1 / 18

สัมมนาสัตว์ปีก

สัมมนาสัตว์ปีก. ผลกระทบของระดับวิตามิน A ในอาหารต่อภูมิคุ้มกัน โรคนิวคาสเซิลและการให้ผลผลิตในไก่ไข่. โดย นายไกรสร เทศสุวรรณ์ รหัส 45103404 สาขาสัตวศาสตร์ (สัตว์ปีก) อาจารย์ที่ปรึกษาสัมมนา ผศ.ดร. มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์. บทนำ.

tivona
Download Presentation

สัมมนาสัตว์ปีก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัมมนาสัตว์ปีก ผลกระทบของระดับวิตามิน A ในอาหารต่อภูมิคุ้มกัน โรคนิวคาสเซิลและการให้ผลผลิตในไก่ไข่ โดย นายไกรสร เทศสุวรรณ์ รหัส 45103404 สาขาสัตวศาสตร์ (สัตว์ปีก) อาจารย์ที่ปรึกษาสัมมนา ผศ.ดร. มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์

  2. บทนำ วิตามิน A มีบทบาทที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การมองเห็น และระบบการสืบพันธุ์ ในสัตว์ปีกมีความต้องการวิตามิน A มากกว่าสัตว์อื่น การขาดวิตามิน A จะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเป็นเหตุผลในการทำลายชั้นเยื่อบุผิวที่ช่วยในการป้องกันเชื้อโรคขั้นแรก อย่างไรก็ตาม ผลในหลายการทดลอง พบว่ามีการเพิ่มอัตราการตายในไก่ที่ติดเชื้อ Newcastle Disease Virus (NDV) ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารที่ไม่มีวิตามิน A

  3. Vitamin A โครงสร้าง (Structure) อาหารสัตว์ทุกชนิดจำเป็นต้องมีวิตามินชนิดนี้อยู่ด้วย โดยอาจอยู่ในรูปของวิตามินสังเคราะห์ หรือ Precursor เช่น Carotene, Vitamin A alcohol และ เบต้า-คาโรทีน โครงสร้างของวิตามิน A

  4. หน้าที่ของวิตามิน A 1. ช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืน 2. วิทยาที่เกี่ยวกับการมองเห็น 3. วิตามิน A มีความจำเป็นสำหรับทำให้ผิวปกติ โดยเคลือบผิวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นผิวที่มีเยื่อเมือก (Mucous membrane) ผิวตามช่องว่างในร่างกาย ระบบหายใจ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และระบบย่อยอาหาร 4. ร่างกายต้องการวิตามิน A สำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกให้เป็นปกติ 5. สำหรับการเจริญเติบโต 6. สนับสนุนด้านการเจริญเติบโต 7. ทำให้ความดันของของเหลวใน Cerebrospinal fluid

  5. อาการขาด (Deficiency signs) วิตามินชนิดนี้มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยในการสร้างสาร โรดอปซินในดวงตา การขาดเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตาบอดกลางคืน แม่ไก่ที่มีสายตาไม่ดีจากการขาดวิตามิน A หลังจากได้รับวิตามินเข้าไปเพียง 2 วัน สายตาจะกลับเป็นปกติ ยังมีผลต่อการสืบพันธุ์ ในสัตว์ปีกมักทำให้เกิดการตายโคมในไข่ฟัก และหากฟักออกเป็นตัวก็จะทำให้อ่อนแอ เจริญเติบโตช้า เซื่องซึม เดินโซเซ ซูบซีด น้ำตาไหล หน้าแข้งซีดขาว ในไก่โตทำให้ขนยุ่ง ผอมแห้ง ปริมาณไข่ลด ตาบวม เปอร์เซ็นต์การฟักออกเป็นตัวต่ำ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่อการสร้างกระดูกอีกด้วย

  6. ความต้องการของวิตามิน A ในไก่แต่ละประเภท

  7. ความเป็นพิษ (Toxicity) สัตว์ได้รับและเกิดอาการเป็นพิษขึ้นได้คือ 50-500 เท่าของความต้องการของร่างกาย ในไก่และสัตว์อื่นแม้ได้รับวิตามิน A 1,000,000-1,500,000 IU/kg อาการเป็นพิษของวิตามิน A ขั้นรุนแรงแสดงออกให้เห็นคือ ลักษณะอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังหยาบกร้าน ผิวหนังอักเสบ อาการบวม และมีสะเก็ดแข็งที่เปลือกตา ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ มีจุดเลือดออกตามร่างกาย กระดูกสั้นหรือผิดปกติ โดยเกิดรอยแตกแยกทั่วไป ร่างกายบอบบางไปจนกระทั่งเกิดอาการตาย มีการสร้างน้ำเมือก และ keratin ในปริมาณมาก สัตว์ที่รับมากเกินไปเป็นเหตุให้เม็ดเลือดแดงสลายตัว และเป็นเหตุให้ Lipoprotein membrane แตกแยกอีกด้วย

  8. NewcastleDisease โรคนิวคาสเซิลเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Newcastle Disease Virus หรือParamyxovirus 1อยู่ในตระกูลParamyxoviridae ในสัตว์ปีกก่อให้เกิดอัตราการตายสูงถึง 100 % เป็นโรคที่สามารถแพร่เชื้อได้ในสัตว์ปีกเกือบทุก species สัตว์ปีกพวกไก่ (domestic chicken) ไก่งวง (turkey) นกพิราบ (pigeons) นกแก้ว (parrot) จะไวต่อโรคนี้มากที่สุด พบน้อยในเป็ด (duck) ห่าน (geese) ไก่ฟ้า (pheasant) นกกระทา (quail) ไก่ต๊อก (guinea) และนกขมิ้น (canaries) เป็นต้น โรคนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมากทั้งทางตรงและทางอ้อม การสูญเสียที่เห็นได้ชัดเจนจากลักษณะความรุนแรงของโรคที่ทำให้ไก่ป่วยตาย ผลผลิตไข่และเนื้อลดน้อยลง

  9. กลไกสารอาหารเพื่อต่อต้านโรคติดต่อ โดย Klasing (1998) ลักษณะของอาหารสามารถบ่งชี้ความอ่อนแอของสัตว์ปีกต่อการติดเชื้อ ผลของอาหารต่อการติดเชื้ออาจเกิดเนื่องจากระดับของสารอาหาร ในงานวิจัยนี้ศึกษาถึงการใช้สารอาหารผ่านกลไก 7 กลไกเพื่อให้สัตว์ปีกเกิดความต้านทานต่อการเกิดโรค ซึ่งกลไกที่ 4 สารอาหารบางชนิด เช่น กรดไขมัน และวิตามิน A, D และ E มีบทบาทควบคุมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยตรง โดยสารอาหารนั้นจะไปเกาะกับ receptor ที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการปล่อยสัญญาณ

  10. ผลของการเสริมระดับวิตามิน A ในอาหารต่อการผลิตไข่และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของไก่ไข่ในภาวะเกิด Heat stressed โดย Lin et al. (2002) The laying performance of hens abMeans with different superscripts in the same column differed significantly (P<0.05)

  11. The effects of supplemental vitamin A levels on antibody titers of Newcastle disease virus (log2)

  12. ในการทดลองที่ 2 ผลของการเสริมระดับวิตามิน A ที่ 4 ระดับคือ 3,000, 6,000, 9,000 และ 12,000 IU/kg ต่อภูมิคุ้มกันโรค Newcastle และอัตราส่วนของเม็ดเลือดขาวชนิด T cell ไก่ในการทดลองถูกนำไปเลี้ยงในที่ที่มีอุณหภูมิสูง (31.50C) เป็นเวลา 15 วัน หลังจากให้วัคซีนป้องกัน NDV ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า น้ำหนักไข่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในการเสริมระดับวิตามิน A ที่ 6,000 และ 9,000 IU/kg แต่การกินอาหาร อัตราการออกไข่และการสูญเสียน้ำหนักตัวไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญ ใน Treatment 1 วิตามิน A ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อภูมิคุ้มกันโรค NDV ในสภาพแวดล้อมทั่ว ๆ ไป หรือมีอากาศร้อน แต่จะมีผลต่ออัตราส่วนของ ά-naphthyl acetate esterase อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ การเสริมวิตามิน A มีผลอย่างมีนัยสำคัญยิ่งต่อภูมิคุ้มกันโรค NDV และอัตราส่วนของ ANAE (ά-naphthyl acetate esterase) เชิงบวก ใน Treatment 2

  13. ผลของการเสริมระดับวิตามิน A ในอาหารต่อการผลิตไข่และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของไก่ไข่ โดยCoskun et al. (1998) จากการศึกษาถูกออกแบบและแบ่งการทดลองที่มีความต่อเนื่องกัน 2 ส่วน เพื่อตรวจสอบผลของการเสริมระดับวิตามิน A ที่ 4 ระดับ (0, 4,000, 12,000 และ 24,000 IU/kg) ต่อผลผลิตไข่ ระดับวิตามิน A ในส่วนของของเหลวในน้ำเหลืองและเลือด รวมทั้งการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในไก่ไข่ การถ่ายโอนภูมิคุ้มกันจากแม่ไปสู่ลูก

  14. Results of analyses of the performance parameters of experimental groups1 abMean within rows with on common superscript differ significantly (P<0.05) 1Data are means of six replicates of 36 hens each

  15. Serum vitamin A levels of experimental group a-cMeans within rows with no common superscript differ significantly (P<0.05)

  16. Serum antibody titers at different phases of the first experiment a-cMeans within rows with no common superscript differ significantly (P<0.05)

  17. สรุป การให้ระดับวิตามิน A มีบทบาทควบคุมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยตรง ซึ่งในการทดลองกับแม่ไก่ไข่อาจส่งผลต่อภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ที่แม่ไก่ควรจะได้รับ และเมื่อมีการเสริมวิตามิน A ในอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อผลผลิตไข่ของแม่ไก่ การสร้างภูมิคุ้มกันโรค NDV และอัตราส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T cell แต่เมื่อมีการเสริมระดับวิตามิน A ปริมาณมากลงในอาหารของพ่อแม่ไก่ จะไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันของแม่ไก่ถูกถ่ายโอนไปสู่ลูกไก่ได้โดยผ่านทางไข่แดง ทั้งนี้ความต้องการวิตามิน A ต่อผลผลิตไข่ของแม่ไก่จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง และยังจะมีผลต่อการเพิ่มอัตราส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Tcell

  18. จบการนำเสนอ

More Related