1 / 18

วิเคราะห์ และสร้างสรรค์สารสนเทศ ( Information Analysis and Creativity)

วิเคราะห์ และสร้างสรรค์สารสนเทศ ( Information Analysis and Creativity). หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ สุชีรา พลราชม. บทที่ 10 การพัฒนาระบบงานสารสนเทศ ด้วยคอมพิวเตอร์. วงจรในการพัฒนาระบบสารสนเทศ.

suki
Download Presentation

วิเคราะห์ และสร้างสรรค์สารสนเทศ ( Information Analysis and Creativity)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิเคราะห์และสร้างสรรค์สารสนเทศ (Information Analysis and Creativity) หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ สุชีรา พลราชม

  2. บทที่ 10การพัฒนาระบบงานสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์

  3. วงจรในการพัฒนาระบบสารสนเทศวงจรในการพัฒนาระบบสารสนเทศ วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศหมายถึง กิจกรรมต่างๆที่นักวิเคราะห์ ผู้ออกแบบและผู้ใช้ระบบกระทำร่วมกันเพื่อพัฒนาและติดตั้งระบบสารสนเทศ โดยจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้บริหารเห็นว่า องค์กรที่ปฏิบัติงานควรได้รับการปรับปรุงกิจกรรมที่กระทำสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆ ตามวิธีการศึกษาและการพัฒนาระบบดังนี้

  4. 1. การกำหนดปัญหา รวมถึงการกำหนดขอบเขตและสภาพแวดล้อมที่เกิดปัญหา 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม เป็นต้น และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริง

  5. 3. การวิเคราะห์ทางเลือก โดยอาจเริ่มจากการใช้วิธีระดมความคิด เพื่อให้ทางเลือกหลายทางจากนั้นจึงค่อยๆจำกัดให้เหลือทางเลือกที่ดีที่สุด 3-4 ทางเลือก 4. การกำหนดการศึกษาความเหมาะสม หมายถึง การพัฒนาทางเลือกต่างๆที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 โดยจะต้องนำทางเลือกเหล่านั้นมาวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายจับต้องการได้และจับต้องการไม่ได้ รวมถึงทั้งพิจารณาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของทางเลือกเหล่านั้น

  6. 5. การนำเสนอโครงการ เพื่อให้ผู้ระบบและผู้บริหารเห็นชอบ 6. การออกแบบระบบ คือ การออกแบบรายละเอียดเกี่ยวกับระบบใหม่ซึ่งประกอบด้วย การออกแบบเชิงตรรกะ (logical design ระบบจะทำอะไร) และการออกแบบเชิงกายภาพ (physical design ระบบทำงานอย่างไร)

  7. 7. การศึกษานำร่อง คือ การทดสอบระบบที่ใช้สำหรับทดลองเพื่อพิจารณาว่าระบบที่เลือก ทำงานได้ดีหรือไม่เพียงไร 8. การอนุวัตระบบ คือ การติดตั้งระบบใหม่ตลอดจนการอบรมผู้ใช้ระบบและทำเอกสารประกอบการใช้และการบำรุงรักษาระบบ

  8. 9.การประเมินผล กระทำเพื่อให้ทราบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนั้นตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่อย่างไร ตลอดจนหาทางแก้ไขในส่วนที่ผู้ใช้ยังไม่พอใจ

  9. Kraft and Boyce ได้ระบุกิจกรรมที่ทำในขั้นตอนการพัฒนาระบบเป็น 4 ขั้น (13 ขั้นตอน) ได้แก่

  10. ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1. การกำหนดภาพรวมของระบบที่วิเคราะห์ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของระบบที่วิเคราะห์

  11. 3. การกำหนดความต้องการและแนวทางต้องสามารถระบุหน้าที่ (Functions) กิจกรรม (Activities) และภารกิจ (Tasks) เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่วางไว้ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของห้องสมุดวิทยาลัยแห่งหนึ่งคือ การทำให้ผู้ใช้ได้รับสารนิเทศใหม่ๆ ที่ตรงกับความสนใจอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริการที่จะจัดบริการเลือกสารนิเทศเพื่อเผยแพร่เฉพาะบุคคล

  12. 4. การกำหนดความต้องการในสภาพการทำงานปัจจุบันหมายถึง การพิจารณาหาแนวทางที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย กิจกรรมในขั้นตอนนี้ถือเป็นหัวใจของการวิเคราะห์ นักวิเคราะห์จะต้องถามคำถามที่เกี่ยวกับใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และจำนวนเท่าใด

  13. ขั้นที่ 2 การออกแบบ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 5. การระบุทางเลือกให้กับระบบงานที่วิเคราะห์ 6. การระบุข้อจำกัดต่างๆ หมายถึงสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาให้ระบบประสบความสำเร็จได้แก่ งบประมาณ เวลา สถานที่ วิธีการทางเทคนิคต่าง ๆ กฎระเบียบ 7. การระบุทางเลือกที่เป็นไปได้

  14. ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินซึ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 8. การระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน 9. การประเมินผลทางเลือกแต่ละทางเลือกที่ถูกนำมาประเมินผลตามเกณฑ์ที่ระบุในขั้นตอนที่ 8 อาจเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต 10. การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด

  15. ขั้นที่ 4 การอนุวัติ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 11. การรายงานการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์จะต้องแจ้งให้ผู้บริหารทราบถึงการประเมินทางเลือกและข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา 12. การตัดสินใจของผู้บริหาร การกระทำต่างๆ ที่ตามมาหลังจากผู้บริหารตัดสินใจเห็นชอบให้ดำเนินโครงการต่อไปตามที่นักวิเคราะห์เสนอ กิจกรรมที่กระทำได้แก่ การวางแผนการอนุวัต การอบรมบุคลากร การจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ การทดสอบและการแก้ไขเครื่องมือและโปรแกรมการพัฒนานำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ 13. การดูแลและควบคุมระบบ

  16. ส่วน Senn ได้แบ่งขั้นตอนในการพัฒนาระบบออกเป็น 6 ขั้นตอนตามกิจกรรมที่กระทำ ดังนี้ 1.การศึกษาเบื้องต้น 2.การระบุความต้องการของระบบ 3.การออกแบบระบบ 4.การพัฒนาโปรแกรม 5.การทดสอบระบบ 6.การติดตั้งและการประเมินผล

  17. ขั้นตอนที่ปรากฏในวงจรการพัฒนาระบบนั้นสามารถแบ่งได้อย่างกว้างๆ จนไปถึงการแบ่งอย่างละเอียด ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะระบุรายละเอียดของกิจกรรมที่กระทำและการให้ความสำคัญกับกิจกรรมใดมากกว่ากัน กิจกรรมบางขั้นตอนอาจถูกกำหนดไว้ก่อนหลังต่างกัน ขึ้นอยู่กับแนวความคิดและประสบการณ์ของนักวิชาการแต่ละคน กิจกรรมที่กระทำในขั้นตอนบางขั้นตอน สามารถทำไปพร้อมกันได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ลักษณะการดำเนินงานวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของระบบที่ศึกษา

More Related