1 / 42

การจัดการ

การจัดการ. ของกลางในคดีป่าไม้. การจัดการของกลางในคดีป่าไม้. 1 . ความหมาย “ของกลาง” และ “คดีป่าไม้”. ของกลาง หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุใด ๆ ซึ่งอาจใช้เป็นพยาน. หลักฐานในคดี. คดีป่าไม้ หมายถึง คดีอาญาที่เกี่ยวกับการกระทำผิดตาม. กฏหมายว่าด้วยการป่าไม้. พยานหลักฐาน. พยานบุคคล.

signe-lyons
Download Presentation

การจัดการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการ ของกลางในคดีป่าไม้

  2. การจัดการของกลางในคดีป่าไม้การจัดการของกลางในคดีป่าไม้ 1. ความหมาย “ของกลาง”และ “คดีป่าไม้” ของกลาง หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุใด ๆ ซึ่งอาจใช้เป็นพยาน หลักฐานในคดี คดีป่าไม้ หมายถึง คดีอาญาที่เกี่ยวกับการกระทำผิดตาม กฏหมายว่าด้วยการป่าไม้

  3. พยานหลักฐาน พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ

  4. คดีอาญา หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดกฎหมาย ที่มีโทษทางอาญา โทษอาญา มี 5 สถาน (ป.อาญา ม.18) (1) ประหารชีวิต (2) จำคุก (3) กักขัง (4) ปรับ (5) ริบทรัพย์สิน

  5. ประเภทของกลาง (1) ของกลางในคดีอาญา ทำขึ้นเป็นความผิด มีไว้เป็นความผิด ใช้ในการกระทำความผิด ได้มาโดยการกระทำความผิด (2) ของกลางอย่างอื่น เช่น ของที่เก็บตก ไม้ไหลลอย

  6. ของกลางในคดีป่าไม้ (1) ไม้ท่อน (2) ไม้แปรรูป (3) สิ่งประดิษฐ์ฯ (4) ของป่า (5) สัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า (6) เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล (7) อาวุธปืน วัตถุระเบิด (8) วัตถุหรือสิ่งของอื่น ๆ

  7. การตรวจยึดของกลางในคดีป่าไม้การตรวจยึดของกลางในคดีป่าไม้ (1) ผู้มีอำนาจในการตรวจยึดของกลาง (2) การบันทึกรายละเอียดของกลางลงในบันทึกการจับกุม (3) การประทับตรายึด (ตรา ย.) ตรากัก (ตรา ก.) ตราประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ตรา ต.) (4) เงินสวัสดิการในการตรวจยึดไม้ของกลาง

  8. การดูแลรักษาของกลางในคดีป่าไม้ 1. ข้อตกลงระหว่าง มท. กับ กษ. เรื่อง การปฏิบัติ เกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ 2. การจัดทำสารบบคดีป่าไม้ (ก.ป.ม. แบบ 44)

  9. 3. การจัดทำทะเบียนของกลาง ทะเบียนไม้ของกลาง ทะเบียนของป่าของกลาง ทะเบียนของกลางอื่น ๆ 4. การทำสัญญาจ้างชักลากหรือขนย้ายของกลาง 5. การทำสัญญาจ้างเฝ้ารักษาของกลาง 6. การทำสัญญาฝากเฝ้ารักษาเลี้ยงดูสัตว์พาหนะหรือ สัตว์ป่าของกลาง

  10. ของกลางตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อใด 1. โดยคำพิพากษาของศาลให้ริบ 2. โดยเจ้าของยกให้ 3. ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 ทวิ วรรคสอง 4. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1327

  11. ของกลางตกเป็นของกรมป่าไม้ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 64 ทวิ วรรคสอง 1. เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยาน-พาหนะ หรือเครื่องจักรกล 2. เป็นของกลางที่ได้ใช้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผล ในการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 , 48, 54 หรือ 69

  12. 3. พนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือ ศาลไม่พิพากษาให้ริบ และ 4. ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มิได้ร้องขอรับ คืนภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทราบ หรือถือว่าได้ ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

  13. ของกลางตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1327 1. ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำผิด หรือได้มาโดย การกระทำผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำผิดโดยประการอื่น 2. กรณีทราบตัวเจ้าของ เจ้าของมิได้เรียกเอาภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งทรัพย์ของกลางในคดีไว้ในความรักษาของ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ หรือถ้าได้ฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้วนับ แต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่ถ้าไม่ทราบตัวเจ้าของให ผ่อนเวลาออกไปเป็น 5 ปี

  14. คำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง คำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง คดีตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ 2484 ม. 64 ทวิ วรรคแรก หมายถึง คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหา หรือไม่ฟ้อง ในฐานความผิดที่กล่าวหา

  15. ม. 64 ทวิ วรรคแรก “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อำนาจยึด……………จนกว่าพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาด ไม่ฟ้องคดีหรือรอกว่าคดีจะถึงที่สุด…………….” เป็น บทบัญญัติให้อำนาจที่จะยึด มิใช่บทบังคับว่าต้องยึด จนกว่าพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

  16. กรณีมิใช่เป็นการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี และไม่มีผลให้ดดีถึงที่สุด อัยการมีคำสั่งให้งดการสอบสวน และส่งสำนวนคืนให้แก พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป ผู้ต้องหาหลบหนี พนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้อัยการ อัยการสั่งฟ้องและออกหมายจับไว้แล้ว

  17. อัยการสั่งฟ้องแต่ไม่ขอให้ริบของกลางอัยการสั่งฟ้องแต่ไม่ขอให้ริบของกลาง อัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ 1-5 แต่ สั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 6

  18. คำว่า “แผ่นดิน” ตาม ป.พ.พ. ม. 1327 หมายถึง “รัฐ” มิได้หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม ที่ดูแลรักษา ทรัพย์นั้น คำว่า “วันส่ง” ตาม ป.พ.พ. ม. 1327 ในคดีป่าไม้ หมายถึง วันที่ได้ส่งทรัพย์ของกลางในคดีไว้ในความรักษา ของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ มิใช่วันที่เจ้าหน้าที่ตรวจจับ กุมยึดทรัพย์ของกลางในคดีอาญา

  19. คดีถึงที่สุดเมื่อใด 1. คดีถึงที่สุดในชั้นพนักงานอัยการ โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องดคี 2. คดีถึงที่สุดในชั้นศาล ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

  20. หนังสือ สนง. อัยการสูงสุด ด่วนมาก ที่ อส .002/ 12425 ลว. 27 ธค. 34 วินิจฉัยไว้ว่า 1. การที่พนักงานอัยการ มีคำสั่งให้งดการสอบสวน และส่งสำนวนคืนให้แก่พนักงานสอบสวนไปดำเนินการต่อไป นั้นมิใช่เป็นการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหา และ ไม่มีผลให้คดี ถึงที่สุด ดังนั้นการคืนรถยนต์ของกลางให้แก่เจ้าของ หรือนำไป ประกอบการสอบสวนในอีกคดีหนึ่งนั้น จึงต้องได้รับอนุมัติจาก รมว.กษ. ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 64 ตรี ก่อน

  21. 2. ในคดีกระทำผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ที่ผู้ต้องหา หลบหนี แต่พนักงานอัยการสั่งฟ้องออกหมายจับ หรือ สั่ง ฟ้องแต่ไม่ขอริบของกลาง หรือสั่งงดการสอบสวนมิใช่ เป็นกรณีที่พนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหา และไม่มีผลให้คดีถึงที่สุด การจัดการเรื่องของกลางย่อม เป็นไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 85 และ พ.ร.บ ป่าไม้ฯ มาตรา 64 ตรี และ ป.พ.พ. มาตรา 1327

  22. 3. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1327 คำว่า “แผ่นดิน” หมายถึง “รัฐ” มิได้หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม ที่ดูแลรักษาทรัพย์สินนั้น คำว่า “วันส่ง” หมายถึง วันที่ได้ส่งทรัพย์ของกลางในดคีป่าไม้ (เว้นแต่ของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน) ไว้ในความรักษาของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล ที่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ของกลางในคดีดังกล่าว มิใช่วันที่เจ้าหน้าที่ตรวจจับกุมยึดทรัพย์ของกลางในดคีอาญา

  23. หนังสือ สนง.อัยการสูงสุด ที่ อส 0017/ 4731 ลว. 17 เม.ย. 38 วินิจฉัยไว้ว่า เจ้าพนักงานตรวจ พบการกระทำความผิด มีผู้กระทำความผิด 2 คน แต่หลบ หนีไปได้ ภายหลังมีผู้ต้องหาเข้ามอบตัว 1 คน ให้การรับ สารภาพตลอดข้อกล่าวหา และอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาล ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายดังนี้ ถึงแม้ว่าผู้กระทำความผิดที่หลบหนีอีก 1 คน ยังไม่สามารถ จับกุมตัวได้ และมิได้กล่าวถึงในฟ้อง

  24. แต่เมื่อคู่ความไม่อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 198 คดี ย่อมถึงที่สุด นับตั้งแต่ระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันอ่าน คำพิพากษาได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง และถือเป็นอันถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 64 ทวิ วรรคแรก ดังนั้นรถยนต์ของ กลางต้องคืนตาม ป.วิ.อาญา ม. 85 วรรคท้าย

  25. ตัวอย่าง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อ 19 เม.ย. 39 ลงโทษจำ คุกจำเลย 1 ปี ริบไม้ของกลาง 70 แผ่น ส่วนอีก 50 แผ่น อัยการไม่ได้ขอให้ศาลริบ แต่ให้จัดการตาม ป.วิ.อาญา ม. 85 คู่ความไม่อุทธรณ์

  26. เช่นนี้ วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดคือ 18 พ.ค. 39 ตาม ป.วิ.อาญา ม.198 , 15 ประกอบกับ ป.วิ.แพ่ง ม. 147 ดังนั้น ภายใน 1 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดคือภายใน 18 พ.ค. 40 ฉะนั้นกรณี นี้จำเลยต้องเรียกเอาไม้ 50 แผ่นคืนภายใน 18 พ.ค. 40 ถ้าไม่ เรียกคืนภายในกำหนดดังกล่าว ย่อมตกเป็นของ แผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1327

  27. การคืนของกลางในระหว่างคดีการคืนของกลางในระหว่างคดี เป็นการคืนของกลางในคดีที่พนักงานอัยการยังมิได้มี คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือยังมิได้มีคำพิพากษาของศาล ถึงที่สุด

  28. การคืนของกลางในระหว่างคดีตามมาตรา 64 ตรี แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. เป็นทรัพย์สินที่ยึดไว้ตาม ม. 64 ทวิ 2. ทรัพย์สินดังกล่าวมิใช่เป็นของผู้กระทำความผิด 3. ทรัพย์สินนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดี 4. การคืนต้องได้รับอนุมัติจาก รมว.กษ.

  29. กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ขณะจับกุมต้องสอบถามผู้ต้องหาว่ารถยนต์ของกลางเป็นของผู้ใด และบันทึกไว้ในบันทึกการจับกุม ตรวจสอบหมายเลขเครื่อง และหมายเลขตัวรถ ตรวจสอบกับ สนง. ขนส่งจังหวัดว่าตามหลักฐานทางทะเบียนผู้ใดเป็นเจ้าของรถยนต์ กรณีมีสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ แต่จะต้องตรวจสอบว่าสัญญาฯ ทำขึ้นเมื่อใด

  30. การคืนของกลางเมื่อคดีถึงที่สุดการคืนของกลางเมื่อคดีถึงที่สุด 1. กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี และ ให้จัดการของกลางตาม ป.วิ.อาญา ม.85 วรรคท้าย 2. กรณีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ริบของกลาง

  31. ป.วิ.อาญา ม. 85 วรรคท้าย เป็นบทบัญญัติให้อำนาจ เจ้าพนักงานใช้ดุลยพินิจที่จะยึดสิ่งของที่ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่ สุดมิใช่บทบัญญัติที่บังคับให้เจ้าพนักงานต้องยึดไว้จนกว่าคดี ถึงที่สุด ฎ. 2847/2536 พนักงานเจ้าหน้าที่จะยึดทรัพย์ของ บุคคลที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดไว้ประกอบคดีจน กว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 85 หาได้ไม่

  32. หนังสือ สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกาที่ นร .0601/ 2564 ลว. 22 ธ.ค. 30 วินิจฉัยไว้ว่า ตาม มาตรา 85 แห่ง ป.วิ.อาญา อำนาจการคืนของกลางเป็นอำนาจของพนักงาน สอบสวนไม่ใช่เป็นอำนาจของพนักงานอัยการ และการคืน ของกลางจะต้องคืนให้แก่ผู้ต้องหาหรือผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้อง ขอคืนของกลางนั้นเท่านั้น

  33. ดังนั้น ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าของกลางเป็นไม้ที่ทำ ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจไม่ คืนของกลางดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาหรือผู้อื่น ซึ่งไม่มีสิทธิเรียก ร้องขอคืนของกลางนั้น

  34. ฎ. 182/2537 (ขอคืนของกลาง) จำเลยที่ 1 เคยนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาครั้งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องได้ทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่ผู้ร้องก็หาได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามรถยนต์ของ กลางคืนทันทีไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 จะ นำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำผิดอีกผู้ร้องก็ไม่ประสงค์จะบอก เลิกสัญญาเช่าซื้อ

  35. การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางในลักษณะเช่นนี้ จึงเป็น การกระทำไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 นั่นเอง การกระทำของ ผู้ร้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของ รถยนต์ของกลาง ก็ไม่มีอำนาจที่จะร้องขอคืนของกลาง

  36. ฎ. 1260/2522(ป.), 5453/2534 (ป.) คดีที่ศาล พิพากษาถึงที่สุดให้ริบทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ผู้ร้อง ร้องว่ารถยนต์ของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้องให้จำเลย เช่าซื้อไป ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยเอาไปใช้ในการ กระทำผิด การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ ผู้ร้องย่อมร้อง ขอคืนได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคดีถึงที่สุด ตาม ป.อาญา มาตรา 36

  37. ฎ. 1264/2522 เจ้าของรถยนต์บรรทุกให้เช่าซื้อไม่รู้ เห็นในการที่ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ไปทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ศาล พิพากษาให้ริบรถยนต์แล้วเจ้าของขอคืนรถยนต์ได้ เพราะ พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 64 ทวิ บัญญัติกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง กับกรณีศาลไม่พิพากษาให้ริบ ไม่มีบทบัญญัติกรณีศาล พิพากษาให้ริบไว้แต่อย่างใด จึงต้องใช้ ป.อาญา มาตรา 36,37

  38. ฎ. 1369/2524 รถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลย (สามี) และผู้ร้อง (ภริยา) ซื้อมาด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรส ผู้ร้องกับจำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง เมื่อจำเลย นำเอารถยนต์ดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด จนถูกศาล พิพากษาให้ริบไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการ กระทำความผิดของจำเลย ย่อมมีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลางได้ กึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งต้องริบ

  39. การจำหน่ายของกลางในระหว่างคดีการจำหน่ายของกลางในระหว่างคดี 1. ไม้ของกลาง 2. สิ่งประดิษฐ์ของกลาง 3. ของป่าของกลาง 4. สัตว์พาหนะของกลาง

  40. การจำหน่ายของกลางเมื่อคดีถึงที่สุดการจำหน่ายของกลางเมื่อคดีถึงที่สุด 1. ไม้ของกลาง 2. สิ่งประดิษฐ์ของกลาง 3. ของป่าของกลาง 4. สัตว์พาหนะของกลาง 5. ยานพาหนะของกลาง 6. ของกลางอื่น ๆ

  41. การนำของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินไว้ใช้ในราชการการนำของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินไว้ใช้ในราชการ 1. ยานพาหนะของกลาง 2. เลื่อยโซ่ของกลาง 3. สัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าของกลาง 4. ถ่านไม้ของกลาง 5. ของกลางอื่น ๆ

  42. ของกลางสูญหาย หรือเสียหาย 1. ในระหว่างคดี 2. เมื่อคดีถึงที่สุด

More Related