1 / 46

การอภิปรายเสริมสร้างสมรรถนะในการให้คำปรึกษา และการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

การอภิปรายเสริมสร้างสมรรถนะในการให้คำปรึกษา และการไกล่เกลี่ยประนีประนอม. นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ นบ. (เกียรตินิยม) ศศ. ม. (สาขาการจัดการความขัดแย้งแบบ บูรณา การ) ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษาและพัฒนาการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (ส. พ.ส. ).

tablita-lee
Download Presentation

การอภิปรายเสริมสร้างสมรรถนะในการให้คำปรึกษา และการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การอภิปรายเสริมสร้างสมรรถนะในการให้คำปรึกษา และการไกล่เกลี่ยประนีประนอม นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ นบ. (เกียรตินิยม) ศศ.ม. (สาขาการจัดการความขัดแย้งแบบบูรณาการ) ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษาและพัฒนาการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (ส.พ.ส.)

  2. “การยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีจำเป็นในการป้องกันและแก้ไข ตลอดจนให้ความช่วยเหลือร่วมกัน โดยการคุ้มครองช่วยเหลือผู้ถูกกระทำ บำบัดผู้กระทำและผู้ได้รับผลกระทบ อื่น ๆ โดยเฉพาะเด็กที่อาจตกเป็นผู้ถูกกระทำ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม การยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีถือเป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยน เจตคติให้ถูกต้องว่าเป็นเรืองของสังคมที่ทุกคนต้องตระหนักและร่วมรับผิดชอบ มิใช่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไป” พระดำรัสของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา วันที่ 22 พฤศจิกายน 2551 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

  3. โครงการการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงโครงการการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อเด็ก สตรี และบุคคล ในครอบครัวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ในชุมชนอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดย ศาลจังหวัดนนทบุรี สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคม และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยฯ

  4. โครงการสัมมนาเชิงรุกแบบบูรณาการโครงการสัมมนาเชิงรุกแบบบูรณาการ เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมกับการบังคับใช้มาตรการการคุ้มครองสวัสดิภาพตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 โดย สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์

  5. โครงการอบรมความรู้ในเรื่องโครงการอบรมความรู้ในเรื่อง “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐” โดย สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมกับ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สัมมนา 4 ภาค

  6. เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ คุ้มครองสิทธิผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว มุ่งให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุ เมื่อพบเห็นการกระทำความรุนแรง ในครอบครัว แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด รักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว

  7. สถานการณ์ ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว

  8. รายงานธนาคารโลกประมาณการว่า.....รายงานธนาคารโลกประมาณการว่า..... กว่า 1ใน 5 ของผู้หญิงทั่วโลกเคยถูก ทำร้ายร่างกายหรือ ทำร้ายทางเพศ และทุก 15 นาที ทั่วโลกจะมีผู้หญิงถูกข่มขืน ถึง 20 ราย

  9. การนำแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์การนำแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาใช้ในการไกล่เกลี่ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐

  10. หลักการไกล่เกลี่ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา 15 วรรค 1 ไม่ว่าการพิจารณาคดี การกระทำความรุนแรงในครอบครัวจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ยอมความกัน โดยมุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงหลักการต่อไปนี้

  11. หลักการไกล่เกลี่ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา 15 วรรค 1ทั้งนี้ให้คำนึงถึงหลักการต่อไปนี้ 1. การคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 2. การสงวนและคุ้มครองสถานภาพของการสมรสในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของชายและหญิงที่สมัครใจเข้ามาอยู่กินฉันสามีภริยา หากไม่อาจรักษาสถานภาพขอการสมรสได้ ก็ให้การหย่าเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและเสียหายน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ 3. การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ครอบครัวนั้นต้องรับผิดชอบในการดูแลให้การศึกษาแก่สมาชิกที่เป็นผู้เยาว์ 4. มาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือสามีภริยาและบุคคลในบุคคลในครอบครัวให้ปรองดองกันและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันเองและกับบุตร

  12. หลักการไกล่เกลี่ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา 16 วรรค 1 เพื่อประโยชน์ในการยอมความในคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล แล้วแต่กรณี อาจตั้งผู้ประนีประนอม ประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็นบิดามารดา ผู้ปกครอง ญาติของคู่ความหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลเห็นสมควรเพื่อให้คำปรึกษา หรือช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ยอมความกัน หรืออาจมอบหมายให้นักสังคมสงเคราะห์ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลใดช่วยเหลือไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ยอมความกันก็ได้

  13. หลักการไกล่เกลี่ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา 16 วรรค 2 เมื่อผู้ประนีประนอมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลแล้ว ให้รายงานผลการไกล่เกลี่ยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลแล้วแต่กรณีด้วย ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยเป็นผลสำเร็จ บุคคลดังกล่าวจะจัดให้มีการทำสัญญายอมความขึ้นหรือจะขอให้เรียกคู่ความมาทำสัญญายอมความกันต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลก็ได้

  14. หลักการไกล่เกลี่ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา 16 วรรค 3 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลเห็นว่าสัญญายอมความไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญายอมความนั้น

  15. การไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข (Restorative Justice) ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ (Healing Mediation)

  16. บทนำ การไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขตาม พ.ร.บ. ความรุนแรงในครอบครัว เป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกระทำและผู้กระทำได้พบกันเพื่อให้ผู้กระทำได้รับรู้ผลกระทบผู้ถูกกระทำได้รับจากการกระทำของผู้กระทำ มุ่งหวังให้ผู้ถูกกระทำได้รับการเยียวยาบรรเทาความเสียหาย พร้อมมาตรการแก้ไขผู้กระทำ ป้องกันการกระทำผิดซ้ำ

  17. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) • ปรัชญา / แนวคิด / กลวิธี • ในการฟื้นฟู “เหยื่อ” คืนสู่สภาพปกติ ให้โอกาส • “ผู้กระทำผิด” สำนึก / ขอโทษ / ชดเชยค่าเสียหาย • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ • ความขัดแย้งระหว่างบุคคล เหยื่อไม่ถูกกีดกันออก • จากกระบวนการยุติธรรม

  18. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) UN การอำนวยความยุติธรรมที่ต้องการให้ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมได้กลับคืนสู่สภาพดีเช่นเดิมโดยจัดการกับผลเสียหายภายหลังการกระทำผิด หรือ ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

  19. ประเภทคดี ที่สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ • ความผิดที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้กระทำ (Juvenile Delinquent) • ความผิดจากความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) • ปัญหาสังคมกึ่งอาชญากรรม • ความผิดอาญาต่อส่วนตัว หรือความผิดอาญาอันยอมความได้ • ข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวเนื่องทางอาญา • ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ อื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการจำคุกระยะสั้น • คดีครอบครัว

  20. รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ขึ้นกับบริบทสังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นสำคัญ บางแห่งใช้โปรแกรมแบบผสมผสาน (Multiform Programs) 1. การไกล่เกลี่ยเหยื่ออาชญากรรม – ผู้กระทำผิด (Victim – Offender Mediation หรือ VOM) 2. การประชุมกลุ่มครอบครัว (Family Group Conference หรือ FGC 3. การพิจารณาแบบล้อมวง (Sentencing Circle) 4. คณะกรรมการบูรณาการชุมชน (Community Reprative Boards)

  21. รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ที่นำมาใช้ในประเทศไทย • การประชุมกลุ่มเพื่อเยียวยาแก้ไข (Healing Conference) • การไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความใน พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ (Healing Mediation) • การประนอมข้อพิพาทเชิงสมานฉันท์หรือเชิงเยียวยาแก้ไข (Victim – Offender Mediation หรือ VOM) • การประชุมจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓

  22. การไกล่เกลี่ยอาญา ≠ การไกล่เกลี่ยตามแนวคิด RJ • มุ่งมองอัตราโทษเพื่อความสงบเรียบร้อย • 2. เพื่อบรรเทาโทษ ไม่ได้ให้ ความสำคัญกับผู้ถูกกระทำ • มุ่งมองความเสียหาย ค้นหามาตรการในการแก้ไข บำบัดฟื้นฟูผู้กระทำ • ให้ความสำคัญกับผู้ถูกกระทำ การบรรเทาความเสียหาย การชดใช้เยียวยา

  23. โครงสร้างการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ยโครงสร้างการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ย พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล พิจารณาตามมาตรา 16 วรรค 3 ดำเนินคดีต่อ แต่งตั้ง ขอให้เรียกคู่กรณีมาทำสัญญา ผู้ไกล่เกลี่ย รายงาน ไกล่เกลี่ย คู่ความ จัดทำสัญญา รายงาน รายงาน ไกล่เกลี่ยสำเร็จ ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ

  24. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคดีความรุนแรงในครอบครัวกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคดีความรุนแรงในครอบครัว โจทย์ยื่นฟ้อง ศาลส่งคดีเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย แต่งตั้งผู้พิพากษาหรือผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ ไกล่เกลี่ยไม่ประสบผลสำเร็จ ศาลมีคำสั่งให้มีคู่ความปฏิบัติตามสัญญายอมความแล้วแจ้งพนักงานคุมประพฤติสอดส่องดูแลให้ปฏิบัติตาม ส่งสำนวนคืนสู่การพิจารณาคดี ถ้าผู้กระทำไม่ปฏิบัติตามสัญญายอม ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ เมื่อปฏิบัติสัญญายอมความครบถ้วนแล้ว ศาลจึงจะพิพากษาคดี

  25. หลักการสำคัญของการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ผู้ไกล่เกลี่ยดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข ภายใต้แนวคิด 3 ประการ • เพื่อให้ผูกระทำความผิดแสดงออกถึงความรู้สึกผิด ขอโทษ และพร้อมรับผิดชอบแก้ไขพฤติกรรมที่ • ก่อให้เกิดความรุนแรงให้กับผู้ถูกกระทำ 2. เพื่อให้ผู้ถูกกระทำได้รับความรู้สึกที่ดี และตระหนักว่าทุกคนมิได้เพิกเฉยความเสียหายที่เขาได้รับ 3. เพื่อแสวงหาแนวทางยุติการกระทำด้วยความรุนแรงฟื้นฟูสัมพันธภาพและเยียวยา บรรเทาความ เสียหายให้กับผู้ถูกกระทำพร้อมมาตรการ ตามมาตรการ 12 วรรค 1 ในการป้องกัน แก้ไขผู้กระทำ ความผิดมิให้กระทำความผิดซ้ำ

  26. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ การดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข ดำเนินการเพื่อให้ได้สาระดังนี้ 1. ผู้เข้าร่วมไกล่เกลี่ยรับรู้และเข้าใจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น 2. ผู้ถูกกระทำเล่าถึงผลและความเจ็บปวดของตนที่ตนได้รับ

  27. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ การดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข ดำเนินการเพื่อให้ได้สาระดังนี้ 3. ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางในการวางแผน เยียวยาผู้ถูกกระทำและแก้ไขผู้กระทำความผิดรวมทั้งให้ผู้กระทำ เข้ามารับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของตน

  28. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ การดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข ดำเนินการเพื่อให้ได้สาระดังนี้ 4. ผู้ประนีประนอมต้องเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดและผู้ถูกกระทำได้แสดง ความรู้สึก เจตนารมณ์ในการก้าวเดินต่อไปข้างหน้าเพื่ออนาคตที่ดีกว่า และ การพยายามช่วยเหลือผู้ถูกกระทำและผู้กระทำความผิดให้กลับมาอยู่ใน ครอบครัวได้อย่างปกติสุขดังเดิม

  29. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ การดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข ดำเนินการเพื่อให้ได้สาระดังนี้ 5. ต้องไม่มีการเตรียมการหรือกำหนดล่วงหน้าให้ ผู้เข้าร่วมพูดหรือแสดงออกในเรื่องใด อย่างไร

  30. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ การดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข ดำเนินการเพื่อให้ได้สาระดังนี้ 6. ผู้ไกล่เกลี่ยต้องจำกัดขอบเขตของประเด็นปัญหา ที่กำลังดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อหาแนวทางการ เยียวยาแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด

  31. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ การดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข ดำเนินการเพื่อให้ได้สาระดังนี้ 7. พยายามค้นหาหนทางที่จะสมานฉันท์และประสาน รอยร้าวระหว่างผู้ถูกกระทำและผู้กระทำความผิด

  32. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ การดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข ดำเนินการเพื่อให้ได้สาระดังนี้ 8. เพื่อผลสุดท้าย คือ ความสงบสุข และการอยู่ ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ

  33. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ วิธีการดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข เมื่อถึงวันไกล่เกลี่ย 1. ผู้ไกล่เกลี่ยเริ่มดำเนินการ กล่าวต้อนรับ แนะนำตัว แจ้ง วัตถุประสงค์ กฎระเบียบ ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย บทบาทก่อนและ หลักการไกล่เกลี่ยของแต่ละฝ่าย และให้ผู้เข้าร่วมไกล่เกลี่ยแนะนำ ตนไปจนครบ

  34. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ วิธีการดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข เมื่อถึงวันไกล่เกลี่ย • 2. ผู้ไกล่เกลี่ยแจ้งห้ามนำข้อมูลไปเปิดเผย • 3. ผู้ไกล่เกลี่ยสรุปการกระทำผิดโดยย่อ ถามผู้กระทำความผิดถึงการ ยอมรับผิดด้วยความสมัครใจ

  35. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ วิธีการดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข เมื่อถึงวันไกล่เกลี่ย • 4. ให้ผู้กระทำเล่าถึงการกระทำผิดในประเด็นต่าง ๆ เช่น ผู้กระทำคิด อะไรอยู่ / อย่างไรกับสิ่งที่ทำลงไป • 5. ให้ผู้ถูกกระทำผิดเล่าถึงความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้น

  36. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ วิธีการดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข เมื่อถึงวันไกล่เกลี่ย • 6. ให้ผู้กระทำเล่าถึงความรู้สึกและผลกระทบ • 7. ผู้ไกล่เกลี่ยเปลี่ยนเรื่องปัจจุบันไปสู่อนาคตที่จะนำไปสู่แนวทางความ รับผิดชอบ การเยียวยา การชดเชยความเสียหายทางด้านจิตใจ หรือ ด้านร่างกาย

  37. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ วิธีการดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไข เมื่อถึงวันไกล่เกลี่ย 8. ผู้ไกล่เกลี่ยเปลี่ยนประเด็นไปสู่ข้อตกลง ด้วยการแสวงหา แนวทางจากผู้เข้าร่วมไกล่เกลี่ย เพื่อเยียวยาผู้เสียหาย แก้ไข จำเลย พร้อมนำข้อมูลที่ได้รับมาสร้างข้อตกลงเบื้องต้นหรือ สัญญาประนีประนอมแบบมีเงื่อนไข

  38. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ บันทึกข้อตกลงเบื้องต้นหรือสัญญาประนีประนอมแบบมีเงื่อนไข คือผลสุดท้ายที่ได้จากการไกล่เกลี่ยจะเป็นหลักและแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้กระทำความผิด 1. ต้องเกิดจากการเห็นพ้องต้องกันของ คู่กรณีโดยไม่มีการบังคับ 2. ต้องเป็นไปเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงใน ครอบครัว

  39. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ บันทึกข้อตกลงเบื้องต้นหรือสัญญาประนีประนอมแบบมีเงื่อนไข คือผลสุดท้ายที่ได้จากการไกล่เกลี่ยจะเป็นหลักและแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้กระทำความผิด 3. ต้องเป็นไป เพื่อปกป้องคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว 4. ต้องเป็นไป เพื่อรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว

  40. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเยียวยาแก้ไขคู่ความ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ การติดตามบันทึกข้อตกลงหรือตามสัญญาประนีประนอมแบบมีเงื่อนไข ศึกษาบันทึกข้อตกลงในมาตรการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผนหรือตามสัญญาประนีประนอมแบบมีเงื่อนไข • บทบาทผู้ติดตาม • พนักงานคุ้มประพฤติ • พนักงานเจ้าหน้าที่ • สมาชิกเครือข่ายทาง • สังคมตาม พ.ร.บ. ติดตามสอดส่องประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือหรือมีเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการตามสัญญายอมความได้ ต้องรายงานให้ศาลทราบโดยทันทีเพื่อศาลจะได้พิจารณาตามที่เห็นสมควร หรือศาลอาจมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เมื่อมีการดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วต้องสรุปผลรายงานศาลเพื่อมีคำพิพากษา

  41. การให้คำปรึกษา (Counseling) กับกระบวนการไกล่เกลี่ย (Mediation) การให้คำปรึกษาจะเน้นผลลัพธ์ในการลดความตึงเครียดระหว่างคู่กรณี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความแตกต่าง กระบวนการไกล่เกลี่ย จะเน้นผลลัพธ์ที่การจัดการปัญหาเฉพาะด้าน

  42. เน้นการบรรลุถึงข้อตกลงร่วมกันของคู่กรณีที่จะมีต่อกันในอนาคต แต่หากได้มาซึ่งการแก้ไขต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และสามารถที่จะพัฒนาพฤติกรรมของคู่กรณี การไกล่เกลี่ย (Mediation)

  43. เป็นกระบวนการที่ผู้ให้และผู้รับบริการมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยผู้ให้การปรึกษา ใช้คุณสมบัติส่วนตัว ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ กระตุ้นให้ ผู้รับการปรึกษาได้สำรวจตัวเองมีความเข้าใจปัญหาที่แท้จริง สาเหตุและความต้องการ จนกระทั่งสามารถหาวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยศักยภาพของตนเอง การให้บริการปรึกษา

  44. ธรรมชาติของการให้คำปรึกษาธรรมชาติของการให้คำปรึกษา เป็นการดูแลทางจิตสังคม “เน้น ความรู้สึกมากกว่าข้อมูล” เน้นสัมพันธภาพเป็นพื้นฐาน “ความไว้วางใจหมายถึงความสำเร็จ” มองปัจจุบันสู่อนาคตอันใกล้ “ทิ้งอดีต สะสางปัจจุบัน มุ่งมั่นอนาคต” เน้นเจตคติที่ดีของผู้ให้บริการ “ท่าที จริงใจ ห่วงใย สำคัญเท่า คำพูด” เป็นการดูแลทางจิตสังคม “เน้น ความรู้สึกมากกว่าข้อมูล”

  45. เจตคติที่สำคัญของผู้ให้คำปรึกษาเจตคติที่สำคัญของผู้ให้คำปรึกษา • Empathy • การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น • ต่างจาก Sympathy หมายถึง ความรู้สึกคล้อยตาม • Non – judgment Acceptance • การยอมรับโดยไม่ตัดสิน ความคิด ความเห็นการกระทำของผู้อื่นว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง

  46. สวัสดี คุณก็มีส่วนร่วมที่จะช่วยให้ความรุนแรง ในครอบครัวยุติลงได้

More Related