1 / 24

โครงการจัดทำ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ด้านอุดมศึกษากับทวีป แอฟ ริกา ประจำปีงบประมาณ 2554

โครงการจัดทำ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ด้านอุดมศึกษากับทวีป แอฟ ริกา ประจำปีงบประมาณ 2554. สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ. เนื้อหา. ความเป็นมา ทำไมจึงควรร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในทวีป แอฟ ริกา ? ขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีป แอฟ ริกา

sumana
Download Presentation

โครงการจัดทำ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ด้านอุดมศึกษากับทวีป แอฟ ริกา ประจำปีงบประมาณ 2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาประจำปีงบประมาณ 2554 สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ

  2. เนื้อหา • ความเป็นมา • ทำไมจึงควรร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา? • ขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • ร่างยุทธศาสตร์จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา

  3. ความเป็นมา • นโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลไทย (อภิสิทธิ์ 1) • นโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) • ข้อมูลเกี่ยวกับทวีปแอฟริกา • โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • สถานะความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา

  4. นโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลไทย (อภิสิทธิ์ 1) • พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและทุกระดับ • ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน • ส่งเสริมความความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กรมุสลิมระหว่างประเทศ • กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลกและประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาคต่างๆ • ส่งเสริมการมีบทบาทร่วมกับประชาคมโลกในเรื่องการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ • สนับสนุนการเข้าร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งทวิภาคีและพหุภาคีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ • ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชน • สร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อประเทศไทยและการเข้าถึงระดับประชาชน • คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย

  5. นโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) • แนวความคิดหลัก คือ การช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • วัตถุประสงค์ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศเป้าหมาย และการแสวงหาตลาดการค้าและลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศ พร้อมกับส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย • ประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

  6. ข้อมูลเกี่ยวกับทวีปแอฟริกาข้อมูลเกี่ยวกับทวีปแอฟริกา • ข้อมูลทั่วไป • ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • การพัฒนาโดยรวม • ไทยและแอฟริกา

  7. โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาในทวีปแอฟริกา • เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับแอฟริกาเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน • เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษากับประเทศในทวีปแอฟริกา เพื่อนำไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา

  8. โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ขอบเขตของการศึกษาวิจัย • ศึกษาเฉพาะการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกำหนดกลุ่มประเทศเป้าหมาย 10 ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ บอตสวานา อียิปต์ เคนยา มาดากัสการ์ โมร็อกโก โมซัมบิก เซเนกัล ซูดาน แทนซาเนีย และแอฟริกาใต้

  9. สถานะความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกาสถานะความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • การดำเนินความร่วมมือทางด้านอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศในแอฟริกายังมีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยประเทศไทยได้ดำเนินความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศต่างๆ ได้แก่ ลิเบีย บอตสวานา อียิปต์ และเคนยา • ปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษาชาวแอฟริกาที่เข้ามาศึกษาต่อในไทยทั้งหมด 454 คน จาก 33 ประเทศ โดยประเทศที่มีจำนวนนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทยมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ ไนจีเรีย 155 คน และแคเมอรูน 55 คน (ณ เดือนกรกฎาคม 2553) • จากการสำรวจความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา พบว่า มีความตกลงความร่วมมือทางวิชาการจำนวนทั้งหมด13 ฉบับ (ณ เดือนกรกฎาคม 2553)

  10. ทำไมจึงควรร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา? • การค้า การลงทุน • แหล่งวัตถุดิบ • เสียงสนับสนุนในเวทีนานาชาติ • ความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ • เผยแพร่ข้อมูลของทวีปแอฟริกากระจายสู่วงกว้าง

  11. ขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • การร่างจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • การเชิญผู้ทรงคุณวุฒิความร่วมมือกับแอฟริการ่วมประชุมระดมสมอง • การจัดทำร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา ต่อ...

  12. ขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องความร่วมมือกับแอฟริการ่วมประชุมพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การนำเสนอต่ออนุกรรมการนโยบายและแผนให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การนำเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาให้สถาบันอุดมศึกษานำไปปรับใช้

  13. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • จุดแข็ง • สถาบันอุดมศึกษาไทยมีความเข้มแข็งด้านวิชาการในสาขาที่แอฟริกาสนใจ • สถาบันอุดมศึกษาไทยมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย • สถาบันอุดมศึกษาไทยมีหลักสูตรนานาชาติที่เปิดสอนด้วยภาษาอังกฤษจำนวนมาก • ค่าเล่าเรียนของไทยไม่แพง • วัฒนธรรมไทยและชีวิตความเป็นอยู่ในไทยคล้ายคลึงกับสภาพในแอฟริกา • ค่าครองชีพในไทยไม่สูง • ประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ • ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกามาเป็นเวลานาน

  14. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • จุดอ่อน • ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและแอฟริกายังมีไม่มากนัก • สถาบันอุดมศึกษาไทยขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านแอฟริกาศึกษา • นักวิชาการไทยที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับแอฟริกายังมีน้อยอยู่ • นักวิชาการไทยยังขาดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความร่วมมือจากประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • นักวิชาการและนักศึกษาไทยจำนวนมากยังขาดทักษะในการสื่อสารขั้นสูงด้วยภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่จำเป็นในการร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • สถาบันอุดมศึกษาไทยยังขาดหลักสูตรนานาชาติที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาในแอฟริกา

  15. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • โอกาส • ทวีปแอฟริกาเป็นแหล่งวัตถุดิบและแหล่งทรัพยากรสำหรับการผลิตของไทย เป็นตลาดใหม่ สำหรับสินค้า และเป็นแหล่งลงทุนที่มีโอกาสทางธุรกิจสูงของภาคเอกชนไทย • รัฐบาลให้การสนับสนุนทุนการศึกษาและฝึกอบรมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรจากแอฟริกา • รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการขยายความสัมพันธ์กับประเทศในแอฟริกา • ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาเห็นว่าไทยมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการพัฒนาสำหรับแอฟริกา • สถานทูตของประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาประจำประเทศไทยสนใจส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในทวีปแอฟริกากับประเทศไทย • รัฐบาลไทยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาในทวีปแอฟริกา

  16. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • ภัยคุกคาม • สถานการณ์ทางการเมือง ความรุนแรง และโรคติดต่อที่ร้ายแรงในบางประเทศในทวีปแอฟริกาก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในการเดินทางไปแสวงหาความร่วมมือในทวีปแอฟริกา • คนไทยและคนแอฟริกายังรู้จักกันในวงจำกัด • ระยะทางที่ไกลกัน มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ค่อนข้างสูง

  17. ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 1: การให้ความรู้เกี่ยวกับแอฟริกาเพื่อปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแอฟริกา • กลยุทธ์: • การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแอฟริกา • การจัดพิมพ์ข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม เผยแพร่ไปตามสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแอฟริกา • การส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา

  18. ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 2: การสร้างความเป็นหุ้นส่วนและเรียนรู้จากกันและกันระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • กลยุทธ์: • การจัดตั้ง “ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยไทย-แอฟริกา” ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยประสานงานความร่วมมือทางวิชาการกับแอฟริกา • การส่งคณะผู้แทนด้านอุดมศึกษาเดินทางไปเจรจาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในแอฟริกา • การเชิญนักวิชาการและอาจารย์จากแอฟริกามาทำวิจัยและประชุมทางวิชาการร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาไทย

  19. ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประเทศเป้าหมายในแอฟริกา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุน • กลยุทธ์: • การร่วมมือกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยไทย-แอฟริกา สถาบันอุดมศึกษา และสถานทูตของประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาประจำประเทศไทย ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาแอฟริกา ต่อ...

  20. ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประเทศเป้าหมายในแอฟริกา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุน • กลยุทธ์: • สถาบันอุดมศึกษาร่วมมือกับหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาครัฐและเอกชน ในการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรม เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งการศึกษาข้อมูลเชิงลึกประเภท intelligent ต่อ...

  21. ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประเทศเป้าหมายในแอฟริกา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุน • กลยุทธ์: • สนับสนุนให้มีการสร้างการเชื่อมโยงระดับสถาบันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาแอฟริกา และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ • ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาแอฟริการ่วมกันจัดทำความตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน

  22. ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 4: การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ นักศึกษา และบุคลากร • กลยุทธ์: • ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาในการทำการวิจัย การศึกษา และการสอน • จัดเวทีให้อาจารย์และนักศึกษาไทยกับแอฟริกา ร่วมประชุมปรึกษาหารือกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิสัมพันธ์อย่างย่ำยืน • ส่งเสริมให้นักศึกษาจากแอฟริกามาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทยให้มากขึ้น ต่อ...

  23. ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 4: การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ นักศึกษา และบุคลากร • กลยุทธ์: • สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยประชาสัมพันธ์ให้สถาบันอุดมศึกษาแอฟริกาได้รู้จักมากขึ้น • ใช้ประโยชน์จากนักศึกษาแอฟริกาที่มาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ในการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา เพื่อการวิจัย

  24. กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศกลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ • สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ • โทร. 0 2610 5396 • โทรสาร 0 2354 5570

More Related