1 / 71

รายงาน วิชา วิทยาศาสตร์(ว33101) เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ เสนอ อ.เพชรรัตน์ พงษ์ประดิษฐ

รายงาน วิชา วิทยาศาสตร์(ว33101) เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ เสนอ อ.เพชรรัตน์ พงษ์ประดิษฐ. จัดทำโดย

teo
Download Presentation

รายงาน วิชา วิทยาศาสตร์(ว33101) เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ เสนอ อ.เพชรรัตน์ พงษ์ประดิษฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานวิชา วิทยาศาสตร์(ว33101)เรื่องเทคโนโลยีอวกาศเสนออ.เพชรรัตน์ พงษ์ประดิษฐ

  2. จัดทำโดย 1.ด.ช.จิรวัต ป้อมสุวรรณ ม.3/12 เลขที่ 4 2.ด.ช.วทัญญู หิรัญดำรงค์ ม.3/12 เลขที่ 25 3.ด.ช.สุตกาล ตั้งอมรสุขสันต์ ม.3/12 เลขที่ 35 4.ด.ช.อนุยุต เอกสกุลกล้า ม.3/12 เลขที่ 36ปีการศึกษา2553โรงเรียนทวีธาภิเศก

  3. หน้าหลัก • ความหมายของเทคโนโลยีอวกาศ • กล้องโทรทรรศน์อวกาศ • สถานีอวกาศ • ยานสำรวจอวกาศ • ดาวเทียม • เอกสารอ้างอิง

  4. เทคโนโลยีอวกาศ Space Technology

  5. ความหมายของเทคโนโลยีอวกาศความหมายของเทคโนโลยีอวกาศ • เทคโนโลยีอวกาศ เป็นการศึกษาและสำรวจวัตถุต่างๆ ที่อยู่ในและนอกโลกของเรา ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศพัฒนาไปมากทำให้เราได้รู้จักโลกและเอกภพของเรามากขึ้น เราได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ ในด้านต่างๆ มากมาย ได้แก่ การพยากรณ์อากาศ การทหาร การขนส่ง การคมนาคม และการสื่อสาร เป็นต้น

  6. ยุคเทคโนโลยีอวกาศเริ่มตั้งแต่การที่สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก 1ขึ้นไป โคจรรอบโลกเมื่อปีพ.ศ. 2500จากนั้นการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศระหว่างสองขั้วมหาอานาจจึงเริ่มขึ้นและเป็นก้าวแห่งความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาเมื่อยานอะพอลโล 11ได้ขนส่งมนุษย์คนแรก ขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ได้เมื่อปีพ.ศ. 2512

  7. กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ

  8. กล้องโทรทรรศน์อวกาศ • คืออุปกรณ์สำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในอวกาศภายนอกในระดับวงโคจรของโลก เพื่อทำการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์อันห่างไกล ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ที่ช่วยให้มนุษย์ทำความเข้าใจกับจักรวาลได้ดีขึ้น การสังเกตการณ์ในระดับวงโคจรช่วยแก้ปัญหาทัศนวิสัยในการสังเกตการณ์บนโลกที่มีอุปสรรคต่างๆ เช่น การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ เป็นต้น

  9. นอกจากนี้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ายังสามารถทำได้ที่ความยาวคลื่นต่างๆ กัน ซึ่งบางอย่างไม่สามารถทำได้บนผิวโลก โครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่สำคัญของนาซา คือโครงการหอดูดาวเอก (Great Observatories) ซึ่งประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ 4 ชุดได้แก่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีแกมมาคอมพ์ตัน กล้องรังสีเอกซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

  10. ถูกสร้างขึ้นโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1990(พ.ศ.2533) ด้วยยานขนส่งดิสคัฟเวอรี กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมีภารกิจ 5 ประการ คือ สำรวจระบบสุริยะ วัดอายุและขนาดของจักรวาล ค้นหาแหล่งที่มาของรังสีคอสมิค สำรวจหาวิวัฒนาการของจักรวาล และไขความลับของแกแล็คซี่ ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์

  11. ข้อมูลทั่วไป • ขนาดยาว 13.2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.2 เมตร • หนัก 11,110 กิโลกรัม • โคจรรอบโลก 1 รอบใช้เวลา 97 นาที ด้วยความเร็ว 5 ไมล์ต่อวินาที (8 กิโลเมตร/วินาที) หรือ 17500 ไมล์ต่อชั่วโมง • อยู่สูงจากพื้นโลก 612 กิโลเมตร หรือ 380 ไมล์ • กระจกหลักมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร • กระจกทุติยภูมิ (Secondary Mirror) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.34 เมตร • ความยาวของกล้อง 13.1 เมตร • เส้นผ่านศูนย์กลางของกล้อง 4.3 เมตร • แผงเซลล์สุริยะ มีขนาด 12.1 เมตร X 2.4 เมตร • มวลของกล้อง 11.6 ตัน • อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี

  12. อุปกรณ์สำคัญที่ได้รับการติดตั้งบกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ได้แก่ • กล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3 (Wide Field Camera 3 : WFC3) เป็นกล้องที่มีคุณสมบัติในการถ่ายภาพในช่วงของคลื่นแสง 3 ช่วง คือ near-infrared, visible light และ near-ultraviolet ซึ่งมีความสามารถในการถ่ายภาพได้ดีกว่ากล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ (wilde field ฟืก planetฟพั camera) ที่ใช้แสง infrared ถึง 35 เท่า ภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2 มีรูปร่างเป็นขั้นบันได

  13. สเปคโตรกราฟต้นกำเนิดจักรวาล (Cosmic Origins Spectrograph : COS) ทำหน้าที่ถ่ายภาพสเปกโตรกราฟของคลื่นอัลตราไวโอเลตของแหล่งกำเนิดแสงแบบจุด เป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องมือนี้รวมถึงการศึกษาจุดกำเนิดของโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ การก่อตัวและวิวัฒนาการของดาราจักร รวมถึงการกำเนิดของกลุ่มดาวและระบบดาวเคราะห์ต่างๆ

  14. เป็นกล้องที่ถูกนำไปใช้แทนที่กล้องถ่ายภาพวัตถุมัว (Faint Object Camera)  ทำหน้าที่ตรวจจับคลื่นย่านอัลตราไวโอเลตจนถึงอินฟราเรด มีพื้นที่สำรวจกว้างและมีประสิทธิภาพควอนตัมสูง ทำให้กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลมีประสิทธิภาพในการค้นหามากเพิ่มขึ้นสิบเท่า นอกจากนี้มันยังมีมีฟิลเตอร์เป็นจำนวนมาก มีความสามารถในการป้องกันแสงความเข้มสูงจากดาวฤกษ์ การวัดโพลาไรเซชันของแสง และการเลือกแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ต้องการ ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถถ่ายภาพจักรวาลอันไกลโพ้นอย่างภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล (Hubble Ultra Deep Field) ได้และสามารถถ่ายภาพปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ตั้งแต่ดาวหางในระบบสุริยะของเราไปจนถึงควอซาร์ที่ไกลที่สุดเท่าที่มนุษย์ค้นพบ • กล้องสำรวจขั้นสูง (Advanced Camera for Surveys : ACS)

  15. ทำหน้าที่เป็นเหมือนแท่งปริซึมคอยแยกสเปกตรัมที่มีอยู่ในอวกาศออกมาจัดทำเป็นสีพื้นฐานทำหน้าที่เป็นเหมือนแท่งปริซึมคอยแยกสเปกตรัมที่มีอยู่ในอวกาศออกมาจัดทำเป็นสีพื้นฐาน • กล้องถ่ายภาพสเปกโตรกราฟ (Space Telescope Imaging Spectrograph : STIS) Dan Watson นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และคณะ ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพสเปคโทรกราฟในย่านนรังสีอินฟราเรดซึ่งติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

  16. เซ็นเซอร์นำทางความละเอียดสูง  (Fine Guidance Sensor; FGS) ทำหน้าที่ให้ข้อมูลการกำหนดตำแหน่งซึ่งมีความละเอียดสูงสำหรับใช้ในระบบควบคุมองศาสังเกตการณ์ของกล้องดูดาว

  17. สถานีอวกาศ (Space Station)

  18. สถานีอวกาศเป็นยานอวกาศที่โคจรไปรอบโลกในวงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit :LEO) ที่มีความสูงจากพื้นโลกไม่เกิน 1000 กิโลเมตร โดยมีมนุษย์ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจอยู่บนสถานี

  19. ประโยชน์ที่ได้จากสถานีอวกาศก็คือประโยชน์ที่ได้จากสถานีอวกาศก็คือ 1)  ศึกษาความเป็นไปได้ของการดำรงชีวิตในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ที่มีผลกระทบโดยตรงกับมนุษย์ เช่น สภาพจิตใจและ สภาพร่างกาย2)  ศึกษาการทดลองต่างๆทางวิทยาศาสตร์ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งการทดลองบางอย่างไม่สามารถทำได้บนพื้นโลก3)  ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิด และการดำรงชีพของสัตว์เหล่านั้น เมื่ออยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง เช่น ศึกษาการชักใยของแมงมุม เป็นต้น4)  ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์เพราะในอวกาศไม่มีชั้นบรรยากาศรบกวนหรือขวางกั้น

  20. 5)  ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา และ อุตุนิยมวิทยาควบคู่ไปกับระบบดาวเทียม6)  ใช้สำหรับประโยชน์ทางการทหาร7)  นอกจากนี้การสร้างสถานีอวกาศ ยังเป็นแนวทางที่ทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์หรือวิทยาการใหม่ๆขึ้นมาสำหรับการพัฒนาสถานีอวกาศรุ่นต่อ ๆไป สถานีอวกาศแห่งแรกของโลกคือสถานีอวกาศซัลยูตของรัสเซียตามมาด้วยสกายแลบ (Skylab)  และสถานีอวกาศเมียร์ซึ่งทั้งสามสถานีนั้นได้ยุติโครงการและตกลงในมหาสมุทรหมดแล้ว ยังคงเหลือเพียงสถานีเดียว คือสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นสถานีอวกาศที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา ปัจจุบันยังโคจรอยู่รอบโลก

  21. สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) • สถานีอวกาศนานาชาติหรือสถานีแอลฟา (alpha) เป็นโครงการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานด้านอวกาศ 5 หน่วย จากชาติต่างๆ คือ องค์การนาซา (สหรัฐอเมริกา), องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (RKA, รัสเซีย), องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA, ญี่ปุ่น), องค์การอวกาศแคนาดา (CSA, แคนาดา) และ องค์การอวกาศยุโรป (ESA, สหภาพยุโรป)

  22. สถานีอวกาศนานาชาติที่เสร็จสมบูรณ์จะมีมวลเกือบ 500 ตัน มีขนาดยาวกว้างประมาณ 107x87 เมตร และแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์มีพื้นผิวถึงประมาณสองไร่ครึ่ง และใช้เป็นพลังงานไฟฟ้า สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการบนสถานีอวกาศนานาชาติ

  23. ข้อมูลจำเพาะ • ค่าความสว่างสูงสุด  Magnitude -2.80 • Eccentricity: ค่าความรี 0.0008459 • Inclination: มุมเอียงกับเส้นอิคลิปติด 51.5728° • Perigee Height:  ระยะใกล้โลกที่สุด 373 km • Apogee Height: ระยะไกลโลกที่สุด 384 km • Right Ascension of Ascending Node: 259.9303° • โคจร 1 รอบใช้เวลา 90 นาที 25 วินาที • จำนวนรอบต่อวัน  15.63164737

  24. ยานสำรวจอวกาศ (spacecraft)

  25. ยานสำรวจอวกาศ • คือพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานในอวกาศเหนือผิวโลก ยานอวกาศนี้อาจเป็นได้ทั้งแบบมีคนบังคับหรือแบบไม่มีคนบังคับก็ได้ สำหรับภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การสื่อสารทั่วไป, การสำรวจโลก, การทำเส้นทาง เป็นต้น

  26. ยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับ (Robotic Spacecraft) • เป็นยายอวกาศที่ใช้สำรวจดาวเคราะห์ต่างๆ ยานสำรวจที่สำคัญได้แก่

  27. ยานไพโอเนียร์ 10 (Pioneer 10) • เริ่มปฏิบัติการ: 2 มีนาคม 2515 • ถึงจุดหมาย: 3 ธันวาคม 2516 • สิ้นสุดภาระกิจ: 31 มีนาคม 2540 • เป้าหมาย: สำรวจและถ่ายภาพดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี วัดสนามแม่เหล็กและรังสีจากดาวพฤหัสบดี จากนั้นจึงโคจรออกนอกระบบสุริยะ โดยมีแผ่นโลหะสลักรูปมนุษย์ และตำแหน่งของดวงอาทิตย์ถูกส่งไปกับยานด้วย

  28. Mariner 10 • เริ่มปฏิบัติการ: 3 พฤศจิกายน 1973 • ถึงจุดหมาย: 5 กุมภาพันธ์ 1974 • สิ้นสุดภาระกิจ: 24 พฤศจิกายน 1975 • เป้าหมาย: สำรวจดาวเคราะห์ชั้นในทั้ง 2 ดวงคือดาวศุกร์และดาวพุธ

  29. ภาพถ่ายภูเขาไฟ Olympus

  30. ภาพน้ำแข็งปกคลุมบริเวณขั้วโลกเหนือของดาวอังคารภาพน้ำแข็งปกคลุมบริเวณขั้วโลกเหนือของดาวอังคาร

  31. Viking 1 • เริ่มปฏิบัติการ: 20 สิงหาคม 1975 • ถึงจุดหมาย: 19 มิถุนายน 1976 • ร่อนลงจอดบนดาวอังคาร: 20 กรกฎาคม 1976 • สิ้นสุดภาระกิจ: 17 สิงหาคม 1980(ในวงโคจร) 13 พฤศจิกายน 1982(จอดบนดาวอังคาร) • เป้าหมาย: ค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร และถ่ายภาพความละเอียดสูงของพื้นผิวดาวอังคาร สำรวจโครงสร้างและส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศและพื้นดิน

  32. Viking 2 • เริ่มปฏิบัติการ: 9 กันยายน 1975 • ถึงจุดหมาย: 7 สิงหาคม 1976 • ร่อนลงจอดบนดาวอังคาร: 3 กันยายน 1976 • สิ้นสุดภาระกิจ: 11 เมาายน 1980(ในวงโคจร) 25 กรกฎาคม 1978(จอดบนดาวอังคาร) • เป้าหมาย: ค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร และถ่ายภาพความละเอียดสูงของพื้นผิวดาวอังคาร สำรวจโครงสร้างและส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศและพื้นดิน

  33. Voyager 1 • เริ่มปฏิบัติการ: 5 กันยายน 1977ถึงจุดหมาย: 5 มีนาคม 1979เป้าหมาย: สำรวจชั้นบรรยากาศ สนามแม่เหล็ก ดวงจันทร์ และวงแหวนของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ภาพที่ 3ภาพวาดยาน voyager       

  34. Voyager 2 • เริ่มปฏิบัติการ: 20 สิงหาคม 1977ถึงจุดหมาย: 9 กรกฎาคม 1979เป้าหมาย: สำรวจดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ และขยายโครงการออกไปเพื่อสำรวจดาวยูเรนัส(1981) และดาวเนปจูน(1985) ภาพจุดแดงขนาดใหญ่ (great redspot) ที่พบบนดาวพฤหัสบดี

  35. Magellan • เริ่มปฏิบัติการ: 4 พฤษภาคม 1989ถึงจุดหมาย: 10 สิงหาคม 1990สิ้นสุดภาระกิจ: 12 ตุลาคม 1994เป้าหมาย: สำรวจพื้นผิวดาวศุกร์เพื่อศึกษาลักษณะภูมิประเทศ และวัดค่าสนามแม่เหล็ก ภาพยาน magellan กำลังจะถูกปล่อยออกสู่อวกาศ

  36. มิติแสดงพื้นผิวของดาวศุกร์

  37. Galileo • เริ่มปฏิบัติการ: 18 ตุลาคม 1989ถึงจุดหมาย: 7 ธันวาคม 1995สิ้นสุดภาระกิจหลัก: ธันวาคม 1997สิ้นสุดภาระกิจสำรวจดวงจันทร์ยูโรป้า: ธันวาคม 1999เป้าหมาย: สำรวจชั้นบรรยากาศ สนามแม่เหล็กดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ 4 ดวง (ใช้เวลา 2 ปี) และขยายระยะเวลาปฏิบัติภาระกิจไปอีก 2 ปี ปัจจุบันได้ขยายระยะเวลาปฏิบัติภาระกิจออกไปอีก(Galileo Millennium Mission) ภาพวาดยานกาลิเลโอผ่านดาวพฤหัสบดี

  38. ยานสำรวจอวกาศแบบมีคนบังคับ (Manned spacecraft) • ยานสำรวจอวกาศแบบมีคนบังคับหรือเรียกว่า ยานขนส่งอวกาศหรือกระสวยอวกาศ (space shutter) เป็นยานอวกาศที่สามารถนำมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศและกลับลงสู่พื้นผิวโลกและกลับขึ้นสู่อวกาศได้อีก ดังเช่นเครื่องบินโดยสาร   กระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซา (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) หรือระบบการขนส่งอวกาศ

  39. ระบบการขนส่งอวกาศเป็นโครงการที่ถูกออกแบบให้สามารถนำชิ้นส่วนบางส่วนที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกเพื่อเป็นการประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดประกอบด้วย 3ส่วนหลักคือจรวดเชื้อเพลิงแข็ง ถังเชื้อเพลิงภายนอก (สำรองไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว) และยานขนส่งอวกาศ ภาพแสดงส่วนประกอบทั้งสามส่วนของระบบยานขนส่งอวกาศ

  40. ยานขนส่งอวกาศจะถูกพาไปโดยจรวดเชื้อเพลิงแข็งซึ่งจะถูกขับเคลื่อนจากฐานปล่อย (หมายเลข 1) ให้นำพาทั้งระบบขึ้นสู่อวกาศด้วยความเร็วที่มากกว่าค่าความเร็วหลุดพ้นเมื่อถึงระดับหนึ่งจรวดเชื้อเพลิงแข็งทั้งสองข้างจะแยกตัวออกมาจากระบบ (หมายเลข 2)ซึ่งถังเชื้อเลิงนี้จะถูกนำกลับไปใช้ใหม่ จากนั้นถังเชื้อเพลิงภายนอกจะแยกตัวออกจากยานขนส่งอวกาศ (หมายเลข 3)โดยตัวยานขนส่งอวกาศจะเข้าสู่วงโคจรเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป (หมายเลข 4) เมื่อปฆิบัติภารกิจเสร็จแล้วจะลดระดับวงโคจรเพื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก (หมายเลข 5 และ 6) และร่อนลงสู่พื้นโลก (หมายเลข 7) ภาพยานขนส่วอวกาศโคลัมเบียร่อนลงที่สนามบินของสถานีอวกาศเคเนดี้

  41. ภาพแสดงปฏิบัติการของระบบจนส่งอวกาศภาพแสดงปฏิบัติการของระบบจนส่งอวกาศ

  42. การปฏิบัติภาระกิจสำหรับระบบขนส่งอวกาศมีหลากหลายหน้าที่ตั้งแต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (ในสภาวะไร้น้ำหนัก)การส่งดาวเทียมการประกอบกล้องโทรทรรศน์อวกาศการส่งมนุษย์ไปบนสถานีอวกาศฯลฯ

  43. ยานขนส่งอวกาศจึงถูกออกแบบสำหรับบรรทุกคนได้ประมาณ 7-10คน ปฏิบัติภาระกิจได้นานตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจใช้เวลาถึง 1เดือน สำหรับโครงการขนส่งอวกาศขององค์การนาซามีอยู่ด้วยกัน 6 โครงการ คือ 1.โครงการเอนเตอร์ไพรส์ 2.โครงการโคลัมเบีย (ประสบอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546)3.โครงการดิสคัฟเวอรี่ 4.โครงการแอตแลนติส 5.โครงการแชลแลนเจอร์ (ประสบอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529)6.โครงการเอนเดฟเวอร์

  44. ดาวเทียม (Satellite) • คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่างๆ

  45. วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbit) • ดาวเทียมมีการโคจรในแนวทางที่เรียกว่าวงโคจร การโคจรของดาวเทียมมีหลักการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น วงโคจรมีหลายแบบขึ้นกับประเภทของการใช้งาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นแบบใหญ่ๆได้3 แบบดังนี้

  46. 1. วงโคจรระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) • ในวงโคจรนี้ ระนาบของการโคจรของดาวเทียมจะอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร หรือเอียงทำมุมไม่เกิน 5 องศา ดาวเทียมที่มีวงโคจรเหนือเส้นศูนย์สูตรได้แก่ดาวเทียมค้างฟ้า เนื่องจากเมื่อดาวเทียมโคจรรอบโลกในวงโคจรนี้ด้วยความเร็วเท่ากับอัตราการหมุนของโลกแล้วดาวเทียมจะเสมือนลอยอยู่นิ่งเหนือตำแหน่งหนึ่งบนพื้นโลก ซึ่งจะเรียกวงโคจรนี้เฉพาะลงไปอีกว่าเป็นวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit)

  47. 2. วงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit) • ดาวเทียมในวงโคจรนี้จะมีการโคจรในระนาบที่ผ่านขั้วโลกเหนือและใต้ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการถ่ายภาพด้วยดาวเทียม เนื่องจากขณะที่ดาวเทียมโคจรจากขั้วโลกหนึ่งไปยังอีกขั้วโลกหนึ่งนั้น โลกก็จะหมุนรอบตัวเองด้วย ทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรผ่านทุกพื้นที่ของโลก

  48. 3. วงโคจรระนาบเอียง (Inclined Orbit) • ดาวเทียมในวงโคจรนี้มีการโคจรในระนาบที่ทำมุมกับระนาบของเส้นศูนย์สูตรมากกว่า 0 องศาไปจนถึง 180 องศา แต่ไม่รวมวงโคจรผ่านขั้วโลก ตัวอย่างหนึ่งของดาวเทียมที่ใช้วงโคจรนี้ได้แก่ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถถ่ายภาพได้เกือบทุกพื้นที่ในโลกแต่มีข้อดีกว่าที่สามารถกำหนดวงโคจรให้ทุกครั้งที่ดาวเทียมโคจรผ่านพื้นที่ที่ต้องการเป็นเวลาเดิมๆ ฝูงดาวเทียม NavStar ที่ใช้งานในระบบ GPS (Global Positioning System) ก็มีวงโคจรเป็นแบบวงโคจรระนาบเอียง

  49. ภาพแสดงวงโคจรระนาบเอียงภาพแสดงวงโคจรระนาบเอียง

  50. การแบ่งประเภทของวงโคจรดาวเทียมสามารถแบ่งตามระดับความสูงของวงโคจร ได้เป็น 3 แบบคือ • 1. วงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit , LEO) วงโคจรแบบนี้จะอยู่ระหว่างชั้นบรรยากาศกับ Van Allen radiation ซึ่งไม่มีการกำหนดความสูงที่แน่นอน แต่ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรนี้จะอยู่สูงจากผิวโลกต่ำกว่า 2,000 กิโลเมตร ประโยชน์ของดาวเทียมในวงโคจรแบบนี้คือใช้ในการถ่ายภาพ สื่อสารเช่นดาวเทียม Iridium

More Related