1 / 31

Financial ratio analysis การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

น.ส. สารินี บัวเจริญ 09490712 น.ส.อังสนา กลิ่นพิพัฒน์ 09490734 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. Financial ratio analysis การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน.

talon
Download Presentation

Financial ratio analysis การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. น.ส. สารินี บัวเจริญ 09490712 น.ส.อังสนา กลิ่นพิพัฒน์ 09490734 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ Financial ratio analysisการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

  2. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน • เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis) • เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายการต่างๆในงบการเงินหลัก 2 งบ คือ งบดุลและงบกำไรขาดทุน • ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินการของกิจการปัจจุบันเทียบกับอดีต • สามารถประเมิณผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยงต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

  3. ประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางการเงินในเชิงธุรกิจประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางการเงินในเชิงธุรกิจ • สำหรับเจ้าของ • เพื่อกำหนดเป้าหมาย • เพื่อกำหนดกลยุทธ์ • เพื่อกำหนดอนาคตกิจการ • สำหรับสถาบันการเงิน/เจ้าหนี้ • เพื่อพิจารณาสินเชื่อ • เพื่อประเมินผลกิจการ • สำหรับนักลงทุน • เพื่อดูผลตอบแทน/หากเข้าร่วมลงทุน • สำหรับผู้ปฏิบัติงาน • เพื่อประสานงานและสร้างทีมงาน • เพื่อกำหนดวิธีแก้ปัญหา

  4. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน • วิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง • วิเคราะห์การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ • วิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร • วิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้

  5. 1.อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) • หมายถึง ความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้น • กิจการมีสินทรัพท์มากพอในการชำระหนี้สินหรือไม่ ? • สามารถเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสดได้เร็วแค่ไหน ? • เกี่ยวข้องกับ • สินทรัพย์ • หนี้สินหมุนเวียน

  6. อัตราส่วนสภาพคล่องบริษัทไออี จำกัด เปรียบเทียบกับ Industry Average

  7. สรุปสภาพคล่องของบริษัทไออี จำกัด • อัตราส่วนทุนหมุนเวียน= 1.59 > 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่อง แต่ < 2.11 แสดงว่ามีสภาพคล่องต่ำกว่าค่าเฉลี่ย • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว= 1.18 > 1แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และ > 1.12 แสดงว่ามีสภาพคล่องสูงกว่าค่าเฉลี่ย • อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ = 1.76 หมายถึงบริษัทสามารถขายสินค้าได้เพียง 1.76 ครั้งใน 1 ปี ซึ่ง < 6.65 แสดงว่าบริษัทสามารถขายสินค้าได้ช้ากว่าค่าเฉลี่ย • ระยะเวลาการถือสินค้า = 207.5 หมายถึงจำนวนวันเฉลี่ยที่บริษัทใช้ต่อการขายสินค้า 1 ครั้งเป็นเวลาถึง 207.5 วันนับจากวันที่ซื้อหรือผลิตสินค้าออกมา

  8. สรุปสภาพคล่องของบริษัทไออี จำกัด (ต่อ) • วงจรเงินสด= 135 > 66.79 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องต่ำกว่า Industry Average คือ สามารถเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสดได้ช้ากว่าค่าเฉลี่ย ชำระค่าสินค้าหรือวัตถุดิบ เงินสด เจ้าหนี้การค้า ผลิตหรือ ซื้อสินค้า เก็บเงินได้ ซื้อวัตถุดิบหรือส/คเงินเชื่อ ขายสินค้าเงินสด สินค้า ลูกหนี้การค้า ขายสินค้าเงินเชื่อ

  9. สรุปสภาพคล่องของบริษัทไออี จำกัด (ต่อ) • จากอัตราส่วนทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว > 1 แสดงว่ากิจการมี สินทรัพท์มากพอในการชำระหนี้สิน • จากระยะเวลาการถือสินค้ายาวนาน ส่งผลให้วงจรเงินสดมีระยะเวลายาวนาน แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องต่ำ สามารถเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสดได้ช้า

  10. การปรับปรุงสภาพคล่องของบริษัทไออี จำกัด • ปัญหา คือ บริษัทมีสภาพคล่องต่ำ • สาเหตุ คือ สินค้าคงเหลือมาก ทำให้ระยะเวลาการถือสินค้ายาวนาน ส่งผลให้วงจรเงินสดที่มีระยะเวลายาวนานด้วย • วงจรเงินสดคือ ความสามารถในการเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสด • ต้องลดระยะเวลาในวงจรเงินสด ยิ่งสั้นยิ่งดี • วงจรเงินสด = ระยะเวลาการถือสินค้า + ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการ เรียกเก็บหนี้ – ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ • ลดระยะเวลาการถือสินค้าให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ลดระยะเวลาการเก็บหนี้ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ขยายระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

  11. 2. อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์(Activity or Asset Utilization Ratios) • หมายถึง ความสามารถในการนำสินทรัพย์มาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้าง รายได้ • กิจการมีประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์หรือไม่? • เกี่ยวข้องกับ • ยอดขาย • สินทรัพย์

  12. อัตราส่วนการใช้สินทรัพย์บริษัทไออี จำกัด เปรียบเทียบกับ Industry Average

  13. สรุปอัตราส่วนการใช้สินทรัพย์ของบริษัทไออี จำกัด • อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม= 0.44 หมายถึงสินทรัพย์รวมของบริษัทสามารถสร้างรายได้ 0.44 เท่าของมูลค่าสินทรัพย์รวม และ 0.44 < 2.09 แสดงว่านำสินทรัพย์รวมมาใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ย • อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร = 0.68 หมายถึงสินทรัพย์ถาวรทั้งหมดของบริษัทสามารถสร้างรายได้ 0.68 เท่าของมูลค่าสินทรัพย์ถาวร และ 0.68 < 4.2 แสดงว่านำสินทรัพย์ถาวรมาใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ย

  14. สรุปอัตราส่วนการใช้สินทรัพย์ของบริษัทไออี จำกัด (ต่อ) • จากอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมและอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวรต่ำ แสดงว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ต่ำ

  15. การปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ของบริษัทไออี จำกัด • ปัญหา คือ ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ต่ำ • สาเหตุ คือ มีสินทรัพย์ถาวรบางตัวที่ไม่สร้างรายได้ให้กับกิจการ และใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ถาวรได้น้อย ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ต่ำ • ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ คือ ความสามารถในการนำสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุนไปมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กิจการ ยิ่งสูงยิ่งดี • ลดสินทรัพย์บางตัวที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลง • พิจารณาเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับกิจการ เพื่อสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

  16. 3.อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios) • หมายถึง ความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับเงินลงทุน วิเคราะห์ผลการดำเนินงานจากงบกำไรขาดทุน โดยเทียบกับเงินลงทุนในงบดุล • เป็นเครื่องชี้ถึงความน่าลงทุนของกิจการ • กิจการให้ผลตอบแทนสูงหรือไม่ ? • เกี่ยวข้องกับ • กำไร • ทุน (ส่วนของผู้ถือหุ้น)

  17. อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของ บริษัทไออีจำกัด เปรียบเทียบกับ Industry Average

  18. สรุปอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไออี จำกัด • อัตรากำไรขั้นต้น = 64.56 > 27.30 แสดงว่ากิจการสามารถทำกำไรขั้นต้นได้ 64.56 % ของยอดขาย และสูงกว่าค่าเฉลี่ย • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน= 39.32 > 12 แสดงว่ากิจการสามารถทำกำไรจากการดำเนินงานได้ 39.32 % ของยอดขาย และสูงกว่าค่าเฉลี่ย • อัตรากำไรสุทธิ = 27.67 > 7 แสดงว่ากิจการสามารถทำกำไรสุทธิได้ 27.67 % ของยอดขาย และสูงกว่าค่าเฉลี่ย

  19. สรุปอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไออี จำกัด (ต่อ) • ROA = 12.31 > 10.30 แสดงว่ากิจการสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุนได้ 12.31 % ของเงินลงทุน (สินทรัพย์รวม) และสูงกว่าค่าเฉลี่ย • ROE = 24.52 < 27.20 แสดงว่ากิจการสามารถให้ผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้นได้ 24.52 % ของส่วนของผู้ถือหุ้น และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

  20. สรุปอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไออี จำกัด (ต่อ) • บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรในด้านของอัตรากำไรต่อยอดขายสูง มีอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุนสูง แต่มีอัตราผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้นต่ำ แสดงว่ากิจการมีการลงทุนสูง • กิจการนี้ให้ผลตอบแทนสูง แต่ต้องลงทุนสูงด้วย • ผลตอบแทน ยิ่งสูงยิ่งดี

  21. 4.อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้(Leverage Ratios or Long-term Solvency Ratios) • หมายถึง ความสามารถทำกำไรได้เพียงพอต่อการชำระดอกเบี้ยของ หนี้สิน หรือสามารถหาแหล่งเงินกู้อื่นเพื่อกู้เงินมาชำระหนี้สินได้ • กิจการมีการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้เป็นกี่เท่าของสินทรัพย์ • มีภาระดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายน้อยมาก – น้อยเท่าไร ? • ความเสี่ยงด้านการลงทุนของกิจการมาก – น้อยแค่ไหน ? • เกี่ยวข้องกับ • หนี้สิน • สินทรัพย์ • ทุน (ส่วนของผู้ถือหุ้น)

  22. แสดงอัตราส่วนความสามารถในการทำชำระหนี้ของ บริษัทไออี จำกัด เปรียบเทียบกับ Industry Average

  23. สรุปอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทไออี จำกัด • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์= 52.15 < 58.30 แสดงว่ากิจการมีการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้เป็น 52.15 % ของสินทรัพย์ทั้งหมด และกิจการมีการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย • อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น= 1.09 < 1.4 แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้เป็น 1.09 เท่าของการจัดหาเงินทุน (หนี้สินรวมมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น) และความเสี่ยงของธุรกิจที่มีน้อยกว่าค่าเฉลี่ย • อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = 0.67 < 0.9 แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สินระยะยาวเป็น 0.67 เท่าของการจัดหาเงินทุน (หนี้สินระยะยาวน้อยกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น) และมีความเสี่ยงของธุรกิจน้อยกว่าค่าเฉลี่ย

  24. สรุปอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทไออี จำกัด (ต่อ) • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ย แสดงว่ามีความเสี่ยงน้อย เนื่องจากมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้น้อย ทำให้โอกาสในการหากำไรสูง

  25. อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์

  26. สรุปอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทไออี จำกัด (ต่อ) • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วนที่แสดงความเสี่ยงของกิจการ ถ้ามีค่าต่ำเกินไปก็อาจแสดงว่า การขยายตัวของกิจการอยู่ในเกณฑ์ต่ำ หรือกิจการมีความน่าเชื่อถือต่ำ เนื่องจากไม่สามารถหาเงินกู้ในการลงทุนได้นอกเหนือจากส่วนเงินทุนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น และถ้ามีค่าสูงเกินไปจะบอกถึงความเสี่ยงของกิจการมีสูง เนื่องจากต้องมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้โอกาสในการหากำไรต่ำ แต่อาจเป็นช่วงที่กิจการมีการขยายตัวก็ได้ ดังนั้นอัตราส่วนนี้ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับการดำเนินกิจการปัจจุบัน

  27. สรุปผลภาพรวมของบริษัท ไออี จำกัด • สินค้าคงคลังมาก ทำให้สภาพคล่องของกิจการต่ำ • สินทรัพย์ถาวรมีมูลค่าสูง ทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ต่ำ นำประโยชน์จากสินทรัพย์ถาวรมาใช้ได้น้อย • มีความสามารถทำกำไรได้สูง แต่ก็ลงทุนสูงเช่นเดียวกัน • กิจการมีความเสี่ยงด้านการลงทุนต่ำ เนื่องจากการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ต่ำกว่าทุน

  28. การตีความผลลัพธ์ที่ได้การตีความผลลัพธ์ที่ได้ การที่จะวิเคราะห์ว่าบริษัท มีกิจการที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นกับคนวิเคราะห์ว่า ชอบความเสี่ยง (Risk lover) หรือเปล่า

  29. The End Thank you

More Related