1 / 34

รายงานการสอบบัญชี

รายงานการสอบบัญชี. กลุ่มมาตรฐานการสอบบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี. กระบวนการสอบบัญชี. การปฏิบัติงานสอบบัญชีและกระดาษทำการ. การรายงานการสอบบัญชี. การวางแผนงานสอบบัญชี. 2. มาตรฐานการรายงาน. การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี. การรายงานผลการตรวจสอบบัญชี.

Download Presentation

รายงานการสอบบัญชี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานการสอบบัญชี กลุ่มมาตรฐานการสอบบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี

  2. กระบวนการสอบบัญชี การปฏิบัติงานสอบบัญชีและกระดาษทำการ การรายงานการสอบบัญชี การวางแผนงานสอบบัญชี 2

  3. มาตรฐานการรายงาน การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี การรายงานผลการตรวจสอบบัญชี การรายงานผลการปฏิบัติงาน 3

  4. ประเด็นสำคัญ 1. ความสำคัญของรายงานการสอบบัญชีสหกรณ์2. การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำ รายงานของผู้สอบบัญชี3. หลักการเขียนรายงานของผู้สอบบัญชี 4

  5. 1. ความสำคัญของรายงานการสอบบัญชีสหกรณ์ - เป็นผลงานขั้นสุดท้ายของกระบวนการสอบบัญชี - เป็นรายงานที่อธิบายถึงสิ่งที่ผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติและข้อสรุปที่ได้ จากการรวบรวมและประเมินหลักฐานการสอบบัญชี รวมถึงขอบเขตการปฏิบัติงานตรวจสอบ ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน รวมทั้งความรับผิดชอบของคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินที่ตรวจสอบ 5

  6. 1. ความสำคัญของรายงานการสอบบัญชีสหกรณ์ ให้ จัดทำ ผู้สอบบัญชี รายงานของผู้สอบบัญชี ผู้ใช้ แก่ นำเสนอ ข้อสรุปหรือ ผลงานขั้นสุดท้าย 6

  7. 2. การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี ปรึกษาหารือ ผู้สอบบัญชี ไม่มีเงื่อนไข การแสดงความเห็น ต่องบการเงิน มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป มีเงื่อนไข สตส./สตท. ระเบียบ กตส.ว่าด้วยการแสดง ความเห็นต่องบการเงิน พ.ศ. 2544 ไม่ถูกต้อง กตส. หนังสือที่ กษ 0403/ว.1019 ลว.9 ก.ค.47 แนวการแสดงความเห็นต่องบการเงิน และการจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี ไม่แสดงความเห็น กตส. 7

  8. 2. การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี 2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐาน 2.2 ประเภทการแสดงความเห็นต่องบการเงิน 2.3 สถานการณ์ที่กระทบและไม่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2.4 ระดับความมีสาระสำคัญที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 8

  9. 2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐานประกอบด้วย 8 ส่วนดังนี้ 1) ชื่อรายงาน 5) วรรคความเห็น 6) ลายมือชื่อผู้สอบบัญชี 2) ผู้แต่งตั้งผู้สอบบัญชี 3) วรรคนำ 7) ที่ตั้งสำนักงาน 4) วรรคขอบเขต 8) วันที่ในรายงาน 9

  10. 2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐาน รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ นายทะเบียนสหกรณ์ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ ................... 25X2 และ 25X1 งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปี ของสหกรณ์..........................จำกัด ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงิน เหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน ดังกล่าว จากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า 1. ชื่อรายงาน 2. ผู้แต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี 3. วรรคนำ 10

  11. 2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐาน ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ที่รับรองทั่วไปและตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ซึ่งกำหนดให้ข้าเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่น อย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐาน ประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่สหกรณ์ใช้ และ ประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึง ความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวได้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่าง เหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า 4. วรรคขอบเขต 11

  12. 2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐาน ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ ...... 25X2 และ 25X1 ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุด วันเดียวกันของแต่ละปี ของสหกรณ์ ................................... จำกัด โดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์ กำหนด ลงชื่อ......................................... (........................................) ผู้สอบบัญชี สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์......................... กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ วันที่.................................. 5. วรรคความเห็น 6. ลายมือชื่อ ผู้สอบบัญชี 7. ที่ตั้งสำนักงาน 8. วันที่รายงาน 12

  13. 2.2 ประเภทการแสดงความเห็นต่องบการเงิน จำแนกได้ 4 อย่างคือ 2.2.1 การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข 2.2.2 การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข 2.2.3 การแสดงความเห็นว่างบไม่ถูกต้อง 2.2.4 รายงานว่าไม่แสดงความเห็น นำไป ใช้เป็น หลักฐาน ข้อสรุป ความเห็น สู่ เกณฑ์แสดง 13

  14. 2.2.1 การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข ผู้สอบบัญชีแสดงวามเห็นต่องบการเงินแบบไม่มีเงื่อนไข ได้เมื่อ 1) ผู้สอบบัญชีสามารถปฏิบัติงานตรวจสอบได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชีและ ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ได้แก่ การวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบ เพื่อให้ทราบว่างบการเงินแสดงข้อมูลไม่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ2) ผู้สอบบัญชีเชื่อมั่นว่างบการเงินที่ตรวจสอบ แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด (สหกรณ์ออมทรัพย์) ของสหกรณ์ โดยถูกต้องตามที่ควรใน สาระสำคัญตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด รวมถึงได้มีการเปิดเผยข้อมูล อย่างเพียงพอแล้ว 14

  15. 2.2.2 การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข ผู้สอบบัญชีต้องแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ต่อไปนี้ โดยมีสาระสำคัญ 1) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรฐานการสอบบัญชี และระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เรียกว่า “ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด” ซึ่งการถูก จำกัดขอบเขตการตรวจสอบจะต้องไม่ใช่สาเหตุที่เกิดจากผู้สอบบัญชีเอง 2) งบการเงินที่ตรวจสอบมิได้แสดงรายการและข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์โดยถูกต้องตามที่ควร ในสาระสำคัญ ตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เรียกว่า “การปฏิบัติผิดหลักการบัญชี” 3) งบการเงินที่ตรวจสอบมิได้เปิดเผยข้อมูลในงบการเงินและในหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่าง เพียงพอ อันอาจทำให้เกิดการหลงผิดหรือเสียหายแก่สหกรณ์และผู้ใช้งบการเงิน เรียกว่า “การ เปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอ” 4) บัญชีและงบการเงินที่ตรวจสอบมิได้จัดทำตามที่กฎหมายและระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ กำหนด เรียกว่า “การผิดกฎหมายบัญชี” 15

  16. ผู้สอบบัญชีต้องแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง เมื่อผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี และระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด จนได้หลักฐานต่างๆ อย่างเพียงพอที่แสดงว่างบการเงินไม่ถูกต้องในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามข้อ 2.2 ข้อ 2) ข้อ 3) และข้อ 4) โดยมีสาระสำคัญมาก 2.2.3 การแสดงความเห็นว่างบไม่ถูกต้อง 16

  17. 2.2.4 รายงานว่าไม่แสดงความเห็น ผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน เมื่อไม่สามารถตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี และระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนดในส่วนที่เป็นสาระสำคัญมาก เป็นสาเหตุให้ไม่สามารถรวบรวมหลักฐานได้อย่างเพียงพอในการแสดงความเห็นต่องบการเงินว่า งบการเงินที่ตรวจสอบมีความถูกต้องเพียงใด รวมทั้งต้องรายงานว่าไม่แสดงความเห็น เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีดังต่อไปนี้ โดยมีสาระสำคัญมาก 1) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้สอบบัญชีได้ตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด 2) มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของ สหกรณ์ และ/หรือมีความไม่แน่นอนอื่นในอนาคตที่มีสาระสำคัญมาก อันอาจ กระทบถึงฐานะการเงินของสหกรณ์นั้น 17

  18. 2.3 สถานการณ์ที่กระทบและไม่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2.3.1 สถานการณ์ที่ไม่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี - เพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ - ไม่กล่าวถึงในวรรคความเห็น 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี - มี 5 กรณี - เพิ่มวรรคอธิบาย - กล่าวถึงในวรรคความเห็น 18

  19. 2.3.1 สถานการณ์ที่ไม่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี เช่น - มีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่อาจกระทบต่อฐานะการเงินและผลการ ดำเนินงานในอนาคต ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของสหกรณ์ เช่น หนี้สินที่อาจ เกิดขึ้น ภาวะค้ำประกันความไม่แน่นอนของผลการฟ้องร้องคดีฯ - มีการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีหรือประมาณการทางบัญชี - มีเหตุการณ์ที่สำคัญภายหลังวันที่ในงบการเงิน ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องการเน้นข้อมูลและเหตุการณ์เพื่อเตือนให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี ให้ผู้สอบบัญชีเพิ่มวรรคเน้น เพื่อเน้นข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่อท้ายวรรคความเห็น พร้อมทั้งเน้นด้วยว่า ความเห็นของผู้สอบบัญชียังคงเป็นความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข 19

  20. 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี มี 5 กรณี ดังนี้ 1) ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด 2) มีความไม่แน่นอน (นอกเหนือจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ ความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร) 3) มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่อง 4) ความขัดแย้งกับผู้บริหารสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 5) การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี 20

  21. 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 1. ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด หมายถึง ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด และ/หรือมาตรฐานการสอบบัญชี และ/หรือระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในความถูกต้องตามที่ควรของรายงานในงบการเงิน หรือไม่สามารถหาหลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับรายการนั้นๆ เนื่องจากสหกรณ์ไม่นำหลักฐานมาให้ตรวจสอบและ ไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นทดแทนได้ แต่ถ้าสามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นทดแทนจนได้หลักฐานเป็นที่พอใจ ในกรณีนี้ไม่ถือว่าถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ เพราะว่าตรวจสอบได้ในที่สุด ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัดโดยสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัดโดยสถานการณ์ 21

  22. 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 1.1) ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัดโดยสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กรณีสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรไม่ให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี หรือขัดขวางการปฏิบัติงาน ตรวจสอบของผู้สอบบัญชี หรือไม่ยินยอมให้ตรวจสอบ อาจมีเจตนาปกปิด หรือปิดบังการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ไม่ให้ผู้สอบบัญชีทราบ เช่น - ไม่ให้ยืนยันลูกหนี้/เจ้าหนี้ - ไม่ให้ยืนยันยอดธนาคาร - ไม่ให้ตรวจโฉนดที่ดิน และหลักฐานการซื้อขาย - ไม่ให้ตรวจสัญญาทางการค้าที่สำคัญ - สหกรณ์ปฏิเสธที่จะออกหนังสือรับรองของสหกรณ์ 22

  23. 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 1.2) ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัดโดยสถานการณ์ เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือ เหตุการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุมของสหกรณ์หรือคณะกรรมการดำเนินการ และเห็นว่าเป็นเรื่องพ้นวิสัยของสหกรณ์และผู้สอบบัญชีเอง เช่น - ลูกหนี้ตอบทักท้วงหรือปฏิเสธ และสหกรณ์ยังไม่อาจหาสาเหตุที่แท้จริง ได้เพื่อปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้อง - ไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือได้ เนื่องจากไฟไหม้ หรือน้ำท่วมสินค้า - ทนายความปฏิเสธที่จะตอบเกี่ยวกับผลของคดีฟ้องร้อง 23

  24. 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2. มีความไม่แน่นอน (นอกเหนือจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความ สามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร)เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วและอาจมีผลกระทบต่องบการเงิน แต่คณะกรรมการดำเนินการ ไม่สามารถคาดคะเนหรือประมาณได้อย่างมีเหตุผล ว่าจะคลี่คลายไปในทางใด ณ วันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี ขึ้นอยู่กับผลของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดได้ว่าควรปรับปรุงงบการเงินหรือไม่ เช่น ผลการฟ้องร้องคดี หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น 3. มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องถ้ามีข้อบ่งชี้ทางการเงิน การดำเนินงานหรือด้านอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอาจไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น - มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ - มีขาดทุนสะสมเป็นจำนวนสูงมากจนทำให้ ส่วนของทุนสหกรณ์ติดลบหรือหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 24

  25. 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 4. ความขัดแย้งกับผู้บริหารสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมี 2 กรณี คือ นโยบายบัญชีหรือวิธีปฏิบัติทางบัญชี ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด แต่คณะกรรมการดำเนินการไม่เห็นด้วยกับผู้สอบบัญชี หรือไม่ยอมปรับปรุงงบการเงินให้ถูกต้อง เช่น ไม่ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้เพียงพอ เป็นต้น การเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอ อาจทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดการหลงผิดหรือเข้าใจผิดหรือเสียหายแก่สหกรณ์หรือบุคคลอื่น เช่น - ไม่เปิดเผยภาระผูกพันต่างๆ เช่น การนำที่ดินของสหกรณ์ไปค้ำประกันเงินกู้ฯ - ไม่เปิดเผยหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า เช่น การถูกฟ้องร้องค่าเสียหาย - ไม่เปิดเผยเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน 25

  26. 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 5. การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีกรณีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี เปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชีไม่เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนดหรือมาตรฐานการบัญชีและมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ เช่น เปลี่ยนวิธีตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นร้อยละ 5 ของยอดขายทั้งสิ้น โดยไม่คำนึงถึงระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เป็นต้น 26

  27. 2.4 ระดับความมีสาระสำคัญที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2.4.1) ระดับความมีสาระสำคัญ หมายถึง ขนาดหรือลักษณะของความไม่ถูกต้องของข้อมูลและรายการที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของงบการเงินที่ตรวจสอบ ซึ่งผู้สอบบัญชีต้องใช้วิจารณญาณเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีในการพิจารณาจาก - สิ่งที่วัดได้เป็นตัวเลข เช่น จำนวนเงิน อัตราร้อยละฯ - สิ่งที่วัดเป็นตัวเลขไม่ได้ เช่น การเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอหรือไม่เปิดเผยข้อมูล - ผลกระทบที่มีต่อยอดคงเหลือของแต่ละบัญชีที่เกี่ยวข้องและต่องบการเงินโดยรวม ระดับความมีสาระสำคัญ แบ่งเป็น 3 ระดับ (1) ไม่มีสาระสำคัญ คือ ไม่มีผลกระทบหรือมีผลกระทบน้อยมากต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้งบการเงิน (2) มีสาระสำคัญ คือ มีผลกระทบพอสมควรต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน (3) มีสาระสำคัญมาก คือ มีผลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน 27

  28. 2.4 ระดับความมีสาระสำคัญที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2.4.2) ผลของความมีสาระสำคัญต่อการแสดงความเห็นต่องบการเงิน (1) ไม่มีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ (2) มีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข (3) มีสาระสำคัญมาก ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (กรณีมีความขัดแย้งกับผู้บริหารในเรื่องที่มีสาระสำคัญมากต่องบการเงิน) หรือไม่แสดงความเห็น (กรณีมีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญมาก หรือการถูกจำกัดขอบเขตที่มีสาระสำคัญมาก) 28

  29. 3. หลักการเขียนรายงานของผู้สอบบัญชี 3.1 การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข 3.2 การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข 3.3 การแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง 3.4 รายงานว่าไม่แสดงความเห็น 29

  30. 3.1 การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข วรรคนำ วรรคขอบเขต วรรคความเห็น วรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ เน้นว่าความเห็นของผู้สอบบัญชียังคงเป็นแบบไม่มีเงื่อนไข (ถ้ามี) 30

  31. 3.2 การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข วรรคนำ วรรคขอบเขต เหตุผล / ผลกระทบ / รายงานและจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องในงบการเงินปีใด วรรคอธิบาย - ยกเว้นผลของรายการปรับปรุงที่อาจจำเป็น (กรณีขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด) - ยกเว้นผลกระทบต่องบการเงิน (กรณีขัดแย้งกับผู้บริหาร) วรรคความเห็น “ยกเว้น” 30

  32. 3.3 การแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง วรรคนำ วรรคขอบเขต วรรคอธิบาย เนื่องจากเรื่องที่กล่าวในวรรคที่ 3 (วรรคอธิบาย) มีสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงินปี...... ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้ไม่ได้แสดงฐานะการเงิน.... วรรคความเห็น 30

  33. 3.4 การรายงานว่าไม่แสดงความเห็น วรรคนำ วรรคขอบเขต (อาจไม่มี) วรรคอธิบาย วรรคความเห็น ...... เนื่องจาก(รายการที่ตรวจสอบ) ดังที่กล่าวในวรรคที่ 3 (วรรคอธิบาย) มีสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงิน ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็น..... 30

  34. สวัสดี... C A D กลุ่มมาตรฐานการสอบบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี

More Related