1 / 42

การเสวนาเรื่อง “แนวทางการประกันภัยพืชผลการเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ” จัดโดย

การประกันภัยพืชผล (Crop Insurance): รูปแบบและประสบการณ์จากต่างประเทศ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย. อรศรัณย์ มนุอมร Operations Analyst ธนาคารโลก. การเสวนาเรื่อง “แนวทางการประกันภัยพืชผลการเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ” จัดโดย

thiery
Download Presentation

การเสวนาเรื่อง “แนวทางการประกันภัยพืชผลการเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ” จัดโดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประกันภัยพืชผล (Crop Insurance):รูปแบบและประสบการณ์จากต่างประเทศ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย อรศรัณย์ มนุอมร Operations Analyst ธนาคารโลก การเสวนาเรื่อง “แนวทางการประกันภัยพืชผลการเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ” จัดโดย คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่การเกษตร และชุมชนที่ประสบภัยธรรมชาติ 22 กันยายน 2552 ณ อาคารรัฐสภา 2

  2. เนื้อหา 1. รูปแบบการประกันภัยพืชผล และกรณีศึกษาของต่างประเทศ 2. รูปแบบต่างๆ ของการประกันภัยข้าว 3.บทบาทของภาครัฐและเอกชนในการประกันภัยภาคการเกษตร 4. ข้อเสนอแนะบางประการสำหรับประเทศไทย

  3. 1. รูปแบบการประกันภัยพืชผล และกรณีศึกษาของต่างประเทศ

  4. วิธีการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่กระทบเกษตรกรรายย่อยวิธีการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่กระทบเกษตรกรรายย่อย ระดับความรุนแรงของความเสี่ยง

  5. รูปแบบการประกันภัยพืชผลต่างๆรูปแบบการประกันภัยพืชผลต่างๆ • 1. คุ้มครองความผันแปรของปริมาณผลผลิต (production risk) • การประกันภัยพืชผลที่ตั้งอยู่บนการชดเชย • (indemnity-based insurance) • การประกันภัยพืชผลที่ใช้ดัชนี • (index-based insurance) • 2. คุ้มครองความผันแปรของปริมาณผลผลิต (production risk)และราคา(price risk) • การประกันรายได้จากพืชผล • (revenue insurance)

  6. รูปแบบการประกันภัยพืชผลต่างๆรูปแบบการประกันภัยพืชผลต่างๆ

  7. 1. การประกันแบบกำหนดชนิดภัย (Named Peril) ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช ภัยที่ประกัน: เหมาะสำหรับภัย เช่น ลูกเห็บ ไฟไหม้ น้ำค้างแข็ง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายที่กระทันหันและวัดได้ ความคุ้มครองที่พบบ่อยที่สุดคือ ประกันลูกเห็บ หน่วยที่ประกัน: ฟาร์ม หรือแปลงภายในฟาร์ม วงเงินประกัน:เกษตรกรสามารถเลือกวงเงินต่างๆได้ ภายในขอบเขตที่กำหนด ค่าสินไหมทดแทน:ตั้งอยู่บนความเสียหายทางกายภาพ โดยวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความเสียหายแล้วคูณกับวงเงินประกัน ลบด้วยการรับผิดส่วนแรก (deductible) การรับผิดส่วนแรก :เกษตรกรมักจะรับความเสียหายบางส่วน ในรูปแบบของการประกันภัยร่วม (coinsurance)ขีดปลอดความรับผิด(franchise)หรือการรับผิดส่วนแรก (deductible) การประเมินความเสียหาย: ความเสียหายจะถูกประเมินที่แปลง เป็นรายแปลง ณ เวลาที่เกิด การประภันภัยลูกเห็บถูกดำเนินการโดยบริษัทเอกชนมามากกว่า 100ปี โดยปราศจากการอุดหนุนจากรัฐ

  8. 1. การประกันแบบกำหนดชนิดภัย (Named Peril) * ความเสี่ยงพื้นฐานคือ การที่ค่าสินไหมไม่ตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

  9. 2.การประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI) ของเกษตรกรรายบุคคล ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช ภัยที่ประกัน:ภัยทุกชนิด ในทางปฏิบัติ กรมธรรม์แบบรวมหลายภัยทำหน้าที่เสมือน “หลักประกันแทนผลผลิตที่ขาดไป” (Yield Shortfall Guarantee) หน่วยที่ประกัน: แปลงทุกแปลงภายในฟาร์มที่ปลูกพืชที่ทำประกัน ระดับผลผลิตที่ประกัน:สัดส่วนเปอร์เซ็นต์(โดยปกติอยู่ที่50-75%) ของระดับผลผลิตเฉลี่ยย้อนหลังของเกษตรกรแต่ละรายหรือของภูมิภาคที่ฟาร์มตั้งอยู่ วงเงินประกัน:ระดับผลผลิตที่ประกัน คูณด้วยราคาล่วงหน้า (forward price) ของผลผลิตสำหรับเดือนที่จะเก็บเกี่ยวหรือวงเงินกู้ที่เกษตรกรกู้มาลงทุนเพาะปลูก เลือกเอาจำนวนใดก็ได้ที่มูลค่าน้อยกว่า ค่าสินไหมทดแทน:คำนวนโดยใช้ส่วนต่างระหว่างผลผลิตจริง(Actual Yield) จากแปลงที่ทำประกัน กับระดับผลผลิตที่ประกัน (insured yield) คูณด้วยวงเงินประกัน (Sum Insured) การประเมินความเสียหาย:ต้องประเมินความเสียหายแบบแปลงต่อแปลงในช่วงเวลาก่อนเก็บเกี่ยว ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะแยกและคำนวนความเสียหายที่เกิดจากต่างภัยกัน โครงการประกันหลายภัย MPCI หลักๆ ทั่วโลกนั้นต้องพึ่งการอุดหนุนจากรัฐทั้งในส่วนของค่าเบี้ยประกันภัย การประกันภัยต่อ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ

  10. 2.การประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI) ของเกษตรกรรายบุคคล *การเลือกที่ขัดประโยชน์ (adverse selection) คือสถานการณ์ที่ผู้ที่มีแต่ความเสี่ยงสูงเลือกทำประกัน **ภาวะภัยทางศีลธรรม (moral hazard) คือสถานการณ์ที่พฤติกรรมของผู้เอาประกันเองมีอิทธิพลต่อการได้รับค่าสินไหมมากขึ้น

  11. 3. การประกันภัยแบบดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่(Area Yield Index Insurance) ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช หรือ ระดับมหภาคสำหรับรัฐ หรือจังหวัด ภัยที่ประกัน:ภัยทุกชนิด ในทางปฏิบัติ กรมธรรม์แบบดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่ทำหน้าที่เสมือน “หลักประกันแทนผลผลิตที่ขาดไปของเขตพื้นที่” (Area Yield Shortfall Guarantee) หน่วยที่ประกัน: เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่นขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เช่น เขต จังหวัด ฯลฯยิ่งเขตที่กำหนดไว้เล็กเท่าไหร่ ความคุ้มครองจากกรมธรรม์ก็ยิ่งใกล้เคียงกับความเสียหายจริงมากเท่านั้น ระดับผลผลิตที่ประกัน:สัดส่วนเปอร์เซ็นต์(โดยปกติอยู่ที่50-75%) ของระดับผลผลิตเฉลี่ยย้อนหลังของเขตพื้นที่ประกันที่กำหนดไว้ วงเงินประกัน:ระดับผลผลิตที่ประกันไว้ คูณด้วยราคาล่วงหน้า (forward price) ของผลผลิตสำหรับเดือนที่จะเก็บเกี่ยวหรือวงเงินกู้ที่เกษตรกรกู้มาลงทุนเพาะปลูก หรือจำนวนอื่นที่ตกลงกัน ค่าสินไหมทดแทน:คำนวนโดยใช้ส่วนต่างระหว่างผลผลิตจริงเฉลี่ย(Actual Average Yield) ของเขตพื้นที่ประกันที่กำหนดไว้กับระดับผลผลิตที่ประกัน (Insured Yield)คูณด้วยวงเงินประกัน (Sum Insured) การประเมินความเสียหาย:เกษตรกรทุกคนที่อยู่ในเขตพื้นที่ประกันเดียวกันจะถูกถือว่ามีความเสียหายเท่ากัน ประเมินโดยใช้ข้อมูลผลผลิตจริงประจำปีของเขตพื้นที่ประกัน จะไม่มีการประเมินความเสียหายที่แปลงปลูก ประสบการณ์นำไปใช้: อินเดีย (NAIS); แคนาดา; สหรัฐ (GRP), บราซิล (GRM)

  12. 3. การประกันภัยแบบดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่(Area Yield Index Insurance)

  13. 4. การประกันภัยแบบดัชนีสภาพอากาศ (Weather Index Crop Insurance) ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช หรือ ระดับมหภาคสำหรับรัฐ หรือจังหวัด ภัยที่ประกัน:จำกัดแค่ตัวแปรทางสภาพอากาศ ซึ่งวัดที่สถานีตรวจวัดที่ใกล้ที่สุด เช่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ หน่วยที่ประกัน: เกษตรกรรายบุคคลที่อยู่ภายในรัศมีของสถานีตรวจวัดอากาศอ้างอิง วงเงินประกัน:ส่วนใหญ่จะใช้ต้นทุนการผลิต แต่เกษตรกรสามารถเลือกวงเงินที่แตกต่างออกไปได้ ค่าสินไหมทดแทน:ใช้การวัดค่าตัวแปรสภาพอากาศเพียงอย่างเดียวตามสูตรที่ได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ สิ่งสำคัญคือ ดัชนีขั้นต่ำ(triggers) ดัชนีขั้นสูง(limits) และตารางแสดงขั้นการชดเชยภายในช่วงเวลาความคุ้มครอง การรับผิดส่วนแรก: ไม่มีการกำหนดจำนวนการรับผิดส่วนแรก แต่การเลือกค่าของดัชนีขั้นต่ำ (ซึ่งคือจุดที่กรมธรรม์เริ่มจ่ายค่าสินไหม) ถีอว่าเป็นการกำหนดค่าความรับผิดส่วนแรกไปในตัว การประเมินความเสียหาย:จะไม่มีการประเมินความเสียหายที่แปลงปลูก ค่าดัชนีจะถูกวัดที่สถานีตรวดวัดอ้างอิง เกษตรกรทุกคนที่อยู่ในเขตสถานีเดียวกันจะถูกถือว่ามีความเสียหายเท่ากัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพแต่ก็ยังค่อนข้างใหม่ ได้รับความสนใจมากเนื่องจากข้อดีในการประกันเกษตรกรรายย่อย การพัฒนาตลาดอย่างเต็มรูปแบบยังจำกัดอยู่แค่ที่อินเดีย (สำหรับเกษตรกร) และเม็กซิโก (สำหรับผู้เอาประกันที่เป็นสถาบัน)

  14. 4. การประกันภัยแบบดัชนีสภาพอากาศ (Weather Index Crop Insurance)

  15. 5. การประกันภัยแบบดัชนีการเจริญเติบโตของพืช NDVI ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช หรือ ระดับมหภาคสำหรับรัฐ หรือจังหวัด ภัยที่ประกัน: ที่ผ่านมาใช้กับการประกันทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เท่านั้น หน่วยที่ประกัน:ขึ้นอยู่กับค่าความกว้างและยาวและความคมชัด (resolution) ของภาพถ่ายดาวเทียม(เช่นดาวเทียมNOAA = 1.1 กม2) หน่วยที่ประกัน: เปอร์เซ็นต์ค่าการผลิตมวลสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่ (biomass production) จากฤดูกาลที่แล้ว วงเงินประกัน:จำนวนที่ตกลงกัน เช่น จำนวนที่กำหนดต่อเฮคแตร์(hectare) หรือค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสัตว์ ค่าสินไหมทดแทน:ขั้นการจ่ายค่าสินไหมสามารถถูกกำหนดตามหลักการเดียวกับดัชนีสภาพอากาศ การประเมินความเสียหาย:ดัชนีการเจริญเติบโตของพืช (ซึ่งใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศ) ถูกวัดโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพียงอย่างเดียว ค่าของดัชนีสะท้อนให้เห็นการเติบโตของพืชในฤดูกาลหนึ่งๆ แล้วใช้ค่าเปรียบเทียบกับฤดูกาลที่ผ่านๆมา ผลิตภัณฑ์ประกันภัยนี้กำลังอยู่ในขั้นทดลองในบางประเทศ เช่นเม็กซิโก สเปน แคนาดา สหรัฐ ถึงแม้ว่าNDVIจะถูกใช้อยู่อย่างแพร่หลายอยู่แล้วในการเฝ้าระวังความมั่นคงทางอาหาร (food security) รวมทั้งการประยุกต์ใช้อื่นๆ นอกเหนือจากการประกันภัย

  16. 5. การประกันภัยแบบดัชนีการเจริญเติบโตของพืช NDVI

  17. 6. การประกันรายได้จากพืชผล (Crop Revenue Insurance) • ผลประโยชน์ที่ได้รับการประกันคือรายได้จากพืชผล ไม่ใช่ตัวการผลิตเอง • การประกันภัยรายได้คือส่วนผสมของ กรมธรรม์แบบหลายภัย(MPCI)กับการประกันราคามีรูปแบบผลิตภัณฑ์สี่แบบ คือ • Crop Revenue Coverage (MPCI + forward contract) • Revenue Assurance (MPCI +base price option – put -) • Income Protection (Area Yield Index +base price option – put -) • Group Risk Income Protection (Area Yield Index +forward contract) • รายได้ที่รับการประกัน (USD/ha) ถูกกำหนดไว้เป็นเปอร์เซ็นต์ (โดยปกติอยู่ที่ 60%-75%) ของระดับผลผลิตเฉลี่ยย้อนหลังของเกษตรกร คูณด้วยราคาล่วงหน้าของผลผลิตสำหรับเดือนที่จะเก็บเกี่ยว • ค่าสินไหมทดแทน:ขึ้นอยู่กับกรณีที่ผลผลิตตกต่ำ ราคาตกต่ำ หรือทั้งสองอย่าง • อัตราค่าสินไหม • ส่วนประกันผลผลิต: คำนวนโดยคิดถึงความผันแปรของระดับผลผลิตเฉลี่ยรายปีย้อนหลังของเกษตรกร • ส่วนประกันราคา : คำนวนโดยใช้ราคาตลาด • ประสบการณ์นำไปไช้: ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง ในบางรัฐ ของสหรัฐอเมริกา

  18. 6. การประกันรายได้จากพืชผล (Crop Revenue Insurance)

  19. ภาพรวมของการประกันภัยภาคการเกษตรในระดับโลกภาพรวมของการประกันภัยภาคการเกษตรในระดับโลก มูลค่าประเมินของเบี้ยประกันภัยภาคการเกษตรทั่วโลกอยู่ที่ 16.5 พันล้านยูโร Source: Paris Re, 2008

  20. 2. รูปแบบต่างๆ ของการประกันภัยข้าว

  21. ตัวอย่างประสบการณ์จากประเทศต่างๆตัวอย่างประสบการณ์จากประเทศต่างๆ

  22. การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ดัชนีน้ำท่วมสำหรับข้าว ในจังหวัดเพชรบูรณ์ระหว่างปี 2548-2551 • โดยธนาคารโลก ธกส. สมาคมประกันวินาศภัย และหน่วยงานอื่นๆ • ผลการศึกษา คือ การออกแบบดัชนีน้ำท่วมสำหรับข้าว เพื่อประกันเกษตรกรรายย่อย(micro-level index)เป็นไปได้ยาก • พื้นที่ศึกษามีการกระจุกตัวของความเสี่ยงเนื่อง • มีปัญหาน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งไม่สามารถวัดโดยดัชนีได้ • ช่วงการเพาะปลูกข้าว(crop calendar) ของเกษตรกรในพื้นที่มีความหลากหลายมาก • ไม่มีข้อมูล GIS เกี่ยวกับแปละเพาะปลูกของเกษตรกรอย่างละเอียดในเขตพื้นที่ • ข้อเสนอแนะ ดัชนีน้ำท่วมระดับมหภาค (macro-level indexes)อาจมีความเป็นไปได้มากกว่า

  23. 3.บทบาทของภาครัฐและเอกชนในการประกันภัยภาคการเกษตร3.บทบาทของภาครัฐและเอกชนในการประกันภัยภาคการเกษตร

  24. กรอบความคิดเรื่ององค์กร-เอกชนหรือ รัฐควรจะใช้โมเดลใด? + ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) บทบาทของรัฐบาล + - ประเภทผลิตภัณฑ์ Source: Munich Re

  25. กรอบความคิดเรื่ององค์กร-เอกชนหรือ รัฐควรจะใช้โมเดลใด? 1) การประกันภัยพืชผลโดยภาครัฐ - อินเดีย(1 บริษัทประกันภัยแห่งชาติ), ฟิลิปปินส์(1 บริษัทประกันภัยแห่งชาติ),แคนาดา(1 บริษัทต่อแคว้นการปกครอง), กรีซ, ไซปรัส,คอสตาริกา, ปานามา, ซูดาน 2) การประกันภัยโดยเอกชน โดยปราศจากการช่วยเหลือจากรัฐ - เยอรมันนี, ฝรั่งเศส, สวีเดน, สหรัฐ(เฉพาะประกันภัยลูกเห็บ), แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อาร์เจนตินา 3) ประกันภัยโดยเอกชน แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ(PPP) • ระบบพูลรับประกันภัยแบบผูกขาด (Monopoly “Pool” Insurance Arrangements): สเปน(Agroseguro),เกาหลีใต้(NACF),ตุรกี(Tarsim) • ระบบที่มีบริษัทเอกชนหลายบริษัท (Individual Private Commercial Insurers): - แข่งขันกันเพื่อขยายธุรกิจ แต่อาจจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การออกแบบกรมธรรม์ หรือเกณฑ์การตั้งค่าเบี้ยประกันอย่างเคร่งครัด จึงจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ - ตัวอย่างคือสหรัฐ (MPCI), โปรตุเกส (มีการควบคุมกรมธรรม์และค่าเบี้ยประกันอย่างเข้มงวด), อิตาลี,ชิลี

  26. การสนับสนุนของรัฐบาลต่อการประกันภัยภาคการเกษตรในประเทศต่างๆการสนับสนุนของรัฐบาลต่อการประกันภัยภาคการเกษตรในประเทศต่างๆ Sources:Adapted From Charles Stutley, 2007 Public Intervention in Agricultural Insurance in Developing Countries. World Bank, 2009 (Inedited)

  27. 4.ข้อเสนอแนะบางประการ สำหรับประเทศไทย

  28. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการประกันภัยข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการประกันภัย • ไม่มีรูปแบบการประกันภัยใดที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ ทุกรูปแบบมีความแตกต่างกัน • การพิจารณาความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ควรคำนึงถึง: - ชนิดของพืช - ภัยหลักและการกระจุกตัวของภัย - ความพร้อมทางด้านข้อมูล - ขนาดของฟาร์ม - ช่องทางการเข้าถึงเกษตรกร • ควรจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้ครอบคลุม รวมทั้ง -การประกันแบบกำหนดชนิดภัย(named peril)ที่ใช้การวัดความเสียหายทางกายภาพ - หาโอกาสที่จะพัฒนาการประกันภัยแบบดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่(area yield index) - สานต่อการวิจัยและโครงการนำร่องการประกันภัยแบบดัชนีสภาพอากาศ(weather index) • ควรระมัดระวังที่จะไม่พึ่งพาการประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI) ของเกษตรกรรายบุคคลมากเกินไป

  29. ข้อเสนอแนะด้านบทบาทรัฐ • ควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินงานประกันภัยพืชผลในกรณีที่ทำได้ • รัฐบาลสามารถมีบทบาทสำคัญในการประกันภัยต่อความเสี่ยงขั้นวิกฤต(reinsurance) • ใช้ความระวัดระวังอย่างสูงสุดในกรณีให้เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันสามารถส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันอาจก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรรายใหญ่เป็นสัดส่วนที่มากเกินไป • ก่อให้เกิดภาระทางการเงินอย่างมหาศาลแก่สังคม • ในกรณีที่จำเป็นต้องให้การอุดหนุนเบี้ยประกัน ควรจะ • มีการวางแผนและจำกัดวงเงินไว้ล่วงหน้า(เช่น โดยกำหนดเพดานขั้นสูงกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการช่วยเหลือกำหนดแผนยุติการอุดหนุนที่ชัดเจน) • ควรอุดหนุนเฉพาะส่วนของค่าเบี้ยประกันที่เกิดจากการบริหารจัดการเพื่อให้ค่าเบี้ยในส่วนที่เป็นค่าความเสี่ยง (pure risk cost)ยังสามารถสะท้อนระดับความเสี่ยงจริงในแต่ละพื้นที่ • การให้การสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่น ลงทุนติดตั้งสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ, การเก็บและเผยแพร่ข้อมูล, การออกแบบผลิตภัณฑ์, และการตั้งค่าเบี้ยประกันที่ถูกต้อง • อาจจะจัดทำแผนเชิงยุทธศาสตร์การประกันภัยภาคการเกษตรแห่งชาติ(national strategic plan)

  30. ขอบคุณ

  31. ภาคผนวก Slides เสริม

  32. กำไร ต้นทุนของเงินทุน ต้นทุนการผลิต ส่วนบวกเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง ส่วนบวกเพิ่มเพื่อรับมหันตภัย ต้นทุนสำหรับจำนวนค่าสินไหมทดแทน (Loss Cost) ส่วนประกอบต่างๆของค่าเบี้ยประกันภัย อัตราเบี้ยประกันภัยรวม Original Gross Premium ค่าเสียโอกาสของเงินทุน ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าประเมินและจัดการค่าสินไหมทดแทน อัตราเทคนิค Technical Premium ส่วนบวกเพิ่มเนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ ส่วนบวกเพิ่มเพื่อรับมือกับกรณีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อัตราจำนวนค่าสินไหมทดแทน Pure Loss Cost Premium ค่าการจ่ายสินไหมเฉลี่ย / อัตราส่วนความเสียหายที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลชุดต่างๆ

  33. ข้อสรุปเกี่ยวกับการตั้งราคาเบี้ยประกันข้อสรุปเกี่ยวกับการตั้งราคาเบี้ยประกัน • ต้องคำนึงถึงส่วนประกอบทุกส่วนของเบี้ยประกัน • สามารถหาความสมดุลย์ระหว่างความคุ้มครอง กับราคาเบี้ยประกัน โดยปรับส่วนต่างๆ เช่น ความคุ้มครองส่วนเกิน, ชนิดของภัยที่คุ้มครอง ฯลฯ • ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจาราณา คือ - ความสามารถในการจ่ายค่าเบี้ยประกันของเกษตรกร - ผลิตภัณฑ์สามารถให้ความคุ้มครองที่เกิดประโยชน์หรือไม่? - พืชที่ประสบความเสี่ยงสูง (ทั้งในด้านความถี่ และความรุนแรงของภัย) อาจไม่สามารถทำประกันได้และต้องไม่รวมไว้ในความคุ้มครอง - อัตราเบี้ยประกันที่สูงมากอาจแสดงว่าการปลูกพืชนั้นๆในพื้นที่ประกันไม่ใช่การลงทุนที่เหมาะสม

  34. โมเดลที่1.การประกันภัยพืชผลโดยภาครัฐ- ลักษณะที่สำคัญ • มักจะดำเนินการโดยบริษัทประกันแห่งชาติที่ผูกขาด • มักจะรับประกันโดยใช้การประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI) • กรมธรรม์มีลักษณะมาตรฐาน - ไม่มีการแข่งขันเพื่อให้ทางเลือกรูปแบบกรมธรรม์และเงื่อนไขความคุ้มครองกับเกตรกร • ใช้อัตราเบี้ยประกันเดียวต่อพืช และต่อพื้นที่ - ไม่มีการแข่งขันในด้านราคา • การอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน - เป็นสิ่งจำเป็นต่อการประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI)ซึ่งมีอัตราเบี้ยประกันที่สูง (5% ถึง15%) • การประกันภัยต่อโดยภาครัฐ

  35. โมเดลที่1.การประกันภัยพืชผลโดยภาครัฐโมเดลที่1.การประกันภัยพืชผลโดยภาครัฐ ตัวอย่าง บริษัทประกันภัยแห่งชาติอินเดีย (AICI)

  36. โมเดลที่1.ตัวอย่าง:บรรษัทประกันภัยฟิลิปปินส์Philippines CropInsurance Corporation (PCIC) • สรุปการดำเนินงานของ PCIC - เริ่มดำเนินงานตั้งแต่2524จนถึงปัจจุบัน - พืชหลักที่ประกันคือข้าวและข้าวโพด - ผลิตภัณฑ์หลักคือ MPCI ซึ่งให้ความคุ้มครองภัยทางธรรมชาติ และทางชีวภาพทุกชนิด - ครอบคลุมเกษตรกรเป็นจำนวนน้อยมาก และมีแนวโน้มลดลง(2.7% ของการเพาะปลูกข้าวทั้งประเทศ) - รัฐบาลเป็นเจ้าของ ขายประกันโดยเชื่อมโยงกับสินเชื่อทางการเกษตร - มีการอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย • สรุปข้อจำกัดที่PCIC ประสบ - ปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างของ MPCIเอง(คือ การให้ความคุ้มครองทุกภัย) - การประเมินความเสียหาย (ก่อความท้าทายทั้งในด้านการบริหารจัดการและต้นทุน) - มีแต่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงสูงทำประกัน,ค่าบริหารจัดการสูง, ยอดรวมธุรกิจต่ำ - รัฐบาลมีงบประมาณไม่พอที่จะอุดหนุนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทำให้ติดค้างค่าอุดหนุนเบี้ยประกันกับ PCIC (และทำให้ PCIC ไม่สามารถรับประกันได้มาก) - ไม่มีนวัตกรรมและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์

  37. โมเดล2. การประกันภัยโดยเอกชน (โดยปราศจากการช่วยเหลือจากรัฐ) • ประเทศหลักๆ ที่ใช้ - เยอรมันนี, ฝรั่งเศส, สวีเดน, สหรัฐ(เฉพาะประกันภัยลูกเห็บ), ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อาร์เจนตินาม, แอฟริกาใต้ • ประเภทของบริษัทประกันภัยเอกชน: - บริษัทประกันภัยเฉพาะทางเพื่อการเกษตรและ บริษัทประกันวินาศภัยทั่วไป - โดยปกติจะมีประมาณ5-10 บริษัทหรือองค์กรรับประกันภัยในหนึ่งประเทศ • ผลิตภัณฑ์ประกันภัยหลัก - แบบกำหนดภัยชนิดเดียว (Single Peril) (ลูกเห็บ) และแบบกำหนดชนิดภัย(Named Perils)(น้ำค้างแข็ง,ฝนตกหนัก, ลมพายุ) - หลายประเทศมีผลิตภัณฑ์ประกันปศุสัตว์ด้วย เช่น เยอรมันนี • บริษัทต่างแข่งขันกันในหลายๆ ด้าน เช่น: • กลุ่มประเภทความคุ้มครอง (Insured classes agriculture), ผลิตภัณฑ์ และกรมธรรม์ • ทางเลือกด้านอัตรา และการรับผิดส่วนแรก • ภูมิภาคที่ให้ความคุ้มครอง • การเลือกรับหรือไม่รับประกันเกษตรกรแต่ละราย • ไม่มีการช่วยเหลือในรูปแบบใดๆ จากรัฐบาล • ทำการประกันภัยต่อกับภาคเอกชนด้วยกันเอง

  38. โมเดล3a. พูลรับประกันภัยเอกชนที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ตัวอย่าง: AGROSEGURO,สเปน

  39. โมเดล3b. พูลรับประกันภัยเอกชนที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ตัวอย่างFederal Crop Insurance, สหรัฐอเมริกา

  40. เหตุผลในการจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันเหตุผลในการจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน • เกษตรกร: - เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการประกันภัย (โดยทำให้ค่าเบี้ยประกันอยู่ในระดับที่จ่ายได้) - เพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการเกษตร(ใช้แทนหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงิน) - การประกันภัยทำให้รายได้มีเสถียรภาพ และเพิ่มความสามารถในการจ่ายคืนสินเชื่อ • บริษัทประกันภัย: - ทำให้สามารถเก็บค่าเบี้ยประกันในอัตราที่ถูกต้องตามคณิตศาสตร์ประกันภัยได้ ซึ่งมักเป็นอัตราที่สูง(สำหรับMPCIอยู่ที่ประมาณ5% ถึง15%) - ทำให้มีผู้ประกันมากขึ้นและกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น • รัฐบาล: - เพื่อให้แรงจูงใจกับเกษตรกรในการทำประกัน - เพื่อทดแทนระบบการชดเชยที่ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวด้วยการประกันภัย - ทำให้รายได้จากเกษตรกรรมมีเสถียรภาพ - เพื่อจุดมุ่งหมายทางสังคม (เช่น ลดการอพยพจากชนบทเข้าสู่เมือง?)

  41. ข้อสรุปเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันข้อสรุปเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันเป็นรูปแบบการสนับสนุนที่รัฐบาลใช้กันมากที่สุด แต่ - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันสามารถก่อให้เกิดภาวะภัยทางศีลธรรม และส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรรายใหญ่เป็นสัดส่วนที่มากเกินไป - ก่อให้เกิดภาระทางการเงินอย่างมหาศาลแก่สังคม(เช่น กรณีของสหรัฐและยุโรป) ประเทศกำลังพัฒนาเป็นจำนวนน้อยมีความสามารถรับภาระทางการเงินเช่นนี้ได้ • ในกรณีที่จำเป็นต้องให้การอุดหนุนเบี้ยประกัน ควรจะมีการวางแผนและจำกัดวงเงินไว้ล่วงหน้า(เช่น โดยกำหนดเพดานขั้นสูงกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการช่วยเหลือกำหนดแผนยุติการอุดหนุนที่ชัดเจน) • ควรอุดหนุนเฉพาะส่วนของค่าเบี้ยประกันที่เกิดจากการบริหารจัดการ เพื่อให้ค่าเบี้ยในส่วนที่เป็นค่าความเสี่ยงยังสามารถสื่อความหมายกับเกษตรกรถึงระดับความเสี่ยงจริงในแต่ละพื้นที่ - การอุดหนุนจากรัฐบาลจะมีประสิทธิภาพมากกว่าถ้า: • ใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการบริหารความเสี่ยงในภาคเกษตรกรรม - เพิ่มคุณภาพของข้อมูล และเครือข่ายอุตุนิยมวิทยา • การฝึกทักษะ การให้ความรู้ การวิจัยและพัฒนา และการบริการต่างๆต่อเกษตรกร • สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับการเข้ามามีบทบาทของภาคเอกชน • ช่วยรับความเสี่ยงทางการเงินจากภัยขั้นวิกฤต/ประกันภัยต่อ

  42. บทบาทของรัฐบาลในการรับความเสี่ยงทางการเงินบทบาทของรัฐบาลในการรับความเสี่ยงทางการเงิน โมเดลการรับความเสี่ยง • ควรส่งเสริมการประกันภัย และการประกันภัยต่อโดยภาคเอกชนในกรณีที่ทำได้ • ช่วงชั้นความเสี่ยงบางชั้นของภัยร้ายแรง(เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ)จะไม่สามารถประกันได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากรัฐ • การที่รัฐบาลเข้าช่วยในการประกันภัยต่อถือเป็นการวางแผนล่วงหน้าเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง • การประกันภัยต่อโดยรัฐเป็นการใช้ทรัพยากรทางการเงินที่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับการอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน ความถี่ของภัย การประกันภัยต่อโดยรัฐ 20-30ปี Independent Risks “In between” Risks Catastrophic Risks การประกันภัย และ การประกันภัยต่อ 5-7 ปี การประกันภัย/ กองทุนสำรองฉุกเฉิน 3-5 ปี การรับความเสี่ยงไว้เองของผู้ทำประกัน Source: Dick, W., World Bank 2007

More Related