1 / 90

การบริหารงบประมาณ

การบริหารงบประมาณ. ด้านสวัสดิการสังคมของ อปท. โดย ... โกมินทร์ อินรัสพงศ์. หลักการบริหารงานของ อปท. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ อิสระในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง กำกับดูแลเท่าที่จำเป็น ตามกฎหมายกำหนด. วงจรการบริหารงานคลังท้องถิ่น. การจัดทำแผนพัฒนา. การบริหารรายได้.

Download Presentation

การบริหารงบประมาณ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารงบประมาณ ด้านสวัสดิการสังคมของ อปท. โดย ... โกมินทร์ อินรัสพงศ์

  2. หลักการบริหารงานของ อปท. • เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ • อิสระในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง • กำกับดูแลเท่าที่จำเป็น ตามกฎหมายกำหนด

  3. วงจรการบริหารงานคลังท้องถิ่นวงจรการบริหารงานคลังท้องถิ่น การจัดทำแผนพัฒนา การบริหารรายได้ การจัดทำงบประมาณ การบริหารงานพัสดุ การเบิกจ่ายเงินและลงบัญชี การตรวจสอบการคลัง

  4. หลักการสำคัญในการตั้งงบประมาณหลักการสำคัญในการตั้งงบประมาณ • ต้องตราเป็นเทศบัญญัติ / ข้อบัญญัติ เว้นแต่ มีกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง นส. สั่งการ กำหนดเป็นอย่างอื่น • เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. * * * • ตามรูปแบบที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด • ถูกต้องตามด้านแผนงาน งาน หมวดประเภทรายจ่าย

  5. การพิจารณาอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท เพื่อนำไปประกอบการตั้งงบประมาณ ด้านสวัสดิการสังคม

  6. อำนาจหน้าที่ของ อบจ. 1. ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด มาตรา 45 - ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย - สนับสนุนราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น - ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ ส่วนท้องถิ่นอื่น - กิจการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง - จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ใน พรบ. นี้ หรือกฎหมายอื่น กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ฯลฯ

  7. 2.ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2541 กิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น สมควรให้ อบจ. ร่วมดำเนินการ หรือจัดทำ - จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร - กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล - รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน - จัดการศึกษา - จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็น ทางหลวงชนบทตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - ส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ

  8. 3. ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 มาตรา 17 - การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่น - การจัดการศึกษา - การส่งเสริมกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น - การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น - สนับสนุนเพื่อช่วยเหลือส่วนราชการ หรือ อปท. อื่น ในการพัฒนาท้องถิ่น - การสังคมสงเคราะห์ พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ

  9. 4. ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรื่อง การกำหนดอำนาจ และหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 1 ลักษณะของการดำเนินงานของ อบจ. ในการให้บริการสาธารณะในเขตจังหวัด (1) ดำเนินงานในโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด

  10. (2) เป็นการดำเนินงานที่ปรากฏถึงกิจกรรมที่เป็นภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่มุ่งเน้นต่อประโยชน์ของท้องถิ่นหรือประชาชนเป็นส่วนรวม และไม่เข้าไปดำเนินงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสามารถดำเนินการได้เอง (3) เข้าไปดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการในลักษณะที่มีความคาบเกี่ยวต่อเนื่อง หรือมีผู้ที่ได้รับประโยชน์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป

  11. การพิจารณาอำนาจหน้าที่ของ เทศบาล กับ อบต. ตามกฎหมายจัดตั้ง - พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม - พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไข ตามกฎหมายกลาง - พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542

  12. หน้าที่ของเทศบาลที่ต้องทำหน้าที่ของเทศบาลที่ต้องทำ ๏ เทศบาลตำบล ตามมาตรา 50 • รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน • ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ • ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ • ป้องกันและระงับโรคติดต่อ • ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม • บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ • วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

  13. การพิจารณาอำนาจหน้าที่ของ อบต. พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อำนาจหน้าที่ของ อบต. ที่ต้องทำ ตามมาตรา 67 - รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล - ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ - บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ฯลฯ

  14. อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

  15. อำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ ตามมาตรา 16 อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล เมืองพัทยา และ อบต. - การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง - การส่งเสริมการท่องเที่ยว - การจัดการศึกษา - การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส - การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ฯลฯ

  16. การตั้งงบประมาณรายจ่ายให้กระทำตามที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ข้อ 16

  17. ค่าตอบแทน / ค่าวัสดุเครื่องแต่งกาย อปพร. • เครื่องแต่งกาย (เทศบาล/อบต.) • ผู้เข้ารับการฝึกอบรม / ผู้ที่ปฏิบัติการ คนละไม่เกิน 2 ชุด ต่อปี • เครื่องแบบ เป็นไปตามที่ทางราชการกำหนด • ค่าตอบแทน อปพร. • มีคำสั่งใช้ อปพร.ปฏิบัติงาน ใน/นอก ศูนย์ • ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง = 200 บาท (หมวดค่าตอบแทนฯ) (น.ส. มท ด่วนมาก 0808.2/ว 3795 ลว 17 พ.ย. 52)

  18. การสั่งใช้ อปพร. กรณีเบิกค่าตอบแทนได้ 1. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่มีหน้าที่ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นของตน โดยมีผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น มาตรา ๒๑ บัญญัติว่า เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้น ในเขตของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ใด ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นมีหน้าที่เข้าดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็ว และแจ้งให้ผู้อำนวยการอำเภอที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่นั้นและผู้อำนวยการจังหวัดทราบทันที

  19. การสั่งใช้ อปพร. กรณีเบิกค่าตอบแทนได้ 2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย พลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๓ ดังนั้น หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เกิดหรือคาดว่าจะเกิด สาธารณภัย ขึ้นในเขต อปท. ตามนัยมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. สั่งการ อปพร. ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ ๒๒ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๓ อปท. ก็สามารถตั้งงบประมาณและเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ อปพร. ได้ ตามหนังสือกระทรวง มหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท ๐๘๐๘.๒/ ว ๓๗๙๕ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒๒ ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. มีอำนาจหน้าที่สั่งการ ควบคุม และกำกับดูแล เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ อปพร. และ อปพร. ในสังกัด

  20. กรณีหารือ • สั่งใช้ อปพร. ให้ไปช่วยงานเอกชน • สั่งใช้ อปพร. ให้ประจำหน้าโรงเรียน • อปพร. ปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบ 8 ชั่วโมง • สั่งใช้ อปพร. ให้ปฏิบัติงานต่อเนื่อง • สั่งใช้ อปพร. ให้ลาดตระเวนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ • อปพร. จับกุมผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ ? • สั่งใช้ อปพร. กรณีประกาศเป็นภัยพิบัติฉุกเฉิน

  21. กรณี อปพร. บาดเจ็บ/เสียชีวิต จากการปฏิบัติหน้าที่ • พ.ร.บ. สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543 - ช่วยเหลือราชการ - ปฏิบัติงานของชาติตามที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการ - ปฏิบัติการตามหน้าที่/ช่วยเหลือผู้อื่นตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด - ปฏิบัติการตามหน้าที่มนุษยธรรมซึ่งพลเมืองดีพึงปฏิบัติ เป็นเหตุให้ ถูกประทุษร้าย/ได้รับอันตราย ถึงเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สมรรถภาพในการ ทำงานของอวัยวะ ทุพพลภาพ/เจ็บป่วยจนไม่สามารถใช้กำลังกาย/ความคิด ประกอบอาชีพได้ตามปกติ ยกเว้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเกิดจากความผิดของตนเอง

  22. เงินที่จะได้รับ - เงินชดเชย : เงินสงเคราะห์ที่จ่ายเป็นเงินก้อนให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาท - เงินดำรงชีพ : เงินสงเคราะห์ที่จ่ายเป็นรายเดือนให้แก่ผู้ประสบภัย - ค่ารักษาพยาบาล (ไม่เกิน 50,000 บาท) - เงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ วิธีการที่จะได้รับ ยื่นเรื่องที่อำเภอ – ผวจ. – กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังพิจารณา สำหรับ ค่ารักษาพยาบาล และค่าจัดการศพ ผวจ.อนุมัติ ส่งคลังจังหวัดเบิกได้ทันที ระยะเวลาในการขอรับเงิน ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ผู้มีสิทธิได้ทราบถึงสิทธิของตน

  23. กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราในการจ่ายเงินสงเคราะห์ และกำหนดลักษณะของความพิการทุพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพ หรือในการดำรงชีพ พ.ศ. 2544 การจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ประสบภัย เสียชีวิต/ทุพพลภาพขนาดหนัก ได้ 30 เท่า ของอัตราเงินเดือน แขนขาดข้างหนึ่ง ได้ 24 เท่าครึ่ง ของอัตราเงินเดือน ขาขาดข้างหนึ่ง ได้ 22 เท่าครึ่ง ของอัตราเงินเดือน มือขาดข้างหนึ่ง ได้ 18 เท่าครึ่ง ของอัตราเงินเดือน เท้าขาดข้างหนึ่ง ได้ 15 เท่า ของอัตราเงินเดือน สูญเสียลูกตาข้างหนึ่ง ได้ 11 เท่าครึ่ง ของอัตราเงินเดือน ฯลฯ หมายเหตุ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 30 เท่า

  24. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๒๓ ให้ศูนย์ อปพร. เทศบาล อบต. จัดตั้งฝ่ายต่างๆ ดังนี้ (๑) ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๒) ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย (๓) ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย (๔) ฝ่ายปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย (๕) ฝ่ายอื่นๆ ตามความจำเป็น

  25. ซักซ้อมการจัดทำงบประมาณปี ๒๕๕๖ การตั้งงบประมาณเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของ อปท. ให้ถือปฏิบัติตาม (นส. มท 0891.3/ว 2826 ลว. 17 ก.ย.53 ) และ (นส. สถ. ด่วนที่สุด มท 0891.3/658 ลว. 25 ม.ค.53) • กรณีค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา (ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น) / เบี้ยเลี้ยง • เงินอุดหนุน/เงินชดเชย ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินจ่ายให้แก่หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยโอนให้ อปท. ถือว่าเป็นรายได้ของ อปท. ให้ประมาณการรายได้ไว้ในหมวดเบ็ดเตล็ด และเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย • ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถใช้ดุลพินิจจ้างเหมาบริการได้ • ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมาย/ระเบียบ ที่กำหนดให้ อปท.สามารถตั้งกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินได้

  26. โครงการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานโครงการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน • จัดสรรเป็นค่าดำเนินงานของ อสม. ชุมชน/หมู่บ้านละ ๑๐,๐๐๐บาท • ลักษณะงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุน • ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๐๘.๒/ว ๗๔ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓

  27. การตั้งงบประมาณ (ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน) ( ตามหนังสือ มท 0313.4/ว 1347 ลว 19 พ.ค. 2541 ) “ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ ของ อปท. ให้เบิกตามงบประมาณที่ตั้งไว้ และเบิกจ่ายได้เท่าที่ จำเป็น และ ประหยัด ” ***ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นสาระสําคัญของการจัดงาน *** เช่น งานลอยกระทง สงกรานต์ วันผู้สูงอายุ เทิดพระเกียรติ บัณฑิตน้อย โครงการฝึกอบรม ดูงาน เปิดตลาดใหม่ เป็นต้น

  28. กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต./เทศบาล • สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริม • สุขภาพการป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ • สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น หรือสถานบริการ • ทางเลือกเพื่อกลุ่มแม่และเด็กกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มผู้พิการกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ • ที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง • ให้ อบต./เทศบาล ตั้งงบประมาณเงินสมทบไว้ในรายจ่ายงบกลาง ประเภทรายจ่ายตามข้อผูกพัน

  29. กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต./เทศบาล อบต./เทศบาล สมทบ ตามสัดส่วนที่ สปสช. กำหนด กองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ รายปี 40.-/คน กองทุนหลักประกัน สุขภาพ อบต./เทศบาล รายได้อื่น และทรัพย์สิน ที่เกิดจากกิจการกองทุน และเงินอุดหนุนต่างๆ เงินสมทบจากชุมชน หรือกองทุนชุมชน (ตามมติของกลุ่ม)

  30. ค่าตอบแทนข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ที่เทศบาลขอยืมตัวมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว (ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (กท.) ณ ๒๘ พ.ย. ๒๕๔๘ ) • เฉพาะตำแหน่ง แพทย์ ทันตแพทย์ นายสัตวแพทย์ เภสัชกร และนักผังเมือง • ค่าตอบแทนไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท • ปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 15 วัน ต่อเดือน • ปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ต่อ 1 วัน

  31. แนวทางการเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ของ อสม. หรือบุคคลอื่น ซึ่ง อปท. สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านสาธารณสุข “ ให้เบิกเป็นค่าเบี้ยเลี้ยง ” ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  32. วิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประมาณการ คชจ. และรายรับ จัดทำรายงานรับจริง - จ่ายจริง รวบรวมรายละเอียดขอตั้ง งปม. คณะผู้บริหารท้องถิ่น อนุมัติวงเงินให้ตั้งงบประมาณ อนุมัติ เสนอร่าง งปม. ต่อสภาท้องถิ่น (ภายใน 15 ส.ค.) สภาท้องถิ่นเห็นชอบร่าง งปม. เห็นชอบ เสนอ งปม. (ผวจ. / นอภ.) เทศบัญญัติ / ข้อบัญญัติ

  33. ข้อ 13 งบประมาณรายจ่ายทั่วไป ประกอบด้วย • รายจ่ายงบกลาง • รายจ่ายตามแผนงาน

  34. รายจ่ายงบกลาง ประกอบด้วย • ค่าชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย • รายจ่ายตามข้อผูกพัน • เงินสำรองจ่าย • เงินที่งบประมาณรายจ่ายทั่วไป ตั้งช่วยเหลืองบประมาณเฉพาะการ • เงินค่าทำศพ

  35. รายจ่ายตามแผนงาน ประกอบด้วย • รายจ่ายประจำ - หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ - หมวดค่าจ้างชั่วคราว - หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ - หมวดค่าสาธารณูปโภค - หมวดเงินอุดหนุน - หมวดรายจ่ายอื่น • รายจ่ายเพื่อการลงทุน - หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

  36. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงินค่าจ้างของข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นและลูกจ้าง ที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและเงินกู้หรือเงินอื่นใดนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะกำหนดสูงกว่าร้อยละสี่สิบของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่ได้

  37. การจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ ( หนังสือ ด่วนมาก ที่ มท ๐๓๑๓.๔/ว ๒๗๘๗ ลว. ๑๘ พ.ย. ๒๕๔๒ ) ตัวอย่างสิ่งของที่เป็นวัสดุโดยสภาพ - วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ หมึก ดินสอ ปากกา แฟ้ม ตรายาง น้ำดื่ม ฯลฯ - วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น ฟิวส์ สายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า เทปพันสายไฟ ฯลฯ - วัสดุงานบ้านงานครัว แปรง ไม้กวาด ถ้วยชาม กระจกเงา เข่ง มุ้ง หมอน ฯลฯ ตัวอย่างสิ่งของที่ครุภัณฑ์โดยสภาพ - ครุภัณฑ์สำนักงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เครื่องถ่ายเอกสาร พัดลม เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ - ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียง วิทยุ ฯลฯ - ครุภัณฑ์การเกษตร เช่น ปศุสัตว์ (ช้าง ม้า วัว ควาย) เครื่องสูบน้ำ เครื่องยกร่อง ฯลฯ

  38. การจำแนกประเภทรายจ่ายตามระบบ elaas • มาตรฐานของสำนักงบประมาณ • มาตรฐานของ ICT • นิยาม

  39. สรุปสาระสำคัญของระเบียบสรุปสาระสำคัญของระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543

  40. ข้อ 7 กรณีงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทัน ** กรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันงบประมาณ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน ** การเบิกจ่ายเงินโดยอาศัยงบประมาณปีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือยอดเงินสูงสุดจะพึงถือจ่ายได้ โดยรวมงบเพิ่มเติมและรายการโอนเพิ่ม / ลด เข้าไปด้วย ** กระทำได้เฉพาะรายจ่ายในหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำหมวดค่าจ้างชั่วคราวหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ และหมวดค่าสาธารณูปโภค

  41. ข้อ 21 การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

  42. ข้อ 26 การโอนงบประมาณรายจ่ายต่างๆ เป็นอำนาจอนุมัติของคณะผู้บริหารท้องถิ่น เป็นการโอนทุกรายการที่ไม่มีผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงลักษณะปริมาณ คุณภาพ หรือ ไม่มีผลกระทบต่อการโอนไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ ในหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

  43. ข้อ 27 การโอนงบประมาณ หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เป็นการโอนที่ทำให้มีผลกระทบต่อการเปลี่ยน แปลงลักษณะ ปริมาณ คุณภาพ หรือ เป็นการโอนไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ใน หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เป็นอำนาจอนุมัติของสภาท้องถิ่น

  44. สภา เห็นชอบ งบประมาณ ม.67 ทวิ จ่ายเงิน อนุมัติ ผวจ.

  45. การจ่ายขาดเงินสะสม - บำบัดความเดือดร้อนของประชาชน - เพิ่มพูนรายได้ - ด้านบริการชุมชนและสังคม - อยู่ในแผน - ผ่านสภา เมื่อได้รับอนุมัติให้จ่ายเงินสะสมแล้ว อปท. ต้องดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้น ภายใน 1 ปี ถัดไป

  46. การจ่ายขาดเงินสะสม (กรณีงบประมาณประกาศใช้แล้ว แต่ไม่เพียงพอ/ไม่ได้ตั้งไว้) - รับโอน เลื่อนระดับ เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงาน • เบิกให้ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภา พนักงาน • ได้รับอนุมัติจากนายก อปท. (กรณีฉุกเฉินมีสาธารณภัยเกิดขึ้น) • - เงินสำรองจ่ายในงบกลาง ไม่เพียงพอ • ได้ตามความจำเป็น • ได้รับอนุมัติจากนายก อปท.

  47. การตั้งงบประมาณ (ในการดูแลรักษาที่สาธารณะ) พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 มาตรา 122 “ นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับ อปท. ในการดูแลรักษา คุ้มครอง ป้องกันที่สาธารณะ ค่าใช้จ่ายใช้งบประมาณของ อปท. ” กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2553 “ ให้กรมที่ดินมีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของบุคคล การจัดการที่ดินของรัฐ โดยการรังวัด ทำแผนที่ สอบเขต ตรวจสอบเนื้อที่ ทำแผนที่สาหรับที่ดิน ฯลฯ ”

  48. การตั้งงบประมาณรายจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการตั้งงบประมาณรายจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณหมวดเงินอุดหนุน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท 0808.2/ว 74 ลงวันที่ 8 มกราคม 2553)

  49. อปท. อาจตั้งงบประมาณสนับสนุน • อปท.อื่น / ส่วนราชการ / หน่วยงานอื่นของรัฐ • (ให้ถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการการกระจายให้แก่ อปท. เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนของ อบจ. เทศบาล และ อบต. ในการให้บริการสาธารณะ ลว. ๒๓ พ.ย. ๕๒) • เงื่อนไข • - ภารกิจที่จะสนับสนุนต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท.ผู้สนับสนุน • - มีบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาสามปี • - ต้องคำนึงถึงสถานะทางการคลัง • - ด้านการศึกษา/สาธารณสุข (ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบ) • - ภารกิจอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. (ต้องได้รับความเห็นชอบ)

  50. ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเสนอโครงการต่อ อปท. โครงการดังกล่าวต้องมีงบประมาณของตนเองอยู่บ้างแล้ว แสดงถึงกิจกรรมในโครงการ แบ่งส่วนที่มีงบประมาณของตนเอง และ ส่วนที่จะขอรับการสนับสนุนให้ชัดเจน ระบุเหตุผลและรายละเอียด ว่าโครงการมีงบประมาณไม่เพียงพอในการ ดำเนินการ และมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างไร ?หาก อปท.เห็นสมควรสนับสนุนโครงการ ให้นำโครงการบรรจุไว้ใน งบประมาณรายจ่ายประจำปี/เพิ่มเติม ยกเว้น กรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน และ มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามโครงการโดยด่วน จะไม่นำโครงการนั้น บรรจุไว้ในงบประมาณก็ได้ แต่ต้องรายงานให้คณะอนุกรรมการฯ ทราบ

More Related