บาท ตรงตามความเป็นจริง • แสดงตัวอย่าง+เสียงบรรยาย • แสดงลำดับการนำเสนอจากวงกลมตัวเลข • เมื่อจบการนำเสนอกลับสู่ตารางปกติ 2 Arithmetic Mean: A = 25%, B = 15% Geometric Mean: A = 0%, B = 9.54% 3

  32. File : fn312_02_24.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด เป็นค่าเฉลี่ยที่คำนวณโดยคำนึงถึงมูลค่ากระแสเงินสดจ่ายและรับในแต่ละงวด ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสดที่คำนวณได้ 1 2 มูลค่ากระแสเงินสดจ่าย มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด 4 3 มูลค่ากระแสเงินสดรับ • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงลำดับการนำเสนอจากวงกลมตัวเลข ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด เป็นค่าเฉลี่ยที่คำนวณโดยคำนึงถึงมูลค่ากระแสเงินสดจ่ายและรับในแต่ละงวด ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสดที่คำนวณได้ก็คืออัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ซึ่งก็คืออัตราผลตอบแทนที่เรียกว่า Internal Rate of Return (IRR) นั่นเอง

  33. File : fn312_02_24.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงถึงกิจกรรมซื้อและขายหุ้นรวมทั้งรับเงินปันผลใน 2 งวดเวลาลงทุน โดยงวดเวลาลงทุนเริ่มแรกได้แก่งวดที่ 0 หรือต้นงวดที่ 1 และงวดเวลาสุดท้ายที่ลงทุนได้แก่ปลายงวดที่ 2 วิธีคำนวณค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด สามารถทำได้โดยการหาอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ถ้ากำหนดให้ r คือ ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด สมการมูลค่าปัจจุบันตามตัวอย่าง เขียนได้ดังนี้ • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย

  34. File : fn312_02_25.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด 5 2 ปีที่ 2 หุ้นละ 3 บาท รวม 6 บาท + ปีที่ 1 ปีที่ 1 1 6 ปีที่ 0 กระแสเงินสดรับค่าขายหุ้น 4 7 8 คิดลดด้วยอัตรา r% 3 • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงกล่องข้อความซิงค์เสียง • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข ซ้ายมือของสมการแสดงมูลค่าปัจจุบันของค่ากระแสเงินสดจ่ายซื้อหุ้น ณ ปีที่ 0 เท่ากับ 50 บาท และกระแสเงินสดจ่ายซื้อหุ้น ณ ปีที่ 1 เท่ากับ 55 บาท คิดลดด้วยอัตรา r% ส่วนขวามือของสมการแสดงมูลค่าปัจจุบันของค่ากระแสเงินสดรับ ได้แก่ รับเงินปันผล ณ ปีที่ 1 เท่ากับ 4 บาท และรับเงินปันผล ณ ปีที่ 2 หุ้นละ 3 บาท รวม 6 บาท บวกกับกระแสเงินสดรับค่าขายหุ้น หุ้นละ 120 บาท รวม 120 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 126 บาท คิดลดด้วยอัตรา r% อัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ตามสมการข้างต้น เท่ากับ 15.736%% ค่านี้คือค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด

  35. File : fn312_02_26.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสดสะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนที่ขึ้นกับมูลค่าเงินลงทุนรายงวด 3 ค่าเฉลี่ยที่คำนวณโดยวิธีนี้ก็จะสูงด้วย การลงทุน & ผลตอบแทน 5 อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยก็อาจต่ำลงได้ 2 4 1 งวดที่ 1 งวดที่ 2 ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสดสะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนที่ขึ้นกับมูลค่าเงินลงทุนรายงวด กล่าวคืองวดใดที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงและได้ผลตอบแทนในงวดนั้นสูง ค่าเฉลี่ยที่คำนวณโดยวิธีนี้ก็จะสูงด้วย แต่ถ้างวดใดที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงและได้ผลตอบแทนในงวดนั้นต่ำ อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยก็อาจต่ำลงได้ • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงกล่องข้อความซิงค์เสียง • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข

  36. File : fn312_02_27.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับภาษี ตราสารบางประเภทเ ช่น พันธบัตรรัฐบาลบางประเภท มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย สำหรับผู้ลงทุนบางประเภท 1 3 ตราสาร ตราสารที่ยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยแต่อัตราผลตอบแทนต่ำ 2 ตราสารที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย แต่อัตราผลตอบแทนก่อนภาษีสูงกว่า ผู้ลงทุน อัตราผลตอบแทนในระดับต่ำ 4 ตราสารบางประเภทเ ช่น พันธบัตรรัฐบาลบางประเภท มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย สำหรับผู้ลงทุนบางประเภท ตราสารเหล่านี้มักเสนออัตราผลตอบแทนในระดับต่ำ ผู้ลงทุนที่กำลังเลือกลงทุนระหว่างตราสารที่ยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยแต่อัตราผลตอบแทนต่ำ กับตราสารที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย แต่อัตราผลตอบแทนก่อนภาษีสูงกว่า จึงต้องเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทั้งสองประเภท โดยปรับฐานสถานะภาษีให้อยู่ในสถานะเดียวกัน • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงกล่องข้อความซิงค์เสียง • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข

  37. File : fn312_02_29.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับภาษี ตัวอย่าง เงินฝากออมทรัพย์ให้ดอกเบี้ย 8.5% ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินให้ดอกเบี้ย 9.75% หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ดอกเบี้ย 9.75% ดอกเบี้ย 8.5%  คลิกที่ ปุ่ม เพื่อเลือกอัตราดอกเบี้ย ในส่วนนี้ มีตัวอย่างของ เงินฝากออมทรัพย์ให้ดอกเบี้ย 8.5% ไม่ต้องเสียภาษีกับ ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินให้ดอกเบี้ย 9.75% หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ให้นักศึกษาเลือกอัตราดอกเบี้ยที่นักศึกษาพึงพอใจโดยการ คลิก ที่ปุ่มเพื่อเลือก อัตราดอกเบี้ยได้เลยค่ะ • แสดงภาพข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงกล่องข้อความอัตราดอกเบี้ย • ทำกล่องข้อความให้เป็นปุ่ม • เมื่อคลิกที่ปุ่ม แสดง pop up ดัง สไลด์ถัดไป

  38. File : fn312_02_29.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ย 8.5% 8.5 % เป็นผลตอบแทนสุทธิ ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนสุทธิจากดอกเบี้ย 9.75 % ที่เมื่อเสียภาษีแล้วเหลือ 8.2875 % เช่น 8.5 % 1- 0.15 ดังนั้นหากเงินฝากออมทรัพย์ เท่ากับ 8.5 % กลับต้องเสียภาษีแสดงว่าธนาคารต้องเสนอดอกเบี้ย 10 % ผู้ฝากจึงมีรายได้เท่าเดิม 8.5 % 0.85 (Tax Equivalent Yield ) = = 10% ตั๋วสัญญาใช้เงินให้ดอกเบี้ย 9.75% อัตราผลตอบแทนหลังภาษี ของตั๋วสัญญา เท่ากับ 8.2875 % เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนที่ไม่ต้องเสียภาษีของ เงินฝากออมทรัพย์ คือ 8.5 % ซึ่งมี วิธีคิดดังนี้ 9.75 % x (1-0.15) = 8.2875 % ซึ่งเมื่อเทียบกับ ดอกเบี้ย ออมทรัพย์ จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า

  39. File : fn312_02_30.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ อัตราผลตอบแทนที่กล่าวข้างต้น เป็นอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (nominal return) อัตราผลตอบแทนเช่นนี้ยังมิได้คำนึงถึงอำนาจซื้อของเงิน หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอำนาจซื้อของเงินจะลดลง 1 real rate of returnnominal rate of return - inflation rate 2 3 อัตราผลตอบแทนที่กล่าวข้างต้น เป็นอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (nominal return) อัตราผลตอบแทนเช่นนี้ยังมิได้คำนึงถึงอำนาจซื้อของเงิน หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอำนาจซื้อของเงินจะลดลง หากจะคำนึงถึงผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อต่ออัตราผลตอบแทน จะต้องปรับค่าอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินให้เป็นอัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยค่าเงินเฟ้อ (inflation-adjusted return หรือ real return) ค่าโดยประมาณการของอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออก คือ หากต้องการคำนวณอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออก ด้วยวิธีที่แม่นยำอันเป็นวิธีที่คำนึงถึงผลกระทบแบบทบต้นของอัตราเงินเฟ้อ หรือที่เรียกว่า วิธีที่คำนึงถึง Fisher Effect ใช้สมการ • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • เมื่อถึงเสียงบรรยายที่ 2 แสดง สมการ

  40. File : fn312_02_31.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ ตัวอย่าง ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เท่ากับ ร้อยละ 6.08 ต่อปี และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อใน 1 ปีข้างหน้าจะเท่ากับร้อยละ 2 2 3 1 6 5 4 real rate of return nominal rate of return - inflation rate 6.08% - 2.00%  4.08% = 0.04 หรือ 4.00% 7 ตัวอย่าง ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เท่ากับ ร้อยละ 6.08 ต่อปี และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อใน 1 ปีข้างหน้าจะเท่ากับร้อยละ 2 ดังนั้น อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออกจึงเท่ากับร้อยละ 4.08 โดยประมาณ และถ้าคำนึงถึง Fisher Effect อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออกจึงเท่ากับร้อยละ 4.00 • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • เมื่อถึงเสียงบรรยายที่ 2 แสดง ลำดับที่ 4 -7 ซิงค์เสียง

  41. File : fn312_02_32.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ 19.69% 12.82% 9.88 % 13.00% 12.00% 1.00% 9.00% 1 2  นำเมาส์ไปวางเพื่อแสดงตัวเลข • แสดงกราฟ+เสียงบรรยาย • ขึ้นทีละเส้นอ้างอิงจากลำดับตัวเลข • เมื่อกล่าวถึง ร้อยละที่เป็นตัวเลขสีแดงในเสียงบรรยายหรือนำ เมาส์ไปวาง แสดง ข้อความตัวเลข บนกราฟดังตัวอย่าง ภาพต่อไปนี้ เป็นกราฟอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 12 เดือน และอัตราเงินเฟ้อ ปี 2518 ถึงปี 2550 จากภาพ อัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงปี 2522 เคยสูงขึ้นอย่างมากอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งผลักดันให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก และราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่คำนวณจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคปีต่อปีในปี 2522 ถึงปี 2524 สูงถึงร้อยละ 9.88 ร้อยละ 19.69 และร้อยละ 12.82 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 12 เดือน ในช่วงเวลาดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยมีอัตราเท่ากับร้อยละ 9.00 ร้อยละ 12.00 และร้อยละ 13.00 ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออกมีค่าติดลบ อย่างไรก็ตาม หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อัตราเงินเฟ้อได้ลด ระดับลงอยู่ในช่วงร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 6 ทั้งนี้ ในปี 2546 อัตราเงินเฟ้อของไทยมีระดับเท่ากับร้อยละ 1.77 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนโยบายการเงินของทางการที่ให้คงดอกเบี้ยในระดับต่ำ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนในปี 2546 มีอัตราเท่ากับร้อยละ 1.00 เท่านั้น ดังนั้น ในช่วงเวลานั้น ต่อเนื่องจนถึงปี 2550 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออก จึงมีค่าติดลบต่อเนื่องอีกช่วงเวลาหนึ่ง

  42. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ฝากธนาคาร อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) 20.01% 7.98% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 45.06% 3.84% File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์กับลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนใดเสี่ยงกว่ากัน ? อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนใน ตลท.และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปี 2518-2550 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • เมื่อจบเสียงบรรยาย แสดงไฮไลท์ ดังตัวอย่าง ในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์กับลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนใดเสี่ยงกว่ากัน จากตารางที่แสดง ได้เปรียบเทียบอัตราระหว่าง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับ ธนาคารพาณิชย์ ที่ให้อัตราผลตอบแทน ในปี 2518 – 2550

  43. File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุน มูลค่าทบต้นของเงินลงทุน 1 บาท 1 4 4 3 2 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • มีการแสดงกราฟต่อ เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุนระหว่าง เงินฝากประจำ 12 เดือน กับ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างดัง กราฟที่แสดง .. จากรูปจะเห็นว่าเงินฝากประจำ 12 เดือน เช่น ฝากธนาคาร 1 บาท ตอนปี 2518 พอสิ้นปี 2551 มูลค่าของเงินจะเป็น 10.83 บาท

  44. File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุน เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของเงินลงทุน 1 บาท 1 3 2 1 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • แสดงเส้นกราฟสีน้ำเงิน ตามลำดับ • มีการแสดงกราฟต่อ เมื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 1 บาท ตอนปี 2518 จนถึงปี 2535 มูลค่าของเงินจะเป็น 54.04 บาท

  45. File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุน เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของเงินลงทุน 1 บาท 1 2 4 3 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • แสดงเส้นกราฟสีน้ำเงิน ตามลำดับ • มีการแสดงกราฟต่อ และยังลงทุนต่อ จนถึงปี 2543 มูลค่าของเงินลดลงเหลือ 11.38 บาท

  46. File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุน เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของเงินลงทุน 1 บาท 2 2 1 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • แสดงเส้นกราฟสีน้ำเงิน +แดง วิ่ง ทีละจุดตามลำดับ • เมื่อถึงลำดับที่ 2 แสดง วงกลมล้อมรอบ ตัวเลข บอกจำนวน นักศึกษาคงจะเห็นว่าการลงทุนในช่องทางใดที่มีความเสี่ยงมากกว่ากัน จาก กระณีที่ ศึกษาผ่านมา

  47. File : fn312_02_34.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation ลงทุนใน SET กระดานหลักกับลงทุนใน MAI การลงทุนใดเสี่ยงกว่ากัน อัตราผลตอบแทนรายเดือน จาก SET และ MAI การกระจายของอัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET และ MAI SET Index และ MAI Index  คลิกที่ปุ่มเพื่อแสดง กราฟ • แสดงภาพตาราง+เสียงบรรยาย • ทำภาพให้เป็นปุ่ม • เมื่อคลิก แสดงกราฟ ดังนี้ • เมื่อคลิก SET Index และ MAI Index แสดง File : fn312_02_35.swf • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนรายเดือน จาก SET และ MAIแสดง File : fn312_02_36.swf • เมื่อคลิก การกระจายของอัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET และ MAI แสดง File : fn312_02_37.swf อีกหนี่งกรณีคือการ ลงทุนใน SET กระดานหลักกับลงทุนใน MAI การลงทุนใดเสี่ยงกว่ากัน นักศึกษาสามารถ เปรียบเทียบได้จาก กราฟ SET Index (เซต อินเดกและ MAI Index (เอ็ม เอ ไอ อินเดก) กราฟ อัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET (เซต)และ MAI (เอ็ม เอ ไอ ) กราฟการกระจายของอัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET(เซต)และ MAI (เอ็ม เอ ไอ ) นักศึกษาสามารถคลิกที่ปุ่มเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบได้เลยค่ะ MAI ให้อ่านว่า เอ็ม เอ ไอ

  48. File : fn312_02_35.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา SET Index และ MAI Index ก.ย. 2545 – ธ.ค. 2550 SET Index MAI Index • แสดงตาราง • แสดง ทั้ง 2 ภาพ และ อนิเมชั่น ทั้ง 2 ภาพ พร้อมๆกัน เพื่อเปรียบเทียบ • คลิก back กลับไปยัง เมนูหลัก เสียง music background

  49. File : fn312_02_36.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET และ MAI ส.ค. 2545 – ธ.ค. 2550 • แสดงตาราง • แสดง ทั้ง 2 ภาพ และ อนิเมชั่น ทั้ง 2 ภาพ พร้อมๆกัน เพื่อเปรียบเทียบ • คลิก back กลับไปยัง เมนูหลัก เสียง music background

  50. File : fn312_02_37.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การกระจายของอัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET และ MAI • แสดงตาราง • แสดง ทั้ง 2 ภาพ และ อนิเมชั่น ทั้ง 2 ภาพ พร้อมๆกัน เพื่อเปรียบเทียบ • เน้น ที่ตัวเลขตามตัวอย่าง • คลิก back กลับไปยัง เมนูหลัก เสียง music background

More Related