1 / 29

“ชีวิตจริง” ใน “การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีภาคเหนือตอนบนประเทศไทย”

“ชีวิตจริง” ใน “การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีภาคเหนือตอนบนประเทศไทย”. ลำดวน มหาวัน เอดส์เน็ท เชียงใหม่. งานสัมมนาวิชาการ การพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ระดับประเทศ ครั้งที่2 วันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2551

Download Presentation

“ชีวิตจริง” ใน “การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีภาคเหนือตอนบนประเทศไทย”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “ชีวิตจริง” ใน “การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีภาคเหนือตอนบนประเทศไทย” ลำดวน มหาวัน เอดส์เน็ท เชียงใหม่ งานสัมมนาวิชาการ การพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ระดับประเทศ ครั้งที่2 วันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2551 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ จังหวัดกรุงเทพฯ

  2. ทำไมถึงคิดเรื่องนี้ • การดำเนินงานเรื่องนี้ใน “ชุมชน” • สิ่งที่ได้เรียนรู้ และความท้าทาย

  3. กลุ่มผู้ติดเชื้อ 81 กลุ่ม กลุ่มผู้ติดเชื้อ 13 กลุ่มในภาคเหนือตอนบน โครงการ “ชีวิตจริง”

  4. ไม่ใช้ถุงยางอนามัยเพราะคิดว่าตัวเองกินยาต้านแล้วมีเชื้อน้อย ไม่สามารถถ่ายทอดเชื้อให้คู่นอน เป็นเริมที่อวัยวะเพศ แต่อายไม่กล้าไปตรวจ ทำให้เป็นเรื้อรังและติดต่อไปยังคู่นอน เพื่อนผู้หญิงจะไม่สามารถบอกกับคู่ให้ใช้ถุงยางอนามัยได้ กลัวหมอว่าให้ว่า ทำไมไม่ใช้ถุงยางอนามัย กลัวเพื่อนจะรับเชื้อเพิ่มหรือถ่ายทอดเชื้อให้คนอื่นแล้วเชื้อจะดื้อยา เป็นแล้วไม่รู้ว่าร้ายแรงหรือเปล่า คิดว่าซื้อยากินก็หาย ก็เลยไม่ไปหาหมอ เสียงและความกังวลใจในชีวิตของแกนนำเพื่อนผู้ติดเชื้อ

  5. ยังไม่ได้บอกกับลูกเลยว่าเราติดเชื้อ ไม่รู้จะพูดกับลูกยังไงดี สุขภาพดีขึ้น อยากมีชีวิตคู่ใหม่ มีครอบครัวใหม่อีกครั้ง จะมีได้หรือเปล่า มีอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่รู้ว่าถ้าแฟนใหม่รู้ว่าเราติดเชื้อ แล้วเขาจะทิ้งเราไปหรือเปล่า อยากมีลูก เพราะมีความพร้อมและมีฐานะ พวกชาวบ้านเขาไม่ยอมรับให้เข้ากองทุนณาปนกิจหมู่บ้าน เพราะกลัวเราตายหนีกองทุน กำลังคิดอยู่ว่าจะมีท้องดีหรือไม่ ก็มาท้องเสียก่อน เพิ่งตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตใหม่เรื่องการมีคู่ คิดว่าอีกไม่นานคงต้องตัดสินใจครั้งสำคัญเรื่องการมีลูก อยากให้ชุมชนยอมรับการมีคู่ของผู้ติดเชื้อ เสียงและความกังวลใจในชีวิตของแกนนำเพื่อนผู้ติดเชื้อ

  6. กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ องค์การ หมอไร้พรมแดน เครือข่ายผู้ติดเชื้อ การดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่รับการรักษาด้วย ยาต้านไวรัสในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย ลึกลงไปในชีวิตจริง ที่มีชีวิตของมนุษย์เป็นแกนกลาง การเข้าถึง และการจัดการเรื่องART ประเด็นการยอมรับตนเองและการถูกปฏิเสธจากชุมชน การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส คู่ที่มีเพศสัมพันธ์กัน การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การดูแลระยะสุดท้าย : ความเศร้าโศกและ ความอาลัย ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด การถ่ายทอดเชื้อจากแม่ สู่ลูก ประเด็นสุขภาพอื่น ๆ : โภชนาการ และความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพกาย และจิตใจ คุณภาพชีวิต : ความมั่นคงทางรายได้ การดูแลเด็กกำพร้าและเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง

  7. เป้าหมาย:เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อหลังรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ในภาคเหนือตอนบน วัตถุประสงค์: 1. เพื่อเพิ่มความเข้าใจประเด็นสำคัญ ๆ ที่แวดล้อมเรื่องกาทำงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในกลุ่มเพื่อนผู้ติดเชื้อ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบและการดำเนินงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อสำหรับผู้ติดเชื้อในการทำงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต 3. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในกลุ่ม/เครือข่ายผู้ติดเชื้อภาคเหนือตอนบน

  8. คลินิกยาต้าน แกนนำผู้ให้การศึกษา ทำงานในศูนย์องค์รวม แกนนำผู้ดำเนินกระบวนการ บ้านแกนนำ กระบวนการดำเนินงาน

  9. หลักสูตร “ชีวิตจริง”

  10. Module 1 ก.เรือสามลำ(การป้องกันการรับเชื้อเพิ่มหรือถ่ายทอดเชื้อ) การดำเนินกิจกรรมด้านการป้องกันที่คำนึงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเรื่องทางเพศที่แตกต่างกันของผู้ติดเชื้อ กับความเข้าใจเรื่องที่มาของการใช้หรือไม่ใช้ถุงยางอนามัย Abstinent - ไม่มีเพศสัมพันธ์ Be faithful - มีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนคนเดียว Condom use - ใช้ถุงยางอนามัย

  11. Module 1ข เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น การดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมเกี่ยวกับทางเลือกในเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีการประเมินความเสี่ยงที่เชื่อมกับรูปแบบความสัมพันธ์ทางเพศ ทางเลือกต่างๆสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี การประเมินความเสี่ยง วิธีการใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยกับสารหล่อลื่น บทบาทสมมุติกับการต่อรอง

  12. Module 2 การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความเข้าใจและการรับรู้เรื่องอาการของโรค และสถานที่ให้บริการรักษาใกล้บ้าน รู้จักสถานที่ให้บริการที่อยู่ในชุมชน รู้จักอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดต่าง ๆ ไปพบ สื่อสาร เพื่อรับการรักษาจากแพทย์

  13. Module 3 การเปิดเผยตัวตน การคิด ตัดสินใจ และเตรียมความพร้อม ในการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อเอชไอวีต่อลูก คู่ ครอบครัว และเพื่อนบ้าน เตรียมความพร้อมในช่วง ก่อน ระหว่าง และหลัง กับคู่ใหม่ กับลูก การเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ในเรื่องการเปิดเผยสถานะ เข้าใจความรู้สึกของเพื่อน ว่าเรื่องนี้ไม่ง่ายแค่ปราถนาดี และเพียงบอกให้ทำ

  14. Module 4การถูกปฏิเสธจากชุมชน การวางแผนการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างการยอมรับและอยู่ร่วมกันในชุมชน บางเรื่องทำอะไรไม่ได้เลย เพื่อให้มีการจำแนกและทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีการวางแผนจัดการปัญหา และทำความรู้จักกับคนหรือสถานที่ที่สามารถจะไปขอความช่วยเหลือได้ บางเรื่องต้องไปหาคนมาช่วย บางเรื่องทำได้ด้วยตนเอง แม้จะยากอยู่บ้าง

  15. Module 5 ทางเลือกเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ และการวางแผนชีวิต การเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจเรื่องการวางแผนด้านอนามัยเจริญพันธุ์ มีลูกโดยไม่ได้วางแผน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากมีลูก อยากมีลูกด้วยกันทั้งคู่ เพศสัมพันธ์ที่ดี ความคิดและความต้องการที่เหมือนและต่างกัน ปัญหา ทางเลือก และเงื่อนไขที่เหมือนและต่างกัน การวางแผนในการจัดการกับปัญหา เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

  16. กรมอนามัย แกนนำผู้ให้การศึกษา ทำงานในศูนย์องค์รวม กรมควบคุมโรค แกนนำผู้ดำเนินกระบวนการ คลินิกแม่และเด็ก คลินิกยาต้าน บ้านแกนนำ กระบวนการดำเนินงานเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์และการวางแผนชีวิต

  17. ผลการดำเนินงาน • จำนวนตัวเลขที่เข้าถึง • จำนวนกลุ่มที่เข้าถึง 81 ศูนย์องค์รวมภาคเหนือ

  18. ผลการดำเนินงานโครงการผลการดำเนินงานโครงการ • ผลจากการประเมินผลลัพธ์โครงการ • คนที่เข้าร่วมกิจกรรมเปิดเผยผลเลือดกับคู่มากกว่าคนที่ไม่เข้าร่วม 20% • การใช้ถุงยางอนามัยเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายเพิ่มขึ้น 20% • การเปิดเผยผลเลือดกับคู่คนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความยุ่งยาก 12% คนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม 21% และเปิดเผยกับคนอื่นๆ คนที่เข้ามีความยุ่งยาก 17 % คนที่ไม่เข้าร่วม 44%

  19. กรณีศึกษาคู่ต่างชายรักชายกรณีศึกษาคู่ต่างชายรักชาย “พอเป็นทีมสนับสนุน ผ่านการอบรมครบทุกทุกหลักสูตรและมีโอกาสทำกิจกรรมกับเพื่อนและร่วมเรียนรู้ พบว่าทำไมเหมือนกับชีวิตของตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องวิถีทางเพศ มีแฟนหลายคน อยู่ในเรือลำที่ 3 บางครั้งเกาะเรือ บางครั้งว่ายน้ำ ปัจจุบันแต่งงานกับเพื่อนชายและเขายังไม่ติดเชื้อ ยอมตัวว่าคิดมาก กังวล ทั้งเรื่องการป้องกัน การเปิดเผยผลเลือด พอผ่านกิจกรรมมีความรู้ ข้อมูล ความมั่นใจและความกล้า รวมทั้งความรักที่มีต่อคู่ บอกกับตัวเองว่าจะต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนที่เรารักปลอดภัย ตอนนั้นรู้สึกสบายใจ ไม่ต้องเป็นกังวล หลังจากที่คิดได้เรื่องความปลอดภัยในการที่ไม่รับและถ่ายทอดเชื้อเพิ่ม ก็ป้องกัน 100 % และพูดได้เต็มปากเลยว่า “ตระหนัก” แม้ตอนนี้ยังไม่ได้คิดเรื่องการเปิดเผยผลเลือดเพราะยังไม่พร้อม”

  20. กรณีศึกษาคู่ต่าง “ก่อนหน้านี้ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเอดส์เน็ทมาก่อน ได้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 4 หลักสูตรรู้สึกว่ากิจกรรม ดี ทำให้ได้รู้ถึงการป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โดยการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอน ได้รู้ถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ว่ามีหลายโรค และสามารถรักษาได้ และรู้ถึงแหล่งบริการการรักษา ได้รู้ถึงความลำบากใจในการเปิดเผยการติดเชื้อของเพื่อน ได้เข้าใจเพื่อนมากขึ้น จากเมื่อก่อนสงสัยว่าทำไมเขาจึงไม่เปิดเผยตัวเอง ได้รู้ถึงความลำบากใจของเพื่อนในการถูกปฏิเสธจากหน่วยงานต่างๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมแล้วได้มีแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติในชีวิตต่อไป เพื่อให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างสบายใจ”

  21. การประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลการประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล “ในครั้งแรกที่เราได้รับรู้เกี่ยวกับโครงการป้องกันฯจากเจ้าหน้าที่เอดส์เน็ท เรามีความรู้สึกว่ามันเป็นโครงการที่ดีมาก แต่พวกเราก็รู้สึกวิตกกังวล และไม่ค่อยสบายใจท่าไร ที่เราจะต้องไปประสานกับโรงพยาบาล รู้สึกว่ามันเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมากสำหรับพวกเรา เราจึงมาปรึกษาหารือกันในกลุ่มแกนนำก่อนว่าจะทำอย่างไรดี หลังจากที่เราได้ข้อสรุปแล้วว่าต้องนำเรื่องนี้ปรึกษากับพี่เลี้ยงกลุ่มก่อน จึงพยายามติดต่อขอพบกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นพี่เลี้ยงกลุ่มเมื่อนัดหมายได้แล้ว พวกเราก็ไปหาพี่เลี้ยงที่โรงพยาบาล แล้วเล่ารายละเอียดของโครงการให้พี่เลี้ยงฟังด้วยความตื่นเต้นและรู้สึกเกรงใจเหมือนกัน เพราะงานของท่านก็เยอะและยุ่งมาก แต่ท่านก็ตั้งใจฟัง หลังจากฟังจบท่านก็ตอบพวกเรามาว่า มันเป็นโครงการที่ดีมากเลยนะ ที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลก็พยายามทำเหมือนกันนะ อยากให้ผู้ติดเชื้อมีองค์ความรู้และดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีไปได้นานๆ แต่โรงพยาบาลก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง ก็ฝากให้พวกเราทำให้ดีที่สุดก็แล้วกันนะ ทางโรงพยาบาลยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุน”

  22. บทเรียน • ศักยภาพของแกนนำผู้ติดเชื้อจากผู้ให้การปรึกษาและเป็นผู้ดำเนินกระบวนการ • การเชื่อมประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชนและผู้ติดเชื้อ • การใช้โครงสร้างกลไกเครือข่ายกับการติดตามและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมใจพื้นที่ • การดำเนินงานทางด้านนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ

  23. บทเรียน (ต่อ) • เนื้อหาหลักสูตรที่พัฒนาสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเพื่อนผู้ติดเชื้อ • กระบวนการดำเนินกิจกรรมเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการให้ความรู้ • การเป็นเจ้าของโครงการร่วมกันระหว่างเอดส์เน็ทและเครือข่ายทำให้มีความรู้สึกร่วมในการดำเนินงานโครงการ • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องชีวิตและพฤติกรรมทางเพศควรมีทั้งหญิงและชายร่วมเรียนรู้ด้วยกัน • มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการประสานความร่วมมือในการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ทั้งในระดับของสถานบริการพยาบาล และระดับผู้กำหนดนโยบาย

  24. ประเด็นความท้าทาย • สิ่งท้าทายงานอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับผู้ติดเชื้อทำอย่างไรให้ผู้ติดเชื้อได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง และได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน • การขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุม • การเข้าถึงผู้ติดเชื้อที่ไม่เปิดเผยตัวเองและไม่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม • การพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรที่เข้าถึงกลุ่มอื่นๆการขยายผลในกลุ่มอื่นๆ MSM และชาติพันธุ์

  25. ความท้าทาย (ต่อ) • การพัฒนาประเด็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อนผู้ติดเชื้อหลังยาต้านไวรัสประเด็นอื่น ๆ • การปรับทัศนคติของผู้ที่ทำงานกับผู้ติดเชื้อประเด็นการใช้ชีวิตของผู้ติดเชื้อหลังยาต้านไวรัส

  26. ขอบคุณเพื่อนผู้ติดเชื้อทุกคน ที่อนุญาตให้เผยแพร่รูปได้

  27. ขอบคุณเพื่อนผู้ติดเชื้อทุกคน ที่อนุญาตให้เผยแพร่รูปได้

  28. ขอบคุณเพื่อนผู้ติดเชื้อทุกคน ที่อนุญาตให้เผยแพร่รูปได้

  29. มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (สำนักงานภาคเหนือ) 145/1 ถ.ศรีภูมิ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ (053) 222417 โทรสาร (053) 222484 อีเมล์ aidsnetn@loxinfo.co.th ขอบคุณค่ะ

More Related