1 / 20

โดย 1. นายชิ ติพัฒธร์ ขันทอง เลขที่ 10 ข 2. นางสาว นภสร ศิริรัตน ภิญโญ เลขที่ 16 ข

พันธุศาสตร์ประชากร. โดย 1. นายชิ ติพัฒธร์ ขันทอง เลขที่ 10 ข 2. นางสาว นภสร ศิริรัตน ภิญโญ เลขที่ 16 ข 3. นางสาวธนพร ไชยฤทธิ์ เลขที่ 19 ข 4. นางสาวศศิธร ทาจิตร เลขที่ 20 ข 5. นางสาว ณัฐกฤ ตา ปากคลอง เลขที่ 21 ข. เสนอ. ครูบรรจบ ธุปพงษ์.

sophie
Download Presentation

โดย 1. นายชิ ติพัฒธร์ ขันทอง เลขที่ 10 ข 2. นางสาว นภสร ศิริรัตน ภิญโญ เลขที่ 16 ข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พันธุศาสตร์ประชากร โดย 1.นายชิติพัฒธร์ ขันทอง เลขที่10ข 2.นางสาวนภสรศิริรัตนภิญโญ เลขที่16ข 3.นางสาวธนพร ไชยฤทธิ์ เลขที่19ข 4.นางสาวศศิธร ทาจิตร เลขที่20ข 5.นางสาวณัฐกฤตา ปากคลอง เลขที่21ข

  2. เสนอ ครูบรรจบ ธุปพงษ์

  3. การศึกษาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน (gene frequency)หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีน (allele frequency) ในยีนพูล พันธุศาสตร์ประชากร หมายถึง … ยีนพูล (gene pool) = ยีนทุกๆยีนในประชากรกลุ่มหนึ่งซึ่งสิ่งมีชีวิตที่เป็น diploid นั้นใน1ยีนจะมี2แอลลีน

  4. มีประชากรหนู 10 ตัว แต่ละตัวมี 26 ยีน ซึ่งแต่ละยีนจะมี2 แอลลีน ในยีนพูลของประชากรนี้จะมีทุกแอลลีนของทุกยีนของหนูทุกตัวมารวมกัน ทำให้แต่ละยีนมีแอลลีนในยีนพูลอยู่ 20 แอลลีน เช่นยีนเอ หนูบางตัวอาจจะมีจีโนไทป์ AA บางตัว Aa หรือ aa แต่เมื่อนับตัวเอ (ทั้งAและa) จากหนูทั้ง10ตัวแล้ว จะได้ว่ามีตัวเอ 20 ตัว ซึ่งความถี่แอลลีนก็คืออัตราส่วนระหว่างแอลลีนนั้นต่อแอลลีนของยีนทั้งหมดในยีนพูล ถ้ามี A 11 ตัว a 9 ตัว ก็จะได้ความถี่แอลลีน Aและa เป็น 11/20 และ 9/20 ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น !!

  5. สมดุลฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก (Hardy-Weinberg Equilibrium) HWE ค.ศ.1908 หลังจากที่มีการรื้อฟื้นกฎเกณฑ์การถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดลไม่นาน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จี.เอช.ฮาร์ดี (G.H. Hardy) และนายแพทย์ชาวเยอรมัน ชื่อ ดับเบิลยู ไวน์เบิร์ก (W. Weinberg) ได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าความถี่อัลลีล กับค่าความถี่จีโนไทป์ ความจริงแล้วความสัมพันธ์นี้ ดับเบิลยู แคสเทิล(W. Castle) 

  6. นักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบมาก่อนแล้ว ในปี ค.ศ.1903 แต่ในปัจจุบันความสัมพันธ์นี้รู้จักกันในชื่อ กฏฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก(The Hardy-Weinberg principle) ที่กล่าวว่าในประชากรที่ปราศจากกระบวนการที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้แก่การกลายพันธุ์(mutation)การ อพยพ (migration) การผกผันทางพันธุกรรม (genetic drift)และการคัดเลือก (selection) ค่าความถี่ของอัลลีลจะยังคงเหมือนเดิม ไม่ว่าจะถ่ายทอดไปกี่รุ่นก็ตาม

  7. กฏฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ได้กล่าวอีกว่าถ้าประชากร มีระบบการผสมพันธุ์แบบสุ่ม ค่าความถี่ของจีโนไทป์จะสัมพันธ์กับค่าความถี่ของอัลลีลด้วยสูตร (pA+qa)2 = p2AA+2pqAa+q2aa และค่าความถี่จีโนไทป์ที่สมดุล (equilibrium) ของยีนที่อยู่บนออโตโซมจะเกิดขึ้นเมื่อมีการผสมพันธุ์แบบสุ่ม 1รุ่น ถ้าความถี่ของอัลลีลเริ่มต้น ในเพศทั้งสองมีค่าเท่ากัน

  8. สรุปแล้ว สมดุลฮาร์ดี – ไวน์เบิร์กมีความหมายดังนี้ .. “ในประชากรที่มีขนาดใหญ่ ถ้ามีการผสมพันธุ์กันระหว่างสมาชิกเป็นแบบสุ่ม และปราศจากอิทธิพลภายนอก ได้แก่ mutation, selection, migration ที่จะเข้ามาทำให้ความถี่ของยีนเปลี่ยนแปลงแล้ว ความถี่ของยีนและความถี่ของจีโนไทป์ของประชากรจะคงที่ตลอดไปทุกๆชั่วรุ่น” แต่ธรรมชาติโดยทั่วไปจะมีปัจจัยที่มากระทบให้ความถี่ยีนมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เรียกว่า gene force

  9. ประชากรที่มีความถี่ของยีนและความถี่ของจีโนไทป์คงที่ เรียกว่า“ประชากรสมดุล (equilibrium population)” ปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีน 1. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ 2. การผ่าเหล่า (mutation) และการแปรผันทางพันธุกรรม 3. การอพยพและการเคลื่อนย้ายประชากร 4. ขนาดของประชากร 5. รูปแบบของการผสมพันธุ์ 

  10. การคัดเลือกโดยธรรมชาติการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ความสามารถในการสืบพันธุ์จะเพิ่มจํานวนได้สูงมาก หากไม่มีปัจจัยที่จํากัดการเพิ่มจํานวนแล้ว สิ่งมีชีวิตทั้งหลายคงจะล้นโลก แต่ตามที่เป็นจริง จํานวนของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างจะคงที่ เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection)ซึ่งอาศัยหลักเกณฑ์พื้นฐานว่า จะไม่มีลักษณะทางกรรมพันธุ์ชุดเดียวที่เหมาะสมต่อสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัย ฉะนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจึงต้องมีปัจจัยสําคัญ คือ ความสามารถในการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการถ่ายทอดลักษณะแตกต่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตนั้นต้องอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมผลของการคัดเลือกโดยธรรมชาติจะได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ สปีชีส์เดียวกันที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่าโพลีมอร์ฟิซึม (polymorphism) 

  11. การผ่าเหล่าและความแปรผันทางพันธุกรรมการผ่าเหล่าและความแปรผันทางพันธุกรรม การผ่าเหล่า (mutation) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตการผ่าเหล่าหรือมิวเทชันมีทั้งที่เกิดกับเซลล์ร่างกายซึ่งเรียกว่าโซมาติคมิวเทชัน (somatic mutation)และที่เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์เรียกว่าแกมีติคมิวเทชัน (gametic mutation) มิวเทชันที่มีผลต่อขบวนการวิวัฒนาการมาก คือ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์ เนื่องจากสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆไปได้ มิวเทชันทําให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม นอกจากนั้นในกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะมีการแบ่งเซลล์ด้วยวิธีไมโอซิสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในกระบวนการไมโอซิสจะมีครอสซิงโอเวอร์ (crossing over) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นสาเหตุที่ทําให้สิ่งมีชีวิตเกิดความแปรผันทางพันธุกรรมอย่างมากมาย

  12. การอพยพของสมาชิกในประชากรการอพยพของสมาชิกในประชากร สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีการอพยพเข้าหรือออกของสมาชิก ส่งผลให้ มีการหมุนเวียนพันธุกรรมหรือที่เรียกว่าการไหลของยีน (gene flow) เกิดขึ้นระหว่างประชากรย่อยๆ ซึ่งการอพยพจะทําให้สัดส่วนของอัลลีลเปลี่ยนแปลงไป ในประชากรที่มีขนาดใหญ่มากๆ การอพยพเข้าหรืออพยพออกของสมาชิกอาจจะเกือบไม่มีผลต่อสัดส่วนของยีนในกลุ่มประชากรเลย แต่ถ้าประชากรมีขนาดเล็ก เมื่อมีสมาชิกอพยพออกไปทําให้กลุ่มประชากรสูญเสียยีนบางส่วนทําให้มีโอกาสในการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนยีนกับกลุ่มยีนนั้นน้อยลงไป หรือไม่มีโอกาสเลยในทางกลับกัน การอพยพเข้าของประชากรในกลุ่มประชากรขนาดเล็ก จะทําให้เกิดการเพิ่มพูนบางส่วน หรือบางยีนใหม่เข้ามาในประชากร มีผลทําให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร

  13. ขนาดของประชากร การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร มีบทบาทสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนและโครงสร้างของยีนพูล (gene pool)ซึ่งเกิดจากโอกาส หรือความบังเอิญ หรือจากภัยธรรมชาติ ประะชากรที่มีขนาดใหญ่และมีการผสมพันธุ์แบบสุ่มจะไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนมากมายอย่างมีนัยสําคัญ แต่ถ้าเป็นประชากรขนาดเล็กจะมีผลอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงผกผันทางพันธุกรรมอย่างฉับพลันอย่างไม่มีทิศทางแน่นอน หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนอย่างฉับพลันโดยเหตุบังเอิญตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ไม่สามารถคาดการณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนได้แน่นอนเช่นนี้ เรียกว่า เจเนติกดริฟต์ (genetic drift) เป็นกลไกที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ทําให้ความถี่ของยีนมีการเบี่ยงเบนจนเกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน

  14. รูปแบบของการผสมพันธุ์รูปแบบของการผสมพันธุ์ สิ่งมีชีวิตส่วนมากจะมีรูปแบบการสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศอย่างเด่นชัด โดยแบ่งเป็น2 กรณี คือ1. การผสมพันธุ์ แบบสุ่ม เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนมากในประชากร การผสมพันธุ์แบบสุ่มนี้จะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนในแต่ละชั่วอายุมากนัก2. การผสมพันธุ์ที่ไม่เป็นแบบสุ่ม เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นบางครั้ง โดยมีการเลือกคู่ผสมภายในกลุ่ม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดการผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์เดียวกันหรือที่เรียกว่าอินบรีดดิง (inbreeding) อันจะยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนในประชากรนั้นได้ เพราะถ้าเป็นการผสมภายในสายพันธุ์เดียวกัน และประชากรมีขนาดเล็กย่อมจะมีโอกาสที่ยีนบางยีนเพิ่มความถี่สูงขึ้นในรุ่นต่อมา และในที่สุดจะไม่มีการแปรผันของยีนเกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่ อาจเป็นสภาพโฮโมไซกัส และเป็นสาเหตุให้ยีนบางยีนมีความคงที่ (fix) และบางยีนสูญหายไป

  15. การหาความถี่ของแอลลีลในประชากรการหาความถี่ของแอลลีลในประชากร สิ่งมีชีวิตที่เป็นดิพลอนด์ในแต่ละเซลล์มีจำนวนโครโมโซมเพียง 2 ชุด และแต่ละยีนจะมี2แอลลีนดังนั้นถ้าเรารู้จำนวนจีโนไทป์แต่ละชนิดของประชากร เราจะสามารถหาความถี่ของจีโนไทป์ ( genotype  frequency) และความถี่ของแอลลีลในประชากรได้จากตัวอย่างดังนี้ในกลุ่มประชากรไม้ดอกชนิดหนึ่งที่ลักษณะสีดอกถูกควบคุมโดย ยีน 2 แอลลีล คือ R ควบคุม ลักษณะดอกสีแดงเป็นลักษณะเด่น และ  r  ควบคุมลักษณะดอกสีขาวซึ่งเป็นลักษณะด้อย ในประชากรไม้ดอก 1,000 ต้น มีดอกสีขาว 40 ต้น และดอกสีแดง 960 ต้น โดยกำหนดให้เป็นดอกสีแดงที่มีจีโนไทป์ RR 640 ต้น และดอกสีแดงมีจีโนไทป์ Rr 320 ต้น

  16. Ex1 : ความถี่แอลลีนด้อยสำหรับยีนธาลัสซีเมียในประชากรกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ใน HWE มีค่าเท่ากับ 0.1 จะมีผู้เป็นพาหะร้อยละเท่าไหร่ วิธีทำ ให้แอลลีนธาลัสซีเมีย A และ a มีความถี่เท่ากับ p และ q ตามลำดับจะได้ q = 0.1 (จากโจทย์) และ p = 0.9 (เพราะ p + q = 1) ผู้เป็นพาหะคือจีโนไทป์ Aaจะมีความถี่ 2pq = (2)(0.9)(0.1) = 0.18 หรือ 18% ของประชากร

  17. Ex2 : ความสูงถั่วลันเตาควบคุมด้วยยีน T พบว่าใน 1000 ต้นมีต้นเตี้ย 40 ต้น จะมีต้นสูง heterozygous กี่ต้น เมื่ออยู่ใน HWE วิธีทำ : ให้ความถี่แอลลีนT และ t คือ p และ q ตามลำดับ มีต้นเตี้ย 40 ต้น ใน 1000 ต้น แสดงว่ามีจีโนไทป์ tt = q2 = 40/1000 = 0.04 ดังนั้น q = √0.04 = 0.2 และ p = 0.8 (เพราะ p +q = 1) จะได้ความถี่จีโนไทป์ Tt = 2pq = 2(0.2)(0.8) = 0.32 หรือ 32% จาก 1000 ต้น ดังนั้นจึงมี Ttอยู่ 320 ต้น

  18. แหล่งอ้างอิง www.phakawat-owat.blogspot.com www.il.mahidol.ac.th www.rmutphysics.com หนังสือชีววิทยา Biology for high school students

  19. หน้าที่ของสมาชิก 1.นายชิติพัฒธร์ ขันทอง เลขที่10ข :: หาข้อมูล 2.นางสาวนภสรศิริรัตนภิญโญ เลขที่16ข :: ทำสไลด์ 3.นางสาวธนพร ไชยฤทธิ์ เลขที่19ข :: ตกแต่งสไลด์ 4.นางสาวศศิธร ทาจิตร เลขที่20ข :: ให้คะแนนกลุ่มอื่นๆ 5.นางสาวณัฐกฤตา ปากคลอง เลขที่21ข :: หาข้อมูล

More Related