1 / 31

บทที่ 3

บทที่ 3. การวัดตัว. จุดประสงค์การเรียนรู้. 1. บอกสัดส่วนและวิธีการวัดตัวได้อย่างถูกต้อง 2. ปฏิบัติการวัดตัวได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน 3. สร้างแบบตัดกระโปรงอย่างง่ายได้. หัวข้อเรื่องศึกษา. การวัดตัว การสร้างแบบกระโปรง. ออกโปรแกรม. การวัดตัว.

sutton
Download Presentation

บทที่ 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 การวัดตัว

  2. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกสัดส่วนและวิธีการวัดตัวได้อย่างถูกต้อง 2. ปฏิบัติการวัดตัวได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน 3. สร้างแบบตัดกระโปรงอย่างง่ายได้

  3. หัวข้อเรื่องศึกษา การวัดตัว การสร้างแบบกระโปรง ออกโปรแกรม

  4. การวัดตัว การวัดตัวเป็นการเรียนลำดับแรกในการเรียนตัดเสื้อ เพื่อนำขนาดตัวที่วัดได้ไปสร้างแบบตัดเสื้อ การวัดตัวจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้เสื้อสวย ได้สัดส่วนตามรูปร่างของผู้สวมฉะนั้นการวัดตัวจึงต้องวัดอย่างละเอียด เพื่อให้ได้สัดส่วนที่แท้จริง

  5. หลักปฏิบัติในการวัดตัวหลักปฏิบัติในการวัดตัว การวัดตัวจะต้องมีการเตรียมตัวผู้ถูกวัดให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้รายละเอียดแต่ละส่วนของขนาดตัวได้ถูกต้อง แบ่งได้ 2 ขั้นตอน คือ

  6. 1. การเตรียมตัวเพื่อวัดตัว 1.1 เมื่อวัดตัว ควรถอดเสื้อชั้นนอกออกเพื่อให้ได้สัดส่วนที่แท้จริง 1.2 ควรสวมเสื้อชั้นใน ยกทรงที่ได้ส่วนสัดกับรูปร่าง ไม่ให้เต้าทรง 2 ข้างชิดกันเกินไป จะทำให้เกล็ดเอวของ เสื้อชั้นนอกไม่สวย 1.3 ตรวจสอบสายแขนของเสื้อชั้นในไม่ให้ตึงหรือหย่อนเกินไป เสื้อชั้นในที่ทรวดทรงดีจะเป็นพื้นฐานที่ดีของเสื้อชั้นนอกด้วย 1.4 ใช้เชือกหรือด้ายคาดเอวเอาไว้ให้พอดีกับรอบเอวจริง

  7. 1. การเตรียมตัวเพื่อวัดตัว • 1.5 ตรวจสอบขอบเอวให้อยู่ในระดับเอวที่แท้จริง (เหนือสะดือ) • ถ้าต้องการให้เอวเสื้อต่ำ ต้องวาดเส้นลดถอยหลังที่สร้างแบบ • ตัดเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว • 1.6 วัดส่วนต่าง ๆให้พอดี เมื่อนำไปสร้างแบบตัดจึงนำมาบวก • เพิ่มตามหลักที่วางไว้ • 1.7 ข้อควรระวังเมื่อวัดตัว คือ ยืนให้ตัวตรง ไม่ควรก้มหรือเอียงตัว • เมื่อถูกวัด

  8. 1. การเตรียมตัวเพื่อวัดตัว 1.8 ใช้สายวัดอย่างดีที่มีตัวเลขชัดเจนและเทียบตัวเลขสายวัดกับ ไม้บรรทัดที่ใช้สร้างแบบตัดให้เท่ากัน 1.9 เมื่อวัดรอบอก ให้สายวัดโอบเป็นวงรอบอก ระวังอย่าให้สายวัด ด้านหลังตกจากแนวอก จะทำให้รอบอกน้อยกว่าสัดส่วนที่แท้จริง 1.10 เมื่อวัดตัวต้องสังเกตรูปร่างไว้ เพื่อจะได้แก้ไขตามแบบตัดตาม รูปร่างของผู้สวม เช่น ผู้ที่ไหล่ตั้ง วงแขนใหญ่ จะต้องขยายเส้นไหล่ ให้สูงขึ้น

  9. 1. การเตรียมตัวเพื่อวัดตัว 1.11 การวัดวงแขน หรือโคนแขน ต้องวัดแขนข้างที่ใหญ่ หรือ วัดแขนข้างที่ถนัดในการทำงานทั่ว ๆ ไป 1.12 ผู้ที่หน้าท้องพลุ้ย ช่วงตัวสั้น เมื่อนำผ้าขอบกระโปรงคาดเอว ควรคาดเอวให้หลวมเล็กน้อย เพื่อให้เส้นคอหน้าถึงเอว ยาวน้อยกว่า 30 ซ.ม. การเตรียมตัวเพื่อการวัดตัว ผู้ถูกวัดควรสวมเฉพาะชุดชั้นใน ต้องใช้เชือก หรือสายวัด คาดตำแหน่งเอวที่แท้จริง การวัดตัว ต้องละเอียด สังเกตจุดต่าง ๆ ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดในตัวหุ่น อย่างถูกต้อง

  10. 2. วิธีการวัดตัว 1. รอบคอ วัดรอบคอปุ่มคอ หน้า - หลัง

  11. 2. วิธีการวัดตัว 2. รอบอก วัดให้อยู่บนส่วนสูงของอกพอดี โดยใช้สายวัดคาดอยู่ในระดับ เดียวกันทั้งด้านหน้าและหลัง

  12. 2. วิธีการวัดตัว 3. รอบเอว ใช้สายวัด วัดบนเส้นเชือก (เป็นเส้นที่คอดที่สุด)

  13. 2. วิธีการวัดตัว 4. สะโพกบน (ต่ำจากเอว 10 ซ.ม. หรืออยู่ระหว่างกลาง จากเอวถึงสะโพกกลางวัดให้หลวมพอหมุนได้)

  14. 2. วิธีการวัดตัว 5. สะโพกล่าง วัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด วัดพอดี

  15. 2. วิธีการวัดตัว 6. ยาวหน้า วัดจากปุ่มคอด้านหน้าเอว

  16. 2. วิธีการวัดตัว 7. บ่าหน้า วัดจากแนวรอยพับแขนข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง ทางด้านหน้า

  17. 2. วิธีการวัดตัว 8. อกห่วง วัดจากจุดสูงสุดของอกข้างหนึ่งไปยังอีก ข้างหนึ่ง

  18. 2. วิธีการวัดตัว 9. อกสูง วัดจากปุ่มคอด้านหน้ามายังจุดอกข้างหนึ่งข้างใด

  19. 2. วิธีการวัดตัว 10. ยาวหลัง วัดจากปุ่มคอด้านหลังถึงขอบเอวด้านหลัง

  20. 2. วิธีการวัดตัว 11. ไหล่ วัดจากปุ่มไหล่ด้านซ้ายไปจนถึงปุ่มไหล่ด้านขวา

  21. 2. วิธีการวัดตัว 12. บ่าหลัง ยืนปล่อยแขนตรงลงมาตามตัว วัดจากแนว รอยพับแขนข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง ทางด้านหลัง

  22. 2. วิธีการวัดตัว 13. ตะเข็บไหล่ วางสายวัดชิดฐานคอด้านข้างลงมาหาปุ่มไหล่

  23. 2. วิธีการวัดตัว 14. รอบวงแขนหรือรักแร้ ยืนปล่อยแขนตรงลงมาตามตัว วัดรอบรักแร้ผ่านบ่าหน้า - หลัง ไปชนกันที่ข้างบนตะเข็บไหล่ อย่าให้ตึงเกินไป

  24. 2. วิธีการวัดตัว 15. รอบต้นแขน วัดรอบต้นแขน ตามแนวนอนจาก ส่วนที่ใหญ่ที่สุด วัดพอดี

  25. 2. วิธีการวัดตัว 16. แขนยาว วัดจากปุ่มไหล เป็นความยาวแขนตามต้องการ ถ้าเป็นแขนยาว วัดถึงข้อศอก และ ถึงข้อมือ

  26. การวัดยาวหน้า ให้วัดจากจุดกลางคอถึงขอบล่างของสายวัด การวัดบ่าหลังให้วัดต่ำกว่าจุดคอประมาณ 10 ซ.ม. การวัดบ่าหน้าให้วัดต่ำจากจุดกลางคอหน้าประมาณ 10 ซ.ม.

  27. การสร้างแบบกระโปรง ขนาดตัวมาตรฐานสำหรับฝึกสร้างแบบตัดกระโปรง กลับไปหัวข้อเรื่อง

  28. จากริมกระดาษด้านบนวัดต่ำลง 10 ซ.ม. วิธีสร้างแบบแผ่นหน้า เริ่มจุด 1 ริม กระดาษขวามือ 1 – 2 เท่ากับรอบสะโพกล่าง บวก 4 ซ.ม. หาร 2 1 – 3 และ 2 – 4 เท่ากับความยาว ของกระโปรง 1 – 5 และ 3 – 6 เท่ากับครึ่งหนึ่ง ของ 1 – 2 และ 3 – 4 1 – 7 และ 2 – 8 เท่ากับ 10 ซ.ม. ลากเส้น 7 – 8 1 – 9 และ 2 -10 เท่ากับ 20 ซ.ม. ลากเส้น 9 -10 • การสร้างแบบกระโปรง

  29. 1 – 11 เท่ากับรอบเอวหาร 4 บวก เกล็ดเอว 4 ซ.ม. 1 – 11 แบ่ง 3 ส่วนเท่ากัน ในแผ่น หน้ามีเกล็ดอยู่ 2 เกล็ด จะอยู่ในส่วนที่ 2 โดยกำหนดให้เกล็ดที่ 1 กว้าง 2 ซ.ม. ยาวถึงเส้น สะโพกบนและเกล็ดที่ 2 กว้าง 2 ซ.ม.ความยาวของ เกล็ดสั้นกว่าเกล็ดที่ 1 เท่า กับ 2 ซ.ม. โค้งสะโพก จาก 11 ถึงเส้นสะโพกล่าง • วิธีทำเกล็ดแผ่นหน้า

  30. 2 – 12 เท่ากับ 1 ซ.ม. ลากเส้นจาก 12 – 10 เพื่อเป็นเส้นเก็บ เอวแผ่นหลัง 12 – 13 เท่ากับรอบเอวหาร 4 บวก เกล็ดเอว 3 ซ.ม. 12 – 13 แบ่ง 3 ส่วนเท่ากัน ลากเส้น เกล็ดยาว 12 – 14 ซ.ม. ในส่วนที่ 2 โค้ง สะโพกจาก 13 ถึงเส้น สะโพกล่าง • วิธีทำเกล็ดแผ่นหลัง

  31. จบบทที่ 3 ออกโปรแกรม กลับไปหัวข้อเรื่อง

More Related