1 / 29

โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร

โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร. เงินสมทบ และ การประเมินเงินสมทบ. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร. ความหมาย “เงินสมทบ”.

storm
Download Presentation

โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร เงินสมทบ และ การประเมินเงินสมทบ

  2. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ความหมาย “เงินสมทบ” เงินสมทบ คือ เงินที่ผู้ประกอบกิจการจ่ายสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ในกรณีที่ไม่จัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด

  3. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ ผู้ประกอบกิจการ ประเภทอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือธุรกิจอย่างอื่น ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ที่ไม่ได้จัดฝึกอบรมลูกจ้าง หรือจัดฝึกอบรมแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด

  4. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การเรียกเก็บเงินสมทบ ให้ผู้ประกอบกิจการจ่ายเงินสมทบเป็นรายปี ตามปีปฏิทิน โดยต้องจ่ายภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป หากไม่จ่ายเงินสมทบภายในเวลาที่กำหนด ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

  5. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร อัตราสมทบ เท่ากับ ร้อยละ 1 ต่อปี ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐาน ในการคำนวณเท่ากับ 3,990 บาท ต่อคน ต่อเดือน อัตราเงินสมทบ การคำนวณ เงินสมทบ

  6. ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ • ค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ตามประกาศกระทรวงแรงงาน ลงวันที่ 12 เมษายน 2547) เท่ากับ “3,990 บาทต่อเดือนต่อคน”

  7. ลูกจ้างครบ 100 1. ก่อน/ตั้งแต่ 1 ม.ค. 51 = 12 เดือน 2. ไม่เต็มปีให้นับตั้งแต่วันที่ครบ 100 ถึง ธ.ค. 51 สูตรการคำนวณ “เงินสมทบ” โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร 3,990 บาท จำนวนลูกจ้างที่ ไม่ได้จัดฝึกอบรม หรือจัดแต่ไม่ครบ ตามสัดส่วนที่กำหนด จำนวน เดือน 1%

  8. ข้อควรระวัง • สถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายบังคับตามพรบ. 2545 แล้ว คือมีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป แม้ภายหลังจะมีลูกจ้างไม่ถึง 100 คน ก็ยังต้องปฏิบัติตามพรบ. 2545 ตลอดไปจนกว่าจะเลิกกิจการ และยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบและแบบรายงานการฝึกอบรมฝีมือแรงงานต่อไปจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ โดยไม่มีการจ้างลูกจ้างหรือเลิกประกอบกิจการ • การหยุดประกอบกิจการชั่วคราวหรือการเลิกกิจการต้องยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ประกอบกิจการ (สท.8) พร้อมแนบแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.09 ของกรมสรรพากร หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์

  9. หยุดประกอบกิจการชั่วคราว คือ การที่ผู้ประกอบกิจการได้หยุดประกอบกิจการโดยการเลิกจ้างลูกจ้าง การเลิกกิจการ คือ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นนิติบุคคลหรือผู้ที่มีใบทะเบียนพาณิชย์และได้ขอจดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์ การประเมินเงินสมทบผู้ประกอบกิจการที่มีการแจ้งหยุดกิจการชั่วคราว หรือเลิกกิจการ • กรณีหยุดกิจการชั่วคราว หรือเลิกกิจการตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นปี (1 ม.ค. – 31 ธ.ค.)โดยไม่มีการจ้างลูกจ้าง ไม่ต้องยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (สท.2) • กรณีหยุดกิจการชั่วคราว หรือเลิกกิจการระหว่างปี ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการฝึกอบรมตามสัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมฝีมือแรงงานประจำปี ในช่วงเวลาที่ดำเนินการของปีนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่หยุดกิจการชั่วคราว หรือเลิกกิจการ และยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (สท.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป

  10. การคำนวณสัดส่วนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมสำหรับปี 2551 กรณีที่1.ลูกจ้างครบ 100 เต็มปี (ก่อน/ตั้งแต่ 1 ม.ค. 51)จำนวนลูกจ้างทุกสิ้นเดือนทั้งปีบวกรวมกัน ÷ 12 X 50% = 1,800 ÷ 12 = 150 (ค่าเฉลี่ย) 150 × 50% = 75 คนที่ต้องฝึกอบรม

  11. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การคำนวณสัดส่วนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรม สำหรับปี 2551 กรณีที่ 2ลูกจ้างครบ 100 ไม่เต็มปี นำจำนวนลูกจ้างตั้งแต่วันที่ครบ 100 จนถึงสิ้นปี ÷ จำนวนเดือน X 50 % Ex. มีลูกจ้างครบ100 คน เดือน มี.ค. 51 = 1,550 ÷ 10 = 155 (ค่าเฉลี่ย) 155 × 50% = 77.5 คน ( 77 คน)

  12. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การนับจำนวนผู้รับการฝึก เพื่อประเมินเงินสมทบ 1. ห้ามนับซ้ำคน ในกรณีที่ผู้เข้าอบรมคนเดียวกันได้รับการฝึกอบรมมากกว่า 1 หลักสูตร ให้นับได้เพียง 1 หลักสูตร ( 1 คน 1 หลักสูตร นับซ้ำได้เฉพาะกรณีขอยกเว้นภาษี ) 2. ให้นับจำนวนลูกจ้างที่ได้รับการฝึกอบรม ซึ่งได้ลาออกไปแล้วในระหว่างปีด้วย *3. ให้นับจำนวนผู้รับการฝึกของทุกสาขารวมกับจำนวน ลูกจ้างของสำนักงานใหญ่

  13. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การนับจำนวนผู้รับการฝึกเพื่อประเมินเงินสมทบ 4.ให้นับแรงงานต่างด้าว ที่เป็นลูกจ้างตามคำนิยามของ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 5. ให้นับจำนวนลูกจ้างที่รับเพิ่มระหว่างปีที่ได้รับการฝึกอบรม

  14. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร วิธีคำนวณเงินสมทบ กรณีที่ 1 ครบ 100 เต็มปี (ก่อน/ตั้งแต่ 1 ม.ค. 51 ) ตัวอย่าง ก : มีลูกจ้างเฉลี่ย 150 คน ต้องฝึกอบรม 75 คน ฝึกอบรมได้ 80 คน = ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ ข : มีลูกจ้างเฉลี่ย 150 คน ต้องฝึกอบรม 75 คน ฝึกได้เพียง 50คน = ฝึกไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด 25 คน ต้องส่งเงินสมทบในส่วนที่ฝึกไม่ครบ จำนวน 25 คน เป็นเงิน 11,970 บาท (3,990 x 12 x 1% x 25 = 11,970 บาท)

  15. วิธีคำนวณเงินสมทบ โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร กรณีที่ 2 ครบ 100 ไม่เต็มปี ตัวอย่าง โจทย์ ก : มีลูกจ้าง 100 คน เมื่อ 4 มี.ค. 51 เฉลี่ยตั้งแต่ มี.ค.-ธ.ค. 51 =155 คน สัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม = 77 คน (155x 50% ) ข : ฝึกได้ 68 คน ฝึกไม่ครบ 9 คน ต้องจ่ายเงินสมทบ = 3,591.00 บาท (3,990 x 10 x 1% x 9)

  16. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ช่วงเวลาประเมินเงินสมทบประจำปี 2551 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2552

  17. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร เงินเพิ่ม(ค่าปรับ) กรณีผู้ประกอบกิจการรายใดไม่จ่ายเงินสมทบภายใน เวลาที่กำหนดหรือจ่ายไม่ครบ 1. ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงิน สมทบที่ยังไม่ได้นำส่งหรือของเงินสมทบที่ยังขาดอยู่ นับแต่วันถัดจากที่ต้องส่งเงินสมทบ 2. การนับวันในการคำนวณเงินเพิ่ม เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันแรก

  18. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร เงินเพิ่ม(ค่าปรับ) 3.ระยะเวลาที่ค้างชำระให้นับเป็น “เดือน” เศษของเดือน ถ้าถึง 15 วัน หรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 เดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง ดังนั้นถ้านำส่งเงินสมทบระหว่างวันที่ 1-14 มีนาคม ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 4.ผู้ประกอบกิจการ ที่จัดฝึกอบรมลูกจ้างของตนครบ 50 % แม้ยื่นแบบ สท.2 หลังสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม (ค่าปรับ) เนื่องจากไม่มีเงินสมทบที่ต้องจ่าย (ขณะนี้ยังไม่มีการคิดค่าปรับกรณียื่นล่าช้า)

  19. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร อัตราเงินเพิ่ม เท่ากับ ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สูตรการคำนวณ การคำนวณ เงินเพิ่ม จำนวน เดือน ที่ค้าง ชำระ เงินค้าง ชำระ 1.5% ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันแรก สำหรับเศษของเดือนถ้าถึง 15 วันหรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 เดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง

  20. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ตัวอย่างการคำนวณเงินเพิ่ม โจทย์ ก : มีลูกจ้างเฉลี่ย 150 คน ต้องฝึกอบรม 75 คน ฝึกได้ 50 คน ฝึกไม่ครบ 25 คน ข : ฝึกไม่ครบ 25 คน ต้องส่งเงินสมทบ 11,970 บาท (3,990 x 12 x 1% x 25) ภายในวันที่ 28 ก.พ. แต่ไม่ได้นำส่งเงิน ผู้ประกอบการส่งเงิน วันที่ 15 มี.ค. (วันที่ 1 –1 5 = 1 เดือน) ต้องส่งเงินเพิ่ม = 179.55 (11,970 x 1.5% x 1)

  21. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การชำระเงินสมทบ 1. ชำระเป็นเงินสด 2. ชำระด้วยเช็ค - แคชเชียร์เช็ค - เช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายชื่อบัญชี “เงินกองทุน พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร บัญชี 2” ขีดคำว่า หรือผู้ถือ ออก

  22. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การจัดทำเอกสาร เพื่อประเมินเงินสมทบ ใช้แบบ สท.2 , สท. 2-1 และ แบบ สท. 2-2

  23. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ประกอบกิจการ • กรณีข้อมูลของผู้ประกอบกิจการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เปลี่ยนแปลงที่ตั้งหรือที่อยู่ ชื่อสถานประกอบกิจการ หยุดหรือเลิกกิจการ เปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจ ฯลฯ เป็นต้น • ให้ผู้ประกอบกิจการแจ้งการเปลี่ยนแปลงภายใน 30 วัน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบ สท.8

  24. สท.2

  25. สท.2-1

  26. สท.2-2 โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร

  27. หน้า 1 หน้า 2 สท.8

  28. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล คุณอินทิรา ดำรงศักดิ์ คุณธัญญรัตน์ นิลบุตร์ โทร. 0 3487 9320 http://home.dsd.go.th/samutsakoon

  29. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ขอบคุณค่ะ

More Related