1 / 30

โรคไข้เลือดออกอีโบลา

โรคไข้เลือดออกอีโบลา. กลุ่มงานควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี 14 สิงหาคม 2557. สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกอีโบลา. ข้อมูลจาก WHO ไข้เลือดออกอีโบลาในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และไนจีเรีย

sancho
Download Presentation

โรคไข้เลือดออกอีโบลา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคไข้เลือดออกอีโบลา กลุ่มงานควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี 14 สิงหาคม 2557

  2. สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกอีโบลา • ข้อมูลจาก WHO ไข้เลือดออกอีโบลาในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และไนจีเรีย • รวมทั้งสิ้น 1,848 ราย เสียชีวิต 1,013 ราย • อัตราป่วยตายร้อยละ 54.81 ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2557

  3. ที่มา : WHO Africa

  4. สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกอีโบลา • มีการรายงานการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกอีโบลาของแพทย์ 2 ราย คือ หัวหน้าทีมแพทย์ที่ดูแลคนไข้ Ebola ในประเทศเซียร์ราลีโอน และในประเทศไลบีเรีย • นอกจากนี้ยังมีแพทย์อาสาสมัครชาวอเมริกันและบุคลากรทางการแพทย์ชาวอเมริกันอีก 1 รายซึ่งช่วยในทีมรักษาผู้ป่วยที่ประเทศไลบีเรียเกิดการติดเชื้อและได้ถูกส่งกลับไปรักษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว

  5. เดลินิวส์ วันที่ 6 สค.2557 เจาะลึกให้รู้ อีโบล่า ไวรัสอันตราย ทั่วโลกเฝ้าระวัง หมอฮีโร่ติดเชื้ออีโบลา กลับไปรักษาที่สหรัฐฯแล้ว 3 ส.ค. 2557 เมื่อวันที่ 3 ส.ค.สำนักข่าวต่างประเทศ (โพสต์ทูเดย์) รายงานว่า นพ.เคนท์ แบรนท์ลีย์ แพทย์อาสาสมัครชาวอเมริกัน วัย 33 ปี ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้ถูกส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยอีมอรี

  6. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาการ : มีไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) - รายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต จะพบมีเลือดออกง่าย โดยเกิดทั้งเลือดออกภายในและภายนอกร่างกาย (internal and external bleeding) มักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวาย หรือก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลาง ช็อก และเสียชีวิตได้ ระยะฟักตัว : 2 - 21 วัน ระยะฟักตัวเฉลี่ย 8-10 วัน การรักษา :ไม่มีการรักษาจําเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยมักเสียชีวิตวันที่ 8-11 ของการรักษา

  7. การติดต่อ • สัมผัสโดยตรง กับ เลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หนอง หรือน้ำจากร่างกายผู้ติดเชื้อ งานศพ ญาติผู้เสียชีวิตที่สัมผัสร่างกายของผู้เสียชีวิต • สิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อน เข็มฉีดยา ใบมีด ฯลฯ • ผู้ดูแลลิงชิมแปนซี กอริลลา ที่ป่วย การล่าค้างคาว • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มากกว่า 100 ราย ติดเชื้อหลังให้บริการผู้ป่วยEbola • เชื้อเข้าทางบาดแผล เยื่อบุอ่อน ในปาก ตา จมูก ฯ

  8. สิ่งคัดหลั่ง มีอะไรบ้าง น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ เลือด อสุจิ น้ำตา น้ำปัสสาวะ น้ำเหลือง ฝีหนอง น้ำอุจจาระ

  9. วิธีการติดต่อ • หลักๆ ผ่าน 3 ช่องทาง คือ • เข็มที่ไม่สะอาด • ระบบการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ • การสัมผัสโดยตรง

  10. การติดต่อ • โรคนี้ พบได้ทุกกลุ่มอายุ • ระยะแพร่เชื้อ ตั้งแต่เริ่มมีไข้ และตลอดระยะที่มีอาการ • ผู้ชายที่ป่วยด้วยโรคนี้แม้หายแล้วยังสามารถแพร่เชื้อผ่านน้ำเชื้อได้อีกนาน 7 สัปดาห์ • ศพควรใส่ชุดใส่ศพเฉพาะและต้องรีบเผาให้เร็วที่สุด ห้ามเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศ

  11. ใครเสี่ยงมากต่อการได้รับเชื้อ • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ให้การรักษาพยาบาล • บุคคลในครอบครัว หรือ ในชุมชนที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิต • บุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานศพ

  12. สิ่งที่ทุกสถานบริการพึงปฏิบัติ • ห้องแยกชนิด Negative pressure ควรมีโดยเฉพาะ รพศ.หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ • อุปกรณ์ชุดป้องกันตนเอง ชนิดสมบูรณ์แบบที่เพียงพอแก่เจ้าหน้าที่ทุกแผนก • ให้การดูแลผู้ป่วยเสมือนผู้ป่วยโรคซาส์ หรือผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก • มี path way พิเศษ ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสงสัย

  13. การประเมินความเสี่ยงของประเทศไทย : • การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาจมาสู่ประเทศไทยได้ 2 วิธี 1. การนำเข้าสัตว์ที่อาจเป็นแหล่งรังโรค เช่น สัตว์ป่า ลิงชิมแปนซี • 2. การแพร่เชื้อของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จากประเทศที่มีการระบาดโดยผ่านผู้เดินทาง • โรคนี้จะแพร่เชื้อเพิ่มมากขึ้นในระยะที่มีอาการป่วยนานเท่าที่เลือดและสารคัดหลั่งยังมีไวรัสอยู่เท่านั้น • องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางหรือการค้ากับประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน • ควรมีการเฝ้าระวังอาการป่วยของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด และเฝ้าระวังควบคุมการนำเข้าสัตว์ที่อาจเป็นแหล่งรังโรคจากประเทศที่เกิดการระบาด

  14. ความเสี่ยงต่อการติดเชื่อ EBOLA ในประเทศไทย • จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการระบาด • มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อค่อนข้างต่ำ ต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด • การไปเยี่ยมครอบครัวหรือเพื่อน • ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ยกเว้นนักเดินทางที่มีไปเยี่ยมดูแลญาติเพื่อนและมีการสัมผัสโดยตรง • ผู้ป่วยที่แสดงอาการป่วยและเข้ามารับการรักษาในประเทศไทย • มีความเป็นไปได้ที่บุคคลเหล่านี้จะเริ่มแสดงอาการขณะเดินทางบนเครื่องบิน และเข้ามารับการรักษาในไทย • จำเป็นต้องแยกกักผู้ป่วยเหล่านี้ทันที

  15. ความเสี่ยงต่อการติดเชื่อ EBOLA ในประเทศไทย • ผู้โดยสารที่ร่วมเดินทางมาในเครื่องบินเดียวกับผู้ติดเชื้อ • อาจมีผู้โดยสารที่เริ่มแสดงอาการบนเครื่องบินและแพร่เชื้อไปยังผู้โดยสารอื่นๆ • คนไทยที่พักอาศัยในประเทศที่มีการระบาด • ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ยกเว้นมีการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ • คนไทยที่ทำงานในสถานพยาบาลในประเทศที่มีการระบาด • มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในบุคลากรที่ทำงานในสถานพยาบาลและอาสาสมัครที่ไปทำงานในประเทศดังกล่าว

  16. การแพร่กระจายเชื้อบนเครื่องบินการแพร่กระจายเชื้อบนเครื่องบิน

  17. ขณะนี้ยังไม่พบผู้สงสัย หรือผู้ป่วยในประเทศไทย

  18. การเฝ้าระวัง สำหรับคนไทยที่เดินทางไปประเทศเสี่ยง ต้องระมัดระวัง ไม่ใกล้ชิด ผู้ป่วยหรือ ผู้ที่มีอาการสงสัย เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ต้องคอยสำรวจตรวจตราตัวเองว่ามีไข้ หรือไม่ ถ้ามีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และให้ประวัติให้ละเอียดว่าไปที่ใดมาบ้างในช่วง 21 วันก่อนมีไข้

  19. การควบคุมโรค • แยกผู้ป่วย และเน้นมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดติดตามผู้สัมผัสทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่อาจจะสัมผัสกับผู้สัมผัสใกล้ชิด • โดยต้องตรวจอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง เมื่อมีไข้ต้องรีบมาโรงพยาบาลและเข้าห้องแยกทันที • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน ต้องมีการแจ้ง/บอกให้ทราบถึงโรคและการติดต่อ • เน้นวิธีการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วย และการจัดการเลือด สิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย

  20. มาตรการป้องกันโรคที่ได้เตรียมไว้ 1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์ความคืบหน้า จากองค์การอนามัยโลก และต่างประเทศอย่างใกล้ชิด 2. ให้ สสจ. ทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัยให้รายงานทันที 3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะส่งต่อไปยังศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (US-CDC)นอกจากนี้ยังสามารถส่งตรวจได้ที่ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  21. 5. ด่านควบคุมโรค ณ สนามบินสุวรรณภูมิ มีการคัดกรองโรคเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคในผู้เดินทางที่มาจากประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งต้องมาที่ด่านควบคุมโรคที่สนามบินสุวรรณภูมิเพื่อแสดงเอกสารรับรองวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองอยู่แล้ว 6. ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสถานการณ์และปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 7. แจ้งเตือนผู้เดินทาง ให้ข้อมูล คําแนะนําต่อประชาชนและเจ้าหน้าที่ตามช่องทางต่างๆ เช่น ผ่านท่าอากาศยาน สื่อมวลชนเว็บไซต์สายด่วน 1422 เป็นต้น มาตรการป้องกันโรค (ต่อ)

  22. ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ออกข้อแนะนําผู้เดินทางชาวไทย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด และหากจําเป็นต้องเดินทางไป ขอให้ลงทะเบียนที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดาการ์เผื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

  23. ข้อความสำคัญ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับผู้เดินทาง • โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในปัจจุบันมีการระบาดอยู่เฉพาะใน ประเทศกินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และไนจีเรียในด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา • สามารถติดต่อโดยการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยของใช้ของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่ป่วย • มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีเลือดออก

  24. ข้อความสำคัญ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับผู้เดินทาง (ต่อ) • ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน • ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง • หากเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอีโบลา ถ้ารู้สึกไม่สบายให้พบแพทย์ทันที (อาการไข้ ปวดหัว เจ็บคอ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง ผื่นแดงตาแดง) 27

  25. บทบาทของอสม. • เฝ้าระวังโรคในชุมชน โดย • เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับประชาชนไม่ให้เกิดความตระหนก • สังเกตอาการผู้ที่กลับมาจากประเทศแถบแอฟริกา • แจ้งข่าวให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบอย่างรวดเร็ว เมื่อมีผู้สงสัย รู้เร็ว แจ้งเร็ว ควบคุมโรคเร็ว

  26. สำหรับประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักต่อโรค แต่อย่าตื่นตระหนกจนเกินเหตุ ที่สำคัญคือต้องมีความรู้ในโรคดังกล่าว

  27. ขอบคุณ

More Related