1 / 21

HyperText Transport Protocol หรือ HTTP

HyperText Transport Protocol หรือ HTTP.

Download Presentation

HyperText Transport Protocol หรือ HTTP

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. HyperText Transport ProtocolหรือHTTP

  2. เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (อังกฤษ: HyperText Transport Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม[2] ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ

  3. การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซีเกตเวย์ และทุนเนลเอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้

  4. ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme)

  5. รูปแบบเฟรมของ HTTP เนื่องจาก HTTP เป็นโปรโตคอลที่ทำงานบน TCP ดังนั้น รูปแบบเฟรมของ HTTP จึงถูกจัดเป็นส่วนของข้อมูลของเฟรม TCP ดังรูป เฮดเดอร์ของ HTTP จะอยู่ในรูปของข้อความ(text) ข้อมูลของ HTTP โดยปกติจะเป็นข้อความ(text) ด้วยเช่นกัน แต่ก็เป็นรหัสฐานสอง (binary) ได้ใน เช่นกรณีที่เป็นรูปภาพ

  6. การติดต่อสื่อสารของ HTTP รูปแบบการสื่อสารของ HTTP เป็นรูปแบบที่ง่ายมาก : เครื่องลูกข่ายจะสถาปณาการเชื่อมต่อกับเครื่องให้บริการ (remote server) จากนั้นก็ส่งคำร้องขอ (Requests)ไปให้เครื่องให้บริการ เครื่องให้บริการเมื่อได้รับการร้องขอก็จะประมวลผลและส่งการตอบกลับ (Response) กลับไปให้เครื่องลูกข่าย แล้วปิดการเชื่อมต่อ การร้องขอ (Requests)คำร้องขอของ HTTP นั้นง่ายมาก บรรทัดแรกจะระบุวัตถุ (Object) พร้อมด้วยชื่อคำสั่งที่ระบุถึงวิธีการ คำสั่งที่ใช้โดยทั่วไปคือ "GET" ซึ่งเป็นการขอให้เครื่องให้บริการส่งสำเนาของวัตถุ(Object) นั้นมาให้เครื่องลูกข่าย เครื่องลูกข่ายสามารถส่งเฮดเดอร์ตัวเลือก (Optional headers) ตามมาอย่างต่อเนื่องได้ ตามรูปแบบของ RCF-822 เฮดเดอร์ที่ใช้โดยทั่วไปคือ "Accept"ซึ่งจะแจ้งให้เครื่องให้บริการทราบว่า เครื่องลูกข่ายสามารถรับหรือทำงานกับวัตถุ (object) ชนิดใดได้บ้าง และ"User-Agent"ซึ่งจะให้ชื่อการอิมพลีเมนท์ของเครื่องลูกข่าย

  7. Request syntax <METHOD> <URI> "HTTP/1.0" <crlf> {<Header> : <Value> <crlf>} * <crlf> Example GET /index.html HTTP/1.0 Accept : text/plain Accept : text/html Accept : */* User-Agent : Yet Another User Agent

  8. การตอบกลับ (Responses) การตอบกลับก็ยังคงอยู่ในรูปแบบที่ง่ายมาก เริ่มต้นด้วยบรรทัดแสดงสถานะ ซึ่งจะบ่งบอกรุ่น (version) ของ HTTP ที่เครื่องให้บริการใช้อยู่ พร้อมกับรหัสผลลัพท์และข้อความอื่นๆ ตามด้วยเฮดเดอร์วัตถุ (optional object headers) ต่อเนื่องเป็นลำดับ ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือ"Content-Type"ซึ่งจะบ่งบอกชนิดของวัตถุ (object) ที่ส่งกลับไปด้วย"Content-Length"ซึ่งจะบอกความยาวของวัตถุนั้นส่วนที่เป็นเฮดเดอร์นี้จะต้องปิดท้ายด้วยบรรทัดว่างๆหนึ่งบรรทัด เมื่อจบส่วนเฮดเดอร์ก็จะตามด้วยข้อมูลที่เครื่องลูกข่ายร้องขอ และเครื่องให้บริการก็จะปิดการเชื่อมต่อหลังจากที่ส่งข้อมูลไปแล้ว

  9. Response syntax "HTTP/1.0" <result-code> [<message>] <crlf> {<Header> : <Value> <crlf>} * <crlf> Example HTTP/1.0 200 OK Server : MDMA/0.1 MIME- version : 1.0 Content - type : text/html Last - modified : Thu Jul 7 21:21:08 1995 Content - Length : 2003 <title> MDMA - Multithreaded Daemon for Multimedia Access </title> <hr> ….</FONT> <hr> <h2> MDMA - The speed daemon </h2> <hr> ….</FONT> [Connection closed by foreign host]

  10. ปฏิบัติการส่งข้อมูลของ HTTP ในการปฎิบัติการของ HTTP จะมีลูกโซ่ของการร้องขอ-ตอบรับ (request-response) รูปแบบที่หนึ่ง เมื่อเครื่องผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อโดยตรงสู่เครื่องให้บริการบน port หมายเลข 80 (อาจเป็นเบอร์อื่นได้แล้วแต่จะกำหนด) และส่งคำร้องขอ (request) ออกไป เมื่อเครื่องให้บริการซึ่งกำลังรออยู่ได้รับการเชื่อมต่อก็จะสร้างกระบวนการ (process) ใหม่ (หากคุณศึกษาวิชา OS มาแล้วเราจะใช้ศัพท์เฉพาะว่า "thread" จะตรงกว่า) เพื่อให้บริการกับคำร้องขอนั้น เมื่อคำร้องขอได้รับการประมวลผลแล้ว เครื่องให้บริการจะส่งคำตอบที่ได้กลับไปทางการเชื่อมต่อที่ port เดิม

  11. รุ่นของ HTTP (Version of HTTP) HTTP รุ่น 0.9 เป็น HTTP รุ่นแรกที่มีการใช้งาน คำอธิบายของโปรโตคอลนี้สรุปได้เพียงไม่กี่หน้าเท่านั้น ในรุ่นนี้เครื่องลูกข่าย จะติดต่อกับเครื่องให้บริการผ่านทาง TCP ใน port ที่ 80 จากนั้นส่งคำร้องขอในรูปแบบดังนี้ . GET document.html CRLF . คำร้องขอขึ้นด้วยคำว่า GET จากนั้นก็ตามด้วยตัวอักษรที่เป็นช่องว่างหนึ่งตัวและชื่อของเอกสารในที่นี้คือ document.html ชื่อในที่นี้ต้องเป็นชื่อเต็มๆ และไม่มีช่องว่างใดๆ ขั้นอยู่และในตอนท้ายของบรรทัดเครื่องลูกข่ายต้องส่งเครื่องหมาย return (carriage return line feed combination) ซึ่งจะบ่งบอกให้เครื่องให้บริการควรจะยอมต่อเครื่องลูกข่าย โดยส่งป้อนเพียงบรรทัดตามด้วยเครื่องหมาย return เท่านั้นอีกวิธีหนึ่งใช้กับชื่อของเอกสารได้คือ เครื่องลูกข่ายจะส่งคำร้องขอเพื่อค้นหาโดยการเพิ่มตัวอักษรคำถาม ‘?’ ตามด้วยพจน์ที่ต้องการหา ในกรณีที่ต้องการค้นหาแบบหลายๆพจน์ ก็อาจกำหนดได้โดยการใส่เครื่องหมายบวก ‘+’ ระหว่างพจน์ คำร้องขอแบบนี้จะถูกสร้างขึ้นเมื่อเอกสารที่ระบุนั้นมีบ้าย ISINDEX.HTML เท่านั้น ดังตัวอย่างเช่น

  12. . GET document.html?help+me CRLF . ในด้านคำตอบนั้น เครื่องให้บริการจะตอบกลับด้วยข้อความที่บรรจุอยู่ในเอกสาร โดยจะไม่มีข้อความข่าวสาร (Content Information) ชนิด MIME หรือข่าวสารอื่นใดส่งกลับไปให้เครื่องลูกข่าย ในความเป็นจริงแล้วโปรโตคอลชนิดนี้จำกัดอยู่ที่การส่งเอกสารแบบข้อความของ HTML (HTML text docmuent) เท่านั้น เมื่อเอกสารถูกส่งออกไปแล้ว เครื่องให้บริการจะปิดการเชื่อมต่อเพื่อแสดงว่าสิ้นสุดเอกสารแล้ว ที่ต้องทำอย่างนี้เป็นความจำเป็นเนื่องจากไม่มีการกำหนดความยาวของเอกสารที่จะส่งบอกให้ทราบระหว่างเครื่องให้บริการ และเครื่องลูกข่าย ในขณะที่ส่งเอกสาร เครื่องให้บริการจะต้องจำกัดแต่ละบรรทัดที่ส่งโดยเครื่องหมาย return (carriage return) ซึ่งตามด้วยอักษรป้อนบรรทัด (line feed character) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าการสร้าง HTTP รุ่น 0.9 นั้นทำได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่สิบบรรทัด ปัญหาก็คือข้อจำกัดที่กำหนดให้มีเพียงเอกสารที่เป็นข้อความเท่านั้นที่ส่งได้ และไม่มีวิธีที่เครื่องลูกข่ายจะส่งข้อมูลข่าวสารอื่นๆสู่เครื่องให้บริการได้เลย

  13. HTTP รุ่น 1.0 HTTP ในรุ่นนี้ได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปี 1992 จนถึงปี 1996 ปรากฎตัวครั้งแรกในเอกสาร RFC ในเดือนพฤษภาคมปี 1996 HTTP 1.0 อยู่บนพื้นฐานเดียวกันกับ web server/client โดยส่วนใหญ่ ในเอกสาร RFC 1945 นั้นเป็นเพียง RFC ข้อมูลข่าวสาร ( informational RFC) มิใช่มาตรฐานที่เป็นทางการสำหรับระบบอินเตอร์เนต ( Official Standard of theInternet) แต่ภายหลังก็ได้มีการอธิบายถึงวิธีการใช้งานโดยทั่วไปของ HTTP 1.0 รวมถึงคู่มืออ้างอิงสำหรับเครื่องให้บริการในรูปของ CD ที่แนบมาด้วย HTTP 1.0 พัฒนาจากความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มากกว่า ข้อมูลแบบข้อความ (text) ทั่วๆไป และกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างระบบกระจายข่าวสารแบบ hypermedia (distributed hypermedia information system) ที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการและจุดประสงค์หลายๆแบบได้ จากปี 1994 ถึงปี 1997 การพัฒนาของระบบ web จากกลุ่มเล็กๆ ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อจะแสดงผลงานวิจัยของตนออกสู่หน่วยงานศูนย์กลาง ได้พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันรายการโทรทัศน์กว่าครึ่งหนึ่งจะมีการประกาศ URLของตนเอง จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า HTTP ได้แพร่ขยายอย่างมากมายมหาศาล จุดเปลี่ยนหลักๆ จาก HTTP 0.9 เดิมคือการใช้เฮดเดอร์ที่เหมือนกับ MIME ในการร้องขอและการตอบรับ โครงสร้างของการร้องขอ (request message) ได้โตขึ้นจากเดิม ซึ่งมีเพียงบรรทัดเดียวมาเป็นโครงสร้างที่มีหลายบรรทัดดังนี้

  14. Full-Request = Request-Line *( General-Header | Request-Header | Entity-Header ) CRLF [ Entity-Body ] Request-Line = Method SP Request-URI SP HTTP-Version CRLF เฮดเดอร์ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความต้องการที่จะส่งข่าวสารให้มากขึ้น ซึ่งสำหรับเครื่องลูกข่ายนั้น ข่าวสารนี้จะรวมไปถึงการส่งชนิดของข้อมูลที่ตัวมันต้องการด้วย โดยจะแสดงอยู่ในรูปพจน์ของชนิดตัวกลางของ MIME (MIME media types) ตัวอย่างเช่นพจน์ text/html และ image/gif จะถูกกำหนดไว้ เพื่อว่าเครื่องลูกข่ายและเครื่องให้บริการ จะได้เข้าใจถึงข้อมูลที่ส่งให้กันและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้เฮดเดอร์ที่เพิ่มขึ้นยังแจ้งให้เครื่องลูกข่ายได้ทราบถึงเงื่อนไขของข้อมูลในหน่วยความจำ โดยใช้เฮดเดอร์If-Modified-Since ซึ่งจะทำให้เครื่องลูกข่ายสามารถถามแหล่งต้นตอของข้อมูลให้ตอบกลับมาว่าข้อมูลชุดที่เครื่องลูกข่ายต้องการนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่มีอยู่ในหน่วยความจำ

  15. (ประเภทแคช) ของมันหรือไม่ โดยดูจากวันที่ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีนี้เครื่องลูกข่ายจะทำการอัพเดทเฉพาะข้อมูลชุดหรือหน้าที่จำเป็นคือมีวันที่ไม่ตรงกันเท่านั้น ช่วยลดเวลาและประหยัดการใช้ช่วงสัญญาณ(bandwidth) ได้อย่างมาก ในด้านของเครื่องให้บริการ มันสามารถส่งข้อมูล (Information) ของสาระ (content) ที่ส่งมาได้ ใน HTTP 0.9 นั้นจะส่งได้แต่เพียงสาระซึ่งเป็นเพียงเอกสาร HTML เท่านั้น แต่ด้วยรูปแบบคำตอบรับที่ขยายเพิ่มขึ้นใน HTTP/1.0 นี้ สามารถแจ้งให้กับเครื่องลูกข่ายทราบได้อย่างแน่นอนว่าสาระที่จะส่งเป็นข้อมูลประเภทไหน ดังรูปแบบต่อไปนี้ Full-Response = Status-Line *( General-Header | Request-Header | Entity-Header ) CRLF [ Entity-Body ] Status-Line = HTTP-Version SP Status-Code SP Reason-Phrase CRLF การมีเฮดเดอร์ที่เพิ่มขยายนั้น เพื่อให้เครื่องให้บริการบ่งบอกถึงชนิดของข้อมูลของสาระที่ส่งมาประกอบกับเอกสาร HTML พื้นฐานได้ ทำให้การใช้รูปภาพและข้อมูลเสียงเป็นที่นิยมจนกลายเป็นรูปแบบสาระที่เครื่องให้บริการต้องส่งเสมอๆ

  16. นอกจากนี้ HTTP 1.0 ยังได้เปลี่ยนวิธีการร้องขอใหม่ โดยเพิ่มคำสั่งนอกเหนือจากคำร้องขอด้วย GET คือ HEAD และ POST การร้องขอด้วย HEAD จะอนุญาติให้เครื่องลูกข่ายร้องขอสาระจากเครื่องให้บริการ และ รับข้อมูลของสาระทั้งหมดได้โดยไม่ต้องรับสาระนั้นมาจริงๆ สิ่งนี้ได้ใช้กันมากในหุ่นยนต์และแมงมุมWeb ซึ่งใช้ในการสำรวจการเชื่อมต่อ (link) เพื่อรวบรวมและอัพเดทข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบการเชื่อมต่อที่เสียหาย การร้องขอด้วย POST จะทำให้ web มีลักษณะของการตอบโต้กับผู้ใช้โดยตรง (interactive) มันทำให้เครื่องลูกข่ายสามารถส่งข้อมูลจริงๆไปให้เครื่องให้บริการเพื่อนำไปประมวลผลได้ เนื่องจากวิธีการแบบ GET เดิมนั้นการส่งข้อมูลจะถูกจำกัดด้วยจำนวนของข้อมูลที่เครื่องให้บริการจะสามารถรับได้ในส่วนของคำร้องขอ URI เท่านั้นดังที่เคยกล่าวไว้ในตอนต้น แต่ต้วยวิธีของ POST ซึ่งเสมือนไม่จำกัดในส่วนของ entity body จะทำให้การนำเข้า (input) ข้อมูลเช่น ใบสั่งของ, แบบประเมินผล, ใบสมัคร ต่างๆเหล่านี้สามารถทำได้บน Webpage ด้วย HTTP 1.0 นี้ เครื่องให้บริการยังสามารถตอบกลับ คำร้องของของเครื่องลูกข่าย ด้วยรหัสสถานะ (status code) รหัส 404 ที่เราคุ้นเคยและเกลียดที่สุดคือ รหัสสถานะระบุว่าไม่พบสาระนั้น(Object Not found) จะถูกส่งจากเครื่องให้บริการ ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลที่เครื่องลูกข่ายร้องขอมา รหัส 200 บ่งชี้ว่าเครื่องให้บริการสามารถตอบกลับได้อย่างสมบูรณ์ รหัส 302 บ่งชี้ว่าข้อมูลหรือสาระนั้นได้ย้ายได้ที่ตำแหน่ง (location) ชั่วคราว รหัส 401 คือต้องการการอนุญาติ ( authorizdtion ) ในการเข้าถึงข้อมูลหรือสาระนั้น รหัส 500 บอกว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นทางด้านเครื่องให้บริการ ขณะที่พยายามตอบรับการร้องขอของเครื่องลูกข่าย

  17. รหัสที่น่าสนใจคือรหัส 401 คือรหัสสถานะไม่อนุญาติให้เข้าถึง นี่เป็นจุดเด่นของ HTTP 1.0 เลยทีเดียว เป็นแนวคิดเริ่มต้นสำหรับการจำกัดการเข้าถึงสาระหรือข้อมูลนั้นโดยเครื่องให้บริการต้องการให้เครื่องลูกข่ายระบุชื่อผู้ร้องขอ และรหัสลับ ก่อนจะส่งข้อมูลที่ถูกต้องให้ แนวคิดนี้ทำให้เราสามารถสร้าง Web site ที่มีข้อมูลส่วนตัว โดยจะจำกัดข้อมูลอยู่ในกลุ่มบุคคลหนึ่งหรือคนๆเดียวได้ และทำให้เกิด site สำหรับการช้อปปิ้งขึ้นโดยให้ผู้ใช้เลือกส่งของที่ต้องการจะซึ้อผ่านทาง web page หลายๆหน้า และเมื่อสิ้นสุดการเลือกก็ให้ผู้ใช้ใส่รหัสและชื่อเพื่อจะดำเนินการต่อไป สำหรับพวกเราอาจเคยเข้าไปเยี่ยมเยียน web site รูปภาพ บางแห่งต้องสมัครเป็นสมาชิคและเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนผ่านทางบัตรเครดิต (ซึ่งจะต้องให้หมายเลขบัตรเอาไว้ตอนสมัคร)เมื่อจะเข้าสู่ web site นั้นเราจะต้องป้อนชื่อและรหัสผ่านที่ทางเครื่องให้บริการแจ้งไว้ในตอนสมัครให้ถูกต้อง จึงจะเข้าถึงได้ ความสามารถที่เกิดขึ้นนี้ทำให้การค้าขายผ่านทาง web ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

  18. จากการยกระดับนี้ทำให้ HTTP พัฒนาจากระบบรับส่งข้อมูลข่าวสารธรรมดาไปสู่ระบบแลกเปลี่ยนแบบสารพัดประโยชน์ โดยมีความสลับซับซ้อนของระบบบน applicationมาครฐานข้ามแพลทฟอร์มหลายตัว แต่ก็มีปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่นผู้ใช้ต้องการการดึงข้อมูลที่เร็วขึ้น ทำให้เครื่องลูกข่ายเปิดการเชื่อมต่อมากขึ้นบนเครื่องให้บริการตัวเดียว ผลก็คือทำให้แถบสัญญาณ (bandwidth) และเครื่องให้บริการทำงานเกินพิกัด ยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือมีเครื่องให้บริการในระบบบางเครื่องทำหน้าที่เป็น host ให้กับโดเมนหลายๆตัวในเครื่องเดียวกัน ซึ่งต้องการหมายเลย IP ที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละโดเมน ทำให้เกิดข้อจำกัดในการจัดหาหมายเลข IP ทำให้ความเร็วลดลง ปัญหาในด้านแคชสื่อกลางก็เกิดขึ้น เมื่อเครื่องให้บริการไม่มีวิธีเลือกที่ดีว่าอันไหนควรเก็บในแคชและอันไหนไม่ควร ทำให้มีหลายๆ site ที่ใช้เทคนิค"แคชระเบิด (cache-busting) " ซึ่งจะขัดขวางไม่ให้แคชทำการจับการตอบรับ (response) ที่เฉพาะเจาะจงบางอย่าง

  19. อ้างอิง • http://www.bwc.ac.th/pan/m5site/web_site/513/network_computer/CHAPTER/c2_1.html • http://wiki.nectec.or.th/ngiwiki/pub/Main/GroupProject/HTTP.ppt • http://th.wikipedia.org/wiki/เอชทีทีพี

  20. สมาชิกในกลุ่ม นางสาวสุกัญญา เวียงแก้ว เลขที่ 36 นางสาวสุพัชยา นนมุต เลขที่ 44 นางสาวอภิญญา ปะนัง เลขที่ 52

More Related