1 / 49

บทที่ 6 การฝึกอบรมและพัฒนา

บทที่ 6 การฝึกอบรมและพัฒนา. การฝึกอบรมและพัฒนา (Training and Development). การฝึกอบรมและพัฒนา คือ ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่มุ่งพัฒนา Competencies ของพนักงาน และผลประกอบการขององค์กร

tallis
Download Presentation

บทที่ 6 การฝึกอบรมและพัฒนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6การฝึกอบรมและพัฒนา

  2. การฝึกอบรมและพัฒนา (Training and Development) • การฝึกอบรมและพัฒนา คือ ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่มุ่งพัฒนา Competencies ของพนักงาน และผลประกอบการขององค์กร • การฝึกอบรม ( Training) และการพัฒนา (Development) ทั้งสองคำนี้มีความหมายคล้ายคลึงกันและเป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังมีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้ - การฝึกอบรม หมายถึงกระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนซึ่งมุ่งหมายที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ (Knowledge) และความชำนาญ (skills) เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะขององค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ - ส่วนคำว่าการพัฒนา (development) มีความหมายใกล้เคียงกันกับการฝึกอบรม ต่างกันเพียงเล็กน้อยตรงที่ การฝึกอบรมนั้นเป็นการเตรียมคนเพื่อทำงานในปัจจุบัน ส่วนการพัฒนานั้นเป็นการเตรียมคนเพื่อให้ทำงานในอนาคต ( Training is for present jobs and development is for future jobs) • วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมและพัฒนา วัตถุประสงค์สูงสุดของการฝึกอบรมและการพัฒนา คือการสร้างองค์กรที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้”

  3. องค์กรแห่งการเรียนรู้ หมายถึง • องค์กรที่มีทักษะในการสร้าง ครอบครอง และถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งมีทักษะในการปรับพฤติกรรมของตนให้สอดคล้องกับความรู้ (Knowledge) และความรอบรู้ (Insight) ใหม่ๆ • องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือองค์กรที่ตระหนักถึง ความสำคัญของการพัฒนาและฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานขององค์กร และจัดการให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง • Bateman and Snell, Management

  4. ภารกิจของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภารกิจของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 1. งานจัดหาทรัพยากรมนุษย์ : การออกแบบและวิเคราะห์งาน วางแผนกำลังคน สรรหาและคัดเลือก 2. งานพัฒนา/ใช้ทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้บุคลากรให้มีโอกาสใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง หมู่คณะและขององค์กร ตลอดจนควบคุมดูแลให้บุคคลได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มใจที่จะทุ่มเททั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อความสำเร็จขององค์กร : การบรรจุแต่งตั้งการปฐมนิเทศ และการทดลองงาน การสร้างแรงจูงใจ การสร้างทีมงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การฝึกอบรมและพัฒนา 3. งานดูแลรักษาทรัพยากรมนุษย์ คือ การรักษาพนักงานให้มีสุขภาพกายและจิตที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีชีวิตยืนยาวและมีความสุขสามารถทำงานอยู่ได้จนครบเกษียณอายุ : การพิจารณาความดีความชอบ การจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทนและสวัสดิการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัย การบำรุงรักษาสุขภาพอนามัยและการป้องกันอุบัติภัย การควบคุมด้านวินัยและการลงโทษ กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ 4

  5. ภารกิจที่ 2งานการพัฒนา/ใช้ทรัพยากรมนุษย์ คือ กระบวนการหรือกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ความมุ่งหมาย 1.เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการทำงานของพนักงาน และเพิ่มกำไรให้องค์การ 2.เพื่อหลีกเลี่ยงความล้าสมัยในการปฏิบัติงานในทุกระดับขององค์การ 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้ก้าวหน้าไปดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นไปในสายงาน ขอบเขตและกิจกรรม • การพัฒนาบุคคล 1.1) การฝึกอบรม 1.2) การศึกษา 1.3) การพัฒนา 2. การพัฒนาอาชีพ และ 3. การพัฒนาองค์การ

  6. ขอบเขตและกิจกรรมการพัฒนา/ใช้ทรัพยากรมนุษย์ขอบเขตและกิจกรรมการพัฒนา/ใช้ทรัพยากรมนุษย์ Career Development การพัฒนาอาชีพ Individual Development การพัฒนาบุคคล Organization Development การพัฒนาองค์การ Human Resource Development

  7. ความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนา/ใช้ทรัพยากรมนุษย์ความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนา/ใช้ทรัพยากรมนุษย์ • ผู้บริหารระดับสูง - กำหนดนโยบาย สนับสนุนด้านงบประมาณ • หน่วยงานที่รับผิดชอบ - เป็นผู้ดำเนินการ ให้คำแนะนำ • ผู้บังคับบัญชาในสายงาน - สนับสนุนการเข้าร่วมของพนักงาน • พนักงาน - ให้ความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมในการพัฒนาต่างๆ

  8. 1.การพัฒนาตัวบุคคล (Individual Development) • การพัฒนาบุคคล คือการที่องค์การมีจุดมุ่งหมายที่การให้ประสบการณ์และการเรียนรู้แก่บุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์การ • กิจกรรมในการพัฒนาบุคคล แบ่งเป็น 1.การฝึกอบรม (Training) 2.การศึกษา (Education) 3.การพัฒนา (Development)

  9. การฝึกอบรม (Training) - คือ การพัฒนาบุคลากร โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อต้องการให้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมสามารถทำงานในปัจจุบันที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ • คือ กิจกรรมที่มุ่งถ่ายทอดความรู้ (Knowledge) และ ทักษะ (Skills) ที่จำเป็นต่อการทำงานปัจจุบันให้แก่ผู้เรียน • สาเหตุที่ต้องมีการฝึกอบรม 1.การปฏิบัติงานของบุคลากรไม่มีประสิทธิภาพ 2.กระบวนการทำงานใหม่ 3.นโยบายใหม่ • จุดมุ่งหมายของการฝึกอบรม 1.ประโยชน์ต่อองค์การ 2.ประโยชน์ต่อพนักงานหรือบุคลากร

  10. ความจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมความจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม 1. พนักงานไม่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 2. การเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง 3. การเกิดการสูญเสียสิ้นเปลืองในวัตถุดิบ ของเสียมาก 4. ต้องมีการซ่อมเครื่องจักรบ่อยๆ 5. มีพนักงานถูกย้ายงานตลอดจนลาออกบ่อย 6. เมื่อมีผลการวิเคราะห์ว่าผลผลิตมีประสิทธิภาพต่ำ 7. เมื่อปรากฏว่าพนักงานเริ่มมีการปฏิบัติงานต่างวิธีกันในการปฏิบัติงาน ชนิดเดียวกัน 8. เมื่อเกิดปัญหาพนักงานเหน็ดเหนื่อยมากและท้อถอยในการปฏิบัติงาน 9. เมื่องานคั่งค้างและสะดุดลง ณ จุดต่างๆ 10. ขวัญของผู้ปฏิบัติงานไม่ดี

  11. การฝึกอบรมมีประโยชน์ต่อทั้งองค์การและผู้ปฏิบัติงานดังนี้การฝึกอบรมมีประโยชน์ต่อทั้งองค์การและผู้ปฏิบัติงานดังนี้ 1. ประโยชน์ต่อองค์การ การฝึกอบรมพนักงานจะทำให้องค์การมีพนักงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และกำลังใจดี มีความจงรักภักดีต่อองค์การมากขึ้น ลดอุบัติเหตุและความสูญเสียอันอาจจะเกิดขึ้นจากความไม่รู้หรือไม่ชำนาญงานของพนักงาน ซึ่งผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น 2. ประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน ในด้านผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการฝึกอบรมก็จะมีความรู้ ความชำนาญงานมากขึ้น มีขวัญและกำลังใจดี มีความจงรักภัคดีต่อองค์การ และมีความตั้งใจในการทำงานดี ซึ่งจะมีผลให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงขึ้น

  12. สรุปประโยชน์การฝึกอบรม • พัฒนาความสามารถที่สำคัญของพนักงาน • ก่อให้เกิดความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง • ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในองค์กร • สามารถสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ตนมีไปสู่พนักงานอื่นทั่วทั้งองค์กร • ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร

  13. กระบวนการในการฝึกอบรมกระบวนการในการฝึกอบรม 1.ขั้นการกำหนดและวิเคราะห์หาความต้องการในการฝึกอบรม เป้าหมาย “พนักงานมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ขณะที่องค์กรได้ผลประกอบการที่ดีขึ้น” - กิจกรรมการสำรวจหาความต้องการในการฝึกอบรม - กิจกรรมการกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการฝึกอบรม 2.ตรวจสอบความต้องการแต่ลักษณะของงาน โดยเปรียบเทียบถึงความต้องการหรือความจำเป็นเร่งด่วนในบรรดางานที่ต้องการให้มีการจัดอบรมตามลำดับก่อนหลัง และพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าควรจะทำการฝึกอบรมหรือไม่ สาเหตุของความผิดพลาดบางอย่างอาจจะไม่จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมซึ่งต้องสิ้นเปลืองมาก

  14. กระบวนการในการฝึกอบรม (ต่อ) 3. ขั้นวางแผนการฝึกอบรม กำหนดวัตถุประสงค์และความคาดหวังของแต่ละหลักสูตร ก่อนการฝึกอบรม เพื่อให้องค์กรสามารถวัดผลการเรียนรู้ได้เมื่อจบการฝึกอบรม เป็นการวางแผนว่า จะทำอะไร อย่างไร เมื่อไร ที่ไหน ใช้งบประมาณเท่าไรฯลฯ เป็นการกำหนดรายละเอียดของการฝึกอบรมที่จะจัดขึ้น 4.เสนอโครงการเพื่อรับความเห็นชอบ เมื่อเขียนโครงการเสร็จแล้วก็เสนอต่อผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้มีการฝึกอบรม เพราะการฝึกอบรมย่อมเกี่ยวพันกับเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น งบประมาณที่จะใช้ในการฝึกอบรม วันเวลาทำงานของผู้รับการฝึกอบรม เป็นต้น

  15. กระบวนการในการฝึกอบรม (ต่อ) 5. ขั้นการฝึกอบรมและการพัฒนา คือการทำการฝึกอบรมและพัฒนาให้เป็นไปตามแผน ให้การดำเนินมีความเหมาะสมและถูกต้อง - กิจกรรมการเลือกและการออกแบบโปรแกรมการฝึกอบรม - กิจกรรมการพัฒนาและการดำเนินการฝึกอบรม 6 .ขั้นการประเมินผล โปรแกรมการฝึกอบรมใดบ้างที่สามารถบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจหรือความชำนาญงานหรือไม่เพียงใด เพื่อจะได้ทราบและนำข้อผิดพลาดไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป - พิจารณา/พัฒนาเกณฑ์การประเมินผลรวมถึงการประเมินผลโดยรูปแบบต่างๆ โดยผลของการฝึกอบรมสามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพในงานที่สูงขึ้น

  16. กระบวนการในการฝึกอบรม (ต่อ) 7. การติดตามผล เมื่อผู้รับการฝึกอบรมกลับมาปฏิบัติงานแล้วก็ติดตามผลดูว่าปฏิบัติงานดีขึ้นหรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นเรื่องชี้ให้เห็นว่าการฝึกอบรมที่ผ่านมานั้นได้ดีหรือไม่เพียงใด

  17. ทางเลือกในการฝึกอบรม • อาจแบ่งได้ออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ คือ • 1. ฝึกอบรมงานที่ทำในองค์กร เช่น การสอนงาน (OJT, Coaching) • 2. เข้าร่วมกิจกรรมในองค์กร เช่น การร่วมประชุม, การมอบโครงการงานให้ทำ • 3. การร่วมกิจกรรมภายนอกองค์กร เช่น การเยี่ยมชมกิจการขององค์กรอื่น, ประสานงาน หรือทำงานร่วมกับองค์กรภายนอก • 4. จัดหลักสูตรฝึกอบรมภายในเพื่อสนองความต้องการ “เฉพาะ” ขององค์กร • 5. หลักสูตรฝึกอบรมภายนอก 17

  18. วิธีการในการฝึกอบรม 1.การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน (On-The-Job Training) การฝึกอบรมโดยการให้ทำงานในสภาพจริง - การปฐมนิเทศ - การฝึกงาน - การสอนแนะ (Coaching) - หมุนเวียนงาน (Job rotation) 2.การฝึกอบรมนอกเวลาปฏิบัติงาน (Off-The-Job Training) เช่น - เกมธุรกิจ - การบรรยาย - กรณีศึกษา - การสัมมนา - การจำลองสถานการณ์ - การแสดงบทบาทสมมุติ - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  19. วิธีการในการฝึกอบรม 1. การปฐมนิเทศ ( Orientation ) ใช้สำหรับผู้เข้าทำงานใหม่ จุดมุ่งหมายของการปฐมนิเทศก็คือ แนะนำให้พนักงานใหม่ได้รู้จักกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในองค์การทั้งเป็นวัตถุสิ่งของและคน เช่น แนะนำให้รู้จักกับสถานที่ทำงาน สภาพงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระเบียบปฏิบัติต่างๆที่ควรทราบ และแนะนำให้รู้จักกับบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานใหม่ได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคม ( Socializations ) ขององค์กรนั้นได้อย่างรวดเร็ว และลดความเครียดต่างๆอันจะเกิดขึ้น

  20. 2. การฝึกอบรมโดยการให้ทำงานในสภาพจริง (on – the job training) วิธีนี้ก็คือให้คนที่จะรับการฝึกอบรมนั้นจะได้ทำงานในสภาพจริงของตน โดยมอบให้ผู้บังคับบัญชาหรือพนักงานอาวุโส(พี่เลี้ยง)ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานนั้นเป็นผู้ให้การแนะนำสั่งสอ น ผู้เข้ารับการอบรมอาจจะเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ลำดับขั้นของการฝึกอบรมอาจทำได้ดังนี้ ก. อธิบายให้ทราบถึงหลักและวิธีโดยทั่วไป ข. สาธิตให้ดูจากของจริง ค. ให้ผู้เข้ารับการฝึกทดลองปฏิบัติจริง ง. แก้ไขข้อบกพร่องและชี้แจงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบ จ. ติดตามดูการทดลองการปฏิบัติงานและให้ทดลองทำซ้ำหลายๆหน จน แน่ใจว่าจะสามารถทำได้ด้วยตนเอง

  21. 3.การฝึกหัดช่างฝีมือ(Apprenticeship Training) เป็นการฝึกอบรมคนงานประเภทที่ใช้ฝีมือ เช่น ช่างโลหะ ช่างตัดผม ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างพิมพ์ เป็นต้น รัฐบาล และสมาคมอาชีพนับว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อการฝึกอบรมประเภทนี้ เพราะเกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราจ้าง การจ่ายเงินอุดหนุนและมาตรฐานของงาน เฉพาะทางด้านสมาคมอาชีพนั้น 1. เพื่อควบคุมจำนวนช่างฝีมือไม่ให้คนอื่นที่ไม่เหมาะสมพอหรือไม่ได้รับการฝึกอบรมมาเข้าสู่วงการอาชีพนั้น 2. เพื่อควบคุมจำนวนให้พอเหมาะกับความต้องการแรงงานในตลาดแรงงานและประการต่อมาคือเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในเรื่องอัตราค่าจ้าง สภาพการทำงาน เงื่อนไขการจ้างงานและอื่นๆ กับนายจ้าง

  22. 4.การฝึกงาน ( Internship ) คือ การฝึกอบรมที่เกิดขึ้นจากการที่สถานศึกษาได้ให้การศึกษาในภาคทฤษฏีแก่นักศึกษาไปจนจบภาคทฤษฏี เสร็จแล้วก็จัดให้นักศึกษาเล่านี้ออกไปฝึกงานในองค์การของเอกชนหรือของรัฐบาลเพื่อจะให้เกิดความชำนาญในวิชาชีพที่ได้เล่าเรียนมา การฝึกอบรมประเภทนี้มักจะใช้กับอาชีพที่ใช้ความรู้ความชำนาญ เช่น หมอ ทนายความ นักบัญชี นักธุรกิจ ครู เป็นต้น

  23. 5. การฝึกอบรมในห้องทดลองปฏิบัติงาน ( Vestibule Training) การฝึกอบรมประเภทนี้จัดขั้นในห้องเรียน หรือห้องฝึกอบรม มีลักษณะคล้ายกับสถานที่ทำงานจริงทั้งเครื่องมือและสภาพการทำงาน สำหรับการฝึกอบรมประเภทง่าย ๆ และใช้ระยะเวลาสั้นใช้เพื่อฝึกหัดคนจำนวนมากๆ 6. การจัดประชุมหรือถกปัญหา (Conference or Discussion) การอบรมวิธีนี้ผู้เข้าอบรมส่วนมากต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาโดยตรงก่อน และจะต้องมีความชำนาญในเรื่องเฉพาะด้านที่จำเป็นต่างๆ เช่น ทางด้านงานพิมพ์ เป็นต้น

  24. 7. การอบรมในห้องบรรยาย (Classroom Training Method)มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สามารถทำการอบรมแก่ผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ โดยอาศัยครูผู้สอนวิธีนี้มักจะเหมาะสมกับเรื่องที่จะต้องทำการอบรม 8. การจัดการเรียนแบบโปรแกรม ( ProgramInstruction) เป็นวิธีการจัดเรื่องรางที่ต้องการให้เรียนรู้ในรูปของคู่มือหรือเรียกว่า โปรแกรมการเรียนให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วนตนเอง โดยเรียนรู้เป็นขั้นตอนแต่ละขั้นมีการประเมินผลด้วยตนเองได้

  25. เทคนิคในการฝึกอบรม เป็นกลวิธีที่ใช้ในการอบรมหรือเทคนิคในการอบรมอาจจะกระทำได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับงานและผู้ดำเนินการอบรม เทคนิคในการฝึกอบรมที่นิยมที่นิยมใช้กันแพร่หลาย คือ 1. การบรรยาย (Lecture) 2. การประชุมอภิปราย (Conference) 3. การใช้กรณีศึกษา (Case Study) 4. การแสดงบทบาท (Role Playing) 5. การสาธิต (Demonstration)

  26. การบรรยาย เป็นวิธีการเก่าแก่และสิ้นเปลืองน้อย เป็นวิธีที่นิยมใช้ในห้องเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ หรือในการประชุม การบรรยายเป็นติดต่อสื่อสารปากเปล่าระหว่างผู้บรรยายกับผู้ฟัง การประชุม ได้แก่การประชุมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างสมาชิก โดยวิธีร่วมแสดงความคิดเห็นปากเปล่า การใช้กรณีศึกษา คือ การนำเอากรณีปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งพร้อมทั้งข้อมูลประกอบมาร่วมกันวิเคราะห์ถกเถียง และหาข้อสรุปในการแก้ปัญหา

  27. การแสดงบทบาท โดยผู้ฝึกอบรมกำหนดตัวละครและเนื้อเรื่องขึ้นมาให้สอดคล้องกับเรื่องที่ฝึกอบรมและมอบให้ผู้เข้าการอบรมแสดงบทบาทตามเค้าโครงของเนื้อเรื่องที่กำหนดวิธีการเช่นนี้เป็นส่วนประกอบของการฝึกอบรมวิธีอื่น เช่น การบรรยายหรือการประชุมอภิปราย การแสดงบทบาทจะช่วยลดความน่าเบื่อของการฝึกอบรมบางประเภทลง และเป็นการฝึกฝนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะแสดงบทบาท การสาธิต การสาธิตแบ่งได้เป็น 2 วิธี - สาธิตแบบเป็นทางการ (Formal Demonstration) คือมีโครงการที่จะสาธิตและเวลาที่กำหนดขึ้นมาเป็นงานเป็นการ - สาธิตแบบไม่เป็นทางการ (Informal Demonstration) เช่น หัวหน้างานเดินตรวจงานไปเจอตรวจงานไปเจอคนงานกำลังประกอยเครื่องยนต์ไม่ถูกต้องหรือทำไม่ถูกวิธีทำให้งานช้าก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อคนงานนั้นจะได้จำไว้และนำไปใช้ให้ถูกต้องต่อไป

  28. การพัฒนาการจัดการ(Management Development) วิธีการฝึกอบรมที่ได้กล่าวมาในตอนต้นนั้นส่วนใหญ่เป็นวิธีการฝึกอบรมสำหรับพนักงานในระดับปฏิบัติ สำหรับพนักงานในระดับผู้บริหารนั้นยังมีวิธีการฝึกอบรมโดยเฉพาะอีกต่างหาก วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมผู้บริหาร 1.เพื่อที่จะหาทางช่วยให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในตัวของผู้บริหารทั่วไปและบริหารของกลุ่มอาชีพต่างๆ 2.เพื่อที่จะช่วยสร้างความพอใจแก่พนักงาน 3.เพื่อที่จะให้ถูกต้องกับบรรทัดฐานของประเพณีปฏิบัติที่ต้องมีการดูแลและให้ความเจริญเติบโตแก่พนักงานของตน 4.เพื่อให้เป็นเครื่องมือช่วยลดหรือป้องกันการล้าสมัยในทางการบริหาร

  29. วิธีการฝึกอบรมผู้บริหาร ที่สำคัญมีอยู่ 2 วิธี 1.การให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน (On-the-job-Experience) 1. การทดลองเรียนงาน (Understudies) 2. การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) 3. การสอนงาน (Coaching) 4. Multiple Management 2.การฝึกอบรมอย่างเป็นพิธีการ(Formal Training Course) วิธีนี้เป็นการพัฒนานอกหน้าที่การงานโดยจัดโปรแกรมการฝึกอบรมขึ้นโดยเฉพาะ วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมก็เพื่อหวังจะให้มีการพัฒนาหรือเพิ่มความสามารถหรือความชำนาญให้มากยิ่งขึ้น เช่น ส่งเข้าร่วมการฝึกอบรมที่หน่วยงานอื่นจัดขึ้น หรือองค์การนั้นจัดเอง การให้เข้าร่วมการวิจัยเพื่อไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือให้โอกาสทางการศึกษาต่อ เป็นต้น

  30. การให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน แยกเป็น4 วิธีคือ 1. การทดลองเรียนงาน (Understudies) คือผู้ที่จะได้รับการฝึกอบรมจะถูกสมมติให้ได้รับตำแหน่ง โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งทุกอย่าง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น หัวหน้าอาจเลือกลูกน้องคนหนึ่งให้เป็นผู้ทดลองงานโดยสอนให้รู้วิธีและปัญหาในการปฏิบัติงานประจำวันหรือหัวหน้าอาจจะลาหยุดงานชั่วคราวเพื่อพักผ่อนหรือไปตรวจงานหรือเจ็บป่วยแล้วเลือกผู้ใต้บังคับบัญชามาปฏิบัติแทน อีกวิธีหนึ่งโดยการแต่งตั้งให้ลูกน้องคนใดคนหนึ่งมาทำหน้าที่ผู้ช่วยโดยมอบงานหลาย ๆ อย่างให้ผู้ช่วยทำ ซึ้งอาจมอบงานให้ทำเป็นอย่าง ๆ ไป 2. การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) คือ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งงานโดยหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปให้ทุกคนมีโอกาสทำงานทุกตำแหน่งชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี ผู้ที่ควรจะได้รับการอบรมโดยวิธีนี้ควรจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงพอสมควร เช่น ระดับ first-line ,supervisor ไม่ใช่ตำแหน่งที่ตำเกินไป

  31. การให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน แยกเป็น4 วิธีคือ 3. การสอนงาน (Coaching) คือการให้ผู้บริหารที่มีความสามารถอยู่แล้วเป็นผู้ช่วยสอนให้ คอยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และอธิบายถึงเหตุผล 4. Multiple Management วิธีนี้มีลักษณะคล้าย ๆ กับการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาของฝ่ายบริหารชั้นสูงของบริษัท คือ ตั้งเป็นคณะที่ปรึกษาเพื่อคอยกลั่นกรองปัญหาต่าง ๆ ที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาตัดสินใจของฝ่ายบริหารชั้นสูง

  32. การศึกษา (Education) คือการพัฒนาบุคลากร โดยมีจุดเน้นหรือจุดมุ่งหมายอยู่ที่การเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับกับการปฏิบัติงานในอนาคต • เหตุจำเป็นในการศึกษา 1.เพื่อการวางแผนกำลังคน 2.เพื่อเตรียมการทดแทนบุคลากร 3.เพื่อการวางแผนอาชีพ • รูปแบบของการศึกษา 1.การศึกษาเพื่อเตรียมบุคลากรสำหรับการบรรจุในเวลาที่แน่นอน ถือเป็นการลงทุนในระยะสั้น 2.การศึกษาเพื่อเตรียมบุคลากร สำหรับการบรรจุในเวลาที่ไม่แน่นอน ถือเป็นการลงทุนในระยะยาว

  33. การพัฒนา (Development) - คือกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ถึงขีดสุดเพื่อความเจริญก้าวหน้าขององค์การ เป็นการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง และความเจริญเติบโตขององค์การ พร้อมที่จะไปในทิศทางที่องค์การต้องการ - คือ การเรียนรู้ (Learning) สำหรับการทำงานในอนาคตและมุ่งไปที่เป้าหมายระยะยาว Mondy and Noe, Human Resource Management, p.202 • การพัฒนา ถือเป็นการจัดการเรียนรู้ให้แก่บุคลากร โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานปัจจุบัน แต่ถือเป็นการเตรียมการเพื่ออนาคต • เหตุจำเป็นในการพัฒนา 1.เพื่อให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงขององค์การแบบคาดไม่ถึง 2.เพื่อให้องค์การมีความไวต่อความเปลี่ยนแปลง

  34. 2.การพัฒนาอาชีพ (Career Development) • อาชีพ (Career) หมายถึง งานทั้งหมดที่ทำอยู่ในช่วงชีวิตการทำงาน • ทางเดินของอาชีพ (Career path) หมายถึง แบบแผนเรียงลำดับของงานที่ก่อให้เกิดเป็นอาชีพหนึ่งๆ • เป้าหมายอาชีพ (Career goals) คือ ตำแหน่งในอนาคตที่คนต้องการไปถึง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพ ถือเป็นจุดยึดตลอดทางเดินของอาชีพ • การวางแผนอาชีพ (Career planning) คือ กระบวนการซึ่งคนใดคนหนึ่ง กำหนดเป้าหมายอาชีพและแนวทางที่จะเดินไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายนั้น

  35. การพัฒนาอาชีพ (Career development) คือ เป็นแนวทางที่ได้ทำการเลือกและตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพ ถือเป็นกิจกรรมที่มีขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานมีแผนงานสำหรับงานอาชีพของตนเองในอนาคตภายในองค์การมีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาตนเองได้ ในขณะที่องค์การสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ • การพัฒนาอาชีพ ถือเป็นความพยายามในการจัดวางแผนและสร้างกิจกรรม เพื่อนำไปสู่การวางแผนอาชีพร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์การ โดยบุคคลจะเป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนอาชีพ ส่วนองค์การจะเป็นผู้รับชอบในการจัดการงานอาชีพ

  36. การพัฒนาอาชีพ

  37. 3.การพัฒนาองค์การ (Organization Development : O.D.) • การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์การทุกระบบอย่างมีแบบแผน โดยมีความต้องการเพื่อให้องค์การมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้นในอนาคต • วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลขององค์การในด้านต่างๆ มุ่งเพิ่มการรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคคล รวมทั้งเพื่อเป็นการผนึกเป้าหมายส่วนบุคคลและองค์การเข้าด้วยกัน

  38. กระบวนการพัฒนาองค์การ มี 7 ขั้นตอนดังนี้ 1.การตระหนักรับรู้ปัญหา 2.การรวบรวมข้อมูล 3.การตรวจวินิจฉัยปัญหาองค์การ 4.การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์การ 5.การดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์การ 6.การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงองค์การ 7.การติดตามผลการเปลี่ยนแปลงองค์การ

  39. Objective-Based Training • เป็นการฝึกอบรมที่มุ่งวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากการฝึกอบรมว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้, ทักษะ และสามารถทำ…….. (able to do) ได้ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้ก่อนเข้ารับการฝึกอบรม 39

  40. วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมObjective-Based Training วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หลัก A B C D A : AUDIENCE ใคร ?(WHO) B : BEHAVIOR อะไร ? (WHAT) C : CONDITIONS อย่างไร? (HOW) D : DEGREE เท่าไร? (HOW MUCH) 40

  41. ตัวอย่างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ตัวอย่างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม • “ เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมได้ ” (AB) • “ เพื่อให้ช่างสามารถติดตั้งอุปกรณ์มิเตอร์ไฟฟ้ารุ่น XY 100 ได้อย่างถูกต้อง 100% ทันทีที่สิ้นสุดการฝึกอบรม ”(ABCD) • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรมแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ • พฤติกรรมด้านความรู้และสติปัญญา • พฤติกรรมด้านการใช้สรีระและทักษะการเคลื่อนไหว • พฤติกรรมด้านความรู้สึกและทัศนคติ 41

  42. วัตถุประสงค์ด้านความรู้และสติปัญญาวัตถุประสงค์ด้านความรู้และสติปัญญา ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ระบุ ประยุกต์ใช้ สาธิต วิจารณ์ บรรยาย อธิบาย แสดงความเห็น สรุป ตรวจสอบ ตัดสินใจ หลังจากสิ้นสุดการฝึกอบรมแล้ว ผู้เข้ารับการ อบรมเรื่อง “หลักบัญชีสมัยใหม่” จะสามารถ “ระบุ” หลัก 5 ประการของการจัดทำบัญชีสมัยใหม่ได้อย่างถูกต้องอย่างน้อย 4 ข้อ 42

  43. วัตถุประสงค์ด้านการใช้สรีระและทักษะวัตถุประสงค์ด้านการใช้สรีระและทักษะ สร้าง ทำความสะอาด สาธิต วาด หล่อ ซ่อม คัดแยก เตรียม วัด ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หลังผ่านการฝึกอบรมแล้ว 3 ช.ม. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถ “แก้ไขซ่อมแซม” เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้ารุ่น..….. ให้สามารถใช้การได้ภายใน 2 ช.ม. 43

  44. วัตถุประสงค์ด้านความรู้สึกและทัศนคติวัตถุประสงค์ด้านความรู้สึกและทัศนคติ ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ยอมรับ เข้าร่วม สนับสนุน ริเริ่ม รับฟัง อาสา หลังผ่านการฝึกอบรมเรื่อง “ทักษะหัวหน้างาน” แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นหัวหน้างาน จะยินดี “รับฟัง” ความคิดเห็นของลูกน้อง และ”สนับสนุน” การนำข้อเสนอแนะของลูกน้องไปสู่การปฎิบัติมากขึ้น 44

  45. ตัวอย่าง: การฝึกอบรมเรื่อง “เทคนิคการสัมภาษณ์” • หลังจากสิ้นสุดการฝึกอบรมเรื่อง “เทคนิคการสัมภาษณ์” แล้ว • ผู้เข้ารับการอบรมต้องสามารถ • บอกได้ว่าสิ่งที่ทำให้เกิดอคติและความผิดพลาดในการสัมภาษณ์ • มีอะไรบ้าง • สามารถบอกถึงข้อแตกต่างระหว่างการดู พฤติกรรม(Behavior) • และ คุณลักษณะ (Trait) ในการสัมภาษณ์ได้ • อธิบายได้ว่าพฤติกรรมของผู้สมัครสามารถนำมาเป็นข้อมูลที่ดี • ในการทำนายผลการทำงานของผู้สมัครได้อย่างไร 45

  46. การประเมินผลการฝึกอบรมการประเมินผลการฝึกอบรม • ระดับที่ 1: การวัดความคิดเห็นและข้อมูลย้อนกลับ (Reaction and Feedback) จากผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อหลักสูตรหรือการฝึกอบรมนั้นๆ • ระดับที่ 2: การวัดการเรียนรู้ (Learning) หรือวัด KSAs (Knowledge, Skill and Attitude) ที่เปลี่ยนไปของผู้เข้ารับการฝึกอบรม • ระดับที่ 3:การวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป (Changed Behavior) หลังการฝึกอบรม • ระดับที่ 4:การวัดผลลัพธ์ทางธุรกิจ (Business Results) ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่องค์กรต้องการ 46

  47. การประเมินผลการฝึกอบรมการประเมินผลการฝึกอบรม 47

  48. การประเมินผลการฝึกอบรมการประเมินผลการฝึกอบรม เริ่มต้น สิ้นสุด การพัฒนา องค์กร ระหว่าง การฝึกอบรม ก่อน การฝึกอบรม หลัง การฝึกอบรม - ประเมินกระบวนการ ระหว่างการฝึกอบรม - ประเมินการเรียนรู้ ของผู้เข้ารับการอบรม - ประเมินผลกระทบที่เกิดกับองค์กร เช่น เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมไปแล้ว 3 เดือน ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ หรือทักษะที่อบรมไปใช้อย่างไร - ประเมินความต้องการ และวัตถุประสงค์

More Related