1 / 29

บทที่ 2 ระบบการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary System)

บทที่ 2 ระบบการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary System). By. ดร. ลักคณา วรศิลป์ชัย . ระบบการเงินระหว่างประเทศ. คืออะไร ?

senalda
Download Presentation

บทที่ 2 ระบบการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary System)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 ระบบการเงินระหว่างประเทศ(International Monetary System) By. ดร. ลักคณา วรศิลป์ชัย

  2. ระบบการเงินระหว่างประเทศระบบการเงินระหว่างประเทศ • คืออะไร? - การตกลงกันในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อถ่ายโอนอำนาจซื้อระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และสามารถอำนวยความสะดวกแก่การค้าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

  3. ระบบการเงินระหว่างประเทศ • คืออะไร ? หมายรวมถึง เครื่องมือทางการเงิน สถาบันการเงิน และระเบียบกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะสามารถทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างตลาดภายในประเทศกับตลาดเงิน (Money Market) และตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ

  4. วิวัฒนาการของระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศวิวัฒนาการของระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศ 1. ระบบมาตรฐานทองคำ (1875-1914) 2. ช่วงระหว่างสงครามโลก (1915-1944) 3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (1945-1972) 4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว

  5. 1. ระบบมาตรฐานทองคำ (1876-1913) • การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ช่วยให้อังกฤษพัฒนาศักยภาพในการผลิต ทำให้สามารถส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้ • การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้แพร่หลายไปเรื่อยๆ ในยุโรป และเงินสกุลปอนด์เป็นสกุลที่มีความสำคัญมากที่สุดในช่วงนั้น • อังกฤษใช้การบริหารเงินภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำ และมีประสิทธิมาก ทำให้ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ประกาศใช้ระบบทองคำตอนปลายศตวรรษที่ 19

  6. 1. ระบบมาตรฐานทองคำ • ในปี 1876 แต่ละประเทศประกาศค่าเสมอภาค โดยการเทียบค่าเงินตราของประเทศตน ต่อน้ำหนักทองคำหนึ่งทรอยเอานซ์ เช่น สหรัฐอเมริกา ประกาศค่าเสมอภาค $20.67/ทรอยเอานซ์ อังกฤษ ประกาศค่าเสมอภาค £ 4.2474 / ทรอยเอานซ์ อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสองสกุล $ 20.67/ £ 4.2474 เท่ากับ $ 4.86651 /£

  7. 1. ระบบมาตรฐานทองคำ • กำหนดให้แต่ละประเทศต่าง ๆ ต้องรักษาระดับทุนสำรองที่เป็นทองคำ ให้เพียงพอกับจำนวนธนบัตรที่ประเทศพิมพ์ออกใช้ เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพ • ถ้าสหรัฐต้องการพิมพ์ธนบัตรออกใช้ 20.67 ล้านเหรียญ จะต้องมีทองสำรองไว้ 1 ล้านทรอยซ์เอานซ์

  8. 2. ช่วงระหว่างสงครามโลก (Interwar Period) • เนื่องจากสงครามโลก ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ละประเทศจึงนำเอาทองคำ ออกมาใช้ในกิจการสงคราม และหมุนเวียนภายในประเทศ ทำให้แต่ละประเทศไม่สามารถรักษาทุนสำรองที่เป็นทองคำได้อย่างเพียงพอ • ได้มีการอนุญาตให้เงินตราสกุลต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหวขึ้นลงได้ในช่วงที่ค่อนข้างกว้างกว่าเดิม แต่กลับมีผลเสีย เนื่องจากทำให้ไม่มีเสถียรภาพ • ได้พยายามกลับเอาระบบทองคำมาใช้อีกหลาย ๆ ครั้งแต่ก็ยังคงประสบปัญหา • ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาการตกต่ำลงของระดับการผลิตของสินค้าทั่วโลก

  9. 3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ • ในปี 1944 สหรัฐอเมริกานับว่าได้รับความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 น้อยกว่าประเทศอื่น จึงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของทั่วโลก • ภายใต้ข้อตกลง Bretton Woods ระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศได้ถูกกำหนดให้เป็นแบบคงที่ โดยใช้เงินสกุลดอลลาร์เป็นสกุลหลัก ณ อัตราแลกเปลี่ยน 35 ดอลลาร์ ต่อ ทองคำหนัก 1 ทรอยซเอานซ์ • มีข้อตกลงในการจัดตั้งกองทุน IMF

  10. 4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว • ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มประเทศยุโรป และ ญี่ปุ่น เริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของสหรัฐ • สหรัฐประสบปัญหาการขาดดุลการชำระเงินอย่างหนัก และต่อเนื่อง ทำให้ประเทศทั่วโลกขาดความมั่นใจในเสถียรภาพของเงินดอลลาร์ • รัฐบาลของสหรัฐขอยกเลิกระบบ Bretton Woods • หลังจากนั้นมีข้อตกลง Smithsonian ที่กำหนดให้ค่าเงินดอลลาร์ลดลง เหลือ 38 ดอลลาร์ต่อ ทองคำ 1 ทรอยเอานซ์

  11. 4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว • หลังจากนั้นอีกไม่นาน ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ประกาศลอยตัวค่าเงินปอนซ์ ในปี 1972 หลังจากนั้นประเทศอื่น ๆ ก็ประกาศลอยตัวค่าเงิน

  12. ระบบปริวรรตเงินตราที่ใช้ในปัจจุบัน (ดูตารางในเอกสารเพิ่ม) • ระบบปริวรรตเงินตราที่พึ่งพาเงินสกุลต่างประเทศ หรือสหภาพการเงิน (Exchange Arrangement with No Separate Legal Tender) 1.1ใช้เงินสกุลอื่นในประเทศของตน เช่น ปานามาใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ประเทศเอกวาดอร์ใช้ เงินสกุลยูโร 1.2 เป็นสมาชิกสหภาพการเงิน เช่น ยูโร

  13. ระบบปริวรรตเงินตราที่ใช้ในปัจจุบัน 2. ระบบปริวรรตเงินตราที่ควบคุมโดยคณะกรรมการ (Currency Board Arrangements) แต่ต้องเป็นไปตามข้อ กฎหมาย เช่น ประเทศฮ่องกงผูกเงินไว้กับสกุลดอลลาร์ 3. ระบบปริวรรตเงินตราที่ผูกค่าเงินไว้กับเงินสกุลอื่น โดยเลือกประเทศที่ทำการค้าระหว่างกัน แต่จะต้อง เคลื่อนไหวได้ไม่เกิน 1% เช่น จีน มาเลเซีย 4. ระบบปริวรรตเงินตราที่ผูกค่าเงินสกุลท้องถิ่นไว้กับเงินสกุลอื่นแบบยืดหยุ่น จะเคลื่อนไหวขึ้นลงได้มากกว่า 1% เช่น เดนมาร์ก

  14. ระบบปริวรรตเงินตราที่ใช้ในปัจจุบัน 5. ระบบปริวรรตเงินตราที่เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Crawling Peg)ปรับเปลี่ยนเงินสกุลของตนเองทีละเล็กละน้อย เช่น โบลิเวีย และ คอสตาริก้า 6. ระบบปริวรรตเงินตราที่เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้การควบคุม (Crawling Bands) มีความยืดหยุ่น มากกว่า เช่น อิสราเอล 7. ระบบปริวรรตเงินตราลอยตัวแบบจัดการ (Managed Float) เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทาน แต่รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงบ้าง เช่น ไทย สิงคโปร์ 8. ระบบลอยตัวแบบเสรี (Independent Floating) ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดอย่างแท้จริง

  15. สหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป • สหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (Economic and Monetary Union :EMU) • มีทั้งหมด 15 ประเทศ คือ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส และกรีซ • วัตถุประสงค์ : เพื่อรวมตลาดของประเทศสมาชิกให้เป็นตลาดเดียว และใช้เงินตราสกุลเดียวกัน

  16. ขั้นตอนการดำเนินการจนถึงการปรับใช้เงินยูโร สนธิสัญญามาสทริซต์ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานไว้ 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 (ปี 1990 - 1993) เป็นขั้นตอนการเตรียมตัวเกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายทุน ภายในยุโรป พร้อมกับการทำให้ตลาดเดียวยุโรปเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 2 (ปี 1994 – 1998) เน้นการปรับตัวเข้าหา กัน ต้องรักษาเศรษฐกิจที่ดี คือ มีอัตราดอกเบี้ยไม่สูงนัก อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ เพื่อให้ผ่านเงื่อนไข การเป็นประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกเงินยูโร

  17. ขั้นตอนการดำเนินงานจนกระทั่งปรับใช้เงินยูโร ขั้นตอนการดำเนินงานจนกระทั่งปรับใช้เงินยูโร ขั้นตอนที่ 3 (ตั้งแต่มกราคม 1999) มีจำนวนเพียง 11 ประเทศที่ตัดสินใจใช้เงินยูโร (อังกฤษ และ สวีเดน สงวนสิทธิ์ไม่ใช้เงินยูโร) ส่วนกรีซไม่ผ่านเงื่อนไข จนกระทั่งปี 2000) ธนาคารกลางมีบทบาทในการกำหนดนโยบายการเงิน ประเทศสมาชิกต้องถอนธนบัตรและเหรียญ ให้ เรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2002

  18. EURO

  19. ผลดีของการใช้เงินยูโรในกลุ่มประเทศสมาชิก 1. ช่วยส่งเสริมเสถียรภาพในด้านเศรษฐกิจมหภาค เนื่องมาจากการใช้นโยบายการเงิน และ นโยบายการคลัง ที่เกิดการประสานงานกันระหว่างประเทศสมาชิก 2. ช่วยให้เกิดการใช้เงินยูโรเป็นเงินเพื่อการค้าระหว่าง ประเทศมากขึ้น 3. ตลาดเงินและตลาดทุนขยายตัวเนื่องจากความ ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ทำให้ลด Transaction Cost

  20. ผลกระทบของการใช้เงินยูโรต่อประเทศไทยผลกระทบของการใช้เงินยูโรต่อประเทศไทย • ผลกระทบด้านการค้าระหว่างประเทศ ตลาดกลุ่มในประเทศสมาชิกเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย ไทยต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขัน • ผลต่อเงินทุนสำรองในประเทศ เงินยูโรได้ถูกนำมาเป็นเงินทุนสำรองมากขึ้น • ผลต่อนักท่องเที่ยว หมดปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน

  21. วิวัฒนาการของระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยวิวัฒนาการของระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย • ก่อนประกาศค่าเสมอภาค (2492-2506) - ในปี 2492 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดประเทศไทยต้องประกาศค่าเสมอภาค โดยการกำหนดค่าเงินบาทเทียบกับปริมาณทองคำ บริสุทธ์ - ไทยยังไม่พร้อมเนื่องจากฐานะการเงินยังไม่มั่นคงในขณะนั้น ประเทศไทยจึงขอเลื่อนออกไป แต่ในที่สุดปี 2492 ได้มีการจัดตั้งทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เพื่อทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

  22. ระบบเงินตราของไทย • 2. ประกาศค่าเสมอภาค (2506-2521) - ปี 2506 ประเทศไทยประกาศค่าเสมอภาค โดยการกำหนดให้เงินหนึ่งบาทมีค่าเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 0.0427 กรัม โดยให้มีโอกาสขึ้นลงไม่เกินร้อยละ 1 ตามข้อกำหนดของ IMF - ในระยะต่อมา ในปี 2510 ภาวะเศรษฐกิจของไทยผันผวนมาก ได้ทำการปรับค่าเสมอภาคหลาย ต่อหลายครั้ง จนกระทั่งในที่สุดรัฐบาลได้ประกาศให้เงิน 1 บาทมีค่าเท่ากับ 0.0368 กรัม เพื่อเป็นการป้องกันการตกต่ำของค่าเงินบาท อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 2510-2516

  23. ระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศ • 3. กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันร่วมกัน (2521-2524) - ภายใต้ระบบนี้ เจ้าหน้าที่ของทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา จะพบกับผู้แทนจากธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เพื่อร่วมกันกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา - โดยพิจารณาจาก ความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ของเงินตราต่างประเทศที่ทำการซื้อขายในแต่ละวัน - โดยคำนวณค่าเงินบาทเทียบกับค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในกลุ่มสกุลเงินที่เป็นประเทศคู่ค้า โดยพิจารณาจากความสำคัญทางการค้ากับประเทศนั้น ๆ เช่น เงินดอลลาร์ มาร์ก ปอนด์

  24. ระบบปริวรรตเงินตราของไทยระบบปริวรรตเงินตราของไทย • 4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (2524-2527) - ในสมัยรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประเทศไทยประสบปัญหาการขาดดุลการชำระเงินอย่างหนัก นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ทำให้ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนต้องยกเลิก การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนรายวัน - ทุนรักษาระดับได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน จากเดิม 21 บาท เป็น 23 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ สรอ.

  25. ระบบปริวรรตเงินตราของไทย • 5. ระบบตะกร้าเงิน (2527-2540) - ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ได้เกิดปัญหาเงินบาทแข็งตัวมากเกินไป จึงมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ ระบบปริวรรตเงินตราแบบตะกร้าเงิน มาแทนระบบแบบคงที่ - ระบบตะกร้าเงิน ดังกล่าว จะผูกค่าเงินบาทไว้กับกลุ่มเงินตราของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย แทนการผูกกับค่าเงินดอลลาร์ เพียงสกุลเดียว โดยรัฐบาลได้ประกาศอัตราเริ่มต้นเท่ากับ 27 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์

  26. ระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศ • 6. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (2540-ปัจจุบัน) - วันที่ 2 กรกฏาคม 2540 เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์การเงินของไทย โดยรัฐบาลได้ตัดสินใจให้ปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัว - ค่าเงินบาทสามารถขึ้นไหวขึ้นลงตามอุปสงค์และอุปทานของเงินบาท - รัฐบาลเข้าแทรกแซงบ้าง ถ้าจำเป็น

  27. ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา • วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนรักษาระดับ 1. เพื่อทำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ 2. เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวอันผิดปกติของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในตลาด 3. เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ให้เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ

  28. EURO

More Related