1 / 47

โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.)

โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.). โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันมี ศพค. จำนวน 4,252 ศูนย์ ใน 75 จังหวัด โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้ ปี 2547 ดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานต่างๆ 6 หน่วยงาน

Download Presentation

โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันมี ศพค. จำนวน 4,252 ศูนย์ ใน 75 จังหวัด โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้ ปี 2547 ดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานต่างๆ 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กรมการพัฒนาชุมชน และกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมดำเนิน โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ปี 2548 คัดเลือก ศพค.ต้นแบบ จำนวน 20 ศูนย์ (20 จังหวัด) ปี 2549 ดำเนินการพัฒนาศักยภาพการเป็นวิทยากรกระบวนการแก่ ศพค. ต้นแบบ 20 ศูนย์

  2. โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) • ปี 2550 ดำเนินโครงการ ศพค.นำร่อง จำนวน 6 ศูนย์ (6 จังหวัด) • ปี 2550 คัดเลือก ศพค.เฉลิมพระเกียติ จำนวน 75 ศูนย์ (75 จังหวัด) และดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานในปีงบประมาณ 2551 • ปี 2550 ดำเนินโครงการ ศพค. ในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จำนวน 25 ศูนย์ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช • ปี 2550 ดำเนินโครงการ ศพค.รูปแบบใหม่ ร่วมกับยูนิเซฟ จำนวน 16 ศูนย์ ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล

  3. การดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนดการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด ปีงบประมาณ 2551 สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว ได้กำหนดเกณฑ์ การดำเนินงาน ซึ่งได้นำไปใช้กับ ศพค.เฉลิมพระเกียรติ ทั้ง 75 ศูนย์ โดยมี รายละเอียดของเกณฑ์แต่ละข้อ ดังนี้ • เกณฑ์ข้อที่ 1 มีเครือข่ายการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว ศพค. มีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัวโดยการแบ่งพื้นที่ให้คณะทำงานสามารถดูแลทุกครอบครัวในชุมชนได้อย่างทั่วถึงและเอื้อต่อการกระจายข่าวสารของ ศพค.

  4. การดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนดการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด • เกณฑ์ข้อที่ 2 มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ศพค. มีการจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้มแข็งและสร้างเสริมความอบอุ่นให้แก่สถาบันครอบครัวอย่างต่อเนื่อง • เกณฑ์ข้อที่ 3 มีช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย ศพค. มีช่องทางที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม ของศพค. ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตและทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่

  5. การดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนดการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด • เกณฑ์ข้อที่ 4 คณะทำงานสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว ศพค.มีคณะทำงานที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัวให้แก่ประชาชนในชุมชน หรือสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆได้ • เกณฑ์ข้อที่ 5 สามารถจัดหาทรัพยากรจากหน่วยงานอื่นมาสนับสนุนในการดำเนินงาน ศพค. มีเครือข่าย ช่องทางในการแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในการขอรับการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมของ ศพค. ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ วิทยากร เป็นต้น

  6. ผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนดผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ของ ศพค.เฉลิมพระเกียรติ 75 ศูนย์ พบว่า มีการดำเนินงานผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 66 ศูนย์ ในส่วนของ ศพค. ที่ยังดำเนินงานไม่ครบ พบว่าเกณฑ์ที่ยังไม่ชัดเจน และไม่สามารถดำเนินการได้ คือ เกณฑ์ข้อที่ 1 และ 4 • เกณฑ์ข้อที่ 1 เครือข่ายที่จัดตั้งยังไม่มีการมอบหมายบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน • เกณฑ์ข้อที่ 4 คณะทำงานยังไม่สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ได้เอง โดยยังเน้นการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาดำเนินการให้

  7. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 1: มีเครือข่ายการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว • คณะทำงานไม่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านครอบครัว ยังเน้นการประชุมและตรวจเยี่ยมประสานกับเครือข่ายในหมู่บ้าน • ครอบครัวที่มีปัญหาไม่ยอมรับปัญหาของตนเอง ทำให้การเก็บข้อมูลไม่ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง • การทำงานต้องอาศัยความใกล้ชิด แต่คณะทำงานเป็นเครือข่ายของหลายองค์กร ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้บ่อย • ขาดบุคลากรที่เป็นคนรุ่นใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน

  8. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 2 มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวอย่างต่อเนื่อง • กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเข้าร่วมจนแล้วเสร็จกิจกรรม ทำให้ขาดความต่อเนื่อง • ขาดผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำหลักสูตรกิจกรรม • งบประมาณมีจำนวนจำกัด • ประชาชนยังต้องประกอบอาชีพ การจัดกิจกรรมต่างๆ จึงต้องพิจารณาจังหวะเวลาให้เหมาะสมกับสภาพวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความพึงพอใจ

  9. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 3 มีช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย • ขาดงบประมาณในกรณีสื่อประชาสัมพันธ์ที่ต้องใช้เทคโนโลยี • บางพื้นที่หอกระจายข่าว หรือเสียงตามสายยังเข้าไม่ถึง • ขาดบุคลากรในการทำงานด้านประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ จึงทำให้การประชาสัมพันธ์มีการทำเป็นครั้งๆไป ขาดความต่อเนื่อง และขาดรูปแบบที่หลากหลาย • การประชาสัมพันธ์ยังเน้นหนักในเรื่องข่าวการจัดกิจกรรมต่างๆ ควรเพิ่มเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้ที่ประชาชนสามารถนำไปปรับใช้ในครอบครัวได้

  10. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 4 คณะทำงานสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว • คณะทำงานขาดความมั่นใจในการเป็นวิทยากร อย่างไรก็ตามต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ • ขาดองค์ความรู้เฉพาะด้าน ซึ่ง อบต. ได้พยายามสนับสนุนให้เข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรในประเด็นอื่นๆ

  11. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 5 สามารถจัดหาทรัพยากรจากหน่วยงานอื่นมาสนับสนุน ในการดำเนินงาน การดำเนินการตามเกณฑ์ข้อนี้ ไม่ค่อยพบปัญหาอุปสรรค เนื่องจากผลการทำงานของ ศพค. เป็นที่ประจักษ์ ดังนั้นเมื่อขอความร่วมมือจากหน่วยงานใด ก็จะได้รับการช่วยเหลือด้วยดี นอกจากบางกรณี เช่น ปัญหาการเมืองท้องถิ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของ อบต. อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่างๆของ ศพค. เป็นกิจกรรมที่ทำกับกลุ่มครอบครัวในชุมชนอยู่แล้ว การที่ อบต. ให้การสนับสนุนก็จะเป็น การสร้างฐานให้แก่ อบต. เอง อีกทั้งรูปแบบกิจกรรมของ ศพค. ไม่ได้มีผลประโยชน์กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

  12. การพัฒนามาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนการพัฒนามาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ในปีงบประมาณ 2552 สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัวได้ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการพัฒนาเกณฑ์ 5 ข้อ เพื่อจัดทำเป็น มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ซึ่งในเบื้องต้นจะดำเนินการร่วมกับ ศพค. ใน 75 จังหวัดๆ ละ 4 ศูนย์

  13. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 1 : การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 1 สัดส่วนเครือข่ายต่อประชาชนในชุมชน • มาตรฐานที่ 2 : การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 2 จำนวนกิจกรรม ตามขนาดของ อบต. ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละการมีส่วนร่วมของประชาชน • มาตรฐานที่ 3 : การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของการเข้าถึงการประชาสัมพันธ์ของประชาชนในพื้นที่ ตัวชี้วัดที่ 5 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าใจการประชาสัมพันธ์ • มาตรฐานที่ 4 : การถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 6 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้าใจในการถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 7 จำนวนวิทยากรของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 5 : การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน ตัวชี้วัดที่ 8 จำนวนกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากหน่วยงานอื่น

  14. เครื่องมือชี้วัดมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเครื่องมือชี้วัดมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • เครื่องมือชี้วัดมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน หมายถึง เครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามภารกิจ (ผลผลิต) ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยในที่นี้คือแบบรายงาน ศพค.มฐ. ซึ่งประกอบไปด้วย - แบบรายละเอียดข้อมูลทั่วไป - แบบรายงานผลตามการดำเนินงานแต่ละข้อ ได้แก่ แบบ ศพค.มฐ.1 – ศพค.มฐ.5 - แบบประเมินเพื่อประกอบการดำเนินงาน ได้แก่ แบบ ศพค.มฐ.3-1 และ แบบ ศพค.มฐ.4-1

  15. แบบ ศพค.มฐ. แสดงรายละเอียดข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย • ที่ตั้ง ศพค. (ตำบล/อำเภอ/จังหวัด/ปีที่จัดตั้ง) • จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครอบครัวทั้งตำบล ชื่อหมู่บ้าน และจำนวนครอบครัวในแต่ละหมู่บ้าน • จำนวนคณะทำงาน รายชื่อ ตำแหน่งในคณะทำงาน และอาชีพหลักของคณะทำงานแต่ละคน • ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่มีในชุมชน และช่องทางที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ใช้ในการประชาสัมพันธ์ • วันที่รายงาน/ผู้รายงาน/ตำแหน่ง • ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ของผู้ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงาน ศพค. ที่สามารถติดต่อได้ ตย 1

  16. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 1: การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว เครือข่ายเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว หมายถึง การรวมตัวกันของประชาชนในชุมชน ในการเชื่อมประสานการทำงานระหว่าง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ร่วมกับประชาชนในชุมชน เพื่อสำรวจข้อมูลด้านครอบครัว แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาครอบครัว ที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ประกอบกับดำเนินการหาแนวทาง วิธีการในการแก้ไข และแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น กล่าวคือมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน การร่วมกันวิเคราะห์และตัดสินปัญหา รวมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข โดยมีตัวบุคคลที่เป็นคนรับผิดชอบในการติดต่อประสานงานที่ชัดเจน

  17. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย 2

  18. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 2: การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว หมายถึง การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนในท้องถิ่น ผู้นำของชุมชน และหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อก่อให้เกิดความเป็นเจ้าของ นำมาสู่กิจกรรมที่อยู่ในความสนใจของชุมชนและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ สามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

  19. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย 3

  20. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย 3

  21. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 3: การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว หมายถึง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัวและการดำเนินงานของ ศพค. ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและมีความรู้ความเข้าใจ ผ่านช่องทางการสื่อสารหลายรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นของชุมชน เช่น สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่อกิจกรรม เป็นต้น

  22. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย ตย-1

  23. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

  24. ตย-1

  25. แบบประเมิน ศพค.มฐ. 3-1 แบบประเมิน ศพค.มฐ. 3-1 คือ แบบประเมินการเข้าถึงและความเข้าใจการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานและข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัวของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงในครั้งต่อไป ตย-1

  26. วิธีการใช้แบบประเมิน ศพค.มฐ. 3 -1 ให้ประชาชนกลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูลว่า • ในรอบปีที่ผ่านมาได้รับทราบข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว หรือข่าวการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จากช่องทางการประชาสัมพันธ์ช่องทางใดบ้าง • ท่านมี ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนประชาสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด ในข้อคำถามนี้จะเป็นการสอบถามความเข้าใจในภาพรวมของช่องทางการประชาสัมพันธ์ไม่ว่าผู้ตอบแบบประเมินจะเลือกช่องทางใดก็ตาม • ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมในการปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัวของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย-1

  27. ตย

  28. วิธีการแปรผลข้อมูลศพค.มฐ. 3 -1 • ในแต่ละช่องทางที่ ศพค. มีการใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว จะต้องมีการเข้าถึงอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง • ให้คณะทำงานหรือเจ้าหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยนำค่าร้อยละที่ได้ของแต่ละช่องทางไปใส่ในแบบรายงาน ศพค.มฐ. 3 ในช่องร้อยละการเข้าถึงช่องทางประชาสัมพันธ์ (แต่ละช่องทาง) • สำหรับการวัดร้อยละความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนประชาสัมพันธ์ ให้นับเฉพาะผู้ที่ตอบว่า มาก หรือ มากที่สุด (เช่น ถ้ามีการจัดเก็บแบบประเมิน 100 ชุด มีผู้ตอบว่ามีความเข้าใจ มาก หรือ มากที่สุด จำนวน 75 ชุด แสดงว่ามีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 75)

  29. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 4: การถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว การถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว หมายถึง คณะทำงานศพค. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจด้านครอบครัว รวมทั้งปรับใช้ความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและเสริมสร้างความอบอุ่น เข้มแข็ง ก่อให้เกิดสัมพันธภาพอันดีในครอบครัว

  30. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย ตย-1

  31. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย

  32. ตย-1

  33. แบบประเมิน ศพค.มฐ. 4-1 แบบประเมิน ศพค.มฐ. 4-1 คือ แบบประเมินความเข้าใจการถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัวของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงในครั้งต่อไป

  34. วิธีการใช้แบบประเมิน ศพค.มฐ. 4 -1 แบบประเมิน ศพค.มฐ.4-1 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยเป็นเครื่องมือในการประเมินการทำหน้าที่ของคณะทำงาน (ที่ทำหน้าที่วิทยากร) เป็นรายบุคคล • สำหรับค่าคะแนนที่จะต้องประมวลผลเพื่อนำไปใส่ใน แบบรายงาน ศพค.มฐ.4 คือ คำถามข้อที่ 11ท่านมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่วิทยากรถ่ายทอดในระดับใด

  35. วิธีการแปรผลข้อมูลศพค.มฐ. 4 -1 • การวัดร้อยละความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่วิทยากรถ่ายทอด นั้น ให้นับเฉพาะผู้ที่ตอบว่า มาก หรือ มากที่สุด • ให้คณะทำงานหรือเจ้าหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยนำค่าร้อยละที่ได้ไปใส่ในแบบรายงาน ศพค.มฐ. 4 ในช่องร้อยละความเข้าใจ โดยใส่ให้ตรงกับโครงการ/กิจกรรมที่นายสมชายฯ ทำหน้าที่เป็นวิทยากร

  36. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 5: การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน หมายถึง การประสานความร่วมมือ หรือการได้รับการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ จากหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

  37. มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย

  38. การส่งรายงานผลการดำเนินงานการส่งรายงานผลการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ต้องส่งรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามแบบ ศพค.มฐ. ให้แก่สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ • ครั้งที่ 1 ภายในเดือน มีนาคม (ในปี 2552 ภายใน เดือนพฤษภาคม) • ครั้งที่ 2 ภายในเดือน สิงหาคม

  39. ช่องทางการส่งรายงานผลการดำเนินงานช่องทางการส่งรายงานผลการดำเนินงาน • ส่งผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด • ส่งตรงถึงสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ซึ่งสามารถส่งได้หลายช่องทาง ดังนี้ • ทางไปรษณีย์ ส่งถึง สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เลขที่ 255 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 • ทางโทรสาร หมายเลข0 2306 8982 • ทางอีเมล์ : family_center08@hotmail.com สอบถามรายละเอียดทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2306 8773

More Related