1 / 70

math bar model

math bar model method

taywin
Download Presentation

math bar model

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้ Bar Model โดย วาสนา บึงบงกช ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลบางกรวย(วัดศรีประวัติ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

  2. Bar Model

  3. Bar Model เป็น การใช้รูปภาพแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นสัญลักษณ์แทนข้อมูลที่เราวิเคราะห์และตีความหมายจากโจทย์ปัญหา เช่นโจทย์ “ รัตนา มีขนม 20 ชิ้น ส่วน ปราณี มีขนม 30 ชิ้น” รัตนา ปราณี ขนม 20 ชิ้น ขนม 30ชิ้น

  4. การนำวิธีการแก้โจทย์ปัญหา ของ George Polyaมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบของบาร์โมเดล 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจ (Understanding the Problem) อ่านโจทย์อย่างน้อย 3 ครั้ง • ครั้งที่ 1 อ่านในใจ • ครั้งที่ 2 อ่านแล้วจดข้อความสำคัญ • ครั้งที่ 3 อ่านแล้วตั้งคำถามย่อย • เขียนคำตอบของคำถามย่อยนั้น

  5. การนำวิธีการแก้โจทย์ปัญหา ของ George Polyaมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบของบาร์โมเดล (ต่อ) ขั้นที่ 2 วางแผน (Developeing a Plan) วางแผนการวาดรูป บาร์โมเดล ขั้นที่ 3 แสดงวิธีทำ (Carrying out the Plan) ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ (Looking Back)

  6. วิธีวาดรูป บาร์โมเดล 1. วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 หรือ 3 รูป แทนจำนวนที่ต้องการเปรียบเทียบ • ให้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี ความกว้าง ประมาณไม่เกิน 1 เซนติเมตร • ส่วน ความยาว ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้พิจารณาจากค่าของจำนวนที่เกี่ยวข้อง ให้จำนวนที่มีค่ามากมีความยาวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวกว่าความยาวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าของจำนวนที่มีค่าน้อย 2. เขียนคำอธิบาย แทนจำนวน และสิ่งที่เกี่ยวข้องไว้ข้างๆรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  7. หลักการวาดรูปบาร์โมเดลและการนำไปใช้หลักการวาดรูปบาร์โมเดลและการนำไปใช้ อลิสา มีขนม 16ชิ้น ส่วนยุพินมีขนม 25 ชิ้น 16 อลิสา ยุพิน 25

  8. 1 . วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนรูปบาร์โมเดลที่แสดงความสัมพันธ์ ที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด และส่วนย่อยแต่ละส่วน (Part-whole Model) รูปแบบที่ 1 : ส่วนย่อย-ส่วนรวม สำหรับใช้ในการบวกหรือลบ รวมทั้งหมด ส่วน 1 ส่วน 2

  9. กรณีที่ 1: กรณีที่ 1 กำหนดส่วนย่อย แล้วหาส่วนรวมทั้งหมด ต้องการหาส่วนรวมทั้งหมด กำหนดส่วนที่ 1 มาให้ กำหนดส่วนที่ 2 มาให้ จากรูป: ส่วนรวมทั้งหมด = ส่วนที่ 1 + ส่วนที่ 2

  10. กรณีที่ 2: กำหนดส่วนรวมทั้งหมดและส่วนย่อยมาให้หนึ่งส่วน แล้วหาส่วนย่อยอีกหนึ่งส่วน ต้องการหาส่วนที่ 2 กำหนดส่วนรวมทั้งหมดมาให้ กำหนดส่วนที่ 1 มาให้ ? จากรูป: ส่วนที่ 2= ส่วนรวมทั้งหมด - ส่วนที่ 1

  11. 2. การเปรียบเทียบระหว่างจำนวนสองจำนวน กรณีที่ 1: วาดรูปบาร์โมเดลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แทนให้จำนวนสองจำนวนที่ กำหนดให้ สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่งยาวกว่าอีกรูปหนึ่งแล้วหาค่าของ ส่วนที่แตกต่างกัน

  12. โจทน์นิสาหนัก 45 กิโลกรัม ก้องภพหนัก 57 กิโลกรัม ก้องภพหนักมากกว่านิสาเท่าใด นิสา มากกว่า ก้องภพ 57 45 ? ก้องภพหนักมากกว่านิสา = 57 - 45

  13. กรณีที่ 2: กำหนดจำนวนมาให้จำนวนหนึ่ง และค่าของส่วนที่แตกต่างกัน แล้วให้หาว่าอีกจำนวนหนึ่งมีค่าเท่าใด ต้องการหา รูปแบบ 1: มากกว่า ? กำหนดให้

  14. กำหนดให้ รูปแบบ 2: มากกว่า ? ต้องการหาจำนวนที่ 2 กำหนดให้

  15. ตัวอย่างที่ 1 โจทย์ ขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ มีผู้โดยสารเดินทางไปกับขบวน รถโบกี้ นั่งเป็นจำนวน 218 คน มีผู้โดยสารในขบวนรถนอนปรับ- อากาศจำนวน 345 คน รถไฟสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ขบวนนี้มี ผู้โดยสารทั้งหมดกี่คน ขั้นที่ 1. ทำความเข้าใจโจทย์ ขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ มีผู้โดยสารเดินทางไปกับ ขบวนรถโบกี้นั่งเป็นจำนวน 218 คน มีผู้โดยสารในขบวนรถ นอนปรับอากาศ เป็นจำนวน 345 คน

  16. ผู้โดยสารขบวนโบกี้นั่งมีมากกว่าหรือน้อยกว่าผู้โดยสารในขบวนรถนอนปรับอากาศผู้โดยสารขบวนโบกี้นั่งมีมากกว่าหรือน้อยกว่าผู้โดยสารในขบวนรถนอนปรับอากาศ ผู้โดยสารในขบวนรถนอนปรับ-อากาศ มีมากกว่า ดังนั้น เราต้องวาดรูปแบบโมเดลให้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่แทนจำนวนผู้โดยสารในขบวนรถนอนปรับ-อากาศยาวกว่า

  17. ขั้นที่ 2. วางแผนการวาดรูปบาร์โมเดล ผู้โดยสารในขบวน รถโบกี้นั่ง ผู้โดยสารในขบวน รถนอนปรับอากาศ รวม จำนวนผู้โดยสาร ทั้งหมดในรถไฟขบวนนี้ 218 นักเรียนดูจากรูป จะเข้าใจและสามารถเขียนวิธีทำ และ แสดงสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ทันที โดยที่ครูไม่ต้องอธิบายหรือบอกการใช้เครื่องหมาย 218 + 345 = 563 345 345 218

  18. ตัวอย่างที่ 2 โจทย์ จากสำรวจของสำนักสถิติแห่งชาติในปีพ.ศ.2552 พบว่าผู้ใช้ โทรศัพท์มือถือที่เป็นวัยรุ่นเพศชายมีจำนวน 426,688 คน เป็นวัยรุ่น เพศหญิงมีจำนวน 547,425 คน ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็นวัยรุ่นมี ทั้งหมดกี่คน ขั้นที่ 1. ทำความเข้าใจโจทย์ จากการสำรวจพบว่าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็นวัยรุ่นเพศชายมีจำนวน 426,688 คน เป็นวัยรุ่นเพศหญิงมีจำนวน 547,425 คน

  19. วัยรุ่นเพศชายใช้โทรศัพท์มือถือ มากกว่าหรือน้อยกว่าวัยรุ่นเพศหญิง วัยรุ่นเพศหญิงใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า ดังนั้น เราต้องวาดรูปแบบโมเดลให้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่แทนจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นเพศหญิงยาวกว่าจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นเพศชาย

  20. ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ วัยรุ่นเพศชาย ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ วัยรุ่นเพศหญิง รวม ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ทั้งหมด ขั้นที่ 2. วางแผนการวาดรูปบาร์โมเดล 426,688 547,425 426,688 547,425

  21. ตัวอย่างที่ 3 การสอนเต็มรูปแบบการ แก้โจทย์ปัญหา โดยใช้ Bar Model โจทย์ น้ำหวานมีเงินอยู่ 22,500 บาท น้ำหวานต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ ราคา 35,400 บาท น้ำหวานต้องเก็บเงินอีกเท่าใดจึงสามารถซื้อ คอมพิวเตอร์ได้ ขั้นที่1. ทำความเข้าใจโจทย์ น้ำหวานมีเงินอยู่ 22,500 บาท น้ำหวานต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ ราคา 35,400 บาท

  22. น้ำหวานมีเงินเพียงพอที่จะซื้อคอมพิวเตอร์หรือไม่?น้ำหวานมีเงินเพียงพอที่จะซื้อคอมพิวเตอร์หรือไม่? น้ำหวานต้องเก็บเงินเพิ่มอีกเท่าใด น้ำหวานมีเงินมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาคอมพิวเตอร์

  23. ขั้นที่ 2. วางแผนการวาดรูปบาร์โมเดล น้ำหวานมีเงิน ต้องเก็บเงินอีก? คอมพิวเตอร์ราคา 35,400 22,500 ? ต้องเก็บเงินอีก? ต้องเก็บเงิน? 35,400 22,500 ?

  24. วางแผนวาดรูปบาร์โมเดล และเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ ต้องเก็บเงินอีก ? จากรูปบาร์โมเดล จะเห็นได้ว่า น้ำหวานต้องเก็บเงินอีก = 35,400 - 22}5000 = ? = 706,600 + 325,600 น้ำหวานต้องเก็บเงินอีก • ? 22,500 บาท น้ำหวานมีเงินอยู่ 35,400 บาท คอมพิวเตอร์ราคา

  25. ขั้นที่ 3 แสดงวิธีทำและลงมือคำนวณ วิธีทำ น้ำหวานต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ราคา 35,400 _ บาท น้ำหวานมีเงินอยู่ 22,500 บาท น้ำหวานต้องเก็บเงินอีก 12,900 บาท ตอบ น้ำหวานต้องเก็บเงินอีก ๑๒,๙๐๐ บาท

  26. ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคำตอบ หาผลบวกของจำนวนเงินที่น้ำหวานมีอยู่ขณะนี้กับจำนวนที่ต้องเก็บเพิ่มอีก น้ำหวานมีเงินอยู่ 22,500  บาท น้ำหวานต้องเก็บเงินอีก 12,900 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 35,400 บาท จำนวนเงินที่มีอยู่รวมกับที่จะต้องเก็บเพิ่มอีกเท่ากับราคาคอมพิวเตอร์ แสดงว่าทำถูกต้องแล้ว ⁺

  27. ทดลองปฏิบัติการแก้โจทย์ปัญหา 4 ขั้นตอน 1. ฟาร์มเลี้ยงไก่แห่งหนึ่ง เก็บไข่ไก่ในวันเสาร์ได้ 3,218 ฟอง และวันเสาร์ เก็บไข่ไก่ได้น้อยกว่าวันอาทิตย์ 439 ฟอง เจ้าของฟาร์มแห่งนี้เก็บไข่ไก่ใน วันอาทิตย์ได้กี่ฟอง 2. ปัทมามีเงินมากกว่าวาริน 1,410 บาท ถ้าปัทมามีเงิน 3,800 บาท วารินมีเงินเท่าไร 3 พ่อค้าซื้อโทรทัศน์มาราคา 26,900 บาท ขายไปได้กำไร 2,100 บาท พ่อค้าขายโทรทัศน์ไปราคาเท่าไร 4. ปรีชาจ่ายเงินซื้อบ้าน ราคา 4,560,000 บาท ซื้อรถยนต์ราคา 960,000 บาท ปรีชาจ่ายเงินซื้อบ้านมากกว่ารถยนต์เท่าไร *****ให้นักเรียนจับคุ่ ช่วยกันทำลงใบงานที่ครูแจกนะคะ***

  28. ตัวอย่างที่ 4 โจทย์ ชาวสวนผู้หนึ่งขายมะม่วงงานวันมะม่วงและของดีเมืองแปดริ้ว ที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา เขาขายมะม่วงเขียวเสวยได้ 3,750 ผล มะม่วงน้ำดอกไม้ 2,125 ผล และมะม่วงอกร่อง 850 ผล ชาวสวน ผู้นี้ขาย มะม่วงได้ทั้งหมดกี่ผล ขั้นที่ 1. ทำความเข้าใจโจทย์ ชาวสวนผู้หนึ่งขายมะม่วงเขียวเสวยได้ 3,750 ผล มะม่วง น้ำดอกไม้ 2,125 ผล และมะม่วงอกร่อง 850 ผล

  29. ชาวสวนผู้นี้ขายมะม่วงกี่ชนิดชาวสวนผู้นี้ขายมะม่วงกี่ชนิด • อย่างละเท่าใด • ขายมะม่วงได้ทั้งหมดกี่ผล

  30. ขั้นที่ 2. วางแผนการวาดรูปบาร์โมเดล มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงอกร่อง รวมมะม่วงทั้งหมด มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงอกร่อง 3,750 2,125 850 850 2,125 3,750

  31. จากรูปบาร์โมเดล จะเห็นได้ว่าจะหาจำนวนมะม่วงทั้งหมดได้โดย การบวก ดังนี้ จำนวนมะม่วงทั้งหมด = จำนวนมะม่วงเขียวเสวย + จำนวนมะม่วง- น้ำดอกไม้ + จำนวนมะม่วงอกร่อง = 3,750 + 2,125 + 850 เข้าใจอ๊ะป่าว

  32. จากรูปบาร์โมเดล จะเห็นได้ว่ายังมีเงินไม่ครบอีกบางส่วน จะต้องหาจำนวนเงินที่ต้องเก็บเพิ่ม ซึ่งใช้วิธี การลบ ดังนี้ จำนวนเงินที่น้ำหวานต้องเก็บเพิ่ม = ราคาคอมพิวเตอร์ – จำนวนเงินที่มีอยู่ = 35,400 – 22,500

  33. ตัวอย่างที่ 5 โจทย์ดนุพลต้องการซื้อเตียงพร้อมกับที่นอน 1 ชุด ถ้าเตียงราคา 7,350 บาท และที่นอนราคา 11,100 บาท ดนุพลมีเงินอยู่ 14,300 บาท ดนุพลต้องเก็บเงินอีกเท่าไหร่ จึงจะสามารถซื้อเตียงพร้อมกับที่นอนได้? ขั้นที่1. ทำความเข้าใจโจทย์ ดนุพลต้องการซื้อเตียงหรือต้องการซื้อที่นอน? ซื้อเตียงพร้อมกับที่นอน 1 ชุด หมายความว่าอย่างไร? เตียงและที่นอนราคารวมกันเป็นเท่าไร? ดนุพลมีเงินเพียงพอที่จะซื้อเตียงและที่นอนหรือไม่?

  34. ขั้นที่ 2. วางแผนการวาดรูปบาร์โมเดล เตียงราคา ที่นอนราคา ?รวมราคาเตียง และที่นอน? ดนุพลมีเงินจำนวนเงินที่ ต้องเก็บเพิ่ม? 7,350 11,100 11,100 7,350 14,300

  35. หรือ ขั้นตอนที่ 1 ดนุพลต้องการซื้อเตียงพร้อมกับที่นอน 1 ชุด ถ้าเตียงราคา 7,350 บาท และที่นอนราคา 11,100 บาท เตียงราคา ที่นอนราคา รวมราคาเตียง และที่นอน? ราคาเตียง ? ราคาที่นอน 7,350 11,100 7,350 11,100

  36. จากรูปบาร์โมเดล จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่1:จะต้องหาผลรวมของราคาเตียงและที่นอน โดย ใช้การบวก รวมราคาเตียงและราคาที่นอน = ราคาเตียง + ราคาที่นอน = 7,350 + 11,100 = 18,450

  37. ขั้นตอนที่ 2 ดนุพลต้องการซื้อเตียงพร้อมกับที่นอน 1 ชุด ถ้าเตียง 7,350 บาท และที่นอนราคา 11,100 บาท ดนุพลมีเงินอยู่ 14,300 บาท ดนุพลต้องเก็บเงินอีกเท่าไร จึงจะสามารถซื้อเตียงพร้อมกับที่นอนได้?

  38. ขั้นตอนที่ 2 ดนุพลต้องการซื้อเตียงพร้อมกับที่นอน 1 ชุด ถ้าเตียงราคา 7,350 บาท และที่นอนราคา 11,100 บาท ดนุพลมีเงินอยู่ 14,300 บาท ดนุพลต้องเก็บเงินอีกเท่าไร จึงจะสามารถซื้อ เตียงพร้อมกับที่นอนได้ ? รวมราคาเตียง และที่นอน ดนุพลมีเงิน จำนวนเงินที่ ต้องเก็บเพิ่ม? 18,450 14,300

  39. จากรูปบาร์โมเดล จะเห็นได้ว่า ตอนที่ 2: จะต้องหาจำนวนที่ดนุพลต้องเก็บเพิ่ม โดยใช้การลบ จำนวนเงินที่ต้องเก็บเพิ่ม = ราคาเตียงและราคาที่นอน – จำนวนเงินที่ดนุพลมีอยู่ = 18,450 – 14,300 = 4,150

  40. ตัวอย่างที่ 6 โจทย์โรงงานแห่งหนึ่งผลิตน้ำส้มกระป๋องได้เดือนละ 872,000 กระป๋อง น้ำลำไยกระป๋องได้น้อยกว่าน้ำส้ม 165,400 กระป๋อง และผลิต น้ำอ้อยกระป๋องได้มากกว่าน้ำลำไยกระป๋อง 325,600 กระป๋อง โรงงานแห่งนี้ผลิตน้ำอ้อยกระป๋องได้เดือนละกี่กระป๋อง

  41. ขั้นที่1. ทำความเข้าใจโจทย์ โรงงานผลิตน้ำผลไม้กี่ชนิด? น้ำผลไม้ชนิดใดที่โจทย์บอกจำนวนการผลิตมาให้ โรงงานผลิตน้ำส้มกระป๋องมากกว่าน้ำลำไยเท่าใด 4) โรงงานผลิตน้ำอ้อยกระป๋องมากกว่าน้ำลำไยเท่าใด 5) โรงงานผลิตน้ำผลไม้ชนิดใดมากที่สุด

  42. ขั้นที่ 2. วางแผนการวาดรูปบาร์โมเดล น้ำส้ม 165,400 ผลิตน้ำลำไย น้ำลำไย น้อยกว่าน้ำส้ม ? น้ำอ้อย ผลิตน้ำอ้อย มากกว่าน้ำลำไย 872,000 ? 325,600

  43. ตัวอย่างข้อนี้จะต้องใช้ความคิดวิเคราะห์และการตีความเป็นอย่างดี เขียนรูปบาร์โมเดลโดยใช้ข้อมูลจากโจทย์ตามลำดับ ให้มีจุดเริ่มอยู่ในแนวที่ตรงกัน การวาดบาร์โมเดลจะช่วยทำให้เห็นความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ทำให้เข้าใจและสามารถตีความได้ถูกต้อง

  44. โรงงานผลิตน้ำส้มกระป๋องได้เดือนละ 872,000 กระป๋อง ผลิตน้ำลำไยกระป๋องได้น้อยกว่าน้ำส้ม 165,400 กระป๋อง น้ำส้ม 165,400 ผลิตน้ำลำไย น้ำลำไย น้อยกว่าน้ำส้ม น้ำลำไย? 872,000 872,000 ? ? 165,400

  45. จากรูปบาร์โมเดล จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่ 1: จะต้องหาจำนวนน้ำลำไยกระป๋อง โดยใช้การลบ จำนวนน้ำลำไยกระป๋อง = จำนวนการผลิตน้ำส้มกระป๋อง – จำนวนการผลิตน้ำ ลำไยกระป๋องที่น้อยกว่าน้ำส้ม = 872,000 – 165,400

  46. ขั้นตอนที่ 2 ผลิตน้ำอ้อยกระป๋องได้มากกว่าน้ำลำไยกระป๋อง 325,600 กระป๋อง น้ำลำไย น้ำอ้อย ผลิตน้ำอ้อย? น้ำลำไย 706,600 ผลิตน้ำอ้อย มากกว่าน้ำลำไย 325,600 706,600 325,600 ผลิตน้ำอ้อย มากกว่าน้ำลำไย

  47. จากรูปบาร์โมเดล จะเห็นได้ว่า ตอนที่ 2: จะต้องหาจำนวนน้ำอ้อยกระป๋อง โดยใช้การบวก จำนวนน้ำอ้อยกระป๋อง = จำนวนการผลิตน้ำลำไยกระป๋อง + จำนวนผลิต น้ำอ้อยกระป๋องที่มากกว่าน้ำลำไยกระป๋อง = 706,600 + 325,600 = 1,032,220

  48. จากตัวอย่าง จะเห็นว่าการใช้บาร์โมเดลจะช่วยให้นักเรียนเห็นข้อมูลที่กำหนดไว้ในโจทย์ปัญหาได้เป็นรูปธรรมขึ้น ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่กำหนดให้ทั้งหมด และสามารถเชื่อมโยงไปสู่การหาคำตอบของข้อคำถามที่โจทย์ต้องการได้อย่างชัดเจน

  49.  ลองฝึกทำกันนะคะ  • 1. แม่แบ่งเงินให้ลูกสามคน รวม 724,000 บาท ลูกคนแรกได้เงิน 215,000 บาท ลูกคนที่สองได้เงิน 230,000 บาท ลูกคนที่สามจะได้เงินเท่าไร • 2. ปีแรกขายสินค้าได้น้อยกว่าที่สอง 50000 บาท ปีที่สองขายสินค้าได้น้อยกว่าปีที่สาม 100000บาท ถ้าปีที่สามขายสินค้าได้ 450000 บาท ปีแรกขายสิค้าได้เท่าไร • 3. ร้านขายข้าวหน้าเป็ดขายได้สัปดาห์ละ 43,900 บาท จ่ายค่าเป็ด 15,750 บาท ค่าจ้างคนงาน 9,345 บาท เจ้าของร้านเหลือเงินเท่าไร ****นักเรียนจับคู่ทำลงในใบงานนะคะ ****

  50. โจทย์ปัญหาโดยใช้ Bar Model การคูณ และ การหาร

More Related