1 / 45

ความเป็นมา และ ผลจากการมีระบบทะเบียนกรรมการ

ความเป็นมา และ ผลจากการมีระบบทะเบียนกรรมการ. ชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต. 16 กุมภาพันธ์ 2548. หัวข้อบรรยาย. ปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทย มาตรการแก้ไข กรณีตัวอย่าง. ปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทย. ประเด็นปัญหา.

Download Presentation

ความเป็นมา และ ผลจากการมีระบบทะเบียนกรรมการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความเป็นมา และ ผลจากการมีระบบทะเบียนกรรมการ ชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต. 16 กุมภาพันธ์ 2548

  2. หัวข้อบรรยาย • ปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทย • มาตรการแก้ไข • กรณีตัวอย่าง

  3. ปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทยปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทย

  4. ประเด็นปัญหา • บริษัทจำนวนมากยังบริหารงานแบบครอบครัว • กรรมการหลายท่านไม่ทราบบทบาทหน้าที่ • หลายท่านมีความตั้งใจดี แต่ไม่มีแนวปฏิบัติให้ยึดถือ • ไม่มีความเข้าใจเรื่อง fiduciary duties • ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นในกรรมการอิสระ • เครื่องมือในการลงโทษมีจำกัด • การฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง : ผู้ถือหุ้นไม่มีแรงจูงใจ • การดำเนินคดีอาญา : ยุ่งยาก ใช้เวลานาน

  5. มาตรการแก้ไข

  6. มาตรการ • การให้ความรู้ • การกำหนดคุณสมบัติกรรมการอิสระ และโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท • การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น • การมีระบบทะเบียนกรรมการ • การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ

  7. 1. การให้ความรู้ • Director’s Handbook = Guideline สำหรับการทำหน้าที่มี 3 ส่วน คือ • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของ “กรรมการ” และ “คณะกรรมการ”: อธิบายหลักการ fiduciary duties • แนวทางปฏิบัติของ “กรรมการ”: เสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องต่าง ๆ ของกรรมการ เช่น การเปิดเผยข้อมูล การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน เป็นต้น • การรักษาสิทธิและการจัดประชุมผู้ถือหุ้น : อธิบายและเสนอแนะแนวทางการจัดประชุมผู้ถือหุ้น

  8. 1. การให้ความรู้ • Course หลัก ๆ ของ IOD • DCP (Director Certification Program) • DAP (Director Accreditation Program) • ACP (Audit Committee Program) • Chairman 2000 • Finance for Non-Finance Directors Program

  9. 2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ • ข้อกำหนดปัจจุบัน • กลต. และ ตลท.กำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของกรรมการอิสระ • กลต. มีหนังสือเวียน กระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียน กำหนดคุณสมบัติให้เข้มข้นขึ้น

  10. 2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ

  11. 2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ(ต่อ)

  12. 2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ(ต่อ) แนวทางในต่างประเทศ • กำหนดระยะเวลาห้ามมีส่วนได้เสียไว้ 3 - 5 ปี หรือดูตามความเหมาะสม เพื่อให้ความสัมพันธ์บางกรณีที่มีมานานกว่าระยะเวลาห้าม แต่ดูแล้วไม่เหมาะสม ก็สามารถพิจารณาได้ว่ามีส่วนได้เสียจนไม่สามารถเป็นกรรมการอิสระได้ • เน้นการมีกลไกให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยมีส่วนร่วมในการเลือกกรรมการอิสระได้

  13. 2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ(ต่อ) โครงสร้างคณะกรรมการ • ข้อกำหนดขั้นต่ำของ กลต.  กรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน • ข้อเสนอ ตลท. ตามหลัก CG 15 ข้อ  กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 • แนวปฏิบัติในต่างประเทศ  กรรมการอิสระเกินครึ่ง  ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระที่ไม่ใช่ผู้บริหาร (independent non-executive director)

  14. 3. การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพิ่มการคุ้มครองกรรมการที่ทำหน้าที่ดีแล้ว = safe harbor 2. เพิ่มความรับผิดของกรรมการที่ไม่รักษาหน้าที่ 3. เพิ่มข้อกำหนดให้ต้องมีเลขานุการบริษัท และกำหนดบทบาทหน้าที่

  15. 3. การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น (ต่อ) 1. เพิ่ม safe harbor จะถือว่าทำหน้าที่แล้ว ถ้า ... • ตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล • บนพื้นฐานข้อมูลที่เชื่อว่าเพียงพอ ถูกต้อง • ไม่มีส่วนได้เสีย ทั้งทางตรงทางอ้อม • ทำโดยสุจริตเพื่อประโยชน์ของบริษัท • มีจุดมุ่งหมายโดยชอบและเหมาะสม ROADM AP

  16. 3. การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น (ต่อ) 2. เพิ่มความรับผิดของกรรมการที่ไม่รักษาหน้าที่ • เปรียบเทียบปรับได้ และเพิ่มโทษอาญา ถ้าฝ่าฝืนโดยทุจริต • เรียกประโยชน์ที่กรรมการได้โดยไม่ชอบ คืนให้บริษัทได้ • ถ้าทุจริต หรือเลินเล่อร้ายแรง จะใช้มติผู้ถือหุ้นฟอกตัวไม่ได้ • กรณีต่อไปนี้ก็ฟอกตัวไม่ได้ - ให้ข้อมูลเท็จ ไม่ครบ - เบียดบังทรัพย์สิน / ประโยชน์ของบริษัท- ทำให้บริษัท insolvent โดยรู้อยู่ก่อนแล้ว

  17. 3. การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น (ต่อ) 3. เพิ่มเติมให้บริษัทต้องแต่งตั้งเลขานุการบริษัท เพื่อรับผิดชอบจัดทำและจัดเก็บเอกสารสำคัญๆ ของบริษัท เช่น ข้อมูลกรรมการ หนังสือนัดประชุม รายงานการประชุมทั้งระดับกรรมการและผู้ถือหุ้น เป็นต้น

  18. 4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ • ทำไมต้องมีระบบทะเบียนกรรมการ เพิ่มมาตรการเชิงบริหาร เพราะ • กรรมการที่ถูก blacklist จะไม่สามารถเป็นกรรมการบริษัทจดทะเบียนใด ๆ = ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนอื่น • บริษัทจดทะเบียนที่เสียหาย อาจได้รับการแก้ไขรายการ = เยียวยาผู้ถือหุ้น

  19. 4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ (ต่อ) • ใครบ้างที่ต้องเข้าระบบทะเบียนกรรมการ  กรรมการ  ผู้บริหารระดับสูง บจ. + บริษัทที่จะออกหลักทรัพย์ (บริษัท IPO) • รายชื่อในระบบทะเบียนกรรมการอยู่ในรูปแบบใด • whitelist • เริ่มเมื่อไหร่ •  ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2548 : บริษัท IPO /บจ. ต้องมีกรรมการ + ผู้บริหาร ที่มีชื่อในระบบทะเบียนกรรมการ •  1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2548 = ช่วง test run ระบบ : บจ. ทั้งหมดต้อง key รายชื่อ / ประวัติของกรรมการ + ผู้บริหารเข้าระบบ

  20. 4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ(ต่อ) • ข้อมูลที่บริษัทต้อง key เข้าระบบมีอะไรบ้าง • ข้อมูลทั่วไป • ชื่อ/นามสกุล (ไทยและอังกฤษ) • หมายเลขบัตรประจำตัว (บัตรประชาชนหรือ passport) • ที่อยู่ที่ติดต่อได้ • วุฒิการศึกษา • ประวัติการอบรมกับ IOD • ลักษณะต้องห้าม : checklist ลักษณะต้องห้ามตามประกาศ กลต. • คำรับรองความถูกต้องของข้อมูล

  21. ต่อ 4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ(ต่อ) • การนำชื่อเข้าระบบทะเบียนกรรมการ กรรมการ+ผู้บริหารกรอกแบบฟอร์ม พร้อมรับรองความถูกต้องให้บริษัท บริษัทรวบรวมข้อมูลจากกรรมการ+ผู้บริหารทุกราย ส่ง hard copy เพื่อ กลต. ใช้ตรวจทานความถูกต้องก่อนจัดเก็บข้อมูลเข้าระบบและเผยแพร่ on-line ผ่าน website กลต. โดยเจ้าหน้าที่บริษัท

  22. เช็คว่ามีชื่อใน blacklist หรือไม่ 4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ(ต่อ) • การนำชื่อเข้าระบบทะเบียนกรรมการ (ต่อ) กลต. ได้รับข้อมูลที่ส่งมาทาง website มี ไม่มี ไม่รับลงทะเบียน + แจ้งบริษัทว่ากรรมการ/ผู้บริหารรายใดขาดคุณสมบัติ + แจ้งกรรมการ/ผู้บริหารรายนั้น ๆ รับลงทะเบียน +แสดงชื่อในwhite list

  23. 4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ(ต่อ) • การปฏิเสธและเพิกถอนรายชื่อออกจากระบบ • การปฏิเสธ • มีชื่ออยู่ใน blacklist • การถอนชื่อ • เสียชีวิต พ้นตำแหน่ง • ถูกเพิ่มชื่อใน blacklist

  24. 5. การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ • ทำไมต้องมีคณะทำงานวินัยกรรมการ  ให้คำปรึกษา / ข้อเสนอแนะกับ สนง.เกี่ยวกับมาตรการดำเนินการ เช่น ให้อธิบาย แก้ไข/ยกเลิกการกระทำ ภาคทัณฑ์ หรือ blacklist  ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ซึ่งสามารถให้ความเห็น ได้อย่างอิสระ  เพื่อให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยฟังเหตุผลในเชิงธุรกิจด้วย  เพื่อให้มี check&balance โปร่งใสและเป็นธรรม

  25. 5. การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ(ต่อ)5.1 การจัดทำ blacklist • ประเภทความผิดที่เข้าข่าย blacklist : มี4ลักษณะ 1. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ล้มละลาย 2. ถูกดำเนินคดีโดยหน่วยงานทางการ ทั้งในและต่างประเทศ ในเรื่องร้ายแรง 3. กระทำความผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์ในเรื่องร้ายแรง: ไม่สุจริต ฉ้อฉล ไม่เป็นธรรมหรือเอาเปรียบผู้ลงทุน อำพรางฐานะการเงิน/ผลการดำเนินงาน ให้ข้อมูลเท็จ หรือปกปิดข้อมูล 4. มีพฤติกรรมขาด fiduciary duties อย่างร้ายแรง

  26. ต่อ 5. การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ(ต่อ)5.2 กระบวนการ blacklist ถูกทางการดำเนินคดี หรือมีคำตัดสินแล้ว มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมแต่ไม่ถึงขั้นผิดอาญา กลต. ขอให้ชี้แจง/ให้แก้ไขรายการ รับฟังไม่ได้ / ไม่แก้ไข รับฟังได้/ยอมแก้ไข blacklist เสนอคณะทำงานวินัยกรรมการ ยุติเรื่อง

  27. 5. การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ(ต่อ)5.2 กระบวนการ blacklist (ต่อ) คณะทำงานฯ พิจารณาข้อเท็จจริงและฟังคำชี้แจง อุทธรณ์ต่อ board กลต. / ศาลปกครอง รับฟังได้ รับฟังไม่ได้ ยุติเรื่อง กลต. แจ้งระยะเวลา blacklist ผู้กระทำผิด blacklist

  28. สรุป ความรับผิดของกรรมการมีทั้ง ... • แพ่ง: ถูกผู้ถือหุ้นฟ้องเรียกค่าเสียหาย • อาญา: กระทำโดยทุจริต  จำคุก • บริหาร: ถอนชื่อจากระบบ เป็นกรรมการไม่ได้

  29. กรณีตัวอย่าง

  30. ตัวอย่าง 1. กรณีฉ้อโกง ทุจริต 2. กรณีสร้างราคาหุ้น 3. กรณีแพร่ข่าว ข้อความเท็จ 4. กรณีใช้ข้อมูลภายใน

  31. 1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต ตัวอย่างที่ 1 : บมจ. A • ข้อเท็จจริง • ตั้งแต่ปี 2538 บมจ. A มีบัญชีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นทุกปี • งบการเงินสิ้นปี 2540 ของ บมจ. A ปรากฏค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนจำนวน 500 ล้านบาท

  32. 1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต(ต่อ) ตัวอย่างที่ 1 : บมจ. A (ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • นาย ก ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของ บมจ. A นำเงินไปลงทุนในกิจการส่วนตัวหลายแห่ง โดยไม่ขออนุมัติ board ทำให้บมจ. A เสียหาย • กิจการส่วนตัวที่นาย ก ไปลงทุน บางแห่งก็ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจ บางแห่งก็มีผลขาดทุนจำนวนมาก • นาย ก สั่งการให้ นาย ข ซึ่งเป็นเลขานุการบริษัท ทำรายงานการประชุม board ปลอมว่า board อนุมัติให้บมจ. A ไปลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้อง Blacklist : นาย ก. ผู้กระทำการ นาย ข. ผู้ร่วมสนับสนุน

  33. 1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต (ต่อ) ตัวอย่างที่ 2 : บมจ. B • ข้อเท็จจริง • งบการเงินของ บมจ. B ตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2543 ปรากฏผลกำไรทุกปี • ปี 2544 ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่าวิธีการบันทึกบัญชีรายได้ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีรับรองทั่วไปซึ่งถ้าปรับปรุงให้ถูกต้อง บมจ. B จะขาดทุนเป็นจำนวนมาก

  34. 1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต (ต่อ) ตัวอย่างที่ 2 : บมจ. B (ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • MD จงใจแต่งบัญชี เพื่อลวงผู้ถือหุ้นว่า บมจ. B มีกำไร • ขายหุ้นของตนออกไปเป็นจำนวนมาก ก่อนจะแก้ไขงบให้ถูกต้อง • ไม่รายงานการซื้อขายให้ผู้ลงทุนทราบ Blacklist : MD ผู้กระทำการ

  35. 1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต (ต่อ) ตัวอย่างที่ 3 : บมจ. C • ข้อเท็จจริง • กรรมการ 3 ราย ร่วมกันนำรายงานการประชุม board ไปเปิดบัญชี O/D • รายงานการประชุม board ระบุว่า ให้กรรมการทั้ง 3 รายดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงินจากบัญชี

  36. 1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต (ต่อ) ตัวอย่างที่ 3 : บมจ. C (ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • กรรมการทั้ง 3 ราย ร่วมกันปลอมรายงานการประชุม board ที่ใช้เป็นเอกสารประกอบการเปิดบัญชี • กรรมการทั้ง 3 ราย เบิกเงินจากธนาคาร 8 แห่ง รวม 400 ล้านบาทนำไปเข้าบัญชีส่วนตัว ทำให้ บมจ. C มีหนี้สินค้างชำระกับธนาคารเป็นจำนวนมาก • กรรมการอิสระแจ้งภายหลังว่า ไม่เคยมีการประชุม board ครั้งดังกล่าว • บมจ. C ไม่สามารถจัดทำบัญชีได้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง Blacklist : กรรมการทั้ง 3 ราย ที่ร่วมกันกระทำการ

  37. 2.กรณีสร้างราคาหุ้น • ข้อเท็จจริง • ในช่วงเดือน ก.ย. – พ.ย. 2544มีข่าวลือในห้องค้าเกี่ยวกับราคาหุ้นของ บมจ. D • ปริมาณการซื้อขายหุ้นของ บมจ. D ในช่วงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก

  38. 2.กรณีสร้างราคาหุ้น (ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • ประธานกรรมการ และ MD ของ บมจ. D ร่วมกันซื้อขายหุ้น ผ่านบัญชีตนเองและผู้เกี่ยวข้อง • ราคา และปริมาณซื้อขายหุ้นผิดปกติ ไม่สอดคล้องกับสภาพตลาด โดยมีลักษณะการทำรายการ ดังนี้ • จับคู่ซื้อขายกันเอง • ส่งคำสั่งซื้อขายหลายระดับในช่วงก่อนเวลาเปิด และทำราคาปิด • ซื้อหุ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ราคาสูงขึ้น • แตกคำสั่งเป็นคำสั่งย่อย ๆ ให้ดูเสมือนว่ามีผู้ต้องการหุ้นอย่างต่อเนื่อง Blacklist : ประธานกรรมการ และ MD ที่ร่วมกันกระทำการ

  39. 3.กรณีแพร่ข่าว ข้อความเท็จ • ข้อเท็จจริง • บมจ. E อยู่ระหว่างยื่นขอเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน • บมจ. E สั่งให้บริษัท F ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา เผยแพร่รายงานการประเมินมูลค่าบริษัท และราคาหุ้นของ บมจ. E ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยไม่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ และไม่เปิดเผยในร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อ กลต.

  40. 3.กรณีแพร่ข่าว ข้อความเท็จ(ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • ข้อมูลที่เผยแพร่ : บมจ. E มีมูลค่า 10,000 ล้านบาท และมูลค่าที่เหมาะสมคือ 100 บาท/หุ้น (ขณะนั้นหุ้น บมจ. E ราคาประมาณ 50 บาท/หุ้น ) • ข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่า หุ้นของ บมจ. E จะมีราคาสูงขึ้น Blacklist : MD บมจ. E และบริษัท F ที่ปรึกษา

  41. 4.กรณีใช้ข้อมูลภายใน • ข้อเท็จจริง • บมจ. G ได้รับรายงานผลการตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแล • บมจ. G เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพิจารณารายงานดังกล่าว โดยที่ประชุมมีนาย ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนาย ง ผู้อำนวยการฝ่ายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ร่วมประชุมด้วย

  42. 4.กรณีใช้ข้อมูลภายใน(ต่อ)4.กรณีใช้ข้อมูลภายใน(ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • ก่อนที่งบการเงินจะเผยแพร่ นาย ค และนาย ง ได้ทยอยขายหุ้นของ บมจ. G ที่ตนถืออยู่ออกเป็นจำนวนมาก • นาย ค และนาย ง ได้ใช้ข้อมูลในรายงานผลการตรวจสอบของหน่วยงานกำกับดูแล โดยรายงานผลการตรวจสอบระบุว่าบมจ. G ต้องตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท Blacklist : นาย ค และนาย ง ผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายใน

  43. Q & A

  44. หน้าจอ วิธีค้นหา white list next

  45. ตัวอย่างหน้าจอ white list back

More Related