1 / 43

ศักยภาพของลุ่มน้ำตรัง

ศักยภาพของลุ่มน้ำตรัง. นายนราพงษ์ บุญช่วย วิศวกรโยธาชำนาญการ ส่วนวิชาการ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8.

susan
Download Presentation

ศักยภาพของลุ่มน้ำตรัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศักยภาพของลุ่มน้ำตรังศักยภาพของลุ่มน้ำตรัง นายนราพงษ์ บุญช่วย วิศวกรโยธาชำนาญการ ส่วนวิชาการ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8

  2. ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง (รหัสลุ่มน้ำสาขา 25.09) มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,853 ตร.กม. โดยมีแม่น้ำตรังเป็นแม่น้ำสายหลักมีความยาวลำน้ำทั้งสิ้นประมาณ 190 กมโดยแม่น้ำตรังมีลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ คลองท่าประดู่ แม่น้ำหลวง คลองมวน คลองยางยวน ห้วยแม่นะ คลองลำภูรา คลองชี ห้วยยาง คลองนางน้อย คลองควนปริง เป็นต้น มีต้นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาหลวง ในเขตอำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ไหลสู่ทะเลอันดามันที่จ.ตรัง

  3. ขอบเขตการปกครองลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรังขอบเขตการปกครองลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง และจังหวัดนครศรีธรรมราช

  4. ขอบเขตการปกครองลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง

  5. จำนวนประชากรรายตำบล ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ปี พ.ศ. 2551

  6. ปริมาณฝน ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง มีปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย 2,189.5 มม. ต่อปี โดยเป็นปริมาณฝนในช่วงฤดูฝน (เม.ย.-พ.ย.) ประมาณร้อยละ 85.3 ของปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย และเป็นปริมาณฝนในช่วงฤดูแล้ง (ธ.ค.-มี.ค.) ประมาณร้อยละ 14.7 ของปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย และเดือนที่มีปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยสูงสุดคือเดือนพฤศจิกายน

  7. ปริมาณฝน ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง

  8. ปริมาณน้ำผิวดิน ปริมาณน้ำท่า พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง มีพื้นที่รับน้ำ 3,853 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยของลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ประมาณ 3,124.99 ล้าน ลบ.ม./ปี

  9. ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรังปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง

  10. ศักยภาพน้ำบาดาล มีศักยภาพในการเก็บกักน้ำบาดาล 972 ล้าน ลบ.ม./ปี เป็นปริมาณน้ำที่สูบขึ้นมาใช้ได้ประมาณ 10 ล้าน ลบ.ม./ปี คิดเป็นร้อยละ 5 ของปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถพัฒนาได้ซึ่งมีค่าประมาณ 225 ล้าน ลบ.ม/ปี ปริมาณน้ำที่พัฒนาได้ต่อปี ปริมาณน้ำที่สูบขึ้นใช้ต่อปี

  11. แสดงคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำตรัง ปี พ.ศ.2545 ถึง 2547 หมายเหตุ * ไม่ได้ตามมาตรฐาน หน่วย คือ MPN ต่อ 100 ml ข้อเสนอแนะจากกรมประมง ความขุ่นในแหล่งน้ำ ไม่ควรเกิน 100 NTU DO (Dissolved Oxygen) ปริมาณออกซิเจนละลาย BOD (Biochemical Oxygen Demand) ปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดี FCB (Fecal Coliform Bacteria) ปริมาณฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย TCB (Total Coliform Bacteria) ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด NH3 (Ammonia Nitorgen) ปริมาณแอมโมเนีย

  12. พื้นที่ป่าไม้ ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ประกอบด้วยป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณ โดยมีอุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด อุทยานแห่งชาติภายในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , ปี พ.ศ. 2547 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภายในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรังที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , ปี พ.ศ. 2547

  13. การใช้ประโยชน์ที่ดิน ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง มีพื้นที่เกษตรกรรมมาที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77.73 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ รองลงมาคือพื้นที่ป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 16.71 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ร้อยละ 3.44 พื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ ยางพารา คิดเป็นร้อยละ 67.06 ของพื้นที่ลุ่มน้ำรองลงมาได้แก่ นาข้าว ปาล์มน้ำมัน ไม้ผลผสม ตามลำดับ พื้นที่ป่าไม้ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ป่าดิบ คิดเป็นร้อยละ 15.37 ของพื้นที่ลุ่มน้ำรองลงมา ได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบ

  14. ความต้องการน้ำ การประเมินความต้องการจำแนกตามกิจกรรมการใช้สามารถสรุปเป็นความต้องการน้ำในปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) และอนาคต 20 ปี (พ.ศ. 2569) ของลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ได้ดังนี้ เพิ่มขึ้น 87.223 ล้าน ลบ.ม. การประเมินความต้องการจำแนกตามกิจกรรมการใช้น้ำ

  15. ปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำ ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่เป็นการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการขาดแคลนน้ำในการสนับสนุนการท่องเที่ยว สำหรับการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมีน้อยถึงปานกลางเฉพาะพื้นที่ที่มีการทำนา ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1.ปริมาณฝนและน้ำท่ามีมากแต่ในสภาพปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของน้ำท่าโดยเฉพาะในฤดูแล้งในลุ่มน้ำย่อยสายสั้นๆ มีปริมาณไม่เพียงพอ และระดับน้ำใต้ดินระดับตื้นไม่เพียงพอในปีที่ฝนน้อยและฤดูแล้งยาวกว่าปีปกติ โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ริมทะเล 2.การเติบโตของแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่และภาคธุรกิจต่างๆ มีการต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งสูงขึ้นมากจะต้องวางแผนการจัดหาน้ำต้นทุนให้เพียงพอกับการขยายตัว มิฉะนั้นมีผลกระทบต่อการขยายการท่องเที่ยว และจะมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเดิมที่ดำเนินการอยู่ 3. พื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำมาก เช่น การทำนา มีปัญหาการขาดแคลนน้ำน้อยถึงปานกลาง มีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยจากปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์สูง และการทำนานอกเขตชลประทานมีแนวโน้มลดลง

  16. พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ปัญหาน้ำท่วมในอดีตไม่เป็นปัญหารุนแรงมากนักแต่จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และการขยายตัวของชุมชน มีแนวโน้มจะมีปัญหามากขึ้น ซึ่งจังหวัดตรังและประสบปัญหาน้ำท่วมในลักษณะการเกิดน้ำท่วมขัง จากการขยายตัวของชุมชนที่อยู่ริมลำน้ำและที่ราบริมทะเลมีระดับความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้การระบายน้ำมีจำกัด หน่วยงานท้องถิ่นจะต้องมีมาตรการที่จะรักษาสภาพการระบายน้ำอย่างน้อยให้คงสภาพไว้ เพราะแนวโน้มประมาณน้ำท่าจะสูงขึ้น

  17. พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บริวณพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในบริเวณตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มน้ำตรัง

  18. ปัญหาด้านการจัดการต้นน้ำ ปัญหาด้านการจัดการต้นน้ำ 1)การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร ทำให้มีพื้นที่ป่าลดลงซึ่งมีผลทำให้ปริมาณน้ำท่าเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A และ 1B การบุกรุกพื้นที่ป่าพบมากในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ประกาศเป็นเขตป่าเพื่อการอนุรักษ์ สำหรับเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีการบุกรุกบริเวณเขตติดต่อ พื้นที่ที่มีการบุกรุกจำนวนมากควรเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำของอำเภอห้วยยอดและอำเภอนาโยง 2) การชะล้างพังทลายของดิน มีสาเหตุจากการทำการเกษตรในพื้นที่ลาดชัน และไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม โดยจังหวัดตรังและนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายของดินในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากประมาณร้อยละ 2 ของพื้นที่ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้อย

  19. ที่ตั้งสถานีเตือนภัย (Early Warning) ของกรมทรัพยากรน้ำ

  20. แนวทางการการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำของ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8

  21. วัตถุประสงค์ • เพื่อนำเสนอข้อมูลของแผนงานและโครงการในรูปแบบของข้อมูลเชิงพื้นที่ • เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ • เพื่อให้สามารถตรวจสอบความสอดคล้องของโครงการกับพื้นที่ที่เกิดปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ

  22. หลักการและแนวคิดในการทำงานหลักการและแนวคิดในการทำงาน 1.วิเคราะห์ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ 2.จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และพื้นที่ปัญหาตามขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ 3. รวบรวมข้อมูลโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมถึงโครงการที่มีความต้องการจากท้องถิ่น 4.นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 5.จัดลำดับความสำคัญโครงการ 6. นำเสนอโครงการเพื่อดูความสอดคล้องกับปัญหาและความซ้ำซ้อนโครงการ

  23. ลำดับของพื้นที่ปัญหาและโครงการลำดับของพื้นที่ปัญหาและโครงการ แผนงาน/โครงการ ด้านทรัพยากรน้ำของพื้นที่ กรอบและแนวคิดการทำงาน ประชุมอำเภอ ความต้องการใหม่ แผนงานโครงการระดับตำบล ปริมาณ คุณภาพ พื้นที่ปัญหา ทบทวนแผน จากตำบล แปลงข้อมูลเข้าสู่ ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญ วิเคราะห์แผนงาน และพื้นที่ปัญหา จากหลักวิชาการ

  24. การคำนวณหาลำดับความสำคัญของพื้นที่น้ำท่วมการคำนวณหาลำดับความสำคัญของพื้นที่น้ำท่วม

  25. ลำดับความสำคัญพื้นที่ปัญหาน้ำท่วมลำดับความสำคัญพื้นที่ปัญหาน้ำท่วม ลำดับความสำคัญพื้นที่ปัญหาน้ำท่วม ลำดับความสำคัญพื้นที่ปัญหาน้ำท่วม จังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลา

  26. การคำนวณหาลำดับความสำคัญของพื้นที่ภัยแล้งการคำนวณหาลำดับความสำคัญของพื้นที่ภัยแล้ง

  27. ลำดับความสำคัญพื้นที่ปัญหาภัยแล้งลำดับความสำคัญพื้นที่ปัญหาภัยแล้ง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา

  28. เกณฑ์การให้คะแนนการจัดลำดับความสำคัญของ แผนบริหารจัดการน้ำ (AHP)

  29. เกณฑ์การให้คะแนนการจัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์การให้คะแนนการจัดลำดับความสำคัญของ แผนบริหารจัดการน้ำ(AHP)

  30. การประยุกต์ใช้ระบบ GIS ในการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

  31. การประยุกต์ใช้ระบบ GIS ในการจัดลำดับคะแนนโครงการ ลำดับคะแนน

  32. การประยุกต์ใช้ระบบ GIS ในการวิเคราะห์ความสอดคล้องของปัญหาภัยแล้ง กับโครงการที่ท้องถิ่นขอ โครงการแหล่งน้ำเดิม โครงการประปาภูเขาที่ขอจากท้องถิ่น โครงการขุดลอกพร้อมฝายน้ำล้นจากท้องถิ่น พื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

  33. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยท่าเชียดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยท่าเชียด

  34. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยนาท่อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยนาท่อม

  35. ผลที่คาดว่าจะได้รับ • ผลผลิต • มีแผนที่แสดงปัญหาของพื้นที่ลุ่มน้ำที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสำรวจในพื้นที่ของลุ่มน้ำ • มีแผนที่แสดงแผนงานโครงการที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง • มีข้อมูลที่สามารถปรับปรุงเป็นประจำทุกปีที่มีการทบทวนแผนงานทำให้ข้อมูลด้านแผนงานโครงการมีความทันสมัย • ผลลัพธ์ • สามารถทราบถึงพื้นที่ที่มีปัญหาด้านทรัพยากรน้ำตลอดจนความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงการที่นำเสนอผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ • การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในสนับสนุนการวางแผนงานด้านบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  36. จบการนำเสนอ ขอขอบคุณ

More Related