1 / 34

อาจารย์ วรพจน์ พรหมจักร ติดต่อที่ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะ ศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

อาจารย์ วรพจน์ พรหมจักร ติดต่อที่ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะ ศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์ 0872354434 ( เฉพาะกรณีเกี่ยวกับรายวิชาที่เรียนเท่านั้น) อีเมล์ worapojpromjuk@gmail.com หรือ shypoj.wordpress.com หรือ LERT Information Science RERU. GEL1103

theo
Download Presentation

อาจารย์ วรพจน์ พรหมจักร ติดต่อที่ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะ ศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาจารย์ วรพจน์ พรหมจักร ติดต่อที่ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์ 0872354434 (เฉพาะกรณีเกี่ยวกับรายวิชาที่เรียนเท่านั้น) อีเมล์ worapojpromjuk@gmail.com หรือ shypoj.wordpress.com หรือ LERT Information Science RERU

  2. GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า Information and Education บทที่ 2 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร

  3. วัตถุประสงค์ • ผู้เรียนเข้าใจและสามารถกำหนดความต้องการสารสนเทศได้ • ผู้เรียนสามารถเข้าใจและกำหนดคุณลักษณะของข้อมูลที่ต้องการได้ • ผู้เรียนสามารถวางแผนการค้นหาสารสนเทศได้

  4. ความหมายของความต้องการสารสนเทศความหมายของความต้องการสารสนเทศ • ความต้องการสารสนเทศ (Information needs) • คือ การที่เราอยากรู้ อยากเห็น หรือต้องการหาคำตอบหรือข้อเท็จจริง เพื่อตอบสนองความต้องการ ด้านต่างๆ เช่น • ความต้องการพื้นฐานด้านร่างกายจิตใจ หรืออารมณ์ • ความต้องการหน้าที่การงาน • ต้องการด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม

  5. ความหมายของความต้องการสารสนเทศความหมายของความต้องการสารสนเทศ ความต้องการสารสนเทศ (Information needs) • ความต้องการสารสนเทศเกิดขึ้นเมื่อ ? • เมื่อบุคคลอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือต้องการหาคำตอบ ข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหาหรือทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยที่ตนเองยังไม่มีความรู้ ในเรื่องนั้นเพียงพอ • ความต้องการสารสนเทศแบบรีบด่วน (ต้องการสารสนเทศไปใช้ทันที) และความต้องการแบบไม่รีบด่วน (เก็บรวบรวมสารสนเทศไว้ใช้ในอนาคต)

  6. ความสำคัญของสารสนเทศ 1. ใช้ในการวางแผนการบริหาร 2. ใช้ประกอบการตัดสินใจ 3. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 4. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน ฯลฯ

  7. การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ มี 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ 2. ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 3. กำหนดแหล่งสารสนเทศและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อวางแผนในการค้นหาสารสนเทศ

  8. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ เป็นการกำหนดความต้องการ โดยพิจารณาจากความสนใจส่วนตัว ความสงสัยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการพยายามหาทางแก้ไขให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นๆ โดยกำหนดความต้องการสารสนเทศออกมาเป็นมีขั้นตอน ดังนี้ 1. กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) 2. ขยายแนวคิด/ประเด็น 3. กำหนดขอบเขต

  9. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ 1. กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) คือการกำหนดเรื่องที่จะทำ มีวิธีการ คือ ค้นหาความสนใจ/ความต้องการของตนเองที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งความสนใจ/ความต้องการนั้นยังอาจยังไม่ได้รับคำตอบหรือไม่ได้รับคำตอบเพียงพอ เช่น นักศึกษาสนใจเรื่อง “ไอติมผัด” ต้องการทำธุรกิจขายไอติมผัด จึงต้องศึกษารายละเอียดและวิธีการผลิตไอติมผัด รวมถึงข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการวางแผนธุรกิจ

  10. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) มีขั้นตอนดังนี้ • กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อ......... • กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรื่อง โดยหัวข้อ/ชื่อเรื่อง มาจาก ปัญหา เรื่องราวที่ต้องการแก้ไขหรือต้องการคำตอบ • ทำความเข้าใจกับปัญหา หรือ เรื่องราวนั้นๆ ในเรื่อง สาเหตุ/ความเป็นมา ความสำคัญ/ความจำเป็น มีผลต่อชีวิตประจำวันอย่างไร ทำไมจึงต้องการคำตอบ ฯลฯ โดยวิธีการครุ่นคิด หรือ อภิปรายกลุ่ม • ค้นหาคำ (Words) ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทย และ ภาษาสากล หาคำนิยามหรือคำจำกัดความ • ค้นหาประเด็นย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง/ชื่อเรื่อง(Topic) โดยการค้นคว้าอย่างคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

  11. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) การเลือกหัวข้อ • หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน • การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

  12. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อปัญหา • เลือกจากความสนใจของตนเองเป็นที่ตั้ง • เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง • คำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา • คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยในการทำวิจัย เช่น - ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด - มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง - ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่

  13. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) ลักษณะของปัญหาที่ดี • เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ มีประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆและนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆได้ • เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการวิจัยได้ • เป็นปัญหาที่หาข้อมูลมาตรวจสอบสมมติฐาน เพื่อหาข้อสรุปได้ • เป็นปัญหาที่ให้คำนิยามปัญหาได้ • สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆไว้ล่วงหน้า และเห็นลู่ทางที่จะทำได้สำเร็จ • ปัญหาที่สนใจต้องไม่เกินกำลังความสามารถของตนเองที่จะทำให้สำเร็จ แม้จะมีอุปสรรคบางอย่างก็จะสามารถแก้ไขได้ • สามารถหาเครื่องมือหรือสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อใช้รวบรวมข้อมูลได้

  14. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) การตั้งหัวข้อ/ปัญหา • ชื่อปัญหาควรกะทัดรัด และมีความชัดเจน ทำให้ทราบว่า จะศึกษาเรื่องอะไรกับใคร • ชื่อหัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้นๆ • ภาษาที่ใช้ต้องมีความชัดเจน อ่านเข้าใจได้ง่าย ถ้ามีศัพท์เทคนิคต้องเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ • การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าจะศึกษาในประเด็นที่คล้ายๆ กันก็ตาม

  15. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) 2. ขยายแนวคิด/ประเด็นที่จำเป็นจากวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้า • ใช้แหล่งสารสนเทศ เพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้า • ใช้ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่เดิมขยายไปสู่ความรู้ใหม่

  16. การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) 3. กำหนดขอบเขตหรือกรอบความต้องการสารสนเทศ โดยให้หัวข้อ หรือประเด็นที่ศึกษามี ความสัมพันธ์กัน อาจทำในรูปแบบของ แผนที่ความคิดหรือผังความคิด (Conceptual Mapping หรือ MindMap)

  17. แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (MindMap) หัวข้อ “ธูปหอม”

  18. แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (MindMap) หัวข้อ “กาแฟร้านป้าทอง”

  19. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ • เมื่อได้หัวข้อ และ ขอบเขต ของสารสนเทศที่ต้องการแล้ว ต้องกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ โดยจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศว่าจะใช้เพื่อกิจกรรมใด กิจกรรมนั้น มีลักษณะที่พิเศษ มีคุณค่าอย่างไร • หากต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นหัวข้อพูดคุยกับเพื่อน คุณลักษณะของสารสนเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงลึกในเชิงวิชาการ สามารถใช้แหล่งสารสนเทศง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น สื่อมวลชน ประเภท โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ • แต่หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียน เพื่อการทำงาน หรืออื่นๆ ที่มีคุณค่าสูง อาจต้องเลือกแหล่งสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ เช่น สถาบัน (ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

  20. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) คุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องพิจารณา 1) ความแคบหรือกว้างของเนื้อหา 2) ลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล 3) ปริมาณข้อมูล 4) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ 5) อายุของข้อมูล 6) คุณภาพของข้อมูล 7) ภาษาของข้อมูล

  21. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 1) ความแคบหรือกว้างของเนื้อหา (Content) ต้องการสารสนเทศครอบคลุมสาขาใดและ/หรือแขนงใดบ้าง หรือต้องการสารสนเทศเฉพาะบางสาขา/แขนง

  22. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 2) ลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล (Nature) ในสารสนเทศเรื่องเดียวกันนั้น ต้องการสารสนเทศที่มีลักษณะแบบใด หลากหลายหรือไม่ เช่น เป็นรูปภาพ ตัวเลข หรือข้อความ เป็นต้น

  23. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 3) ปริมาณข้อมูล สารสนเทศที่ใช้ประกอบต้องการมีปริมาณมากหรือน้อย จำนวนเท่าไหร่ ปริมาณข้อมูลขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้

  24. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 4) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ ต้องการสารสนเทศประเภทใด เช่น อินเทอร์เน็ต บทความวารสาร บทความวิจัย สื่อประสม บทความในสารานุกรม ซีดี-รอม สื่อโสตทัศน์ เทปเสียง เป็นต้น

  25. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 4) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)

  26. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 5) อายุของข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการมีอายุอยู่ในช่วงระยะเวลาใด(Data Range)เป็นสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันหรือสารสนเทศเชิงประวัติศาสตร์ พิจารณาจาก วันเดือนปี ที่พิมพ์ วันเดือนปี ที่เผยแพร่

  27. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 6) คุณภาพของข้อมูล แม้ว่าสารสนเทศนั้นจะต้องมีคุณภาพอยู่แล้ว แต่วัตถุประสงค์จะทำให้การคัดสรรคุณภาพเข้มข้นมากขึ้น คุณภาพสารสนเทศ หมายถึง ความถูกต้องของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เป็นต้นต้องการสารสนเทศที่มีความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือหรือไม่ซึ่งสามารถ พิจารณาจากผู้เขียน และสำนักพิมพ์ ที่เป็นผู้จัดทำสารสนเทศนั้นๆ

  28. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 7) ภาษาของข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการเป็นภาษาใด ภาษาไทยหรือต่างประเทศ ข้อมูลที่เป็นศัพท์เทคนิค หรือศัพท์เฉพาะทาง เช่น ศัพท์ทางการแพทย์ ศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ประเด็นนี้ทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความจำเป็นในการพิจารณาเลือกข้อมูลด้วย

  29. การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ การวางแผน หมายถึง กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร • ในการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ต้องพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้องในการค้นหา ได้แก่ 1. แหล่งสารสนเทศ 2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

  30. การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ 1. แหล่งสารสนเทศ โดยการคิดคำนึงและวิเคราะห์ว่า หัวข้อ ขอบเขต คุณลักษณะ ของสารสนเทศที่กำหนดขึ้นนั้น ควรที่จะใช้แหล่งสารสนเทศใด ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการ เช่น สถาบัน(ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต เป็นต้น2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ โดยคำนึงถึงและวิเคราะห์ว่าแหล่งสารสนเทศที่เลือกนั้น จะใช้ทรัพยากรประเภทใดบ้าง เช่น แหล่งห้องสมุด ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ตำรา บทความวารสาร พจนานุกรม เป็นต้น หรือ หากใช้แหล่งอินเทอร์เน็ต ต้องใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จำพวก เว็บเพจ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล เอกสารในรูปแบบต่างๆ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

  31. การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ จากลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ ทำให้ผู้เรียนสามารถกำหนดหรือคาดการณ์ได้ว่าจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการได้จาก แหล่งสารสนเทศประเภทใด หรือจากทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

  32. การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ขั้นตอนการวางแผนการค้น 1. กำหนดประเด็นที่ต้องการจะค้นหา เช่น เรื่อง หรือ ขอบเขตเนื้อหา ที่ต้องการจะสืบค้น 2. กำหนดคำ คำสำคัญและหัวเรื่องที่จะใช้สืบค้น 3. กำหนดแหล่งสารสนเทศที่จะไปค้นหาข้อมูล 4. กำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการสืบค้นข้อมูล

  33. การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ประโยชน์ของการวางแผน 1. ได้รับสารสนเทศที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน 2. สามารถกำหนดคำค้นได้ตรงกับความต้องการ 3. ช่วยให้เลือกเครื่องมือช่วยค้นได้อย่างรวดเร็ว

More Related