1 / 33

โดย เอกกมล เอี่ยมศรี interfinn eiamsri.wordpress

วิธีการเขียนแผนธุรกิจให้ประสบ ความสำเร็จ ภาค 1 Writing a Successful Business Plan: Part I. โดย เอกกมล เอี่ยมศรี www.interfinn.com http://eiamsri.wordpress.com. ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ ?.

saki
Download Presentation

โดย เอกกมล เอี่ยมศรี interfinn eiamsri.wordpress

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีการเขียนแผนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ภาค 1 Writing a Successful Business Plan: Part I โดย เอกกมล เอี่ยมศรี www.interfinn.com http://eiamsri.wordpress.com

  2. ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ?ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ? “งานทุกอย่างที่คุณคิดจะทำ จะต้องมีการวางแผน การทดสอบ เพื่อให้คุณขาย หรือ นำความคิดของคุณออกมาผลิตให้เป็นรูปธรรม ไม่ว่าคุณจะนำความคิดของคุณไปเสนอกับนายทุน หรือ ประดิษฐ์เพื่อจำหน่ายด้วยเงินทุนของคุณเอง คุณจำเป็นจะต้องจัดระเบียบความคิดของคุณให้เป็นระบบและอธิบายในเชิงเศรษฐศาสตร์ได้” เอกกมล เอี่ยมศรี CEO Interfinn Advisory Co., Ltd.

  3. อะไรคือแผนธุรกิจ ? • แผนธุรกิจเป็นแผนใดๆ ที่เหมาะสำหรับธุรกิจที่มองไปข้างหน้าด้วยการจัดสรรทรัพยากรด้วยการมุ่งเน้น ไปที่ประเด็นสำคัญและเตรียมความพร้อมสำหรับป้องกันปัญหาและสร้างโอกาสทางธุรกิจ • แต่ที่น่าเสียดายที่หลายคนคิดว่า “แผนธุรกิจ” ควรจัดทำขึ้นเฉพาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือ การขอสินเชื่อธุรกิจจากธนาคารเท่านั้น อย่างไรก็ตามถ้าคุณยังทำธุรกิจจำเป็นจะต้องมีการทำการวางแผนธุรกิจและเขียนแผนธุรกิจทุกครั้งที่คุณจะผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกแบบธุรกิจบริการใหม่ๆ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ

  4. การเตรียมความพร้อมก่อนเขียนแผนธุรกิจ ? คุณจำเป็นจะต้องเริ่มต้นด้วยการทำวิจัยเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ ของคุณ ในตลาดของกลุ่มลูกค้าคุณ คุณจะต้องค้นหาให้พบว่าใครเป็นคู่แข่งของคุณ? ภายหลังจากที่คุณได้ทำการวิจัยทางการตลาดเรียบร้อยแล้ว ให้นำข้อมูลที่คุณได้จากการทำวิจัยทางการตลาด มาทำกำหนดเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด คำนวณต้นทุนทางธุรกิจ ประมาณการรายได้ทางธุรกิจ ร่างแผนการตลาดและการส่งเสริมการตลาดเบื้องต้น รวบรวมปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการผลิตและจำหน่ายสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า • การเตรียมความพร้อมก่อนการเขียนแผนธุรกิจ 1) ทำการวิจัยตลาด คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าเกี่ยวกับบทความวิจัยของสถาบันต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต หรือการสัมภาษณ์โดยตรงจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือซับพลายเออร์ที่จำหน่ายสินค้าหลักให้กับธุรกิจของคุณ เพื่อสำรวจช่องทางการตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งของคุณ ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่คุณรวบรวมได้นี้จะถูกนำไปใช้สำหรับการเขียนแผนธุรกิจ

  5. การเตรียมความพร้อมก่อนเขียนแผนธุรกิจ ? 2) พัฒนากลยุทธ์ คุณจำเป็นจะต้องทำการศึกษารูปแบบการปฎิบัติทางธุรกิจของผู้นำการตลาดในธุรกิจของคุณ เพราะคุณจะต้องศึกษาว่าผู้นำตลาดทำอย่างไร? การทำการตลาดของผู้นำตลาดเขาทำอย่างไร? อะไรเป็นจุดเด่นสินค้า/บริการ ของผู้นำตลาด? ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในตลาดมีลักษณะเป็นอย่างไร? ข้อมูลข้างต้นเหล่านี้ คือสิ่งที่คุณจะต้องทำการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อนำมาเขียนแผนธุรกิจต่อไป 3) คำนวณต้นทุนค่าใช้จ่าย คุณจำเป็นจะต้องประมาณการต้นทุนของกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ ในปี 1 ถึง ปีที่ 5 ในลักษณะของกิจกรรมสำหรับธุรกิจระยะยาว ด้วยการพิจารณาสิ่งที่คุณจำเป็นจะต้องทำเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการที่จะมีการจำหน่ายในตลาดนี้

  6. การเตรียมความพร้อมก่อนเขียนแผนธุรกิจ ? 4) ร่างแผนธุรกิจ คุณจำเป็นจะต้องลองร่างแผนธุรกิจและแผนการตลาดของคุณขึ้นมาบนกระดาษ ด้วยการผสมผสานกันระหว่างไอเดียทางธุรกิจของคุณ และผลการทำวิจัยทางการตลาดที่คุณมีข้อมูลอยู่ ในมือ เพราะสิ่งต่างที่คุณรวบรวมมาได้ และสิ่งต่างๆ ที่คุณคิดได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคุณ จะต้องถูกนำมาจัดให้เป็นระบบและระเบียบ มีความสอดคล้องกัน สามารถปฏิบัติได้จริงในธุรกิจ 5) ทำการทดสอบการผลิตต้นแบบ (Phototype) การทำงานทุกอย่างในเชิงธุรกิจ คุณจะต้องทำการผลิตสินค้าตัวอย่างขึ้นมาก่อน เพราะคุณจะต้องพิจารณาขั้นตอนการผลิต เครื่องจักรในการผลิต ปริมาณที่ผลิตได้ต่อวัน แรงงานที่จะต้องใช้ การบรรจุหีบห่อ รูปแบบตราสินค้า รายละเอียดที่ระบุในฉลาก กระบวนการจัดส่งสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย เงื่อนไขของตัวแทนจำหน่าย สภาพการแข่งขันในปัจจุบัน และนำสินค้าต้นแบบที่คุณผลิตได้ ไปทดสอบกับลูกค้าจริงๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณ เพราะเราเชื่อว่า ถ้าคุณได้ลองผลิตต้นแบบของสินค้าและนำไปให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทดสอบด้วยจำนวนหนึ่ง ก็จะพบปัญหาและอุปสรรคในเบื้องต้นทันที

  7. โครงร่างของแผนธุรกิจ ? • ปกหน้าของแผนธุรกิจ • บทสรุปผู้บริหาร • หัวข้อของแผนธุรกิจ 1) รายละเอียดของวัตถุประสงค์ 2) ประวัติบริษัท 3) รายละเอียดของธุรกิจ 4) สินค้า หรือ บริการ

  8. โครงร่างของแผนธุรกิจ ? 5) การวิเคราะห์ตลาด • กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย • คู่แข่งที่สำคัญ • กลยุทธ์ทางการตลาด 6) การบริหารจัดการ 7) แนวทางปฎิบัติงานทั่วไป 8) การวางแผนด้านการเงิน 9) ภาคผนวก

  9. บทสรุปผู้บริหาร • เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในแผนธุรกิจ • ผู้บริหารมีเวลาอ่านไม่เกิน 3 นาทีจะต้องเข้าใจธุรกิจ • คำอธิบายโดยสังเขป • วัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจ • กลุ่มตลาดเป้าหมาย และกลุ่มลูกค้า • ประมาณการด้านการเงิน • ข้อมูลอ้างอิงผลการวิจัยทางการตลาด (ถ้ามี) • จะต้องเขียนเป็นสิ่งสุดท้ายของแผน

  10. ปกหน้าแผนธุรกิจ • รายละเอียดข้อมูลของปกหน้าแผนธุรกิจ • หัวข้อหลัก “ขื่อแผนธุรกิจ” • ชื่อบริษัท • โลโก้บริษัท • ที่อยู่ • เบอร์โทรศัพท์ • เบอร์แฟ็กซ์ • อีเมล์ • เว็บไซต์ (URL) • วันที่นำเสนอ

  11. วัตถุประสงค์ของแผนธุรกิจวัตถุประสงค์ของแผนธุรกิจ • วัตถุประสงค์ของแผนธุรกิจ:การจัดหาเงินทุน หรือ คู่มือการบริหารสินค้าใหม่/ธุรกิจใหม่ • การจัดหาเงินทุน • ปริมาณเงินเท่าไรที่คุณต้องการ ? • คุณจะนำเงินไปใช้ทำอะไร ? • ผู้ลงทุนหรือ ผู้ร่วมทุนในธุรกิจคุณจะได้ประโยชน์ อะไร? • ทำไม หรือ มีเหตุผลอะไร ที่ทำให้เชื่อว่าธุรกิจของคุณเป็นไปได้ ? • ผู้ลงทุนในธุรกิจคุณ จะได้เงินคืนเมื่อไร อย่างไร ? • คู่มือการบริหารสินค้าใหม่ / ธุรกิจใหม่ • ใครบ้างที่จะต้องใช้แผนธุรกิจนี้ ? • แผนธุรกิจนี้จะเป็นร่างของกลยุทธ์ของบริษัทได้ไหม ? • ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ และนำเสนอมีความทันสมัย หรือไม่ ? • ทำธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง

  12. ตัวอย่าง : วัตถุประสงค์ของแผนธุรกิจ แผนธุรกิจนี้เขียนขึ้นด้วยการทำวิจัยทางการตลาด และด้วยข้อมูลที่ชัดเจนของการทำสินค้าตัวอย่างทดสอบตลาดแล้วประสบความสำเร็จ ซึ่งโครงการนี้จำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุน 240,000 บาทซึ่งจะครอบคลุมต้นทุนต่อไปนี้ : • 100,000 อุปกรณ์และเครื่องจักรที่จำเป็น • 140,000 เงินทุนในการบริหารจัดการและเงินทุนหมุนเวียน ผู้ประกอบการวางแผนที่จะกู้เงินจากสถาบันการเงินเป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท และใช้เงินทุนของเจ้าของ 100,000 บาทโดยใช้ที่ดินและอาคารของสำนักงานเป็นตัวค้ำประกันเงินกู้สถาบันการเงิน นอกจากนี้สถาบันการเงินให้ผู้ประกอบการทำแผนการตลาดและแผนการเงินล่วงหน้า 5 ปี ตลอดอายุสัญญาเงินกู้

  13. ประวัติของบริษัท • พันธกิจ • รายละเอียดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้า/บริการ • รายชื่อผู้บริหารแต่ละคนและประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ/การศึกษา • ประเภทของธุรกิจตามกฎหมาย • สถานที่ตั้งธุรกิจ • จำนวนพนักงาน • กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย • จุดเด่นของสินค้า/บริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง • พันธมิตรทางธุรกิจ • รางวัลที่ได้รับจากการประกวดสินค้า/บริการ • เหตุการณ์สำคัญของบริษัท (การก่อตั้งบริษัท, วันที่เปิดตัวสินค้า/บริการ, จำนวนพนักงานที่จ้าง, ระดับของรายได้ต่อปี / อัตราการเติบโตต่อปีแต่ละปี) • แผนในอีก 1-3 ปี ข้างหน้า (เป้าหมายการขาย, ปริมาณการจ้างพนักงาน)

  14. ตัวอย่าง : ประวัติของบริษัท บริษัท ABC จำกัด มีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายสำหรับหน่วยงานสำนักงาน ในพื้นที่เขต XYZ area, ด้วยการเจาะเฉพาะกลุ่มที่ต้องการทำระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายที่มีความปลอดภัยสูง และเชื่อมต่อกับโปรแกรมการทำงานภายในสำนักงานด้วย บริษัท ABC มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการมีระบบอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกับโปรแกรมการทำงานในสำนักงานและอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่อยู่ในเขตธุรกิจชั้นนำ และคอนโดมีเนียมหรู ราคาแพง เป็นหลัก ผู้ก่อตั้งบริษัทและบริหารงาน คือ Mr. John และ Mrs. Jane Doe ด้วยบุคคลทั้งสองมีประสบการณ์ในการออกแบบระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายให้กับองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งในฐานะ Project Manager อยู่หลายปี และได้แยกออกมาทำธุรกิจของตนเอง ตั้งแต่ มีนาคม พ.ศ. 25xx และมีประวัติของบริษัท ดังนี้

  15. ตัวอย่าง : ประวัติของบริษัท (2/2) • บริษัทจดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานในพื้นที่เขตสุขุมวิท ซอย xx • ที่อยู่ของบริษัท เลขที่ xx ซอย xxxxxxถนน xxxxxxxx แขวง xxxxxxxเขต xxxxxxxจังหวัด กรุงเทพฯ 10xxx • ปัจจุบันมีลูกค้าจำนวน x รายแบ่งกลุ่มสำนักงาน xx ราย ธุรกิจคอนโด มีเนียม xx ราย ณ เมษายน 25xx • บริษัทคาดว่าจะทำธุรกิจถึงจุดคุ้มทุน ในเดือน xxxx ปี 25xx • จ้างพนักงานด้านคอมพิวเตอร์เต็มเวลา จำนวน xx คน ในเดือนxxxx • มีรายได้เฉลี่ย 500,000 ในเดือน กันยายน ปี 25xx บริษัท ABC ได้มีการวางแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตลาดให้มากขึ้นและทำการนำเข้าอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตคุณภาพสูงจากต่างประเทศมาจำหน่ายในประเทศ นอกจากนี้จะทำการพัฒนาโปรแกรมควบคุมและติดตามกล้องวงจรปิดแบบระยะไกล ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 60-80% ต่อเดือน โปรดอ่านข้อมูลและแผนภาพของประมาณการรายได้และอัตราการเติบโตที่จะเพิ่มขึ้นได้จาก Growth Rate Chart / Financial Projection

  16. http://www.bplans.com

  17. http://www.bplans.com

  18. http://www.bplans.com

  19. องค์กรประกอบที่ทำให้แผนธุรกิจสำเร็จองค์กรประกอบที่ทำให้แผนธุรกิจสำเร็จ • อธิบายแนวคิดของการทำธุรกิจและเป้าหมายของธุรกิจให้ชัดเจน • อธิบายภาพรวมของอุตสาหกรรมและโอกาสที่คุณพบที่สามารถปฎิบัติได้จริง • หลักฐานอ้างอิงว่าผลิตภัณฑ์ / บริการของคุณตอบสนองความต้องการลูกค้า (ข้อมูลการวิจัยตลาด หรือบทความที่น่าเชื่อถือ) • อธิบายให้ชัดถึงสิ่งที่จำเป็นจะต้องใช้ที่เป็นองค์ประกอบหลักของโครงการนี้ : • ด้านการตลาด, ด้านการบริหารจัดการ, ด้านการเงิน • ประวัติและทีมงานระดับมืออาชีพที่มีประสบการณ์ (ห้ามบอกว่ามีผมคนเดียว) • Schedule ที่แสดงรายละเอียดการทำงานในแต่ละเดือนที่ชัดเจน • อธิบายด้านความเสี่ยงของธุรกิจ การชนะรางวัลของผลิตภัณฑ์/บริการของคุณ • แรงบันดาลใจที่ทำให้คุณอยากทำธุรกิจนี้ (ไม่ต้องเขียนแต่ต้องเล่าให้ฟังได้)

  20. อธิบายการทำงานของธุรกิจคุณอธิบายการทำงานของธุรกิจคุณ • พันธกิจของธุรกิจ คือ อะไร? • รายละเอียดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้า/บริการ • ธุรกิจที่คุณทำเป็นธุรกิจใหม่ (นวัตกรรม), เป็นการต่อยอดธุรกิจเดิม, ซื้อแฟรนส์ไชส์ • แผนกลยุทธ์ของบริษัท • คุณจะต้องทำเป็น milestones (เริ่มทำกิจกรรมส่วนใดก่อน เปิดตัวสินค้า/บริการเมื่อไร จ้างพนักงานเพิ่มช่วงเดือนไหน จะมีรายได้เฉลี่ยเดือนละเท่าไร) • กลยุทธ์ความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ • ผลงานในอดีตที่มีชื่อเสียงหรือ ไปที่รู้จักทั่วไป • งานอะไรบ้างที่คุณทำเสร็จแล้ว • ประสบการณ์ของคุณและทีมงานในธุรกิจ

  21. กระบวนการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจของคุณกระบวนการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจของคุณ • จุดเด่นของตลาดของคุณ • สินค้า/บริการ ตอบสนองลูกค้า • ขนาดของตลาด / มูลค่าตลาด • อัตราการเติบโตของตลาด • ตำแหน่งทางการตลาดของคุณ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ • ข้อแตกต่างของสินค้า/บริการ • สินค้า/บริการ มีความแตกต่างคู่แข่ง • วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์คุณ • Profit Margin • คุณค่าเพิ่มขึ้นของสินค้า/บริการ + ตัดสินใจลงทุน • ความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ • ประสบการณ์ด้านทำธุรกิจของคุณ • ประสบการณ์ของทีมงานด้านตลาด • โครงสร้างรายได้จากธุรกิจของคุณ ความเสี่ยงการรับรู้ • ความต้านทานต่ออุปสรรค • ความยาก/ง่ายของคู่แข่งรายใหม่ • ความเสี่ยงของการล้าสมัย • ความเสี่ยงด้านสภาวะเศรษฐกิจ

  22. ปัจจัยที่จะต้องระลึกเสมอขณะเขียนแผนธุรกิจปัจจัยที่จะต้องระลึกเสมอขณะเขียนแผนธุรกิจ • แนวทางทั่วไป : • ชัดเจน รัดกุม แบบมืออาชีพ • มีผลการวิจัยที่ยืนยันความน่าเชื่อถือชัดเจน หรือ เป็นที่ยอมรับ • มีความสอดคล้องกับพันธกิจ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ / บริการ • แผนธุรกิจคือ : • จะต้องมีความเฉพาะเจาะจงมากๆ • ไม่มีเครื่องมือในการส่งเสริมการขายที่เป็นไปไม่ได้ หรือ ไม่น่าเชื่อถือ 22

  23. การวิเคราะห์ตลาดและวิเคราะห์อุตสาหกรรมการวิเคราะห์ตลาดและวิเคราะห์อุตสาหกรรม • คุณจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรม • คุณจะต้องวิเคราะห์แนวโน้ม และทิศทางของตลาดในอนาคต • คุณจะต้องวิเคราะห์ตลาดของผลิตภัณฑ์และบริการ • คุณจะต้องวิเคราะห์การแข่งขันในตลาด • คุณจะต้องวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมด้านการตลาดของลูกค้า • วิเคราะห์ด้าน สังคม, เศรษฐกิจ, กฎหมาย, การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

  24. การวิเคราะห์ตลาด : กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าและทำแผนธุรกิจประเมินกลุ่มลูกค้าของบริษัท อาทิ • ระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท • ศึกษาความต้องการของลูกค้าที่มีศักยภาพเหล่านี้ • แสดงวิธีการที่ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แบบที่เป็นรูปธรรม

  25. การวิเคราะห์ตลาด : กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์ลูกค้า คือ การกำหนดว่าลูกค้าของบริษัท จะรับบริการนี้ ต้องการอะไรเป็นพิเศษ แบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายออกเป็นระดับๆ ด้วย กฎของ 20:80 และพยามทำการตอบสนองลูกค้าแบบ One-to-One Marketing เมื่อมีแผนการระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างชัดเจน และผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องมีการอธิบายลักษณะทางประชากรศาสตร์ของลูกค้าเหล่านี้ อย่างชัดเจน ด้วยคำถามเหล่านี้ • จำนวนลูกค้าที่มีศักยภาพมีความเหมาะสมกับที่กำหนดฐานลูกค้าของบริษัท มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงอย่างไร? • รายได้เฉลี่ยจากกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ เหล่านี้มูลค่าเท่าใด และ อย่างไร? • กลุ่มลูกค้าเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ส่วนใดในทางภูมิศาสตร์ เช่น ลูกค้าในประเทศ หรือ ลูกค้าต่างประเทศ ในเขตยุโรป เป็นต้น

  26. การวิเคราะห์ตลาด : กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หลังจากอธิบายภูมิศาสตร์ด้านประชากรของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแล้ว แผนธุรกิจจะต้องมีรายละเอียดความต้องการของลูกค้าเหล่านี้ เช่น • อัตราเฉลี่ยความต้องการปริมาณสินค้า/บริการ ของลูกค้าที่ผ่านมา (X % ได้สั่งซื้อสินค้า/บริการ ที่คล้ายกันในอดีต) • ประมาณการในอนาคต (เมื่อได้ทำการวิจัยและสำรวจตลาดจำนวนลูกค้า X% และลูกค้าที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความสนใจจะซื้อสินค้า/บริการ Y คน/จำนวน) และ/หรือความหมาย (การใช้สินค้า/บริการเพิ่มขึ้น X%) • ปริมาณกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่เคยใช้สินค้าของคุณ และพยามจะลองใช้คิดเป็น X% ของจำนวนตัวอย่างผู้ได้รับการสัมภาษณ์ทั้งหมด) • ปริมาณกลุ่มลูกค้าที่ใช้สินค้าของคุณเป็นประจำและยินจะบอกต่อไปยังกลุ่มเพื่อนๆ ของพวกเขาคิดเป็น X% ของจำนวนตัวอย่างผู้ได้รับการสัมภาษณ์ทั้งหมด)

  27. การวิเคราะห์ตลาด : กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การเขียนแผนธุรกิจจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินใจของกลุ่มลูกค้า ดังตัวอย่างคำถามต่อไปนี้ • กลุ่มลูกค้าของคุณพิจารณาว่า “ราคา” มีส่วนสำคัญกว่าคุณภาพของสินค้าหรือบริการ หรือไม่? • กลุ่มลูกค้าของคุณต้องการระดับของการให้บริการที่สูงที่สุด และมีความน่าเชื่อถือมาก จนเป็นที่ยอมรับในระดับสูง หรือ กลุ่มลูกค้าของคุณต้องการเพียงสินค้า/บริการที่มีคุณภาพเพียงพอกับความต้องการขั้นพื้นฐานเท่านั้น

  28. การวิเคราะห์ตลาด : กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ส่วนนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญในการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ที่แสดงถึงกระบวนการตัดสินใจ ตัวอย่างของคำถาม อาทิ: • พฤติกรรมของลูกค้าจะสอบถามคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆ ในองค์กรของตนก่อนซื้อสินค้าของคุณ หรือไม่? • พฤติกรรมลูกค้าจะค้นหาสินค้าหลายๆ ยี่ห้อเพื่อดูราคาที่เหมาะสม หรือไม่? • สินค้า/บริการ เป็นเทคโนโลยีใหม่ หรือนวัตกรรม (เช่น ลูกค้าจะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สินค้า/บริการ หรือ สินค้า/บริการของคุณ สามารถทดแทนอุปกรณ์ ภายในองค์กร หรือไม่?) มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับลูกค้าในการพัฒนาธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและกลยุทธ์การตลาด ดังนั้นคุณจำเป็นจะต้องทำการวิจัยและวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ และนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงประสิทธิภาพของกลยุทธ์ของบริษัทคุณอีกครั้ง ให้มีความทันสมัยและตอบสนองลูกค้าได้ถูกต้อง

  29. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมการวิเคราะห์อุตสาหกรรม • การวิเคราะห์อุตสาหกรรม เป็นอย่างไร? การวิเคราะห์อุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของแผนธุรกิจของคุณ เพื่อใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของตลาดสินค้า/บริการที่คุณจะทำธุรกิจ ในส่วนของการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและตลาดเป้าหมาย การวิเคราะห์อุตสาหกรรมอาจมีวัสดุอ้างอิง เช่น กระดาษสำหรับคำนวณแผนภูมิวงกลม และกราฟแท่ง เพื่อที่จะใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์

  30. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมการวิเคราะห์อุตสาหกรรม • ขั้นตอนการดำเนินงาน ทีละขั้น ทีละตอน ดังนี้ • ขั้นที่ 1 : ระบุอุตสาหกรรมของคุณ และกำหนดภาพรวมคร่าว แต่การที่จะทำขั้นตอนนี้ได้ จำเป็นจะต้องมีการศึกษาจากข้อมูลจริง หรือ มีผลการวิจัยจากสำนักวิจัยข้อมูลที่เชื่อถือได้มายืนยันทุกครั้ง นอกจากนี้คุณจำเป็นจะต้องมีข้อมูลสถิติและข้อมูลทางประว้ติศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติของอุตสาหกรรม และการเจริญเติบโตสำหรับธุรกิจของคุณด้วยการเชื่อมโยงกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและเงื่อนไข • ขั้นที่ 2 : สรุปลักษณะของอุตสาหกรรม รวบรวมข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงและสถิติเกี่ยวกับรูปแบบการเจริญเติบโตความผันผวนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และประมาณการรายได้

  31. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมการวิเคราะห์อุตสาหกรรม • ขั้นตอนการดำเนินงาน ทีละขั้น ทีละตอน ดังนี้ • ขั้นที่ 3 : ให้การคาดการณ์สำหรับอุตสาหกรรมของคุณ รวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจและการคาดการณ์ของอุตสาหกรรมสำหรับ 5, 10, และ 20 ปีต่อไป ตรวจสอบให้แน่ใจเพื่ออ้างอิงแหล่งที่มาทั้งหมดของคุณ • ขั้นที่ 4 : ระบุกฎระเบียบของรัฐบาลที่มีผลต่ออุตสาหกรรม รวมทั้งกฎหมายเมื่อเร็วๆ นี้ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของคุณและใบอนุญาตหรือการอนุญาตที่คุณจะต้องดำเนินธุรกิจในตลาดเป้าหมายของคุณ ส่วนนี้อาจรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

  32. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมการวิเคราะห์อุตสาหกรรม • ขั้นตอนการดำเนินงาน ทีละขั้น ทีละตอน ดังนี้ • ขั้นที่ 5 : อธิบายตำแหน่งที่ไม่ซ้ำของ บริษัทภายในอุตสาหกรรม เมื่อคุณเสร็จสิ้นการวิเคราะห์การแข่งขันของคุณ (ในส่วนถัดไป) คุณสามารถระบุลักษณะของบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมและรวบรวมภาพรวมของข้อมูลจากการแข่งขันโดยตรงและโดยอ้อมของคุณ • ขั้นที่ 6 : ระบุข้อจำกัดและความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ และเขียนข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจ และสิ่งที่คุณคาดหวังในอนาคตทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อธุรกิจคุณ

  33. เกี่ยวกับผม • http://eiamsri.wordpress.com • http://www.interfinn.com(Template Project Risk Management) • http://www.youtube.com/interfinn (วิดีโอ สื่อการสอน) • ผู้บรรยาย : เอกกมล เอี่ยมศรี • Email : ekamol.eiamsri@windowslive.com • Tel. 081 588 1532 • Facebook: http://www.facebook.com/ekamol.eiamsri

More Related