1 / 133

การบรรยายรายวิชา 765 106 ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ในประเทศไทย

การบรรยายรายวิชา 765 106 ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ในประเทศไทย. ครั้งที่ 2 ( 11 มิถุนายน 2547 ). 1. หัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้. 1.1 ประวัติความเป็นมาของการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย 1.2 การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในประเทศไทย

sancha
Download Presentation

การบรรยายรายวิชา 765 106 ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ในประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยายรายวิชา 765 106 ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีในประเทศไทย ครั้งที่ 2 (11 มิถุนายน 2547)

  2. 1. หัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้ 1.1 ประวัติความเป็นมาของการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย 1.2 การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในประเทศไทย 1.3 ข้อมูลหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย 1.4 ปัญหาและข้อจำกัดของหลักฐานประวัติศาสตร์ – โบราณคดีในประเทศไทย 1.5 สภาพภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่มีบทบาทต่อการตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองสมัยโบราณ รวมทั้งพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม

  3. 2. จุดมุ่งหมายในการบรรยาย 2.1 เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการศึกษาประวัติศาสตร์-โบราณคดีในประเทศไทยและเข้าใจถึงแนวคิดในการแบ่งยุคสมัยและการกำหนดอายุยุคสมัยประวัติศาสตร์ – โบราณคดีในประเทศไทย 2.2 เพื่อให้รู้จักหลักฐานประเภทต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ – โบราณคดีในประเทศไทย 2.4 เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและข้อจำกัดของหลักฐานที่ทำ ให้ข้อสรุปทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทยยังมีข้อถกเถียงขัดแย้งกันอยู่เสมอ ๆ 2.4 เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของสภาพภูมิศาสตร์ที่มีต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์

  4. 3. บทความที่ใช้อ่านประกอบในการบรรยายครั้งนี้ มยุรี วีระประเสริฐ “หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีในประเทศไทย”ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย ฉบับคู่มือครูสังคมศึกษา ภาควิชาโบราณดี, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ 2544

  5. ประวัติความเป็นมาของการศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทยประวัติความเป็นมาของการศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทย • การศึกษาด้านโบราณคดี จากหลักฐานที่มีอาจกล่าวได้ว่าความสนใจเรื่องโบราณคดีในประเทศไทยคงจะเริ่มขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๓ ตอนปลาย ตั้งแต่สมเด็จพระวชิรญานมหาเถระ เสด็จธุดงค์ไปนครปฐม ทอดพระเนตรพระปฐมเจดีย์ และโปรดให้ขุดตรวจเพื่อศึกษา การทรงกระทำดังกล่าวเป็นลักษณะของการทำงานโบราณคดี คือมีการสำรวจและขุดค้นเพื่อศึกษา

  6. พ.ศ. ๒๓๗๖ สมเด็จพระวชิรญานมหาเถระเสด็จธุดงค์หัวเมืองเหนือทรงค้นพบศิลาจารึกสมัยสุโขทัย (คือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ และหลักที่ ๔) ทำให้ความรู้เกี่ยวกับอดีตของแผ่นดินไทยย้อนกลับไปถึงสมัยสุโขทัย ต่อมาเมื่อสมเด็จพระวชิรญานมหาเถระเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชการที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็โปรดให้บูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ และด้วยความสนพระทัยที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาของโบราณวัตถุโบราณสถาน จึงโปรดให้รวบโบราณวัตถุต่างๆที่ทรงสะสมไว้มารวมไว้ที่พระที่นั่งราชฤดี เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ต่อมาจึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นที่รวมรวบโบราณวัตถุ

  7. ในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ตั้งหอมิวเซียมขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ย้ายมาจากพระที่นั่งพิพิธภัณฑ์ ต่อมาเมื่อมีการยุบตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) จึงโปรดให้ย้ายหอมิวเซียมมาอยู่ที่วังหน้า คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบันในเวลานั้นมีนักวิชาการชาวตะวันตกเข้ามาสำรวจศึกษาโบราณวัตถุโบราณสถานในประเทศไทย เช่นนาย Lucien FORONOนาย Etienne AYMONIERพันตรี Lunet de LAJONGUIERE พ.ศ. ๒๔๔๗ มีการตั้งสมาคมและสโมสรทางวิชาการขึ้นคือ สยามสมาคมทวีปัญญาสโมสรโบราณคดีสโมสร นักโบราณคดีไทยคนสำคัญในยุคนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

  8. ในรัชกาลที่๖ - มีการตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนครซึ่งมีทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องโบราณวัตถุโบราณสถานของประเทศว่าสิ่งใดควรรักษาไว้สำหรับบ้านเมือง ในรัชกาลที่ ๗ – มีการตั้งราชบัณฑิตยสภา โดยมีสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกสภานาย GEORGE COEDES นักวิชาการชาวฝรั่งเศสเป็นเลขานุการราชบัณฑิตยสภาที่ตั้งขึ้นนี้มีแผนกโบราณคดีที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ โบราณสถาน

  9. รัชกาลที่ ๗ (ต่อ) - พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้แบ่งยุคสมัยของศิลปะ โบราณวัตถุที่พบในประเทศไทยออกเป็นยุคต่างๆคือ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ - พ.ศ. ๒๔๗๙ นายStein CALLENFELS ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑที่เมืองชวามีหนังสือมายังทางการไทยขอรับเป็นผู้ฝึกนักโบราณคดีในการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย แต่ทางการไทยไม่ได้ให้ความสนใจและปฏิเสธ - พ.ศ. ๒๔๗๔ นาย Fritz SARASIN นักวิชาการ ชาวสวิสได้เข้ามาศึกษาเรื่องโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือหินในภูมิภาคต่างๆ

  10. หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง - พ.ศ. ๒๔๙๖ มีการเรียนการสอนวิชาโบราณคดีในโรงเรียนศิลปศึกษา - พ.ศ. ๒๔๙๘ มีการจัดตั้งคณะโบราณคดีขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อผลิตนักโบราณคดีอาชีพออกไปทำหน้าที่เป็นนักโบราณคดี มีการสอนทั้งในเรื่องโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ โดยยึดแนวคิดตะวันตกเป็นหลัก - ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมามีนักวิชาการตะวันตกเข้ามาศึกษาค้นคว้าเรื่องโบราณคดีในประเทศไทยมากขึ้น มีการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งใหญ่ๆ หลายแห่ง ทำให้เกิดองค์ความความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมากมาย

  11. ปัจจุบันในการศึกษาทางโบราณคดีสามารถศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ที่อาศัยอยู่แผ่นดินไทยย้อนกลับไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราวนับเป็นแสนปีขึ้นไป ปัจจุบันในการศึกษาทางโบราณคดีสามารถศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ที่อาศัยอยู่แผ่นดินไทยย้อนกลับไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราวนับเป็นแสนปีขึ้นไป นอกจากนี้ความรู้เรื่องโบราณคดีและแหล่งโบราณคดีของไทยบางแห่งยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกอีกด้วย เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี

  12. การศึกษาด้านประวัติศาสตร์การศึกษาด้านประวัติศาสตร์ ถ้าพิจารณาจากหลักฐานเอกสารที่มีอาจกล่าวได้ว่า ความสนใจในประวัติศาสตร์นั้นเริ่มขึ้นมาก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ขึ้นไป และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก และนักบวชที่เป็นผู้นำทางศาสนาของบ้านเมือง ดังจะเห็น ได้ว่ามีการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไว้ในรูปของเอกสารที่เรียกว่า พงศาวดารและตำนานไว้มากมาย

  13. พงศาวดารและตำนานมักเป็นเรื่องของการกำเนิดบ้านเมือง กษัตริย์ และศาสนา เนื้อหาที่เขียนไว้ได้มาจากเรื่องเล่าหรือจากเอกสารโบราณที่มีมาก่อน เนื้อหาสาระที่มีแสดงว่าการเรียนรู้อดีตของไทยในเวลานั้นอาศัยหลักฐานเอกสารที่มีและคัดลอกกันต่อๆมา เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ในลักษณะที่เรียกว่า รับรู้ เท่านั้น

  14. ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงอย่างมาก การเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากการรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว เริ่มมีการเรียนรู้ด้วยการค้นหาข้อมูลหลักฐาน มีการตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน และการวิเคราะห์หลักฐาน ซึ่งขึ้นเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ทรงค้นพบจารึกสมัยสุโขทัย และโปรดให้ย้ายลงมากรุงเทพฯ มีการอ่านแปลจารึก ทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของไทยย้อนกลับไป ได้ไกลกว่าเดิมมาก • ตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ลงมาจนถึงรัชกาลที่ ๕

  15. ในรัชกาลที่ ๕ การศึกษาประวัติศาสตร์แพร่หลายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน รัชกาลที่ ๕ ทรงสนพระทัยในเรื่องประวัติศาสตร์และ ทรงพระราชนิพนธ์ ด้านประวัติศาสตร์ไว้หลายเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถยิ่ง และที่สำคัญคือ การศึกษาประวัติศาสตร์ไม่ผูกขาดอยู่ในราชสำนักอีกต่อไป พ.ศ. ๒๔๓๓ เริ่มมีการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยขึ้นในสถาบันการศึกษา แต่เรียกว่า พงศาวดาร บุคคลสำคัญที่ผลิตผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ในยุคนี้คือสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

  16. งานพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมีมากกว่า ๕๐๐ เรื่อง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการด้านประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นงานเขียนที่เป็นการบุกเบิกงานประวัติศาสตร์แบบใหม่ ท่านต้องการสร้างความรู้ให้คนไทยรู้เรื่องของตนเอง ขณะเดียวกันให้คนไทยรู้จักค้นคว้าเรื่องราวของตนเองต่อไปโดยยึดหลักการวิเคราะห์ตามข้อมูลหลักฐานที่มี

  17. อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ ก็ยังมีการผลิตผลงานประวัติศาสตร์ในลักษณะที่เป็นพงศาวดารออกมาหลายเรื่อง ได้แก่พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ และพงศาวดารท้องถิ่น และผู้เขียนงานเหล่านี้ยังเป็นบุคคลในราชสำนัก

  18. มีการผลิตงานทางประวัติศาสตร์ออกมามาก มีทั้งที่เป็นงานวิชาการและที่เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาเน้นในเรื่องความรุ่งเรืองและความยิ่งใหญ่ของประเทศไทยในอดีต ในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ ข้อสรุปทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาก • ในรัชกาลที่ ๖ ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

  19. ประเด็นที่น่าสนใจ จะเห็นได้ว่ามีความสนใจศึกษาเรื่องความเป็นมาของประเทศชาติมานาน แต่คำว่า ประวัติศาสตร์ เพิ่งจะเกิดขึ้นในรัชกาลนี้ คือ ในพ.ศ. ๒๔๕๙ พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นทิพยลาภพฤฒิยากร ได้เสนอคำว่า ประวัติศาสตร์ ขึ้นใช้แทนคำว่า พงศาวดาร

  20. หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง - พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการสอนหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นเพื่อผลิตครูสอนวิชาประวัติศาสตร์โดยตรงที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมาการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการเปิดสอนวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับอุดมศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และมีการขยายระดับการศึกษาไปถึงปริญญาโทและเอกทำให้เกิดนักประวัติศาสตร์อาชีพ

  21. การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ที่เปิดขึ้นอย่างกว้างขวางทำให้เกิดความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ในยุคก่อนๆอย่างมาก มีการส่งเสริมให้นักวิชาการตะวันตกเข้ามาสอน ให้ทุนนักเรียนไปเรียนต่างประเทศ ทำให้เกิดนักประวัติศาสตร์อาชีพที่นำเอาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ตามแนวคิดตะวันตกเข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางตราบจนปัจจุบัน

  22. การศึกษาประวัติศาสตร์ด้วย วิธีการทางประวัติศาสตร์ ที่ช่วยให้มีการมองประวัติศาสตร์ในแง่มุมที่กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านเนื้อหาและการวิเคราะห์ ส่งผลงานทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคหลังๆ แตกต่างไปจากงานประวัติศาสตร์ในยุคก่อนๆ มีการใช้ข้อมูลหลักฐานและมีการนำเสนอข้อมูลที่กว้างขวาง มีการศึกษาประวัติศาสตร์ในแนวใหม่ที่เน้นเรื่อง สังคม วัฒนธรรมและท้องถิ่น เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ขัดแย้งอย่างมากกับองค์ความรู้เดิมที่เน้นแต่ในเรื่องชนชาติ

  23. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทยการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย อาจแบ่งได้เป็น 2 ยุคกว้าง คือ - ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ยุคประวัติศาสตร์ หรืออาจแบ่งออกเป็น 3 ยุคได้ คือ - ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หรือยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ - ยุคประวัติศาสตร์

  24. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ยังไม่รู้จักบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์หรือยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์นั้นๆ ยังไม่รู้จักใช้ตัวอักษร แต่นักประวัติศาสตร์สามารถศึกษาเรื่องราวของสังคมมนุษย์ ดังกล่าวได้จาก เอกสารของชนต่างถิ่น ยุคประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์รู้จักบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว

  25. การกำหนดอายุและการแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อาจแบ่งออกได้เป็น 3 แนวคิด คือ แนวคิดที่ 1 เป็นแนวคิดเดิมของนักวิชาการชาวยุโรปที่ให้ความสำคัญเรื่องความแตกต่างด้านเทคโนโลยีในการทำเครื่องมือเป็นหลัก จึงแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยออกเป็น

  26. ยุคหิน (Stone Age) ซึ่งแบบออกเป็นยุคย่อยๆ ยุคหินเก่า (Old Stone Age หรือ Paleolithic Period) อายุราว 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ยุคหินกลาง (Middle Stone Age หรือ Mesolithic Period) อายุราว 10,000 – 6,000 ปีมาแล้ว ยุคหินใหม่ (New Stone Age หรือ Neolithic Period) อายุราว 6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว

  27. ยุคโลหะ (Metal Age) แบ่งย่อยออกเป็น ยุคสำริด (Bronze Age) อายุราว 4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว ยุคเหล็ก (Iron Age) อายุราว 2,500 – 1,800 ปีมาแล้ว

  28. แนวคิดที่ 2 เป็นแนวคิดของนักวิชาการชาวอเมริกันที่ให้ความสำคัญกับแบบแผนของการดำรงชีวิต การตั้งถิ่นฐาน และสภาพแวดล้อมเป็นหลัก จึงแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยออกเป็น ยุคสังคมล่าสัตว์และหาของป่า หรือยุคสังคมนายพราน (Hunting – Gathering Society Period) มีอายุราว 500,000 – 6,000 ปีมาแล้ว ยุคหมู่บ้านสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Village Society Period) มีอายุราว 6,000 – 2,500 ปีมาแล้ว ยุคสังคมเมือง (Urban Society Period) อาจเริ่มขึ้นราว 2,500 ปีลงมา

  29. แนวคิดที่ 3 แบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยโดยยึดตามช่วงเวลาของการแบ่งยุคทางธรณีวิทยาเป็นหลัก ดังนี้ ยุคไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งยุคน้ำแข็ง และมีการแบ่งย่อยออกเป็น ยุคน้ำแข็งตอนต้น อายุราว 1,000,000 – 700,000 ปี มาแล้ว หมายถึงช่วงเวลาที่แผ่นดินที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันยังเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินซุนดา คือ ประเทศไทย แหลมมลายู หมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว ยังเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน

  30. ยุคน้ำแข็งตอนกลาง อายุราว 700,000 – 125,000 ปีมาแล้ว หมายถึง ช่วงเวลาที่เกิดการก่อตัวและการสลายตัวของธารน้ำแข็งไม่น้อยกว่า 7 ครั้งและแต่ละครั้งทำให้ระดับน้ำทะเลขึ้นลง ทำให้แผ่นดินซุนดาแยกออกเป็นหมู่เกาะเหมือนในปัจจุบัน ยุคน้ำแข็งตอนปลาย ช่วงเวลานั้นยุคน้ำแข็งก่อตัวครั้งสุดท้าย ราว 125,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ยุคโฮโลซีน (Holocene Epoch) หรือยุคหลังไพลสโตซีน (Post – Pleistocene Epoch) อายุราว 10,000 ปีลงมา

  31. การกำหนดอายุและการแบ่งย่อยยุคสมัยประวัติศาสตร์ – โบราณคดีในประเทศไทย สมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16) สมัยศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 18) สมัยลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18) สมัยเชียงแสนหรือล้านนาไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 123) สมัยสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20) สมัยอยุธยา (ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – พ.ศ. 2310) สมัยธนบุรี (ราว พ.ศ. 2310 – 2324) สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน) ถ้ายึดตามการแบ่งยุคดังกล่าวข้างต้น ก็ถือได้ว่า สมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12

  32. การกำหนดอายุและการแบ่งยุคย่อยสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ มีสองแนวคิด คือ แนวคิดที่ 1 กำหนดให้สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 6 – 11 ซึ่งเป็นเวลาเชื่อมต่อระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว นักประวัติศาสตร์สามารถสืบค้นเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ ของบ้านเมืองที่ตั้งอยู่ในเวลานี้ได้บ้างจากบันทึกของชนต่างถิ่น เช่น จีน อาหรับ กรีก โรมัน ถ้ายึดตามการกำหนดอายุดังกล่าว ถือว่าสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12

  33. แนวคิดที่ 2 กำหนดอายุให้สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์อยู่ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ซึ่งตรงกับ สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี เพราะถือว่าในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีการค้นพบศิลาจารึกภาษาไทย จารึกที่ใช้ตัวอักษรไทย ถ้ายึดตามแนวคิดนี้ ถือว่าสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในสมัยสุโขทัย

  34. หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี คืออะไร หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี คือสิ่งต่างๆที่มนุษย์ในอดีตสร้างขึ้นหรือทำขึ้น รวมทั้งสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์ในอดีตนำมาใช้ประโยชน์

  35. หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี มีความสำคัญอย่างไร หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวความเป็นมาของมนุษย์ในอดีต เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ใช้ในการสืบค้นเรื่องราววิถีชีวิตของมนุษย์ในอดีต นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีไม่สามารถที่จะสืบค้นเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตได้เลย ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าวหลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

  36. หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีที่ยังหลงเหลือสืบทอดมาจนปัจจุบันจึงมีความสำคัญอย่างมาก เราไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้นเราต้องช่วยกันทำนุบำรุงและสงวนรักษา หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีที่มีอยู่ในประเทศไทยให้คงอยู่ตลอดไป เพราะ 1. การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตจะถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงเพียงไร ขึ้นอยู่กับร่องรอยหลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีที่ยังหลงเหลืออยู่

  37. 2. หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีคือ เกียรติภูมิของแผ่นดินและประเทศชาติ เพราะเป็นสิ่งที่แสดงว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีอารยธรรมอันโดดเด่น และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ดังเช่นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่าเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2504 “โบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยาและกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย”

  38. 3. หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นโบราณสถานนั้น ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดินที่ช่วยพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

  39. หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี ที่พบในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นดินแดนอันเก่าแก่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่มานานที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงปรากฏร่องรอยหลักฐานประเภทต่างๆมากมายตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลงมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น

  40. 1. หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่หลักฐานประเภทที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ประกอบด้วย หลักฐานโบราณคดี และหลักฐานด้านศิลปกรรม 1.1 หลักฐานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งย่อยออกเป็น 1.1.1 โบราณสถานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรือถูกมนุษย์ดัดแปลงเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างหนึ่งอย่างใด 1.1.2 โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้แก่ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น กระดูกคน กระดูกสัตว์และเมล็ดพืช ซากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับประเภทต่างๆ 1.2 หลักฐานด้านศิลปกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพเขียนสีตามผนังถ้ำและเพิงผา พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  41. 2. หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและที่เป็นลายลักษณ์อักษร 2.1 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร สมัยประวัติศาสตร์จะมีมากประเภทกว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ นอกจากหลักฐานโบราณคดีและหลักฐานด้านศิลปกรรมแล้วยังมี หลักฐานประเภทสื่อโสตทัศน์ หลักฐานประเภทบุคคลอีกด้วย

  42. 2.1.1 หลักฐานโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2.1.1.1 โบราณสถานสมัยประวัติศาสตร์พบมากมายและหลากหลายกว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือนอกจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์แล้ว ยังมีสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดอีกมาก 2.1.1.2 โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์มีมากมายหลากหลายประเภทเช่นเดียวกัน นอกจากที่เป็นผลิตผลทางธรรมชาติ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับที่มนุษย์ทำขึ้นประดิษฐ์ขึ้นแล้ว ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ในพิธีกรรมความเชื่อ งานประติมากรรมที่ใช้ประดับตกแต่งสิ่งก่อสร้างต่างๆ งานประติมากรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาอีกด้วย

  43. 2.1.2 หลักฐานศิลปกรรมสมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่ บรรดางานศิลปะประเภทจิตรกรรมซึ่งมีทั้งที่เป็นจิตรกรรมซึ่งมีทั้งที่เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่วาดอยู่ตามผนังโบสถ์ วิหาร และจิตรกรรมที่วาดลงบนผืนผ้า แผ่นกระดาษ สมุดไทย สมุดข่อย

More Related