1 / 71

นายภาส ภาสสัทธา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

ความรู้เกี่ยวกับ ป.ป.ช. นายภาส ภาสสัทธา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ช. กรอบการบรรยาย. 1 . ความหมาย นิยาม กรอบแนวคิด 2 . วิเคราะห์สถานการณ์ทุจริตในไทย 3 . อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

Download Presentation

นายภาส ภาสสัทธา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เกี่ยวกับ ป.ป.ช. นายภาส ภาสสัทธา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ช.

  2. กรอบการบรรยาย 1. ความหมาย นิยาม กรอบแนวคิด 2. วิเคราะห์สถานการณ์ทุจริตในไทย 3. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. 4. วิเคราะห์ประเภทการทุจริตในภาครัฐ 5. วิเคราะห์กฎหมายใหม่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

  3. คุกฉิงชุง คุกจีนขังนักโทษทุจริตทางการเมือง ตั้งอยู่ในแถบภูเขาทางเหนือของกรุงปักกิ่ง

  4. ฟิลิปปินส์หลายหมื่นแห่ประท้วงนักการเมืองคอร์รัปชันฟิลิปปินส์หลายหมื่นแห่ประท้วงนักการเมืองคอร์รัปชัน

  5. พอร์ก บาร์เรล โพลิติกส์ หรือ การเมืองถังหมู 

  6. วันต่อต้านคอร์รัปชัน 6 กันยายน 2556 ประเทศไทย

  7. คอร์รัปชันในEU ทำรายได้สูญปีละ 5ล้านล้านบาท คณะกรรมการด้านกิจการภายในของสหภาพยุโรป จัดประชุมว่าด้วยการศึกษาค้นคว้าปัญหาคอร์รัปชันทั่วพื้นที่อียูเป็นครั้งแรก ในกรุงบรัสเซลล์ เบลเยียม พบว่า ผลกระทบทำให้สมาชิกทั้ง28 ประเทศต้องสูญเสียรายได้ทางเศรษฐกิจปีละราว 120000 ล้านยูโร อันเนื่องมาจากการทำสัญญาโครงการกับภาครัฐ การปกปิดบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองและกลวิธีคอร์รัปชันอีกหลายอย่าง

  8. ฮันนา ฮาซาเร่ ผู้นำการประท้วงต่อต้านคอร์รัปชันชาวอินเดีย

  9. The 5th Dollars องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นอินเดีย Zero-Rupee Notes ธนบัตรศูนย์รูปี กำจัดคอร์รัปชันทุกระดับชั้น

  10. ต่อต้าน พรบ.นิรโทษกรรม

  11. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร คดีกินป่า

  12. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คดีทุจริตยา

  13. คดีทุจริตที่ดินคลองด่านคดีทุจริตที่ดินคลองด่าน

  14. ทุจริตรถดับเพลิง กทม.

  15. สังคมวิกฤติ • สังคมสุดขั้ว – แยกขั้ว • วัตถุนิยม – บริโภคนิยม – ประชานิยม • ฉ้อราษฎร์บังหลวง • เล่นการพนัน – อบายมุขเต็มเมือง • มัวเมาไสยศาสตร์ - เกาะกระพี้ศาสนา

  16. ทุจริต หมายถึง ประพฤติชั่ว คดโกง โกง ไม่ซื่อตรง • ประมวลกฎหมายอาญา “โดยทุจริต” เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับ ตนเองหรือผู้อื่น

  17. สาเหตุของการทุจริต ปัจจัยภายในสาเหตุของการทุจริต ปัจจัยภายใน 1. โอกาส 2. สิ่งจูงใจ 3. การเสี่ยงภัย 4. ความซื่อสัตย์

  18. ปัจจัยภายนอก • 1. ด้านเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ • 2. ด้านการเมือง • 3. ด้านสังคม • 4. การบริหารงานของรัฐที่ขาดประสิทธิภาพ • 5. กฎหมายหรือระเบียบมีช่องว่าง • 6. การมีตำแหน่งที่เอื้อต่อการทุจริต • 7. การตกอยู่ภายใต้อิทธิพลสภาวะสิ่งแวดล้อม และอิทธิพลของผู้ทุจริต • 8. หลายสาเหตุผสมกัน

  19. องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ประจำปี 2556 ใน 177 ประเทศ อันดับ 1 เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ คะแนน 91 ขณะที่ฟินแลนด์และสวีเดนตามมาที่ 89 คะแนน นอร์เวและสิงคโปร์ 86 คะแนน สวิตเซอร์แลนด์ 85 คะแนน เนเธอร์แลนด์ 83 คะแนน ส่วนออสเตรเลียและแคนาดาปิดท้ายประเทศ 10 อันดับแรกที่ 81 คะแนน มีเพียง 54 ประเทศที่เกิน 50 คะแนน ไทย คะแนน 35 อันดับ 102 เท่ากับ เอกวาดอร์ มอลโดวา ปานามา ปี 2555 ไทยได้ 37 คะแนน อันดับที่ 88 ใน 176 ประเทศ

  20. แนวคิดมาตรการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันแนวคิดมาตรการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน • 1. สังคมที่มีกลไกเชื่อมโยงกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นเอกภาพ • 2. สังคมที่มีปรัชญาการมองโลกและมีค่านิยมที่ถูกต้อง • 3. สังคมที่มีระบบเอื้อให้คนดำเนินชีวิตอย่างสุจริตได้ • 4. สังคมที่มีบริบทส่งเสริมให้คนทำดี • 5. สังคมที่มีกลุ่มผู้นำการต่อต้านคอร์รัปชันที่เข้มแข็ง มีพลัง

  21. แนวทางปฏิบัติในการสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้อง มีคุณธรรม 1.สร้างแนวร่วมประชาชาติ เพื่อสร้างความรักชาติ ในการต่อต้านคอร์รัปชั่น 2. การอบรมพัฒนาจิตใจ ตามหลักจริยธรรมทางศาสนาและความเชื่อ 3. ปรับเปลี่ยนปรัชญาการมองโลก แก้ไขค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง 4. การให้ความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง 5. การแก้ไขระบบที่เป็นอุปสรรค 6. การส่งเสริมบริบทสังคมให้คนต้องการทำความดี 7.เพิ่มต้นทุนความเสี่ยงในการคอร์รัปชันที่แพงขึ้นโดยการเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักขึ้นจนมีผลฉุดรั้งทั้งผู้ให้และผู้รับ

  22. เจ้าหน้าที่ของรัฐหมายความว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและ สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ

  23. ทุจริต หมายถึง ประพฤติชั่ว คดโกง โกง ไม่ซื่อตรง “โดยทุจริต” เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับ ตนเองหรือผู้อื่น “ ทุจริตต่อหน้าที่ ” : ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้นหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

  24. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประธานคณะกรรมการสรรหาห้าคนประกอบด้วย ประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทน คัดเลือกประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกแปดคน วาระดำรงตำแหน่ง9 ปีวาระเดียว เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.วาระดำรงตำแหน่ง 6 ปีวาระเดียว

  25. อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. รัฐธรรมนูญ 2550 ม.19 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ป้องกัน ปราบปราม ตรวจสอบทรัพย์สิน

  26. 3 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 (ภารกิจด้านป้องกัน) มาตรา 19 (11)(13) คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ เสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อ ครม.รัฐสภา ศาลหรือ สตง.เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือการวางแผนงานโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐเพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตและดำเนินการป้องกันการทุจริต เสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งดำเนินการให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

  27. การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน I. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) ส.ส. (4) ส.ว. (5) ข้าราชการการเมืองอื่น (6) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด II. เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามที่กฎหมาย ป.ป.ช. บัญญัติ (ม.39 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ) III. กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่ต้องยื่น(ม.40 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ) IV. สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหายื่นบัญชี (ม.79 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ)

  28. ตำแหน่งที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ประกาศเพิ่มเติม 16ตำแหน่ง 1 ผู้ว่าราชการจังหวัด 2 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด 4 สรรพากรภาค 5 สรรพากรพื้นที่ 6 ผู้อำนวยการสรรพสามิตภาค 7 สรรพสามิตพื้นที่ 8 ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 9 ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรกรุงเทพฯ 10 ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 11 ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง 12 ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพฯ 13 ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง 14 ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาค 15 นายด่านศุลกากร 16 อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ

  29. 1.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี • 2.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี • 3.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง • 4.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ • 5.) อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน • 6.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ • 7.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล • 8.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง • 9.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ • 10.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุร • 11.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา • 12.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ • 13.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี

  30. 14.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง • 15.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง • 16.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง • 17.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง • 18.) อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง • 19.) อธิบดีผู้พิพากษาภาค • 20.) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด (เฉพาะผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดที่ดํารงตําแหน่งที่ศาลจังหวัด และปฏิบัติราชการที่ศาลจังหวัดอย่างแท้จริงเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด แต่ดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติราชการประจําสํานักงานศาลยุติธรรม) • 21.) อธิบดีอัยการภาค/อธิบดีอัยการ

  31. 22.) อัยการจังหวัด (เฉพาะอัยการจังหวัดที่ดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติราชการในท้องที่ ต่างจังหวัดหรือปริมณฑลอย่างแท้จริงเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงอัยการจังหวัดแต่ดํารงตําแหน่งหรือ ปฏิบัติราชการประจําสํานักงานอัยการสูงสดุ) • 23.) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด • 24.) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด สาขาในกรุงเทพมหานคร • 25.) ผู้อํานวยการทัณฑสถาน • 26.) ผู้บัญชาการเรือนจําพิเศษ • 27.) ผู้บัญชาการเรือนจํากลาง • 28.) ผู้บัญชาการเรือนจําจังหวัด • 29.) โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด • ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป

  32. เงื่อนไขการแสดงบัญชีฯเงื่อนไขการแสดงบัญชีฯ : ของตนเอง คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ระยะเวลาการยื่นบัญชี (ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง) : นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง - ภายใน 30 วัน ... : นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง - ภายใน 30 วัน ... : นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วหนึ่งปี - ภายใน 30 วัน ... : ตายช่วงที่ต้องยื่น - ทายาท / ผู้จัดการมรดก ยื่นภายใน 90 วันนับแต่วันที่ตาย รวมทั้งทรัพย์สินที่อยู่ต่างประเทศและในความครอบครองดูแลของผู้อื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม(ม.32)

  33. จงใจไม่ยื่นฯ จงใจยื่นฯ ด้วยข้อความเป็นเท็จ ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้ง • จำคุกไม่เกิน 6 เดือน - ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท - ทั้งจำทั้งปรับ โทษ กรณี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่คณะกรรมการ ปปช.กำหนด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ้นและห้ามดำรงตำแหน่ง 5 ปีนับแต่วันที่ศาลวินิจฉัย

  34. การถอดถอนจากตำแหน่ง ส.ส [ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่] หรือประชาชน [ที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน] (สว.ยื่นขอถอดถอน สว.) เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ ถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส. สว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักงานตุลาการทหาร รองอัยการสูงสุด ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง มีพฤติการณ์ ร่ำรวยผิดปกติ ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง(ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงาน) ประธานวุฒิฯ ส่ง ป.ป.ช.ไต่สวน กรณีมีมูลส่งประธานวุฒิฯ เรียกประชุมวุฒิสมาชิกลงคะแนนลับ 3 ใน 5 เห็นว่าผิด ให้พ้นและห้ามมิให้ดำรงตำแหน่ง 5 ปี เป็นที่สุด

  35. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส. สว. ข้าราชการการเมืองอื่น การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้กล่าวหา มีเหตุอันควรสงสัย บังคับกรณีบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ผู้ให้ ผู้ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน/ประโยชน์ ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ปอ. กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่/ทุจริตต่อหน้าที่ตาม กม.อื่น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อัยการ ไต่สวน ถ้าผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีระหว่างถูกดำเนินคดีมิให้นับเวลาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งอายุความ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้เสียหาย ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา กล่าวหา นรม./รมต,ประธานสภาผู้แทน/ประธานวุฒิ ขอให้ตั้งผู้ไต่สวนอิสระ(กรณี ปปช.ไม่รับ /ล่าช้า/เห็นว่าไม่มีมูล)

  36. กรณีนายก รมต./ รมต./สส./สว. ข้าราชการการเมืองอื่น ประธานองค์กรต่างๆ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง อัยการสูงสุด เจ้าหน้าที่อื่น การร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ตัดอำนาจคณะกรรมการป.ป.ช.ถ้ามีการกล่าวหาไว้แล้ว/มีเหตุอันควรสงสัยต้องไม่เกิน10ปี ร่ำรวยผิดปกติ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ (เป็นหรือพ้นไม่เกิน 5 ปี)ม.75 คณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัยเบื้องต้น ให้แสดงรายการ สินทรัพย์และหนี้สิน ไม่รับ รับ ออกคำสั่งยึด อายัดชั่วคราว กรณีน่าเชื่อว่ามีการโยกย้าย แปรสภาพซุกซ่อนทรัพย์สิน ตกไป ไต่สวนข้อเท็จจริง อัยการสูงสุด ชี้มูล ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ศาลที่มีเขตอำนาจ พิจารณา สั่งให้ทรัพย์สิน ตกเป็นของแผ่นดิน

  37. ร่ำรวยผิดปกติ/ทุจริตต่อหน้าที่/ทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ/การยุติธรรม (ผู้บริหารระดับสูง/ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับต่ำกว่าร่วมทำผิดกับบุคคลดังกล่าว/นักการเมือง)เป็นหรือพ้นไม่เกิน 5 ปี(มาตรา 84) คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน แสวงหาข้อเท็จจริง ให้ข้อกล่าวหา ตกไป ผู้กล่าวหา พนักงานสอบสวน มีเหตุอันควรสงสัย คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายพนักงานไต่สวน กรณีอาจก่อความเสีย/อุปสรรคในการไต่สวน แจ้งผู้บังคับบัญชาพักราชการ/พักงาน สำนักงานอัยการสูงสุด มีมูลอาญา วินัย ต้นสังกัด

  38. ข้อห้ามมิให้คณะกรรมการป.ป.ช.รับเรื่องไว้พิจารณาข้อห้ามมิให้คณะกรรมการป.ป.ช.รับเรื่องไว้พิจารณา • 1.เรื่องที่คณะกรรมการป.ป.ช.ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งคดี • 2.เรื่องที่ศาลประทับฟ้องหรือพิพากษาหรือมีคำสั่งเสร็จเด็ดขาดแล้ว เรื่องร้องเรียนที่อาจไม่รับพิจารณา • 1.เรื่องที่ไม่ระบุพยานหลักฐานหรือไม่ปรากฏพฤติการณ์ชัดเจนเพียงพอ • 2.เรื่องที่ล่วงเลยมาแล้วเกิน 5 ปี นับแต่วันเกิดเหตุจนถึงวันกล่าวหาและไม่อาจหลักฐานได้เพียงพอ • 3.เรื่องที่คณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินการต่อผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมายอื่นเสร็จสิ้นและเป็นไปโดยชอบแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าการดำเนินการนั้นไม่เที่ยงธรรม .

  39. ทางวินัย • ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาลงโทษทางวินัยภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย • ส่งสำเนาคำสั่งลงโทษให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 15 วัน • ผู้บังคับบัญชาละเลย ถือว่าผิดวินัยหรือกฎหมายระเบียบข้อบังคับว่าด้วย การบริหารงานบุคคล • ถ้าไม่ดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินการวินัยไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรี • ผู้ถูกกล่าวหาใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชา ภายใน 30 วันนับแต่วันรับทราบสั่ง (ม.92-96)

  40. อาญา • อัยการสูงสุดฟ้อง ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา โดยไม่ต้อง ไต่สวนมูลฟ้อง • ถ้ารายงานไม่สมบูรณ์พอ อัยการสูงสุดแจ้งคณะกรรมการ ตั้งคณะทำงานแต่ละฝ่ายเท่ากัน • กรณีไม่อาจหาข้อยุติได้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ฟ้องเอง หรือแต่งตั้งทนายความฟ้องแทน ศาลยึดสำนวนรายงานและสำนวนของคณะกรรมการ เป็นหลักในการพิจารณา อาจไต่สวนเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร และศาลใช้ระบบไต่สวน (ม.98/1)

  41. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ห้ามเจ้าพนักงานของรัฐ (มาตรา 100) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐฯ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วน/ผู้ถือหุ้นในห้าง/บริษัทที่รับสัมปทาน/เข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว

  42. เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุมหรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดอยู่/ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัด/แย้งต่อประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมิอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น • กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2542 บังคับเฉพาะนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น รวมคู่สมรส หมายเหตุ การขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ 50 ม.265-269 รวมถึง สส.,สว. คู่สมรส บุตร บุคคลอื่น (ที่ดำเนินการลักษณะผู้ถูกใช้/ร่วมดำเนินการ/ได้รับมอบหมาย) รวมนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ม.284 รวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาแห่งท้องถิ่นโดยอนุโลม

  43. หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ ซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนเหมาะสม ตามฐานานุรูป รับจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติ มีราคา หรือมูลค่า แต่ละบุคคล แต่ละโอกาส ไม่เกินสามพันบาท เป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป การรับทรัพย์สินจากต่างประเทศ มิได้ระบุให้ส่วนตัวหรือเกินสามพันบาทให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว ถ้าไม่มีเหตุอนุญาตให้ยึดถือ ให้ส่งมอบหน่วยงานของรัฐ การรับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือมีมูลค่าเกินกำหนดแต่ได้รับมาแล้วโดยมีความจำเป็น ให้แจ้ง ผู้บังคับบัญชา เพื่อวินิจฉัยว่ามีเหตุผลความจำเป็น สมควรรับเป็นสิทธิของตนหรือไม่ ถ้ามีคำสั่งว่า ไม่สมควรรับ ให้คืนทรัพย์สินแก่ผู้ให้ ถ้าไม่สามารถส่งคืนได้ ให้ส่งมอบเป็นสิทธิของหน่วยงานที่สังกัด

  44. สำนักงาน ป.ป.ช. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการฮั้ว) พ.ศ. 2542

  45. “ฮั้ว” คืออะไร ภาษากฎหมาย เรียกว่า “การสมยอมการเสนอราคา” “การสมยอมการเสนอราคา” (ฮั้ว) หมายความว่า การที่ผู้เสนอราคาตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงกระทำการร่วมกันในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดราคาอันเป็นการเอาเปรียบแก่หน่วยงาน ของรัฐ หรือหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างแท้จริงและเป็นธรรม อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้เสนอราคารายหนึ่งหรือหลายรายให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา หรือ เพื่อผลประโยชน์อย่างใดระหว่างผู้เสนอราคาด้วยกัน

  46. ความผิดของบุคคลทั่วไป (มาตรา 4 – มาตรา 9) • มาตรา 4 (สมยอมราคา) ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคา หรือ ผู้เป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลง เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา โดย - หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม • กีดกันไม่ให้เสนอสินค้าหรือบริการ หรือ - เอาเปรียบหน่วยงานของรัฐซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจปกติ • โทษ จำคุก 1-3 ปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่เสนอราคาสูงสุดหรือที่มีการทำสัญญา

  47. มาตรา 5 (การจัดฮั้ว) ให้ขอให้หรือรับว่าจะให้ เรียกรับหรือยอมจะรับ • เงินหรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์ เพื่อจูงใจให้ ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการหรือสิทธิ ที่จะได้รับ ไม่เข้าร่วมเสนอราคาหรือถอนการเสนอราคา • มาตรา 6 ข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมร่วมดำเนินการในการเสนอราคา หรือไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา หรือ ต้องเสนอราคาตามกำหนด โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญให้กลัว จะเกิดอันตรายต่อ ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น

  48. ความผิดของบุคคลทั่วไป (มาตรา 4 – มาตรา 9) • มาตรา 4 (สมยอมราคา) ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคา หรือ ผู้เป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลง เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา โดย - หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม • กีดกันไม่ให้เสนอสินค้าหรือบริการ หรือ - เอาเปรียบหน่วยงานของรัฐซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจปกติ • โทษ จำคุก 1-3 ปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่เสนอราคาสูงสุดหรือที่มีการทำสัญญา

  49. มาตรา 5 (การจัดฮั้ว) ให้ขอให้หรือรับว่าจะให้ เรียกรับหรือยอมจะรับ • เงินหรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์ เพื่อจูงใจให้ ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการหรือสิทธิ ที่จะได้รับ ไม่เข้าร่วมเสนอราคาหรือถอนการเสนอราคา • มาตรา 6 ข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมร่วมดำเนินการในการเสนอราคา หรือไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา หรือ ต้องเสนอราคาตามกำหนด โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญให้กลัว จะเกิดอันตรายต่อ ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น

More Related