1 / 21

กฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท

กฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท. โดย รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร น.บ.(เกียรตินิยมอันดับ) , น.บ.ท. ปริญญาโททางกฎหมาย (LL.M.)(Yale University) ปริญญาเอกทางกฎหมาย (J.S.D.)(Yale University). สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน. มาตรา ๑๐๑๒ ๑. ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ๒. ตกลง เข้ากัน เพื่อทำกิจการร่วมกัน

titania
Download Presentation

กฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท โดย รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร น.บ.(เกียรตินิยมอันดับ), น.บ.ท. ปริญญาโททางกฎหมาย (LL.M.)(Yale University) ปริญญาเอกทางกฎหมาย(J.S.D.)(Yale University)

  2. สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน • มาตรา ๑๐๑๒ ๑. ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ๒. ตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน ๓. มีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น

  3. ๑. ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป • ฎ.3657/2531 : นิติบุคคลอาจเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนได้ • การตั้ง บริษัทมหาชน จำกัด : บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปจะเริ่มตั้งบริษัทได้โดยจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ (ม. 16 พ.ร.บ. บริษัทมหาชน จำกัด) • ผู้เริ่มก่อการบริษัทจำกัด ม. 1097 ใช้คำว่า “บุคคลใดๆ” ตั้งแต่ 3 คนไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องเป็น “บุคคลธรรมดา” หรือไม่ [แต่ในทางปฏิบัตินายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิที่มีนิติบุคคลเป็นผู้เริ่มก่อการระเบียบสำนักงานทะเบียนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. 2549] • ห้ามบริษัท มหาชน จำกัด เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด ความตกลงใด ๆ ที่ฝ่าฝืนต่อข้อห้ามนี้เป็นโมฆะ (ม. 12 พ.ร.บ.บริษัท มหาชน จำกัด)

  4. ๒.ตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน๒.ตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน • การเข้ากัน คือการตกลงนำทุนมาเข้ากัน มาตรา 1026 บังคับว่าหุ้นส่วนทุกคนต้องนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้น สิ่งที่จะนำมาลงเป็นหุ้นนั้นอาจเป็น 1) เงินสด 2) ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่เงิน 3) แรงงาน • สิ่งที่นำมาลงเป็นหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นไม่จำเป็นต้องมีมูลค่าเท่ากัน แต่ในกรณีที่มีข้อสงสัย มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งซึ่งนำมาลงหุ้นด้วยกันนั้นมีค่าเท่ากัน

  5. ข้อสังเกต • ม. 1083 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดจะลงหุ้นด้วยแรงงานไม่ได้ เพราะจะสับสนกับการสอดเข้าไปจัดการงานของห้าง • แรงงานที่จะนำมาตีราคาเป็นทุนจดทะเบียนนั้น ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2549 ข้อ 45 ระบุว่า • ถ้าเป็นกรณีของทุนจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วน จะเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้วหรือกระทำในภายหลังก็ได้ • แต่แรงงานที่จะนำมาตีราคาเป็นหุ้นของบริษัทนั้นจะต้องเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว (ดู ม. 1108 (5) ด้วย)

  6. ทุนที่นำมาเข้ากันนี้จะกลายเป็นของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นไม่ใช่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ที่นำมาลงอีกต่อไป ยกเว้น กรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก ดังนั้นทุนที่นำมาลงนั้นก็เป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกัน ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในกิจการของห้างหุ้นส่วนก็ต้องถือว่าเป็นของหุ้นส่วนทุกคนร่วมกัน จนกว่าจะได้มีการแบ่งปันหรือมีการชำระบัญชีเมื่อเลิกห้าง (ดูฎีกาที่ 3133/2529)

  7. ฎีกาที่ 177/2472สองคนร่วมกันซื้อที่ดินด้วยประสงค์จะหากำไรมาแบ่งกัน ท่านว่าเป็นหุ้นส่วนกัน แม้จะใส่ชื่อผู้หนึ่งผู้ใดแต่เพียงผู้เดียวก็ดี หาทำให้ที่ดินเป็นสิทธิแก่ผู้นั้นไม่ ต้องเป็นของทั้งสองคนอันเป็นหุ้นส่วนกัน

  8. การลงทุนหรือการลงหุ้นร่วมกันเป็นเงื่อนไขสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนการลงทุนหรือการลงหุ้นร่วมกันเป็นเงื่อนไขสำคัญของความเป็นหุ้นส่วน • ฎ. 1399/2523 ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นหรือแรงงานมาลงหุ้น ถ้าไม่ได้ลงหุ้นแม้จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไรก็ไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วน • ฎ. 832/2492 การทำมาหาได้ร่วมกันฉันพี่น้องหรือการทำมาหากินฉันสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หากพิจารณาไม่ได้ความว่ามีการลงทุนเป็นหุ้นส่วนกันแล้วศาลก็ไม่แบ่งทรัพย์สินให้ในฐานะหุ้นส่วน • ฎ. 5252/2533 โจทก์และจำเลยต่างมีคู่สมรสก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและช่วยกันประกอบอาชีพรถรับส่งผู้โดยสาร ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่เป็นหุ้นส่วนตามป.พ.พ. มาตรา 1012

  9. การตกลงเข้ากันนั้น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันคือต้องล่มหัวจมท้ายกัน เป็นกิจการเดียวกันหรือต้องอยู่ฝ่ายเดียวกัน ถ้าเป็นผู้ซื้อก็เป็นฝ่ายผู้ซื้อด้วยกัน ไม่ใช่อยู่คนละฝ่ายหรือมีผลประโยชน์ขัดกัน • เมื่อต้องทำกิจการร่วมกัน มาตรา1038จึงห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วน ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ

  10. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่ห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายเพราะเหตุนั้นก็ได้ แต่ห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันทำการฝ่าฝืน

  11. ๓. มีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น • หากกิจการที่ทำนั้นไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะหากำไร แม้มีการแบ่งรายได้ หรือการซื้อทรัพย์สินมาแล้วแบ่งทรัพย์สินกัน ไม่ใช่การแบ่งกำไร ก็ไม่เป็นการเข้าหุ้นส่วนกัน • ฎ. 696/2484 สองคนร่วมกันซื้อที่ดินแปลงหนึ่งเมื่อซื้อแล้วเอาที่ดินแปลงนั้นมาแบ่งกัน ไม่ใช่สัญญาหุ้นส่วน • การแบ่งส่วนกำไรและขาดทุนนั้นเป็นไปตามสัดส่วนที่ลงหุ้นของหุ้นส่วนแต่ละคน (ม. 1044) แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงแบ่งส่วนกำไรหรือขาดทุนแตกต่างไปจากสัดส่วนของการลงหุ้นก็ได้

  12. ในการแบ่งส่วนกำไรและขาดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ลงแต่แรงงานของตนเป็นหุ้นนั้น ถ้าในสัญญาเข้าหุ้นส่วนได้ตีราคาแรงงานไว้เท่าใด ก็คำนวณแบ่งส่วนกำไรไปตามนั้น แต่ถ้าในสัญญาเข้าหุ้นส่วนไม่ได้ตีราคาค่าแรงไว้ การคำนวณส่วนกำไรของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ลงหุ้นด้วยแรงงานนั้นก็ให้เป็นไปตามส่วนถัวเฉลี่ยของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งได้ลงเงินหรือลงทรัพย์สินเข้าหุ้นในการนั้น (ม. 1028)

  13. ตัวอย่าง ก. ข. และ ค. ตกลงกันเข้าหุ้นส่วนเพื่อเปิดร้านขายกาแฟเอากำไรมาบ่งปันกัน ก. ออกเงิน 2แสนบาท ข. นำห้องแถวราคา 5 แสนบาทมาลงหุ้น ค. ลงหุ้นด้วยแรงงานแต่ไม่ได้ตีราคาแรงงานไว้ การหามูลค่าทุนเพื่อคำนวณส่วนกำไรของ ค. ก็ให้เป็นไปตามส่วนถัวเฉลี่ยของมูลค่าของเงินและทรัพย์สินที่ ก. และ ข. นำมาลงหุ้น คือ 350,000 บาท

  14. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันว่าถ้าห้างได้กำไรตนจะแบ่งเอากำไรเท่าไรหรือขาดทุนจะรับขาดทุนเท่าไรเพียงข้างเดียว มาตรา 1045 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหุ้นส่วนของผู้นั้นมีส่วนกำไรและส่วนขาดทุนเป็นอย่างเดียวกัน ตัวอย่าง ก ข และ ค ทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อดำเนินกิจการร้านขายกาแฟ โดย ก ตกลงกับ ข และ ค ว่าหากร้านได้กำไร ก จะขอแบ่งส่วนกำไร 30% โดยไม่ได้กล่าวถึงเรื่องขาดทุนเอาไว้เลย ดังนี้มาตรา 1045 สันนิษฐานไว้ว่า หากร้านขาดทุน ก ก็ต้องรับส่วนขาดทุน 30% เช่นกัน

  15. ฎีกาที่ 817/2476 หุ้นส่วนที่ได้มีข้อตกลงแบ่งส่วนกำไรนั้น ถ้าขาดทุนก็ต้องขาดทุนด้วยตามส่วนที่ได้กำไรแม้เป็นเพียงหุ้นส่วนที่ลงแรงงาน • การตกลงว่าหุ้นส่วนบางคนจะรับแต่ส่วนขาดทุนอย่างเดียวโดยไม่รับแบ่งกำไรด้วยนั้นทำไม่ได้ เพราะขัดกับมาตรา 1012 • ปัญหาว่าจะตกลงกันให้หุ้นส่วนบางคนได้รับแต่ส่วนแบ่งผลกำไรโดยไม่ต้องร่วมขาดทุนด้วยได้หรือไม่? เรื่องนี้มีความเห็นเป็นสองแนวทาง คือ:

  16. ๑.มาตรา 1012 ไม่ได้ระบุว่าจะต้องร่วมขาดทุนด้วย และมาตรา 1025 บังคับว่าหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัด การมีข้อตกลงภายในว่าหุ้นส่วนบางคนจะไม่ร่วมขาดทุนด้วยไม่มีผลกระทบต่อเจ้าหนี้ของห้างแต่อย่างใด ๒. ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าการที่หุ้นส่วนบางคนยอมรับแต่ผลกำไรอย่างเดียวโดยไม่ร่วมขาดทุนด้วยนั้น ไม่ถือเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน (ฎีกาที่ 1375/2513)

  17. ประเภทของห้างหุ้นส่วนประเภทของห้างหุ้นส่วน • มี 2 ประเภท คือ • ห้างหุ้นส่วนสามัญ: เป็นห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างโดยไม่มีจำกัด (ม. 1025)ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ หากจะทะเบียนแล้วก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคล เรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • ห้างหุ้นส่วนจำกัด: เป็นห้างหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่ 2 จำพวก คือ 1) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกนี้จะรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างไม่เกินจำนวนที่ตามรับว่าจะลงหุ้น 2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกนี้จะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดานี้สินของห้างโดยไม่มีจำกัดจำนวน

  18. ผลของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน(ม.1015)ผลของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน(ม.1015) • มีสภาพเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งมีผล คือ 1) มีสิทธิและหน้าที่ของตนแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน 2) มีสิทธิใช้ชื่อของตนเอง 3) มีสิทธิที่จะฟ้องคดีหรือถูกฟ้องคดีได้หรือร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดี 4) มีภูมิสำเนาเป็นของตนเอง 5) มีสัญชาติของตนเอง

  19. ฎ. 1525/2495 การฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยนั้น โจทก์เพียงแค่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลย โดยไม่ระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลมาด้วยก็ได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย • ฎีกาที่ 3625/2546โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามป.พ.พ. และมิได้มีกำหมายใดกำหนดให้โจทก์เป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ไม่อาจเข้าเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

  20. ฎ. 2082/2543 คณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรมีหน้าที่ยืนรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยบุคคลแต่ละคนในคณะบุคคลไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลนั้นเพื่อเสียภาษีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งลักษณะ 22 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015 คณะบุคคล บังอร - พงศ์วิทย์ ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่า นางบังอรและนายพงศ์วิทย์ ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงไม่ใช่บุคคลธรรมดาด้วยเช่นกันจึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

  21. ฎีกาที่ 4264/2547โจทก์และ ส. ตกลงกันเข้าเป็นหุ้นส่วนทำกิจการบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ แม้ในการทำสัญญาขายที่ดินพร้อมอาคารแก่จำเลยจะได้มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนอันมีผลทำให้โจทก์และ ส. ผูกพันตามสัญญาที่ ว. ทำไว้กับจำเลยซึ่งโจทก์หรือ ส. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยลำพังก็ตาม แต่การฟ้องคดีก็ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เมื่อโจทก์และ ส. ยังเป็นหุ้นส่วนกันอยู่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เฉพาะส่วนของตนกึ่งหนึ่ง จึงเป็นการฟ้องเรียกหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องได้

More Related