1 / 49

dbd.go.th

การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท. www.dbd.go.th. สำนักทะเบียนธุรกิจ. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท. กฎหมายที่แก้ไขมี ๓ ฉบับ ๑. พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๑ ..........(กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท)

Download Presentation

dbd.go.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท www.dbd.go.th สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

  2. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท กฎหมายที่แก้ไขมี ๓ ฉบับ ๑. พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๑ ..........(กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท) ๒. พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ .........(ความผิดอาญาเกี่ยวกับหุ้นส่วน บริษัท) ๓. พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๑ .......... (กฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด) 2

  3. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท หุ้นส่วนบริษัท มี ๑๓ เรื่อง ๑. ใบสำคัญการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท (แก้ไข ป.พ.พ.มาตรา ๑๐๒๐ วรรคสอง) เดิม ใครก็ได้ที่เสียค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง สามารถให้นายทะเบียนออกใบสำคัญได้ ใหม่นายทะเบียนจะออกให้เฉพาะผู้มีส่วนได้เสียของ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเท่านั้น 3

  4. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๒. การอ้างสัญญา เอกสารหรือข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้อง จดทะเบียนต่อบุคคลภายนอก (แก้ไขมาตรา ๑๐๒๓ เพิ่มมาตรา ๑๐๒๓/๑) เดิม - ผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท จะอ้างได้เมื่อ จดทะเบียนและลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาแล้ว - แต่ผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น หรือบริษัท ซึ่งได้รับชำระหนี้ก่อนโฆษณาไม่ต้องคืน - บุคคลภายนอก อ้างได้แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนหรือ ลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา 4

  5. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท - และเมื่อประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าบุคคลทุก คนไม่ว่าจะเกี่ยวข้องหรือไม่ ได้รู้แล้ว (มาตรา ๑๐๒๒) ใหม่ - ผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท จะอ้างได้เมื่อ จดทะเบียนแล้ว - แต่บุคคลภายนอกอ้างได้แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียน - ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้รับ ชำระหนี้ก่อนจดทะเบียนไม่ต้องคืน - และเมื่อประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าบุคคลทุกคน ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องหรือไม่ ได้รู้แล้ว 5

  6. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท การยกข้อต่อสู้บุคคลผู้สุจริตเกี่ยวกับอำนาจกระทำการ เดิม จะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้เมื่อจดทะเบียนและลง ประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว ใหม่ หลักการเหมือนเดิม แต่บัญญัติให้ชัดเจนขึ้นว่า ที่กำหนด ให้อ้างสัญญา เอกสาร หรือข้อความกับบุคคลภายนอก ได้เมื่อจดทะเบียนแล้วนั้น จะยกขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอก เรื่องผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือกรรมการ ไม่มีอำนาจกระทำการ เพื่อมิให้ต้องรับผิดไม่ได้จนกว่า จะได้โฆษณาแล้ว 6

  7. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๓. จำนวนผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด (มาตรา ๑๐๑๒ มาตรา ๑๐๙๗ มาตรา ๑๑๐๐ มาตรา ๑๒๓๗) เดิม - ผู้เริ่มก่อการ / ผู้ถือหุ้น ต้องมีอย่างน้อย ๗ คน กรณีผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง ๗ คนเป็นเหตุให้ศาลสั่งเลิก บริษัทได้ ใหม่ - หลักการเหมือนเดิม ลดแต่จำนวนผู้เริ่มก่อการ/ผู้ถือหุ้น เหลืออย่างน้อย ๓ คน 7

  8. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๔. ขั้นตอนและระยะเวลาในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด (มาตรา ๑๐๙๗ – มาตรา ๑๑๑๑ และมาตรา ๑๑๑๑/๑) เดิม - การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมี ๑๐ ขั้นตอน และใช้เวลา อย่างเร็วที่สุด ๙ วัน ดังนี้ (๑) ผู้เริ่มก่อการเจรจาทำความตกลงที่จะทำธุรกิจ ร่วมกัน (๒) ตรวจสอบชื่อ (๓) ผู้เริ่มก่อการร่วมกันจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ 8

  9. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท - ชื่อบริษัท - จังหวัดที่ตั้งสำนักงานใหญ่ - วัตถุประสงค์ (ขอบเขตของธุรกิจที่จะประกอบ) - ถ้อยคำที่แสดงความรับผิดจำกัดของผู้ถือหุ้น (ถ้ากรรมการจะรับผิดไม่จำกัดก็ต้องระบุไว้ด้วย ซึ่งถ้าระบุไว้ การรับผิดไม่จำกัดของกรรมการจะ สิ้นสุดเมื่อพ้น ๒ ปีนับแต่วันที่ออกจากกรรมการ) - จำนวนทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้น - ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ จำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มก่อการแต่ละคนซื้อ 9

  10. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (๔) จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ (๕) ให้จองซื้อหุ้น (๖) เมื่อหุ้นทั้งหมดตามทุนจดทะเบียนมีผู้จองซื้อครบ ผู้เริ่มก่อการออกหนังสือเรียกประชุมผู้จองซื้อหุ้น ประชุมจัดตั้งบริษัท โดยหนังสือนัดประชุมต้อง กำหนดวาระการประชุมและแจ้งล่วงหน้าก่อนวันประชุม อย่างน้อย ๗ วัน รวมทั้งส่งหนังสือนัดประชุมไปให้ นายทะเบียนด้วย (๗) ประชุมจัดตั้งบริษัท 10

  11. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (๘) ผู้เริ่มก่อการส่งมอบงานให้กรรมการ (๙) กรรมการเรียกเก็บเงินค่าหุ้น (๑๐) จดทะเบียนตั้งบริษัท ใหม่ ถ้าดำเนินการตามขึ้นตอนที่ ๓ – ๙ ในวันเดียวกันก็จดทะเบียน หนังสือบริคณห์สนธิและตั้งบริษัทพร้อมกันในวันเดียวกันได้ แต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่า ในการประชุมตั้งบริษัทผู้เริ่มก่อการและ ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมและให้ความเห็นชอบ ในกิจการที่ประชุม (เดิมมติประกอบด้วย ๑/๒ ของผู้จองหุ้น ทั้งหมด + ๑/๒ ของหุ้นทั้งหมด) 11

  12. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๕. หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ (ยกเลิกมาตรา ๑๑๑๑ วรรคห้า มาตรา ๑๑๔๗ ) เดิม - การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต้องส่งหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับฉบับตีพิมพ์อย่างละ ๑๐ ฉบับ - การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิและ ข้อบังคับ ต้องส่งฉบับตีพิมพ์อย่างละ ๑๐ ฉบับ ใหม่ - ยกเลิกไม่ต้องส่งฉบับตีพิมพ์ 12

  13. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๖. วิธีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (มาตรา ๑๑๗๕) เดิม - ลงพิมพ์โฆษณาสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ฉบับหนึ่งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วัน หรือ ส่งไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้นก่อนประชุม ๗ วัน ใหม่ - ลงพิมพ์โฆษณาหนึ่งคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ฉบับหนึ่งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วัน และ ส่งไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นก่อนประชุม ๗ วัน ถ้าเป็นมติพิเศษต้องส่งก่อนประชุม ๑๔ วันและต้อง ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติไว้ด้วย 13

  14. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๗. วิธีการลงมติพิเศษ (มาตรา ๑๑๙๔) เดิม - มติพิเศษ ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและลงมติ ๒ ครั้ง - ประชุมครั้งแรกลงมติเสียงข้างมาก ๓/๔ จำนวนเสียง ทั้งหมด - ประชุมครั้งหลังต้องห่างจากประชุมครั้งแรกไม่น้อยกว่า ๑๔ วันแต่ไม่เกิน ๖ สัปดาห์ / หนังสือนัดประชุมต้อง ระบุข้อความที่ลงมติครั้งแรกไว้ด้วย / มติครั้งหลังต้อง ยืนตามมติครั้งแรกและมีคะแนนเสียงข้างมาก ๒/๓ จำนวนเสียงทั้งหมด 14

  15. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ใหม่ - มติพิเศษ ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพียงครั้งเดียว และต้องลงมติโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า สามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้น ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน 15

  16. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๘. วิธีการแจ้งการจ่ายเงินปันผล (มาตรา ๑๒๐๔) เดิม - โฆษณาหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่งสองครั้งเป็น อย่างน้อย หรือ มีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ใหม่ - มีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน และในกรณีมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ให้โฆษณาใน หนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวด้วย 16

  17. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๙. ลดภาระในการลดทุนและควบบริษัท (มาตรา ๑๒๒๖ และ มาตรา ๑๒๔๐) เดิม การลดทุน - โฆษณาหนังสือพิมพ์ ๗ ครั้ง - มีหนังสือแจ้งบรรดาเจ้าหนี้ เพื่อให้สิทธิคัดค้าน ภายใน ๓ เดือนนับแต่วันที่แจ้ง ใหม่ - โฆษณาหนังสือพิมพ์ ๑ ครั้ง - มีหนังสือแจ้งบรรดาเจ้าหนี้ เพื่อให้สิทธิคัดค้าน ภายใน ๓๐ วัน 17

  18. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท เดิม การควบบริษัท - โฆษณาหนังสือพิมพ์ ๗ ครั้ง - มีหนังสือแจ้งบรรดาเจ้าหนี้ เพื่อให้สิทธิคัดค้าน ภายใน ๖ เดือนนับแต่วันที่แจ้ง ใหม่ - โฆษณาหนังสือพิมพ์ ๑ ครั้ง - มีหนังสือแจ้งบรรดาเจ้าหนี้ เพื่อให้สิทธิคัดค้าน ภายใน ๖๐ วัน 18

  19. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๑๐. การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด (เพิ่มส่วนที่ ๑๒ ใน หมวด ๔ มาตรา ๑๒๔๖/๑ – ๑๒๔๖/๗) เดิม - การเปลี่ยนสถานะจากห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้าง- หุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด ต้องจดทะเบียนเลิกห้าง แล้วทำการจดทะเบียนตั้งบริษัทขึ้นใหม่ ใหม่ - กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน / ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป และผู้เป็นหุ้นส่วน ทุกคนให้ความยินยอมสามารถแปรสภาพเป็นบริษัท จำกัดได้ โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 19

  20. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (๑) ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ความยินยอมแปรสภาพ ห้างเป็นบริษัทจำกัด (๒) แจ้งความยินยอมให้แปรสภาพต่อนายทะเบียน ภายใน ๑๔ วัน นับแต่วันที่ยินยอม (๓) โฆษณาหนังสือพิมพ์ ๑ ครั้ง และมีหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ ให้สิทธิคัดค้านภายใน ๓๐ วัน (กรณีห้างหุ้นส่วน ไม่โฆษณาหรือไม่แจ้ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท) 20

  21. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (๔) ถ้ามีเจ้าหนี้คัดค้าน จะแปรสภาพไม่ได้จนกว่าจะ ชำระหนี้หรือให้ประกันหนี้นั้นแล้ว (การแปรสภาพ โดยฝ่าฝืนกรณีนี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท) (๕) ประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเพื่อยินยอมในเรื่องดัง ต่อไปนี้ ๑ ทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับบริษัท 21

  22. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๒ กำหนดทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้น และ กำหนดจำนวนหุ้นที่จะให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน ๓ กำหนดจำนวนเงินค่าหุ้นที่ได้ชำระแล้วในแต่ละหุ้น โดยต้องไม่น้อยกว่า ๒๕% ของมูลค่าหุ้น ๔ กำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิและสภาพที่จะ ออกและจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้น ๕ แต่งตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ ๖ แต่งตั้งผู้สอบบัญชี 22

  23. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (๖) หุ้นส่วนผู้จัดการส่งมอบกิจการให้คณะกรรมการ ภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่ประชุมเสร็จสิ้น (หุ้นส่วนผู้จัดการ ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท) (๗) ให้คณะกรรมการแจ้งให้หุ้นส่วนชำระค่าหุ้นอย่างน้อย ๒๕% ของมูลค่าหุ้นภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่แจ้ง (๘) คณะกรรมการจดทะเบียนแปรสภาพภายใน ๑๔ วัน นับแต่ วันที่เรียกเก็บค่าหุ้นเสร็จ (ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท) 23

  24. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๑๑. ผลของการแปรสภาพ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมหมดสภาพ (๒) บริษัทได้รับทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้าง ทั้งหมด (๓) ความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการแปร สภาพ ให้เจ้าหนี้เรียกให้บริษัทชำระหนี้ก่อน หากบริษัทไม่ สามารถชำระหนี้ได้ ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากผู้เป็น หุ้นส่วนของห้างตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องรับผิดในหนี้ ในขณะที่เป็นห้างหุ้นส่วน 24

  25. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๑๒. ลดภาระในการเลิกห้างหุ้นส่วนบริษัท (แก้ไขมาตรา ๑๒๕๓) เดิม โฆษณาหนังสือพิมพ์ ๒ ครั้ง ใหม่ ลดการโฆษณาหนังสือพิมพ์เหลือ ๑ ครั้ง 25

  26. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ๑๓. การถอนทะเบียนร้าง (ยกเลิกส่วนที่ ๑๑ มาตรา ๑๒๔๖ ของ หมวด ๔ และเพิ่มหมวด ๖ มาตรา ๑๒๗๓/๑ – มาตรา ๑๒๗๓/๔) เดิม (๑) ถอนทะเบียนร้างได้เฉพาะบริษัทจำกัด (๒) ขั้นตอนดำเนินการดังนี้ - มีหนังสือสอบถาม ๒ ครั้ง - ครั้งแรก ให้เวลา ๑ เดือน - ครั้งที่สอง หลังจาก ๑ เดือนและภายใน ๑๔ วัน - หลังจากนั้น ๑ เดือนให้โฆษณาหนังสือพิมพ์และแจ้ง บริษัทว่า พ้น ๓ เดือนจะขีดชื่อออกจากทะเบียนและ บริษัทต้องเลิก 26

  27. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท - ประกาศราชกิจจานุเบกษา - ใช้เวลาถอนทะเบียนร้างประมาณ ๖ – ๗ เดือน - การสอบถามใช้ส่งจดหมายส่งทางไปรษณีย์ - การถอนทะเบียนร้างบริษัทมี ๒ ประเภท - ขณะที่ยังไม่เลิกบริษัท (ไม่ประกอบการงาน) กับ - ขณะที่เลิกบริษัทแล้วอยู่ระหว่างการชำระบัญชี (ไม่มีตัว ผู้ชำระบัญชี หรือชำระบัญชีเสร็จแล้วแต่ไม่รายงานการ ชำระบัญชีต่อนายทะเบียน) - ผลของการถอนทะเบียนร้าง บริษัทต้องเลิกตั้งแต่เมื่อประ ประกาศราชกิจจานุเบกษา 27

  28. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท - ความรับผิดของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้ถือหุ้นยังคงมีอยู่ เหมือนบริษัทไม่ได้เลิก - บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ที่เสียหายสามารถยื่นคำร้องต่อ ศาลให้สั่งกลับจดชื่อคืนสู่ทะเบียนได้โดยไม่มีจำกัดเวลา ใหม่ - ถอนทะเบียนได้ทั้งบริษัทและห้างหุ้นส่วน - ลดการสอบถามเหลือครั้งเดียว โดยส่งจดหมายทางไปรษณีย์ ตอบรับให้เวลาตอบ ๓๐ วัน พ้นเวลาดังกล่าวแล้วให้ประกาศ หนังสือพิมพ์และส่งหนังสือแจ้งว่าเมื่อพ้น ๙๐ วัน จะถูกขีดชื่อ ออกจากทะเบียน (ใช้เวลา ๔ – ๕ เดือน) 28

  29. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท - เหตุถอนทะเบียนกรณีอยู่ระหว่างการชำระบัญชีเป็นไม่กำหนดเวลา ในการส่งรายงานการชำระบัญชีและเพิ่มการไม่จดทะเบียน เสร็จการชำระบัญชี โดยให้มีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ให้ดำเนินการให้มีตัวผู้ชำระบัญชีหรือยื่นรายงานหรือจดทะเบียน เสร็จชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วัน ถ้าไม่ดำเนินการ ให้โฆษณาหนังสือพิมพ์ และส่งหนังสือแจ้งว่าเมื่อพ้น ๙๐ จะถูกขีดชื่อ ออกจากทะเบียน - ห้ามร้องขอศาลให้สั่งกลับจดชื่อคืนสู่ทะเบียนเมื่อพ้น ๑๐ ปี นับแต่ แต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อ 29

  30. การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท - การขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนไม่ต้อง ประกาศราชกิจจานุเบกษา - ห้างหุ้นส่วนบริษัทสิ้นสภาพเมื่อถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน ซึ่งต่างจากเดิมเพียงจะต้องเลิกเท่านั้น - พ.ร.บ.กำหนดความผิดฯ มาตรา ๓๘/๑ กำหนดโทษอาญา ไว้สำหรับผู้ที่ใช้ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ถูกขีดชื่อออก จากทะเบียนแล้ว ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท และปรับอีกวันละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาทจนกว่าจะเลิกใช้ 30

  31. การแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางการแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๔๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ ๑ ยกเลิกแบบพิมพ์ที่นายทะเบียนกำหนดตามระเบียบฯ เดิมทั้งหมด โดยให้ใช้แบบพิมพ์ที่นายทะเบียนกำหนดรูปแบบขึ้นใหม่ ๒ ยกเลิกรายละเอียดคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอ จดทะเบียนตามระเบียบฯ เดิมทั้งหมด โดยให้ใช้ตามที่ระเบียบฯใหม่ กำหนด ๓ ยกเลิกการส่งหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ ๔ กำหนดให้เฉพาะแต่ผู้มีส่วนได้เสียของห้างหุ้นส่วนบริษัทเท่านั้น ที่จะขอใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนได้ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้ถือหุ้น กรรมการ หรือผู้รับมอบอำนาจจาก บุคคลดังกล่าว (ข้อ ๓๓) 31

  32. การแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางการแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๔๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมการนับระยะเวลาส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้นตามมาตรา ๑๑๗๕ (ข้อ ๕๐ วรรคสอง) ๖ ยกเลิกการนับระยะเวลาการประชุมครั้งหลัง เพื่อยืนยันมติ ของการประชุมครั้งแรกให้เป็นมติพิเศษตามมาตรา ๑๑๙๔ (ข้อ ๕๑) ๗ เพิ่มเติมการนับระยะเวลายื่นคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท และ แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด (ข้อ ๕๒ (2) และ (7) ) ๘ กำหนดแนวทางปฏิบัติของนายทะเบียนเพิ่มเติมเกียวกับการรับ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีผู้ถือหุ้นไม่ถึงสามคน (ข้อ ๕๕) 32

  33. การแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางการแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๔๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ ๙ เพิ่มเติมการนับระยะเวลาคัดค้านการแปรสภาพห้างหุ้นส่วน เป็นบริษัทจำกัด (ข้อ ๕๗) ๑๐ กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด (ข้อ ๖๒/๑ ถึงข้อ ๖๒/๖) ๑๑ กำหนดให้การจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้เริ่มก่อการ จะต้องมี ผู้เริ่มก่อการเดิมเหลืออยู่ไม่น้อยกว่าสามคน (ข้อ ๖๕) ๑๒ กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทพร้อมกันภายในวันเดียวกัน (ข้อ ๗๒/๑ถึงข้อ ๗๒/๕) 33

  34. การแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางการแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๔๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ ๑๓ เพิ่มเติมหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนกรรมการ/อำนาจ กรรมการ ในกรณีคำขอจดทะเบียนมิได้ลงลายมือชื่อโดยกรรมการ ผู้มีอำนาจตามที่จดทะเบียนไว้เดิม (ข้อ ๗๔) ๑๔ กำหนดห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนใดๆ หรือรับสำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ถูกนายทะเบียนขีดชื่อ ออกจากทะเบียนแล้ว (ข้อ ๘๓/๑) ๑๕ กำหนดกรณีที่ให้สันนิษฐานว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทมิได้ทำการ ค้าขายหรือประกอบการงาน หรือไม่มีตัวผู้ชำระบัญชีทำการอยู่ และกำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทร้าง (ข้อ ๘๖) 34

  35. การแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางการแก้ไขระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๔๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ ๑๖ กำหนดระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของนายทะเบียน (ข้อ ๘๙ ) ๑๗ กรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้ดำเนินการประชุมเพื่อมีมติใดๆ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่กฎหมายและ ระเบียบนี้ใช้บังคับ และได้ยื่นคำขอจดทะเบียนตามมตินั้นภายหลัง วันที่กฎหมายและระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนพิจารณาคำขอ จดทะเบียนตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ใช้อยู่ก่อนนั้น (ข้อ ๙๐/๑) ๑๘ กำหนดให้ใช้แบบพิมพ์เก่าต่อไปได้อีก ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ ระเบียบนี้ใช้บังคับ (ข้อ ๙๒) 35

  36. ผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ หุ้นทั้งหมดมีผู้เข้าชื่อซื้อครบถ้วนแล้ว ประชุมจัดตั้งบริษัท ผู้เริ่มก่อการมอบกิจการให้แก่กรรมการ ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นได้ชำระเงินค่าหุ้น ตามที่กรรมการเรียกครบถ้วนแล้ว ยื่นคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และจัดตั้งบริษัทจำกัดพร้อมกัน ชำระค่าธรรมเนียม รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน หนังสือรับรองและสำเนาเอกสาร การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทจำกัดภายในวันเดียว ภายในวันเดียวกัน ภายใน 3 เดือน 36

  37. ประชุมจัดตั้งบริษัท มาตรา 1108 • ตั้งข้อบังคับของบริษัท • ให้สัตยาบันสัญญาหรืออนุมัติค่าใช้จ่ายที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำหรือ • ออกไปแล้ว • กำหนดจำนวนเงินที่จะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ (ถ้ามี) • กำหนดจำนวนและสภาพของหุ้นบุริมสิทธิ(ถ้ามี) • กำหนดจำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิที่จะออกทดแทนการ • ลงทุนด้วยอย่างอื่นนอกจากเงิน • เลือกตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ • แต่งตั้งผู้สอบบัญชี 37

  38. เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน 1 แบบ บอจ.1, แบบ บอจ.2 (ใช้ทั้ง 2 หน้า) ผนึกอากร 200 บาท, แบบ บอจ.3 (ใช้ทั้ง 2 หน้า), แบบ ว., แบบ ก. 2 แบบจองชื่อนิติบุคคล 3 หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษ ควบคุม) 4 สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท 5สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นในการประชุมให้ความเห็นชอบ ในกิจการที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ 6 แบบ บอจ.5 7 สำเนาข้อบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี) 8 สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น 38

  39. เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน 9 กรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ให้ผู้ถือหุ้น ทุกคนที่มีสัญชาติไทยส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนซึ่งปรากฏ จำนวนเงินสอดคล้องกับจำนวนเงินที่ชำระค่าหุ้นแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละคน ดังนี้ - สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร ย้อนหลัง 6 เดือน หรือ - เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะทางการเงิน ของผู้ถือหุ้น หรือ - สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น 39

  40. เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน 10 แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ 11 สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อ ในคำขอจดทะเบียน 12 สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) 13 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) 40

  41. ค่าธรรมเนียม • จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท • แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ชำระ 50 บาท เศษของ 100,000 บาท • ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 500 บาท และ • ไม่ให้เกิน25,000 บาท • จดทะเบียนบริษัท ทุกจำนวนเงินไม่เกิน100,000 บาท แห่งจำนวน • ทุนที่กำหนดไว้ชำระ 500 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น • 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 5,000 บาท และไม่ให้เกิน • 250,000 บาท • ใบสำคัญการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท • หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท • รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท 41

  42. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/ห้างหุ้นส่วนจำกัดห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หุ้นส่วนผู้จัดการเดิมส่งมอบกิจการให้คณะกรรมการ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทำบันทึกข้อตกลง ยินยอมให้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนประชุมกัน แจ้งนายทะเบียน ไม่มีผู้ใดคัดค้านเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่บอกกล่าว • หนังสือแจ้งนายทะเบียน • สำเนาบันทึกข้อตกลง • ยินยอมให้แปรสภาพ โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 คราว ขั้นตอนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด ม. 1246/1 ภายใน 14 วัน มีหนังสือบอกกล่าว ไปยังเจ้าหนี้ ม.1246/2 ภายใน 14 วัน 42

  43. ยื่นคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบยื่นคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ คำขอเพื่อตรวจพิจารณา รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน หนังสือรับรองและสำเนาเอกสาร คณะกรรมการแจ้งให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ชำระเงินค่าหุ้นภายใน 30 วัน ชำระค่าธรรมเนียม ม.1246/3 ภายใน 14 วัน ม.1246/3 43

  44. ประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนประชุมผู้เป็นหุ้นส่วน • จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ/ข้อบังคับ (ถ้ามี) • กำหนดจำนวนทุนเรือนหุ้นและจำนวนหุ้นที่จะตกได้แก่ • ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน • กำหนดจำนวนเงินที่ได้ใช้แล้วในแต่ละหุ้น (ไม่น้อยกว่าร้อยละ • 25 ของมูลค่าหุ้น) • กำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิรวมทั้งกำหนด • สภาพและบุริมสิทธิของหุ้นและจัดสรรหุ้น • แต่งตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจ • แต่งตั้งผู้สอบบัญชี 44

  45. เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน 1 แบบ บอจ.1/1,แบบ บอจ.2 (ใช้เฉพาะหน้า 1 แต่ไม่ต้องกรอกรายละเอียด เกี่ยวกับผู้เริ่มก่อการ) ผนึกอากร 200 บาท, แบบ ว. ,แบบ บอจ. 3 (ใช้ทั้ง 2 หน้า) แบบ ก.,แบบ บอจ.5 2 แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ 3 สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนในการประชุมให้ความยินยอมและ ดำเนินการแปรสภาพพร้อมลายมือชื่อ 4 สำเนารายงานการประชุมของผู้เป็นหุ้นส่วนในการให้ความยินยอมและ ดำเนินการแปรสภาพ 5 สำเนาข้อบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี) 6 สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้น-โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน-เอกสาร หลักฐานการให้ใช้สิทธิ์ต่างๆ (ถ้ามี) 7 หนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์โฆษณาบอกกล่าวการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็น บริษัทจำกัด(ใช้เฉพาะหน้าที่มีชื่อหนังสือพิมพ์และวันที่ออกหนังสือพิมพ์) 45

  46. เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน 8 สำเนาหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ (ถ้ามี) 9 สำเนาหนังสือยืนยันว่าห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ไม่คัดค้าน ซึ่งลงลายมือชื่อโดยกรรมการตามอำนาจที่ขอจดทะเบียน 10 สำเนาหนังสือคัดค้านของเจ้าหนี้ (ถ้ามี) 11 สำเนาหลักฐานการชำระหนี้-ให้ประกันหนี้เจ้าหนี้ (ถ้ามี) 12 หนังสือยืนยันการรับมอบกิจการ ทรัพย์สิน บัญชี เอกสารและหลักฐาน ต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพซึ่งลงลายมือชื่อโดยกรรมการ ตามอำนาจที่ขอจดทะเบียน 13 สำเนาหลักฐานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ 1. ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านและ 2. สำเนาสัญญาเช่า (กรณีเช่า) หรือหนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถาน ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ความยินยอมให้ใช้ สถานที่) และสำเนาหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้ความยินยอม เช่น หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าบ้าน สัญญาซื้อขาย 46

  47. เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน 14 แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณ ใกล้เคียงโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานที่ตั้งสำนักงาน 15 สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการทุกคน 16 สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) 17 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) 47

  48. ค่าธรรมเนียม • ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาทแห่งจำนวนทุน • ที่กำหนดไว้ 500 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น • 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 5,000 บาท • และไม่ให้เกิน 250,000 บาท • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท • หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท • รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท 48

  49. โทร. 0 2547 5050, 0 2547 5995 • สายด่วน 1570 • กระดานข่าวใน www.dbd.go.th • e-mail address : regis@dbd.go.th

More Related