1 / 23

การพัฒนาระบบเพื่อทำหน้าที่ National Clearing House ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การพัฒนาระบบเพื่อทำหน้าที่ National Clearing House ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ที่มาและความสำคัญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐. equity. มาตรา ๕๑

suchin
Download Presentation

การพัฒนาระบบเพื่อทำหน้าที่ National Clearing House ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาระบบเพื่อทำหน้าที่ National Clearing House ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  2. ที่มาและความสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ equity • มาตรา ๕๑ • บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและ ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย • บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ • มาตรา ๘๐(๒) • ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน • จัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ .... Heath Status

  3. ที่มาและความสำคัญ นโยบายรัฐบาล นโยบายของรัฐบาล ข้อ ๑.๑๔ :บูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เน้นการพัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพ และบูรณาการแผนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป้าหมาย: มีองค์กร หรือ หน่วยงานที่ดูแลด้านการซื้อบริการทางการแพทย์และ สาธารณสุข (Healthcare Purchaser) : มีองค์กรหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบข้อมูลทางด้านสุขภาพของ ประเทศ (National Health Information) กลยุทธ์การดำเนินงาน : พัฒนาและผนวกระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ระบบบริการด้านสุขภาพของประเทศ ให้เป็นระบบเดียวกัน โดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุณภาพของงาน และเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการทำงานพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพระดับชาติ (National Health Information)

  4. ที่มาและความสำคัญ สถานการณ์ระบบข้อมูลและธุรกรรมด้านสุขภาพของประเทศ • ความแตกต่างกันของระบบข้อมูลบริการด้านสุขภาพและการเบิกจ่ายของสถานพยาบาลมี • มีข้อจำกัดหลายด้านในการดำเนินงานแบบเดิม เช่น • การจัดการข้อมูลของแต่ละกองทุนไม่มีความเชื่อมโยง • การบริหารจัดการแยกส่วน ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากร • การจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายของสถานพยาบาลมีความยุ่งยาก • ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล การบริหารจัดการและงบประมาณ • ความเหลื่อมล้ำของบริการด้านสุขภาพของประชาชน จากความแตกต่างด้านทรัพยากร และระบบการจัดการของแต่ละกองทุน

  5. หลักการและวัตถุประสงค์ในการดำเนินการNational Clearing House หลักการ • เป็นการจัดการให้เกิดระบบการเบิกจ่ายกลางของประเทศ (National Clearing House) ผ่านการมีหน่วยงานกลาง ในการดูแลข้อมูลการเบิกจ่ายที่เป็นระบบเดียว • เพื่อจัดการข้อมูลของระบบการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลต่างๆในระบบประกันสุขภาพทั้งสามกองทุน วัตถุประสงค์ • เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สถานพยาบาลต่างๆ ในการเรียกเก็บค่าบริการ • เพื่อให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่จัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลบริการสาธารณสุข (National Health Information) ในการเป็นศูนย์กลางการเรียกเก็บค่าบริการสาธารณสุข (Claimcenter)

  6. ที่มาและความสำคัญ มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ ๑. อนุมัติให้ สปสช. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามมาตรา ๒๖ (๑๔)แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลด้านบริการสาธารณสุข (National Clearing House) ในการบริหารการเรียกเก็บ (Claimcenter) ค่าบริการสาธารณสุขของสถานพยาบาลต่างๆ สำหรับผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและบุคคลในครอบครัว รวมทั้งผู้ประกันตน ข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐอื่นๆที่สมัครใจ ๒. มอบ สปสช.เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบการปฏิบัติหน้าที่ เป็นหน่วยงานกลางจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลด้านบริการสาธารณสุข (National Clearing House) รวมทั้งการประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา ๑๘ (๑๔) ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕

  7. ๑.๑ ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามมาตรา ๑๘(๑๔) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ในการควบคุมดูแล สปสช. ให้ปฏิบัติหน้าที่อื่น ได้แก่ การทำหน้าที่หน่วยงานกลางจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลบริการสาธารณสุข (National Clearing House) ตามนโยบายการบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพระบบประกันสุขภาพของรัฐบาล เพื่อบริหารการเรียกเก็บค่าบริการสาธารณสุข (Claim center) ของสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่ให้บริการผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ผู้ประกันตน รวมทั้งข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่สมัครใจ โดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๖ (๑๔) ที่มาและความสำคัญ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๖ ๑. เห็นชอบตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ ดังนี้

  8. ๑.๒ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และกระทรวงแรงงานโดยคณะกรรมการประกันสังคม ให้ความร่วมมือ และให้ สปสช. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลด้านบริการสาธารณสุข (National Clearing House) ของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการให้กับกรมบัญชีกลางและสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน ให้สำนักงานประกันสังคม ที่มาและความสำคัญ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๖ ๑. เห็นชอบตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ ดังนี้

  9. ๑.๓ เห็นชอบให้มีกลไกคณะทำงานเพื่อผลักดันการพัฒนาระบบอย่างมีส่วนร่วมของกองทุนประกันสุขภาพทั้งสามระบบ ได้แก่ ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยให้รองปลัดกระทรวงการคลังท่านหนึ่งเป็นประธาน และให้มีหัวหน้า หรือผู้แทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ รวมถึงการร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง สปสช. กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน รวมทั้งหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ที่สมัครใจ เพื่อผลักดันการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป โดยมีระยะเตรียมการในปี ๒๕๕๖ ที่มาและความสำคัญ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๖ ๑. เห็นชอบตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ ดังนี้

  10. ที่มาและความสำคัญ ๒. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๖ ให้ สปสช.รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ดังนี้ • ด้านบุคลากร ด้านระบบข้อมูล การประสานงาน • การกำหนดสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า • กลไกการจ่ายเงิน และอัตราการชดเชยตามกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติแต่ละกองทุน • การสื่อสารทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนให้ได้รับทราบข้อเท็จจริง ประโยชน์ และผลกระทบของการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลด้านบริการสาธารณสุข (National Clearing House) • ระบบตรวจสอบการดำเนินงานที่ชัดเจนและเป็นกลางเพื่อควบคุมแนวทางการจัดสรรทรัพยากรทั้งในเชิงประสิทธิภาพและความเป็นธรรมให้กับผู้ที่อยู่ภายใต้แต่ละกองทุน • และหาข้อตกลงเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานให้เป็นที่ยุติ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย

  11. รายจ่ายสุขภาพภาครัฐ และภาคเอกชน ปี 2537-2553 ที่มา: บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ 2537-2553, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

  12. Progression National Clearing House

  13. ระบบสวัสดิการพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระบบสวัสดิการพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอบเขตภารกิจการบริหารจัดการข้อดีแปดประการที่สปสช.จัดให้ การบริหารจัดการระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับ อปท. ครอบคลุมภารกิจเพื่อให้ อปท.มีหลักประกันสุขภาพที่มั่นใจและมีประสิทธิภาพ จำนวน๘ ระบบงานหลัก ได้แก่ • ระบบลงทะเบียนผู้มีสิทธิ • ระบบการขอชดเชยค่าบริการ • ระบบการจ่ายเงินให้กับหน่วยบริการ • ระบบรับเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียน (call center) • การตรวจสอบเวชระเบียน (audit system) • การบริหารระบบ (system management) • ติดตามประเมินผลสถานะสุขภาพของ อปท. • วิเคราะห์ข้อมูลไปใช้ในโครงการเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีของ อปท.

  14. ความก้าวหน้าการลงทะเบียนผู้มีสิทธิความก้าวหน้าการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ ๑๐.๐๐ น. วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖

  15. Time Frame การลงทะเบียนบุคลากรสิทธิข้าราชการส่วนท้องถิ่น

  16. การดำเนินการเพื่อตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ • ประชุมร่วม สปสช. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนอปท. และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบร่วมกันจำนวน ๗ ครั้ง (๒,๒๕ กค ๕๕/๒๑ สค.๕๕/๘,๑๖ ตค.๕๕/๑๙,๒๑ ธค.๕๕/๓ มค.๕๖/ ๔ กพ.๕๖) • พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือและ MOU ระหว่างผู้แทน/ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีนรต.เป็นประธาน (๖กพ.๕๖) • เสนอต่อรมว.สธ.ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลงนาม (๑๙ มีค.๕๖) • เสนอต่อ สลค.เพื่อนำเข้าครม.(๒๑ มีค.๕๖) • เสนอร่างพรฎ.ต่อครม. ๒๖ มีค.๕๖ และสลค.ให้นำเรื่องเสนอเข้าคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องก่อนเข้าครม. คณะที่ ๕ (ฝ่ายสังคม) ซึ่งมีท่านพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน • คณะกรรมการกลั่นกรอง โดยท่านพงษ์เทพ อนุมัติหลักการตามร่าง พรฎ. ส่งกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาด้วย • รอ ครม.อนุมัติ

  17. การดำเนินการด้านกองทุนสวัสดิการพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการดำเนินการด้านกองทุนสวัสดิการพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ๒๖ มี.ค.๕๖ ประชุมอนุฯการเงินการคลังฯท้องถิ่น มีมติจัดสรรเงิน ๓,๕๐๐ + ๕๖๑ ล้านบาท โดยตั้งจ่ายจากเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อส่งเข้ากองทุนฯรักษาพยาบาลอปท. • ๑๗ มิ.ย.๕๖ ประชุมหารือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสปสช. ณ ห้องประชุม ๓๒๐๑ ชั้น ๒ อาคาร ๓ สถ. เรื่องกองทุนค่ารักษาพยาบาล ที่อาจไม่เพียงพอ • ๒๕ มิ.ย.๕๖ ประชุมหารือที่ทำเนียบ โดยมี รมว.สธ ท่านวราเทพ รัตนากร และ ท่านประชา ประสพดี สำนักงบ, กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานการกระจ่ายอำนาจ และสปสช • หารือเรื่องงบ ๔,๐๖๑ ล้าน ว่าเป็นงบที่ตัดมาจากเงินอุดหนุนทั่วไปที่จะส่งให้อปท. โดยอปท.ต้องไปแก้ไขระเบียบให้สามารถส่งมอบให้สปสช.ได้ โดยขอให้ส่งเป็นงวดโดยส่งก่อนมีการรักษา • ส่วนกรณีที่อาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่า ๔,๐๖๑ ล้านบาท ทางท่านวราเทพ รับไปเอาเข้าประชุมอนุฯการเงินการคลังฯท้องถิ่น อีกครั้งว่าจะมีแนวทางในการจัดการอย่างไร • ๑๖ ก.ค.๕๖ การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงิน การคลังและงบประมาณ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ โดยมีท่านวราเทพ รัตนากรเป็นประธาน • เห็นชอบให้จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ตั้งงบประมาณปี ๒๕๕๗ ให้สปสช.เพื่อเป็นกองทุนในการรักษาพยาบาลข้าราชการ/พนักงานองค์กรส่วนท้องถิ่น จำนวน ๔,๐๖๑.๙๕ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ งวด งวดแรกภายในเดือนตุลาคม ๒๕๕๖ ร้อยละ ๕๐ และงวดที่ ๒ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อีกร้อยละ ๕๐ • เห็นชอบให้มีการกันเงินอุดหนุนทั่วไปไว้จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อเป็นเงินสำรองสำหรับการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นให้แก่สปสช. • เห็นชอบให้จัดสรรเงินเป็นค่าบริหารจัดการให้สปสช.โดยในปีแรกในอัตราร้อยละ ๑.๕ ของเงินที่นำส่งเข้ากองทุน ตามที่ได้มีการทำความตกลงและกำหนดไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกา

  18. National Clearing House • การจัดส่งร่าง TOR ให้กรมบัญชีกลางและ สปส. ๑๙ ก.ค.๕๖ • การประชุมหารือร่วมกับสปส. เพื่อจัดทำ TOR ๑ ส.ค.๕๖ ๑. ๒. ๓.

More Related