1 / 96

1.1 ความหมายของตัวแปรสุ่ม

1.1 ความหมายของตัวแปรสุ่ม. จุดเริ่มต้นของตัวแปรสุ่มมาจากการทดลองสุ่ม. การทดลองสุ่ม ( Random trial) คืออะไร. การทดลองสุ่ม คือ การกระทำที่ไม่รู้ว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นแน่นอนว่าคืออะไร แต่สามารถ บอกได้ว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดมีอะไรบ้าง.

Download Presentation

1.1 ความหมายของตัวแปรสุ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 1.1 ความหมายของตัวแปรสุ่ม จุดเริ่มต้นของตัวแปรสุ่มมาจากการทดลองสุ่ม การทดลองสุ่ม ( Random trial) คืออะไร การทดลองสุ่ม คือ การกระทำที่ไม่รู้ว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นแน่นอนว่าคืออะไร แต่สามารถ บอกได้ว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดมีอะไรบ้าง เช่น โยนลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง เราไม่สามารถบอกได้ว่าลูกเต๋าจะขึ้นแต้มใด แต่เรารู้ว่าแต้มลูกเต๋าที่จะขึ้นทั้งหมดจากการโยนมีแต้ม 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 ซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการทดลองสุ่มเราเรียกว่า “ ปริภูมิตัวอย่าง” เรียกทับศัพท์ว่า “ แซมเปิลสเปซ” (Sample Space) แซมเปิลสเปซ คือ เซตที่มีสมาชิกเป็นผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม เหตุการณ์(Event) คือ สับเซตของแซมเปิลสปซ

  2. จงหาแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มต่อไปนี้จงหาแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มต่อไปนี้ 1. สุ่มสินค้า 3 ชิ้นเพื่อตรวจสอบว่ามีสภาพดีหรือชำรุด {ดดด , ดดช , ดชด , ชดด , ดชช , ชดช , ชชด , ชชช} 2. ผลของการทดลองยิงเป้าบิน 4 ครั้ง {ถถถถ , ถถถผ , ถถผถ , ถผถถ ,ผถถถ , ถถผผ ,ถผถผ , ถผผถ , ผถผถ ,ผผถถ, ผถถผ , ถผผผ ,ผถผผ , ผผถผ , ผผผถ , ผผผผ} 3. สุ่มสินค้า 3 ชิ้นเพื่อตรวจสอบว่าจะพบสินค้าชำรุดกี่ชิ้น { 0 , 1 , 2 , 3 } 4. โยนเหรียญเที่ยงตรง 1 อัน 6 ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าเหรียญ จะขึ้นหัวกี่ครั้ง { 0 , 1 ,2, 3 , 4 , 5 , 6 }

  3. 5. ทอดลูกเต๋า 2 ลูก {(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6),(2,1),…,(6,6)} 6. ผลรวมแต้มจากการทอดลูกเต๋า 2 ลูก { 2 , 3 , 4 ,5 , 6 , 7 , 8 , 9 , 10 , 11 , 12} แซมเปิลสเปซในรูปแบบข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 6 คือ ตัวแปรสุ่ม

  4. ตัวแปรสุ่ม คืออะไร ฟังก์ชันที่เปลี่ยนเหตการณ์ ทุกเหตุการณ์ ในแซมเปิลสเปซ ให้เป็นตัวเลข การเขียนตัวแปรสุ่ม จะนิยมใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่แทนตัวแปรสุ่ม และใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กแทนค่าของตัวแปรสุ่ม

  5. ตัวอย่าง 1. โยนเหรียญเที่ยงตรง 1 เหรียญ 3 ครั้ง ให้ X คือ จำนวนหัวที่หงาย X มีค่าใดบ้าง X =จำนวนหัวที่หงายจากการโยนเหรียญ 1เหรียญ 3 ครั้ง = 0 , 1 , 2 , 3 2. โยนลูกเต๋า 2 ลูก ให้ X คือผลรวมแต้มลูกเต๋าทั้งสอง X มีค่าใดบ้าง X = ผลรวมของลูกเต๋า 2 ลูกที่ได้จากการโยนลูกเต๋า 1ครั้ง = 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9 , 10 , 11 , 12

  6. 3. นายสันติซื้อตู้เย็นมา 3 ตู้ เพื่อขาย ถ้าตู้เย็นมีตำหนิเขา จะขายขาดทุน 500 บาท ถ้าไม่มีตำหนิเขาจะขาย ได้กำไร 1,500 บาทต่อตู้เย็น 1 ตู้ ให้ X เป็นกำไร ที่นายสันติได้รับ X มีค่าใดบ้าง X = กำไรที่นายสันติได้รับจากการขายตู้เย็น 3 ตู้ = -1,500 , 500 , 2,500 , 4,500

  7. 1.2 ชนิดของตัวแปรสุ่ม ต่อเนื่อง ไม่ต่อเนื่อง ค่าทั้งหมดของตัวแปรสุ่ม X มีจำนวนจำกัด , แต่ละค่าแตกต่าง กันอย่างชัดเจน ค่าทั้งหมดของตัวแปรสุ่ม X ต่อเนื่องกันไป ไม่สามารถบอกค่า ของแต่ละจุดได้ X = 0 , 2 , 3 , 4 , 5 X > 0 X = 0 , 1 , 2 , 3 ...

  8. 1.3 การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X เมื่อ X = x ใช้สัญลักษณ์ f(X) โดย f(X) = P(X = x) นิยาม ฟังก์ชัน f(X) เป็นฟังก์ชันความน่าจะเป็นหรือ การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มไม่ ต่อเนื่อง X ใดๆ สำหรับแต่ละค่า x มีคุณสมบัติดังนี้ 1. f(X) > 0 สำหรับทุกค่าของ x 2. = 1 หรือ = 1

  9. ตัวอย่าง โยนเหรียญเที่ยงตรง 2 อัน 1 ครั้ง ถ้า X คือ จำนวนก้อยที่หงาย จงคำนวณฟังก์ชันความ น่าจะเป็นของ X ให้ X = จำนวนก้อยที่หงายจากการโยนเหรียญ 2 อัน 1ครั้ง วิธีทำ = 0 , 1 ,2 xi 0 1 2 0.25 0.25 0.50 P(X = xi)

  10. ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X คือ f(X) = P(X = xi) = 0.25 เมื่อ xi = 0 ,2 = 0.50 เมื่อ xi = 1

  11. ต้องการสุ่มเลือกตัวแทน 4 คน จากชาย 5 คน หญิง 4 คนแบบไม่คืนที่ ถ้า X คือจำนวนหญิง ที่สุ่มได้ ตัวอย่าง จงหา ก. ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X ข. ค่าของ P(X > 2) วิธีทำ ให้ X = จำนวนหญิงที่สุ่มได้ = 0 , 1 , 2 , 3 , 4 n(S) จำนวนวิธีทั้งหมดในการสุ่มคน 4 คนจาก 9 คน = 4 - xiคน ถ้าสุ่มหญิงได้ xiคน จะสุ่มได้ชาย จำนวนวิธีสุ่มหญิง xiคนจากหญิง 4 คน และสุ่มชาย 4 -xiคนจากชาย 5 คนได้ = n(E)

  12. f(X) = P(X = xi) ก. ฟังก์ชันความน่าจะเป็นคือ เมื่อ xi = 0 , 1 , 2 , 3 , 4 = ข.หาค่าของ P( X 2) > = P(X = 2) + P(X= 3) + P(X = 4) =

  13. = = 0.6429 = นั่นคือ ความน่าจะเป็นที่สุ่มได้ตัวแทนหญิง อย่างน้อย 2 คน = 0.6429

  14. 1.4 ค่าเฉลี่ยของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง ถ้า X เป็นตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง มีค่าเป็น x1 , x2 , x3 , … , xN และฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X เมื่อ X มีค่าเป็น x1 , x2 , x3 , … , xNคือ f(x1) , f(x2) , f(x3),…,f(xN) ตามลำดับ ค่าคาดคะเน(expected value) ของ X คือ นิยาม E(X) =

  15. E(X) ค่าคาดคะเนของ X ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของ X ในการทอดลูกเต๋าเที่ยงตรง 1 ลูก 1 ครั้ง คาดว่า ลูกเต๋าจะหงายแต้มใด ตัวอย่าง ให้ X = แต้มของลูกเต๋าที่หงาย วิธีทำ = 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X คือ 1 f(X) = โดยที่ X= 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 6

  16. E(X) = + (5) = (1) + (2) + (3) + (4) + (6) = ( 1+ 2 + 3 + 4 + 5 + 6) = 3.5 (21) = นั่นคือ คาดว่าลูกเต๋าจะหงายแต้ม 3.5 หรือ โดยเฉลี่ยแต้มของลูกเต๋าที่หงายเท่ากับ 3.5

  17. ตัวอย่าง ถ้าจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อวัน ในเมืองหนึ่ง เป็น 0 , 1 , 2 , 3 ,หรือ 4 ด้วยความน่าจะเป็น 0.6 , 0.21 0.16 , 0.02 และ 0.01 ตามลำดับ จำนวนอุบัติเหตุโดย เฉลี่ยจะเป็นเท่าไร ให้ X= จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดต่อวันในเมืองหนึ่ง วิธีทำ = 0 , 1 , 2 , 3 , 4 การแจกแจงความน่าจะเป็นของ X เป็นดังนี้ xi 0 1 2 3 4 f(X) 0.6 0.21 0.16 0.02 0.01

  18. ดังนั้น E(X) = = (0)(0.6) + (1)(0.21) + (2)(0.16) + (3)(0.02)+ (4)(0.01) = 0.63 นั่นคือ คาดว่าจำนวนอุบัติเหตุในเมืองนี้ เกิดขึ้น โดยเฉลี่ยวันละ 0.63 ครั้ง

  19. ตัวอย่าง มีหลอดไฟอยู่ 12 หลอด ในจำนวนนี้มีหลอดไฟ ที่เสียอยู่ 3 หลอด สุ่มหยิบหลอดไฟขึ้นมา 3 หลอด จง ประมาณจำนวนหลอดไฟที่เสียที่สุ่มได้แต่ละครั้ง ให้ X = จำนวนหลอดไฟเสียที่สุ่มหยิบขึ้นมาได้ วิธีทำ = 0 , 1 , 2 , 3 ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X คือ , xi = 0 ,1 , 2 , 3 f(X) =

  20. การแจกแจงความน่าจะเป็นของ X เป็นดังนี้ xi 0 1 2 3 f(X) = P(X = xi) ดังนั้น E(X) = = (0)( ) + (1)( ) +(3)( ) + (2)( ) = 0.75 = นั่นคือ คาดว่าจะสุ่มหยิบได้หลอดไฟเสียครั้งละ 0.75 หลอด

  21. กฎของค่าคาดคะเน ก. ถ้า a เป็นค่าคงตัว E(a) = a เช่น E(5) = 5 ข. ถ้า a เป็นค่าคงตัว E(aXk) = aE(Xk) เช่น E(3X) = 3E(X) E(-2X3) = -2E(X3) ค. ถ้า y เป็นฟังก์ชันของ X คือ y = g(X) E(y) = E[g(X)] = เช่น E(3X+2) =

  22. ง. ถ้า y และ z เป็นฟังก์ชันของ X E(y + z) = E(y) + E(z) , E(y - z) = E(y) -E(z) ถ้า X เป็นตัวแปรสุ่มและ E(X) = 3 , E(X2) = 25 ตัวอย่าง จงหาค่าของ ก. ค่าเฉลี่ยของ 2X + 4 ค่าเฉลี่ยของ 2X + 4 คือ = E(2X + 4) = E(2X) + E(4) = 2E(X) + 4 = (2)(3) + 4 = 10

  23. ข. E[X - E(X)]2 = E(X - 3)2 = E(X2 - 6X + 9) = E(X2) + E(9) - E(6X) เราจะต้องมี พยายาม + 9 - 6E(X) = E(X2) = 25 - (6)(3) + 9 = 16 เราจะต้องค้นคว้า เพิ่มเติม

  24. 1.5 ค่าความแปรปรวนของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง ถ้า X เป็นตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง และ นิยาม ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X เมื่อ X มีค่า x1 , x2,x3,…, xNคือ f(x1) ,f(x2),f(x3),…,f(xN) ตามลำดับ ค่าความแปร ปรวนของ X คือ = E[X - E(X)]2 = - = E(X)2 หรือ

  25. ในการเลือกตัวแทน 3 คน จากชาย 4 คน หญิง ตัวอย่าง 3 คน โดยการสุ่ม จงหาค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของ จำนวนชายที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทน ให้ X = จำนวนชายที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทน วิธีทำ = 0 , 1 , 2 , 3 ฟังก์ชันการแจกแจงความน่าจะเป็นของ X คือ f(X) = , xi = 0 , 1 , 2 , 3

  26. การแจกแจงความน่าจะเป็นของ X เป็นดังนี้ xi 0 1 2 3 f(X)=P(X=x) จาก = และ E(X) = = (0)( ) +(1)( ) +(2)( ) +(3)( ) 60 12 = = = 1.71 35 7

  27. = = (0 - )2( ) + (1 - )2( ) + (2 - )2( ) + (3 - )2( ) = = 0.49 = นั่นคือ ในการสุ่มเลือกตัวแทน 3 คน คาดว่าจะได้ ตัวแทนชาย 1.71 คน โดยมีความแปรปรวน 0.49 คน2

  28. - = E(X2) จากสูตร 12 144 = ( )2 = 7 49 = (02)( ) +(12)( ) E(X2) = +(22)( ) + (32)( ) 120 0+12+72+36 = = 35 35 120 144 = - 49 35 840 5,880-5040 = = 1,715 1,715

  29. กฎของความแปรปรวน 1. ถ้า a เป็นค่าคงตัว ค่าความแปรปรวนของ a คือ = 0 2. ถ้า a เป็นค่าคงตัว ค่าความแปรปรวนของ ax คือ = a2 3. ถ้า a และ b เป็นค่าคงตัวแล้ว = a2

  30. ถ้า X เป็นตัวแปรสุ่มและค่า = 10 ตัวอย่าง จงคำนวณ ก) ข) ก) = = 22 วิธีทำ = 40 = (4)(10) ข) = 32 = = 90 = (9)(10)

  31. การแจกแจงความน่าจะเป็นการแจกแจงความน่าจะเป็น ของตัวแปรสุ่ม ชนิดไม่ต่อเนื่อง

  32. เนื้อหา การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่องที่จะ ศึกษาในบทเรียนนี้มี 4 แบบ คือ 1 การแจกแจงเสมอต้นเสมอปลาย (ยูนิฟอร์ม) 2 การแจกแจงทวินาม 3 การแจกแจงไฮเพอร์ยีออเมตริก 4 การแจกแจงปัวส์ซง 5 การแจกแจงปกติ เป็นการแจกแจงแบบต่อเนื่อง

  33. การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่องการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง 1. การแจกแจงเสมอต้นเสมอปลาย Uniform Distribution 2. การแจกแจงทวินาม ( Binomial Distribution) 3. การแจกแจงไฮเพอร์ยีออเมตริก Hypergeometric Distribution 4. การแจกแจงปัวส์ซง (Poisson Distribution)

  34. สิ่งที่ต้องศึกษา 1. รูปทั่วไปของฟังก์ชันการแจกแจงความน่า จะเป็นของตัวแปรสุ่ม 2. ค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของตัวแปรสุ่ม

  35. 1. การแจกแจงเสมอต้นเสมอปลาย การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม ซึ่งแต่ละค่ามีความน่าจะเป็นเท่ากันหมด ฟังก์ชันของความน่าจะเป็น คือ f (X; k) = ; X = x1 , x2 , x3 , … , xk

  36. ค่าเฉลี่ยของการแจกแจงคือค่าเฉลี่ยของการแจกแจงคือ ความแปรปรวนของการแจกแจง คือ

  37. ตัวอย่าง ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ให้ X เป็นแต้ม ที่ได้ จงเขียนฟังก์ชันการแจกแจงความน่าจะเป็นของ X และหาค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของการแจกแจง ให้ X = แต้มที่ได้จากการทอดลูกเต๋า1ลูก 1ครั้ง วิธีทำ = 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 ตารางแจกแจงความน่าจะเป็นของ X คือ Xi 1 2 3 4 5 6 1/6 1/6 1/6 1/6 1/6 f(X)=P(X=xi) 1/6

  38. X มีการแจกแจงเสมอต้นเสมอปลาย โดยมีฟังก์ชันการแจกแจงความน่าจะเป็น คือ f(X ; 6) = 1/6 ; X = 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 ค่าเฉลี่ยของการแจกแจงคือ = (1/6)(21) = (1/6)(1 + 2 + 3 + 4 + 5 + 6) = 3.5 คาดว่าในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ลูกเต๋าจะขึ้นแต้ม 3.5

  39. ความแปรปรวนของการแจกแจงคือความแปรปรวนของการแจกแจงคือ = (1/6)[(1-3.5)2+(2-3.5)2+(3 -3.5)2+(4 -3.5)2 +(5 - 3.5)2+(6-3.5)2] = (1/6)(6.25 + 2.25 + 0.25 + 0.25 + 2.25 + 6.25 ) = 2.9166 = (1/6)(17.5) คาดว่าในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ลูกเต๋าจะขึ้นแต้ม 3.5 โดยมีความแปรปรวนเท่ากับ 2.92

  40. 2.การแจกแจงทวินาม Binomial Experiment โยนลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง โยนเหรียญ 1เหรียญ 1ครั้ง ความสำเร็จ แต้มเหมือนกัน ขึ้นหัว การทดลองแบบแบร์นูลลี แต้มต่างกัน ขึ้นก้อย ความไม่สำเร็จ

  41. ลักษณะทั่วไปของการแจกแจงทวินาม 1. การทดลองประกอบด้วยการกระทำซ้ำๆกัน n ครั้ง 2. การกระทำแต่ละครั้งผลที่เกิดขึ้นมี 2 อย่าง คือ ความสำเร็จ และความไม่สำเร็จ 3.ความน่าจะเป็นของความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการ กระทำแต่ละครั้ง มีค่าคงที่เท่ากับ pและความน่า จะเป็นของความไม่สำเร็จเท่ากับ qโดยที่p + q = 1 4. การกระทำแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน

  42. นิยามตัวแปรสุ่ม X แสดงจำนวนครั้งของความสำเร็จ ที่เกิดจากการกระทำ nครั้งในการทดลองทวินามเรียก X ว่า ตัวแปรสุ่มทวินาม การแจกแจงความน่าจะเป็นของ X เรียกว่า การแจกแจงทวินาม เขียนแทนด้วย b(X;n,p) เพื่อ แสดงว่าการแจกแจงนี้ขึ้นกับการกระทำ n ครั้ง และความ น่าจะเป็นของความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการกระทำแต่ละ ครั้ง pในกรณีที่ X เป็นตัวแปรสุ่มทวินาม ซึ่งมีการแจก แจง b(X ; n,p) ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X เมื่อ X= x คือ b(X;n,p) = f(x) = เมื่อ x = 0 , 1 , 2 , …,n

  43. ดำรงทำข้อสอบแบบปรนัย 5 ข้อ แต่ละข้อ มีคำตอบให้เลือก 4 คำตอบ ดำรงตอบโดยการเดาทุกข้อ จงหาความน่าจะเป็นที่ดำรงจะสอบผ่าน โดยเขาต้องทำถูกอย่างน้อย 3 ข้อ ตัวอย่าง ให้ X = จำนวนข้อสอบที่ดำรงตอบถูกจากการทำข้อสอบ 5 ข้อ วิธีทำ = 0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5 n = 5 , p = 0.25 X มีการแจกแจงแบบทวินามโดยมี ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ x คือ f(X) =b(X ; 5 ,0.25) = เมื่อ xi = 0 , 1 , 2 , 3 , 4 ,5

  44. หาความน่าจะเป็นที่ดำรงสอบผ่านโดยต้องตอบถูกหาความน่าจะเป็นที่ดำรงสอบผ่านโดยต้องตอบถูก อย่างน้อย 3 ข้อ คือหา P(X> 3) P(X> 3) = P(X=3)+P(X=4)+P(X=5) = f(3)+ f(4)+f(5) = (0.0087890625) + (0.0029296875) = + (1)(0.0009765625) = (10)(0.0087890625)+(5)(0.0029296875)+ 0.0009765625 = 0.087890625 + 0.0146484375 + 0.0009765625 = 0.10352125 ความน่าจะเป็นที่ดำรงจะสอบผ่านเท่ากับ 0.1035 = 10.35 %

  45. ตัวอย่าง นิดาเป็นตัวแทนบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ความน่าจะเป็นที่นิดาจะขายประกันได้จากครอบครัวที่เธอ ไปพบเท่ากับ 0.6 ถ้าวันนี้เธอตั้งใจจะไปพบ 5ครอบครัว จงหาความน่าจะเป็นที่เธอจะขายประกันได้ 3 ครอบครัว ให้ X= จำนวนครอบครัวที่นิดาขายประกันได้ วิธีทำ = 0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5 X มีการแจกแจงแบบทวินามโดยมี n = 5 , p = 0.6 ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X คือ f(X) = b(X ; 5 , 0.6) = เมื่อ xi = 0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5

  46. หาความน่าจะเป็นที่นิดาขายประกันได้ 3 ครอบครัว คือ หา P(X = 3) P(X = 3) = f(3) = (0.216)(0.16) = = (10)(0.03456) = 0.3456 นั่นคือ ความน่าจะเป็นที่นิดาขายประกันได้ 3 ครอบครัว เท่ากับ 0.3456 = 34.56%

  47. การหาความน่าจะเป็นทวินามโดยใช้ตารางการหาความน่าจะเป็นทวินามโดยใช้ตาราง ตัวอย่าง ยางรถยนต์ 100 เส้น ที่ส่งออกสู่ตลาดจาก โรงงานแห่งหนึ่งทราบว่ามีชำรุด 20 เส้น สุ่มเลือกยาง นี้มา15 เส้นเพื่อตรวจสอบสภาพโดยสุ่มเลือกทีละเส้น แบบคืนที่ก่อนหยิบเส้นต่อไป จงหาความน่าจะเป็นที่ จะได้ยางชำรุด 1) 1 เส้น 2) อย่างมาก 2 เส้น 3) อย่างน้อย 1 เส้น 4) ตั้งแต่ 2 ถึง 4 เส้น

  48. วิธีทำ ให้ X = จำนวนยางชำรุดที่สุ่มได้จากการสุ่มยางมาตรวจ 15 เส้น = 0 , 1 , 2 , 3 , … ,15 X มีการแจกแจงแบบทวินาม โดยมี n = 15 = 0.2 = มี p คือความน่าจะเป็นที่สุ่มได้ยางชำรุด ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของ X คือ f(X) = b(X ;15 ,0.2) = เมื่อ x = 0,1,2,…,15 1. หาความน่าจะเป็นที่ได้ยางชำรุด 1 เส้น คือ หา P(X = 1) = 0.1319 (ดูตารางที่ 2 n = 15 , x = 1 ,P = 0.2)

  49. 2. หาความน่าจะเป็นที่ได้ยางชำรุดอย่างมาก 2 เส้น คือ หา P (X < 2) P(X < 2) = P(X = 0) + P(X =1) + P(X = 2) = 0.0352 + 0.1319 + 0.2309 = 0.3980 หรือ P(X < 2) = = 0.3980 ดูตารางที่ 2-1 ที่ n = 15 , P = 0.2 , r = 2

  50. 3. หาความน่าจะเป็นที่ได้ยางชำรุดอย่างน้อย 1 เส้นคือ 1- P(X = 0) = 1 - 0.0352 = 0.9648 หาP(X > 0) = 4. หาความน่าจะเป็นที่ได้ยางชำรุดตั้งแต่ 2 ถึง4 เส้นคือ P(X = 2 ) + P(X = 3) + P(X = 4) P( 2 < X < 4 ) = + 0.1876 = 0.2309 + 0.2501 = 0.6686 โอ้! ง่ายจัง

More Related