1 / 57

การพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นายปรเมศวร์ โตอดิเทพย์ นิติกรชำนาญการ สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 3.2010. แนวทางการวินิจฉัยเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ. การจัดหาครุภัณฑ์/รถยนต์ของ อปท. นส.มท. ที่ มท 0808.2/ว1989 ลว. 22 มิ.ย. 52. รถส่วนกลาง / ครุภัณฑ์

Download Presentation

การพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายปรเมศวร์ โตอดิเทพย์ นิติกรชำนาญการ สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 3.2010

  2. แนวทางการวินิจฉัยเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุแนวทางการวินิจฉัยเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ

  3. การจัดหาครุภัณฑ์/รถยนต์ของ อปท. นส.มท. ที่ มท 0808.2/ว1989 ลว. 22 มิ.ย. 52 • รถส่วนกลาง / ครุภัณฑ์ • ขนาดและราคาให้จัดหาตามบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ • ถ้าขนาดและ/หรือราคานอกเหนือบัญชี ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น ในคำชี้แจงประกอบงบประมาณ + จัดหาตามราคาท้องถิ่น/ ที่เคยจัดหาอย่างประหยัด • รถประจำตำแหน่ง • ไม่เกิน 2,400 ซีซี ราคาและคุณลักษณะอื่นๆ ให้เป็นไปตามบัญชี • รถรับรอง • ห้ามจัดซื้อรถรับรอง (มติ ครม. 8 ก.พ. 43)

  4. การจำหน่ายพัสดุโดยวิธีขายทอดตลาดการจำหน่ายพัสดุโดยวิธีขายทอดตลาด หนังสือ มท. ที่ มท 0808.2/ว 3794 ลว. 17 พ.ย. 52 ระเบียบพัสดุ ข้อ 150 (1) / ข้อ 78 (1) ขายทอดตลาดตามหลักเกณฑ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 509 - 517 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นใช้ดุลพินิจประเมินราคาทรัพย์สินก่อนขายทอดตลาด โดยใช้เกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด /ราคาตามสภาพพัสดุ ณ เวลาขาย 2. ราคาตามลักษณะ ประเภท ชนิดของพัสดุ และอายุการใช้งาน /สภาพ สถานที่ตั้ง ของพัสดุ กรณีที่ไม่มีจำหน่ายทั่วไป

  5. การซื้อวัสดุครุภัณฑ์ให้หน่วยราชการอื่นยืม หนังสือ มท. ที่ มท 0808.2/ว 2804 ลว. 4 ก.ย. 51 ระเบียบพัสดุ ข้อ 139 - 143 / ข้อ 67 - 71 หลักเกณฑ์ : มีพัสดุไว้ใช้งานอยู่แล้ว  ให้หน่วยงานอื่นยืม เพื่อช่วยเหลือสนับสนุน ปัญหาที่พบ : ไม่มีพัสดุอยู่ก่อนหน้า แต่จัดซื้อใหม่ แล้วนำไปให้หน่วยงานอื่นยืม ซื้อพัสดุมาแล้ว โอนพัสดุให้หน่วยงานอื่นทันที ซื้อพัสดุตามที่หน่วยงานอื่นร้องขอ โดยไม่มี กม. /ระเบียบ กำหนดให้กระทำได้

  6. VAT นส.ที่ กค (กวพ) 0421.3/04915 ลว 26 ก.พ.51 (1) สตภ.ที่ 2 ท้วงอบต.หนองบัวว่า คกก.เปิดซองสอบราคาไม่นำราคากลางมาหัก vat ก่อนเปรียบเทียบราคา ทำให้ราคาจ้างสูงกว่าราคากลางที่หัก vat แล้ว ราคากลาง = ค่าก่อสร้างตามหลักเกณฑ์ที่ ครม.กำหนด เป็นราคาที่ราชการยอมรับไม่สูงจนผู้ประกอบการกำไรมากเกินกว่าที่ควร และไม่ต่ำจนผู้ประกอบการไม่สามารถทำได้

  7. นส.ที่ กค (กวพ) 0421.3/04915 ลว 26 ก.พ.51 (2) ดังนั้น ราคากลางจึงไม่ใช่ราคามาตรฐานงานก่อสร้าง แต่เป็นราคาที่ได้จากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ของระเบียบที่เกี่ยวข้อง คือ ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 20 ดังนั้น หากผู้เสนอราคารายต่ำสุด ได้เสนอราคาถูกต้องตามรายละเอียดในเอกสารการสอบราคา โดยรวมภาษีทุกชนิดแล้ว ราชการ ก็สามารถรับราคากับผู้เสนอราคารายนั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำการเปรียบเทียบกับราคากลางหลังหัก vatกับผู้เสนอราคารายอื่นอีก สรุป - ไม่ต้องหัก vat จากราคาที่ผู้เสนอราคาได้เสนอ * ข้อสังเกต - แต่ต้องหัก vat กรณีที่ทำสัญญากับบุคคลธรรมดา

  8. หนังสือ มท. ที่ มท 0307/ว 1380 ลว. 14 มิ.ย. 36 • การจัดซื้อครุภัณฑ์เก่า (มือสอง) • เงื่อนไข • มีความจำเป็น - งบประมาณไม่พอ หาซื้อครุภัณฑ์ใหม่ไม่ได้ • ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งาน • ประกันความชำรุดบกพร่อง อย่างน้อย 6 เดือน • หาอะไหล่ได้ง่าย

  9. หนังสือ มท. ด่วนมาก ที่ มท 0804/ว 2269 ลว. 4 ก.ค. 46 • การดัดแปลงพัสดุ • อปท. เป็นเจ้าของทรัพย์สิน • ต่อเติม ดัดแปลง หรือรื้อถอน • ดำเนินการตามระเบียบพัสดุ

  10. ซื้อกระดาษสำนักงานมีราคากลางหรือไม่ซื้อกระดาษสำนักงานมีราคากลางหรือไม่ • เคยมี แต่ปัจจุบันยกเลิกแล้ว (มติ ครม. 29 พ.ค. 50) • ให้ซื้อได้โดยเสรี (ตามราคาท้องตลาด) • หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0421.3/ 16781 ลว. 26 มิ.ย. 51

  11. การพิจารณาคุณสมบัติของ Joint Venture ถ้า JV (กิจการร่วมค้า) ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ใช้ผลงานของนิติบุคคลรายไหนก็ได้ ถ้าไม่ได้จดฯ ใหม่ ใช้ผลงานของผู้ค้าหลัก หนังสือ มท. ที่ มท 0313.4/ 3054 ลว. 24 ต.ค. 43

  12. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับพัสดุแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับพัสดุ

  13. 1. การจัดหาพัสดุ1.1 การพิจารณาคุณสมบัติ คุณลักษณะ และราคา 1.2 การบริหารสัญญา 1.3 การตรวจรับงาน2. การควบคุมพัสดุ3. การจำหน่ายพัสดุ

  14. 1. การจัดหาพัสดุ

  15. สัญญาบริการ อบต.บ้านใหม่ (ปทุมธานี) จะทำสัญญาบริการกับ บ.เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด โดยบริษัทฯ จะมอบให้ อบต.เป็นผู้รับชำระเงินค่าสินค้าและ/หรือบริการ ตลอดจนการจำหน่ายตั๋วหรือบัตรผ่านเข้าชมงานต่างๆ ซึ่งบริษัทฯ จะให้ค่าตอบแทนแก่ อบต. ในอัตรา 4 บาท/ 1 รายการ จะสามารถกระทำได้หรือไม่ ภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและ อบต. พ.ศ. 2537 และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 ไม่ได้กำหนดภารกิจอำนาจหน้าที่ดังกล่าวไว้ กิจการตามร่างสัญญาบริการระหว่างบริษัทฯ กับ อบต. จึงไม่อาจกระทำได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 23081 ลว. 15 ก.พ. 49

  16. การซื้อครุภัณฑ์โดยวิธีผ่อนชำระการซื้อครุภัณฑ์โดยวิธีผ่อนชำระ อบต.หนองแหย่ง (เชียงใหม่) ขออนุมัติจัดซื้อครุภัณฑ์รถยนต์บรรทุกน้ำฯ และรถกระเช้าซ่อมไฟฟ้า งปม. 2,850,000 บ. โดยผ่อนชำระ 4 ปี ปีละ 712,500 บ. จะดำเนินการได้หรือไม่ ระเบียบพัสดุ อบต. ไม่ได้กำหนดวิธีการจัดหาพัสดุโดยวิธีผ่อนชำระไว้ การซื้อพัสดุโดยผ่อนชำระเป็นงวดๆ จึงเป็นการได้มาซึ่งพัสดุที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้ หาก อบต.จะจัดซื้อพัสดุในลักษณะดังกล่าว ต้องอนุโลมตามวิธีการจัดซื้อที่กำหนดไว้ในระเบียบ (ตามนัยข้อ 9) ทั้งนี้ จะต้องมีเหตุผลความจำเป็น เช่น มีข้อจำกัดด้าน งปม. และควรจะต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ขายจะต้องส่งมอบและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ อบต. ก่อนที่จะผ่อนชำระเงินงวดแรก เมื่อกรณีนี้เป็นการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่า 1 ปี งปม. ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ ดังนั้น จึงต้องขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ งปม. พ.ศ. 2541 ข้อ 38 ต่อ ผวจ. ด้วย หนังสือ มท. ที่ มท 0808.2/ 9041 ลว. 5 ก.ย. 51

  17. จ่ายขาดเงินสะสมซื้อรถส่วนกลางนอกบัญชีฯจ่ายขาดเงินสะสมซื้อรถส่วนกลางนอกบัญชีฯ จ.สุพรรณบุรี หารือแนวทางปฏิบัติตาม นส. มท. ที่ มท 0808.2/ว 1989 ลว. 22 มิ.ย. 52 เรื่อง การตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์และรถยนต์ของ อปท. ตามข้อ 2 การซื้อรถส่วนกลางนอกเหนือบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ฯ ว่า การซื้อรถโดยจ่ายขาดจากเงินสะสมไม่สามารถดำเนินการได้ ระเบียบเบิกจ่ายฯ 2547 ข้อ 89 กำหนดให้การจ่ายขาดฯ เป็นอำนาจของสภาท้องถิ่น เฉพาะกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ได้แก่ 1.การบริการชุมชนสังคม 2. กิจการที่เพิ่มพูนรายได้ 3. กิจการเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของ ปชช. หากการซื้อรถดังกล่าวเข้าเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ ก็สามารถจ่ายขาดเงินสะสมเพื่อจัดซื้อได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 1532 ลว. 23 ก.พ. 53

  18. ข้อพิจารณาในการจัดซื้อที่ดินข้อพิจารณาในการจัดซื้อที่ดิน อบต.หนองบัว (กาญจนบุรี) จะจัดซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่ทิ้งขยะ แต่ที่ดินที่จะซื้อไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ (โฉนดที่ดิน) มีเพียงหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่กับ อบต.เท่านั้น อบต.จะจัดซื้อที่ดินแปลงนี้ได้หรือไม่ ป.พ.พ. ม. 453 “...การซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ...” อบต. จึงต้องจัดซื้อที่ดินที่เจ้าของสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ อบต. ได้ตามกฎหมาย หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 62275 ลว. 9 ต.ค. 49

  19. การมอบอำนาจดำเนินการตามระเบียบพัสดุฯการมอบอำนาจดำเนินการตามระเบียบพัสดุฯ อบจ.อุบลราชธานีได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. นายก อบจ.อุบลฯ จะมอบอำนาจการดำเนินการจัดหาพัสดุตามระเบียบ มท. พัสดุฯ 2535 ข้อ 7 ให้นายอำเภอ (ประธานอนุกรรมการการเลือกตั้งระดับอำเภอ) เพื่อดำเนินการแทนจะได้หรือไม่ พ.ร.บ.อบจ. 2540 ม.39/1 วรรคสี่ นายก อบจ. อาจมอบอำนาจให้กับรองนายก อบจ. หรือปลัด อบจ. ก็ได้ แต่ถ้ามอบให้ปลัด อบจ. หรือรองปลัด อบจ. ปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ ปชช. ทราบ ตามระเบียบฯ ข้อ 7 มีเจตนารมณ์ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบ อาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ (คำนึงถึง ระดับ/ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ) ทั้งนี้ จะต้องเป็นการมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงไปใน อบจ. นั้น ไม่อาจมอบอำนาจให้แก่นายอำเภอได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 6249 ลว. 27 พ.ค. 51

  20. การกำหนดผลงานก่อสร้างกรณีมีงานจ้างหลายประเภทการกำหนดผลงานก่อสร้างกรณีมีงานจ้างหลายประเภท ทน.นครศรีธรรมราช ประมูลจ้าง e-Auction โครงการก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต พร้อมก่อสร้างท่อระบายน้ำ และทางเท้าโดยกำหนดผลงานก่อสร้างว่า ผู้เสนอราคาต้องมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกัน ไม่น้อยกว่าสัญญาละ 7 ล้านบาท และได้ตัดสิทธิผู้เสนอราคาทั้ง 2 ราย เนื่องจากมีผลงานเฉพาะก่อสร้างถนน แต่ไม่มีผลงานก่อสร้างท่อระบายน้ำและทางเท้า โครงการก่อสร้างที่ประกอบด้วยงานหลายประเภท ในการกำหนดผลงานควรกำหนดผลงานที่เป็นเนื้องานหลักของงานก่อสร้าง เพื่อเป็นการเปิดกว้างเพียงพอที่จะให้ คกก.เห็นว่า ผู้เสนอราคามีความสามารถในการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาก่อสร้างได้ (ตามนัยหนังสือ มท. ที่ มท 0313.4/ 1130 ลว. 24 ม.ค. 45) หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 35728 ลว. 23 มี.ค. 49

  21. การกำหนดวัน-เวลาขายเอกสารการกำหนดวัน-เวลาขายเอกสาร อบต.โนนแดง (นครราชสีมา) ประกาศสอบราคาก่อสร้างถนน คสล. โดยกำหนดให้ผู้สนใจติดต่อขอซื้อเอกสารสอบราคาได้ระหว่างวันที่ 6 - 19 ก.พ. 50 ในวันราชการ ระหว่างเวลา 08.30-15.00 น. ประกาศสอบราคาของ อบต. ต้องทำตามตัวอย่างที่กรมการปกครองกำหนด ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวกำหนดว่า “...ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อ เอกสารสอบราคาได้ในวันและเวลาราชการ” การที่ อบต. กำหนดเวลาขายเอกสารไม่เป็นไปตามตัวอย่างที่ ปค. กำหนด จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง แต่เมื่อ อบต.ได้ประกาศไปแล้ว ย่อมมีผลผูกพันบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมเสนอราคาโดยสุจริต เว้นแต่ประกาศดังกล่าวจะก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการเสนอราคา อบต. ก็อาจพิจารณายกเลิกประกาศได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 8810 ลว. 12 ก.ค. 50

  22. 1.1 การพิจารณาคุณสมบัติ คุณลักษณะ และราคา

  23. คุณสมบัติของผู้เสนอราคาในงานจ้างก่อสร้างคุณสมบัติของผู้เสนอราคาในงานจ้างก่อสร้าง อบต.บัวลาย (นครราชสีมา) ประกาศสอบราคาจ้างเหมาก่อสร้างถนน คสล. โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาว่า “ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานที่สอบราคาจ้าง” ร้าน อ. ได้จดทะเบียนพาณิชย์ โดยกำหนดชนิดแห่งพาณิชยกิจว่า “จำหน่ายวัสดุก่อสร้างทุกชนิด” และได้แนบหนังสือรับรองผลงานมาด้วย จะถือว่า ร้าน อ. มีคุณสมบัติถูกต้องตามประกาศหรือไม่ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉ.10) พ.ศ. 2551 รมต.พณ.ได้ออกประกาศฯ ตาม ม. 7 (6) และ ม.8 แห่ง พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจตามข้อ 4 (2) การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง...ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างก็เข้าเงื่อนไขดังกล่าว ส่วนการรับจ้างนั้นไม่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนฯ จึงต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่าร้าน อ. เป็นผู้มีอาชีพรับจ้างก่อสร้างหรือไม่ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 12032 ลว. 9 ต.ค. 51

  24. ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ตามระเบียบพัสดุฯ มี 2 ลักษณะ 1. มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหาร ได้แก่ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการ 2. มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุน ได้แก่ ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน การเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น รวมถึง คู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย กรณีใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการ โดยตนเองเป็นผู้มีอำนาจบริหารที่แท้จริง กรณีนามสกุลเดียวกัน เนื่องจากเกี่ยวพันเป็นญาติ (ไม่รวมคู่สมรส+บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ไม่ถือว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 62808 ลว. 16 ต.ค. 49

  25. ผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากผู้ผลิตผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากผู้ผลิต บริษัท บางกอกไทย-ยูเรเซียฯ ยื่นซองประมูล e-Auction แต่ถูก ทต.งิม จ.พะเยา ตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมประมูล เนื่องจากเห็นว่า บ.บางกอกฯ ไม่ได้เป็นผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากผู้ผลิต ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บ.บางกอกฯ ได้รับการแต่งตั้งจาก บ.บางกอก มอเตอร์เวอคส์ฯ ผู้แทนจำหน่ายของ บ.โคมัตสุ ประเทศญี่ปุ่น อีกทอดหนึ่ง ดังนั้น บ.บางกอกฯ จึงไม่ได้เป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศของเทศบาลฯ กรณีจึงเป็นดุลพินิจของ คกก. e-Auction ที่จะพิจารณาตัดสิทธิผู้เสนอราคาที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 760 ลว. 27 ม.ค. 53

  26. การใช้หนังสือมอบอำนาจในการเสนอราคาการใช้หนังสือมอบอำนาจในการเสนอราคา อบต.แม่ข้าวต้ม (เชียงราย) ประกาศสอบราคาซื้อรถยนต์กระบะฯ มีผู้มายื่นซอง 5 ราย มีรายหนึ่ง คือ บริษัท อ. ได้เสนอราคาต่ำสุด แต่ผู้มายื่นซองได้ยื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจของบริษัท อ. จะต้องพิจารณาตัดสิทธิจากผู้มีสิทธิเสนอราคาหรือไม่ การยื่นหนังสือมอบอำนาจมาเป็นสำเนา นั้น คกก.เปิดซองสอบราคา จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร โดยเรียกเอกสารต้นฉบับมาตรวจสอบ หากพบว่าถูกต้อง ก็ให้นำต้นฉบับแนบไว้แทน โดยไม่ถือเป็นการยื่นเอกสารเพิ่มเติม แต่ถ้าตรวจสอบแล้วไม่ตรงกับเอกสารต้นฉบับหรือไม่มีต้นฉบับมาแสดง ให้ถือว่าเป็นการยื่นเอกสารไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข ทั้งนี้ หนังสือมอบอำนาจจะต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตาม ป.รัษฎากร ด้วย หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 9815 ลว. 21 ส.ค. 51

  27. ไม่กรอกราคาวัสดุใน BOQ (e-Auction) ทต.ลำนารายณ์ (ลพบุรี) ประมูล e-Auction ก่อสร้างขยายถนน คสล. แต่ห้างฯ ไม่แสดงรายละเอียดราคาค่าวัสดุก่อสร้างในใบแจ้งปริมาณงานให้ครบถ้วน แต่ได้ส่งเอกสารแสดงให้ทราบถึงชนิดและจำนวนวัสดุที่ใช้ จะถือว่าห้างฯ ได้ยื่นเอกสารไม่ครบถ้วนถูกต้องตามประกาศหรือไม่ เอกสารประมูลจ้างฯ ข้อ 4.3 ระบุให้ผู้ค้าจะต้องส่งแบบแสดงรายละเอียดปริมาณวัสดุของงานจ้างก่อสร้าง ดังนั้น หากผู้ค้าได้ส่งใบแสดงปริมาณวัสดุตามที่กำหนดไว้ในเอกสารฯ แล้ว ก็ถือว่าผู้ค้ามีคุณสมบัติตามข้อนี้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 59837 ลว. 21 ก.ย. 49

  28. การยื่นใบแจ้งปริมาณงาน (BOQ) การประกวดราคา ใบแจ้งปริมาณงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ อปท. นำปริมาณงานวัสดุในใบแจ้งฯ ไปตรวจสอบความเป็นไปได้ของผู้เสนอราคาเปรียบเทียบกับปริมาณงานที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางได้คำนวณไว้ และเปรียบเทียบกับผู้เสนอราคารายอื่น หากไม่มีใบแจ้งฯ อปท. ก็ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณงานของผู้เสนอราคาได้ ว่าเป็นปริมาณงานที่สมควรหรือไม่ ใบแจ้งฯ จึงเป็นเอกสารอันเป็นสาระสำคัญ กรณีการประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) หากใบแจ้งปริมาณงานเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่ อปท. ได้ขายให้แก่ผู้ค้าทุกราย ซึ่งในใบแจ้งฯ มีรายละเอียดรายการวัสดุครบถ้วนแล้ว การยื่นใบแจ้งฯ ในกรณีนี้จึงไม่ใช่เอกสารที่เป็นสาระสำคัญ ผู้ค้าจะยื่นหรือไม่ก็ได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 10430 ลว. 15 ส.ค. 50

  29. ใช้ประโยชน์จากเอกสารประมูลฯ แล้ว - ต้องซื้อใหม่ ทต.วังทอง (พิษณุโลก) ประมูลจ้าง e-Auction ประกาศชื่อผู้มีสิทธิประมูล จำนวน 13 ราย ไม่มีสิทธิฯ 1 ราย ต่อมาเทศบาลได้ยกเลิกการประมูล เนื่องจากแบบแปลนไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ก่อสร้าง ท. เป็นผู้ไม่มีสิทธิฯ จึงขอคืนเงินค่าเอกสารฯ เมื่อ ท. ได้ยื่นเอกสารแล้ว แต่ไม่มีสิทธิเสนอราคา ถือได้ว่า ท. ได้ใช้ประโยชน์จากเอกสารนั้นแล้ว ท. จึงไม่มีสิทธิขอเงินค่าเอกสารคืน และหาก ท. จะเข้าร่วมในการประมูลครั้งใหม่ ก็จะต้องซื้อเอกสารประมูลอีกครั้งหนึ่ง (ตามนัยหนังสือ บชก. ที่ กค (กวพ) 0408.4/ 08152 ลว. 13 ต.ค. 49) หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 1858 ลว. 14 ก.พ. 50 ไม่มายื่นซองประมูล = สละประโยชน์ในเอกสาร มายื่นซอง แต่เสนอราคาสูงกว่าวงเงิน จึงถูกตัดสิทธิ = ใช้ประโยชน์แล้ว

  30. แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาราคาแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาราคา 1. พิจารณาจากใบเสนอราคาเป็นหลัก กรณีที่ผู้เสนอราคาจะลดราคา ก็จะต้องเสนอลดราคามาในใบเสนอราคา ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1.1 ต้องมีข้อความว่า “ยินดีลดราคา” หรือข้อความที่มีความหมายเดียวกัน และ 1.2 ต้องมีตัวเลขและตัวอักษรตรงกัน หรือต้องมีข้อความว่า ยินดีลดราคาลงกี่ % หรือร้อยละเท่าไร และ 1.3 ผู้เสนอราคาต้องลงชื่อพร้อมประทับตรา (ถ้ามี) ตรงข้อความที่แสดงเจตนาใน 1.1 หรือ 1.2 2. หากเสนอลดราคามาในบัญชีปริมาณงาน (BOQ) ถือว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อ 1. กรณีจึงต้องพิจารณาราคาตามใบเสนอราคา หนังสือ มท. ที่ มท 0808.2/ว 701 ลว. 9 มี.ค. 48

  31. ข้อพิจารณาในการไม่รับราคาต่ำสุดข้อพิจารณาในการไม่รับราคาต่ำสุด อบต.บ้านจ่า (สิงห์บุรี) สอบราคาซื้อรถยนต์บรรทุก (ดีเซล) ขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบดับเบิ้ลแค็ป ซึ่ง น. ได้เสนอราคาต่ำสุด 449,000 บาท ส่วน อ. เสนอเป็นรายต่ำถัดไป 479,000 บาท ทั้งสองรายได้เสนอรถที่มีคุณลักษณะตรงตามประกาศทุกประการ เพียงแต่รถของ น. เป็นเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา ไม่มีศูนย์บริการหลังการขายในเขตจังหวัด ส่วนรถของ อ. เป็นเครื่องยนต์ระบบคอมมอนเรล มีระบบประหยัดน้ำมันได้ดีกว่า และมีศูนย์บริการในเขตจังหวัด อบต.จะเลือก อ. มาทำสัญญาได้หรือไม่ (จะพิจารณาตาม พ.ร.ฎ.GG พ.ศ. 2546ม. 23) การคัดเลือกพัสดุที่มีคุณภาพและคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์แก่ราชการ โดยไม่คำนึงถึงราคาต่ำสุด จะต้องได้รับการตรวจสอบรับรองจากผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้ และต้องมีข้อมูลหรือหลักฐานที่ชัดเจนโดยตรง ปราศจากข้อโต้แย้งในด้านประสิทธิภาพ คุณสมบัติทางเทคนิค และการบริการหลังการขาย หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 4779 ลว. 24 เม.ย. 50

  32. การเสนอราคาผิดในการประมูล e-Auction อบต.หนองเยือง (บุรีรัมย์) ประกาศประมูลจ้าง e-Auction ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ปรากฏว่า หจก. บ. ได้เสนอราคามาผิด โดยเสนอราคา 410,000 บาท ผิดไปจากเจตนาที่ต้องการเสนอ คือ 4,100,000 บาท จึงมีผลทำให้การแสดงเจตนาของห้างฯ ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. ม. 154 เนื่องจาก อบต.ได้ทราบถึงเจตนาอันแท้จริงของห้างฯ (ว่าไม่อาจทำงานตามราคาที่เสนอได้) แต่ไม่กระทบถึงการเสนอราคาของผู้ค้ารายอื่น อบต.สามารถเรียกผู้ค้ารายต่ำถัดไปมาทำสัญญาได้ (ตามนัยหนังสือ บชก. ที่ กค (กวพอ) 0408.4/ 11454 ลว. 14 พ.ย. 49) แต่เมื่อปรากฏว่า อบต. ได้ยกเลิกการประมูลไปแล้ว กรณีจึงต้องดำเนินการประมูลใหม่ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 9052 ลว. 13 ก.ค. 50 ป.พ.พ. ม. 154 การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น

  33. เสนอราคาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของเอกสารสอบราคาเสนอราคาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของเอกสารสอบราคา ประกาศและเอกสารสอบราคาของ อบต.วังไก่เถื่อน (ชัยนาท) กำหนดให้ ผู้เสนอราคาจะต้องยืนราคาไม่น้อยกว่า 90 วัน และกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานจ้างไม่เกิน 25 วัน ร้านสหก่อสร้าง เสนอราคาต่ำสุด แต่กำหนดยืนราคา 45 วัน และกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ 45 วัน ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของเอกสารสอบราคา และมีผลก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่ผู้เสนอราคารายอื่น อบต. ไม่อาจรับราคาของร้านฯ ได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 17169 ลว. 3 ก.ย. 52

  34. 1.2 การบริหารสัญญา

  35. ทำสัญญาจ้าง + ซื้อครุภัณฑ์ในสัญญาเดียว ทม.สุพรรณบุรี จ้าง หจก. ส. ก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอย และจัดซื้อครุภัณฑ์ 2 รายการ คือ รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ และรถบรรทุกดีเซล อย่างละ 1 คัน โดยเทศบาลจะพิจารณาราคาแบบเหมารวม ระเบียบพัสดุฯ ได้กำหนดประเภทการซื้อและการจ้างแยกออกจากกัน ในการทำสัญญาก็มีการกำหนดประเภทสัญญาไว้แตกต่างกันในเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา เช่น การกำหนดค่าปรับ การประกันความชำรุดบกพร่อง การทำสัญญาโดยรวมการจ้างเหมาและการซื้อครุภัณฑ์ในสัญญาเดียวกันจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของระเบียบฯ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 2154 ลว. 15 มี.ค. 53

  36. สัญญาจ้างแบบราคาเหมารวมสัญญาจ้างแบบราคาเหมารวม อบต.หอมเกร็ด (นครปฐม) จ้าง ท. กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล โดยเหมาจ่ายเป็นรายวัน ตามน้ำหนักของขยะฯ ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 47 - 30 ก.ย. 48 ต่อมา ท. แจ้งว่าเนื่องจากราคาน้ำมันได้เพิ่มสูงขึ้น จึงขอเพิ่มอัตราค่าจ้าง โดยอ้างว่าเป็นงานพิเศษที่เพิ่มขึ้น ตามสัญญาฯ ข้อ 14 ตามสัญญาจ้างฯ ข้อ 1 ผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำงานกำจัดขยะฯ โดยเหมาจ่ายเป็นรายวันตามน้ำหนักของขยะฯ ข้อ 4 ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายเงินและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน 650,000 บาท โดยถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ จึงถือได้ว่าคู่สัญญาเจตนาที่จะจ่ายเงินและรับเงินค่าจ้างในอัตราตายตัวเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน อีกทั้งไม่มีสัญญาข้อใดระบุให้ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกร้องขอปรับเงินค่าจ้างเพิ่มขึ้นเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนั้น จึงไม่อาจแก้ไขสัญญาเพื่อปรับเพิ่มอัตราเงินค่าจ้างได้ และกรณีดังกล่าวไม่ใช่งานพิเศษที่เพิ่มขึ้นมาแต่อย่างใด หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 0004 ลว. 4 ม.ค. 49

  37. การแบ่งงวดงาน ทต.เขาบางแกรก (อุทัยธานี) ประมูลจ้าง e-Auction ปรับปรุงอาคารสำนักงานเทศบาล ตามประกาศและเอกสารประมูลจ้างฯ กำหนดจะจ่ายเงินค่าจ้าง เมื่อผู้รับจ้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามสัญญา (งวดเดียว) ดังนั้น เมื่อเทศบาลจะทำสัญญาจ้าง จึงไม่อาจกำหนดงวดงานในการจ่ายเงินค่าจ้าง 3 งวด ตามอัตราร้อยละ 40 : 30 : 30 ได้ เพราะอาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ค้าด้วยกัน หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 40 ลว. 4 ม.ค. 50

  38. สรรพากรจะยึด/อายัดหลักประกันสัญญาสรรพากรจะยึด/อายัดหลักประกันสัญญา อบต.บางงา (ลพบุรี) จ้าง หจก. ก่อสร้างถนน คสล. หจก.ได้นำเงินสดมาวางเป็นหลักประกันสัญญา ต่อมากรมสรรพากรได้มีคำสั่งอายัดเงินค้ำประกันดังกล่าว เนื่องจาก หจก. เป็นผู้ค้างชำระภาษีอากร อบต.จะดำเนินการอย่างไร ตาม ป.รัษฎากร ม.12 ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากร หรือนำส่งภาษีอากร ได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งออกหมายยึดหรือส่ง ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐได้รับภาษีอากรค้างชำระ เมื่อปรากฏว่า อบต.ยังมิได้ใช้สิทธิริบหลักประกันสัญญาดังกล่าว เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังเป็นทรัพย์สินของ หจก. ดังนั้น กรมสรรพากรจึงมีอำนาจอายัดเงินดังกล่าวได้ (นัยหนังสือ สคก. ด่วนที่สุด ที่ นร 0901/ 0957 ลว. 17 ส.ค. 48) หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 57709 ลว. 26 ธ.ค. 48

  39. ก่อสร้างถนนใหม่ทับถนนเก่าที่ยังอยู่ในประกันชำรุดบกพร่องก่อสร้างถนนใหม่ทับถนนเก่าที่ยังอยู่ในประกันชำรุดบกพร่อง อบต.ท่าเรือ (สุราษฎร์ธานี) จะก่อสร้างถนน คสล. และถนนลาดยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต บนถนนหินคลุก ที่ยังอยู่ระหว่างระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องได้หรือไม่ การดำเนินการก่อสร้างถนนใหม่บนถนนสายเดิมจะทำให้ผู้รับจ้างพ้นจากความรับผิดในการประกันความชำรุดบกพร่องตามสัญญา เป็นเหตุให้ราชการเสียหาย ดังนั้น จึงไม่อาจกระทำได้ โดย อบต. จะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันของสัญญาจ้าง และตามระเบียบพัสดุ อบต. ข้อ 65 หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 11948 ลว. 18 ก.ย. 50

  40. ซื้อรถยนต์แล้วผู้ขายไม่โอนทะเบียนให้ซื้อรถยนต์แล้วผู้ขายไม่โอนทะเบียนให้ ทต.คุ้งสำเภา จ.ชัยนาท ซื้อรถบรรทุกน้ำจาก บริษัท ช.ฯ กรรมการได้ตรวจรับพัสดุแล้ว แต่ผู้ขายยังไม่ได้ส่งมอบคู่มือการจดทะเบียนรถให้ เทศบาลจะริบหลักประกันสัญญาได้หรือไม่ ปพพ. ม.458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน... ส.ซื้อขาย ข้อ 9 ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือไม่ครบถ้วนถูกต้อง ผู้ซื้อบอกเลิกสัญญา+ริบหลักประกันได้ สัญญาซื้อขายไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ขายต้องโอนทะเบียนเป็นชื่อของเทศบาลผู้ซื้อ ก่อนที่จะจ่ายเงิน เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบรถภายในกำหนดสัญญา ถือว่าได้ปฏิบัติครบถ้วนแล้ว เทศบาลจึงไม่สามารถบอกเลิกสัญญาหรือริบหลักประกันได้

  41. ซื้อรถยนต์แล้วผู้ขายไม่โอนทะเบียนให้ (ต่อ) ข้อปฏิบัติในการจัดซื้อรถยนต์มาใช้ในราชการ ตาม นส. ที่ มท 0407/ว 288 ลว. 9 มี.ค. 30 กำหนดให้มีเงื่อนไขเพิ่มเติมในสัญญาว่า “ผู้ซื้อจะชำระราคาให้ผู้ขาย เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบรถยนต์และโอนทะเบียนให้กับผู้ซื้อแล้ว” หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 23940 ลว. 15 ธ.ค. 52 เอกสารทะเบียนรถยนต์ เป็นการควบคุมทางทะเบียนของราชการ มิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ (คำวินิจฉัยของอัยการสูงสุด ที่ 294/2541) ตามหนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 3289 ลว. 19 มี.ค. 51

  42. ใบปริมาณงานขัดแย้งกับแบบฯใบปริมาณงานขัดแย้งกับแบบฯ ทม.หนองบัวลำภู จ้าง หจก. ม. ก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น 12 ห้องเรียน ต่อมาพบว่า ใบปริมาณงานของเทศบาล (BOQ) ขัดแย้งกับแบบแปลนของผู้รับจ้าง เมื่อพิจารณาตามสัญญาจ้าง เอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ได้แก่ แบบแปลน จำนวน 21 แผ่น และบัญชีแสดงปริมาณงาน จำนวน 14 หน้า ซึ่งเอกสารเหล่านี้ ห้างฯ ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดทำขึ้นและเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญา ส่วนใบ BOQ ของเทศบาลจัดทำนั้น ไม่ได้เป็นเอกสารที่ได้แนบท้ายในสัญญา เมื่อสัญญาระหว่างเทศบาลกับห้างฯ ได้ทำโดยถูกต้องตาม กม. และระเบียบ และคู่สัญญาได้ลงนามแล้ว คู่สัญญาจึงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาจ้างดังกล่าว หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้รับจ้างได้ก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลนอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาแล้ว เทศบาลก็ต้องเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างต่อไป หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 24268 ลว. 23 ธ.ค. 52

  43. งานติดตั้งมีกำหนดในสัญญา แต่ไม่มีในแบบและ BOQ ทต.แม่สาย จ้าง พ. ก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น ซึ่งตามสัญญา งวดงานที่ 7 กำหนดให้ผู้รับจ้างต้องติดตั้งไม้เชิงชาย แต่ในแบบแปลนและในบัญชีปริมาณงานไม่มีกำหนดรายการดังกล่าวไว้ ผู้รับจ้างจึงก่อสร้างตามแบบ โดยไม่ติดตั้งไม้เชิงชาย และไม่ขอคิดราคาในส่วนนี้ โดยอ้างว่ามีครีบกันสาด คสล. บังไว้แล้ว เมื่อพิจารณาตามสัญญาจ้าง ข้อ 2 ระบุว่า “...ความใดในเอกสารแนบท้ายสัญญาที่ขัดแย้งกับข้อความในสัญญา ให้ใช้ข้อความในสัญญาบังคับ...” ดังนั้น หากปรากฏว่า แบบแปลน และ BOQอันเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญา ขัดแย้งกับสัญญา ก็ต้องใช้ข้อความในสัญญาบังคับ หนังสือ ที่ มท 0808.2/ 16429 ลว. 28 ส.ค. 52

  44. (1) เหตุที่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของท้องถิ่น ทน.เชียงใหม่ จ้าง บริษัท ว. ก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลนครฯ สัญญามีกำหนดงวดงาน 15 งวด ต่อมาผู้ว่าจ้างสั่งระงับการก่อสร้างในส่วนงวดงานที่ 5 เพื่อแก้ไขฐานราก อันเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของแบบ และผู้รับจ้างยังสามารถปฏิบัติงานในส่วนอื่นได้ ผู้รับจ้างจะขอขยายระยะเวลาสัญญาได้หรือไม่ ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 132 การพิจารณา...ขยายระยะเวลาสัญญา ให้พิจารณาตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง...(1) เหตุที่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของท้องถิ่น... กรณีที่หารือปรากฏว่า เทศบาลได้สั่งหยุดงานเพื่อแก้ไขแบบ จึงถือว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุตามข้อ 1 ของระเบียบฯ ข้างต้น แต่เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่าแม้เทศบาลจะได้สั่งหยุดงาน รวม 3 ครั้ง แต่ผู้รับจ้างยังสามารถปฏิบัติงานในส่วนอื่นได้ ย่อมถือว่าผู้รับจ้างไม่ได้รับผลกระทบจากการสั่งหยุดงานในงวดงานดังกล่าว จึงไม่อาจขยายระยะเวลาสัญญาต่อไปได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 13998 ลว. 2 ธ.ค. 51

  45. (2) เหตุสุดวิสัย อบต.บุ่งขี้เหล็ก (นครราชสีมา) จ้าง ส. ก่อสร้างปรับปรุงพื้นสะพานไม้ เป็นพื้นสะพาน คสล. ระหว่างการก่อสร้างผู้รับจ้างแจ้งว่าโรงงานผู้ผลิตไม่สามารถผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบรูกลวง (Hollow Core Slab) ส่งให้ผู้รับจ้างได้ เพราะต้องผลิตให้ลูกค้าที่ได้สั่งมาก่อน จึงขอขยายระยะเวลาสัญญาอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย กรณีดังกล่าวผู้รับจ้างย่อมรู้หรืออาจรู้ได้ว่า ตนจะสามารถสั่งซื้อแผ่นพื้นฯ ได้อย่างไร และใช้ระยะเวลาเท่าใด จึงไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ตามระเบียบพัสดุ อบต. ข้อ 61 (2) หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 042532 ลว. 7 พ.ย. 48

  46. (3) พฤติการณ์ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิด ทต.หนองสำโรง (อุดรธานี) จ้าง ท. ก่อสร้างดาดคอนกรีต และกำแพงกันตลิ่งลำห้วยดาน ระยะทาง 6,290 เมตร ต่อมา ท. ขอขยายระยะเวลาสัญญาเนื่องจากบริเวณลำห้วย พบดินดานแข็งตลอดลำห้วย ระยะทาง 500 เมตร ทำให้การขุดลอกและตอกเสาเข็มล่าช้ากว่าปกติ โดยอ้างระเบียบพัสดุฯ ข้อ 132 (3) กรณีดังกล่าวมิใช่เหตุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากผู้รับจ้างปฏิบัติตามคำแนะนำของช่างผู้ควบคุมงานด้วยการใช้เครื่องจักรขุดดินดานแข็งออกก่อนแล้วถมดินอัดแน่น จากนั้นจึงตอกเสาเข็ม ก็จะสามารถทำงานได้ หรือใช้เทคนิคทางช่างเข้ามาช่วย ซึ่งผู้รับจ้างเป็นผู้ประกอบวิชาชีพย่อมต้องมีอยู่แล้ว เพราะสภาพภูมิประเทศโดยธรรมชาติของลำห้วยที่มีระยะทางยาวถึง 6,290 เมตร ย่อมต้องขุดพบดินในสภาพต่างๆ รวมทั้งชั้นหิน กรณีจึงยังไม่เป็นพฤติการณ์ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิด อันจะเป็นเหตุในการขยายระยะเวลาสัญญา ตามข้อ 132 (3) หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 52390 ลว. 28 พ.ย. 48

  47. ผู้รับจ้างขอลดอัตราค่าปรับผู้รับจ้างขอลดอัตราค่าปรับ อบต.กระทุ่มราย (นครราชสีมา) จ้าง หจก. ป. ก่อสร้างอาคาร ต่อมาห้างฯ ขอลดค่าปรับจากอัตราร้อยละ 0.20 เป็นร้อยละ 0.10 ของค่างาน โดยผู้รับจ้างได้ขอมาหลังจากที่สัญญาสิ้นสุดแล้ว ระเบียบพัสดุ อบต. ข้อ 58 สัญญาที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ อบต. หรือไม่ทำให้ อบต. เสียประโยชน์ การแก้ไขสัญญาโดยลดอัตราค่าปรับลงนั้นมีผลทำให้ อบต.ต้องเสียประโยชน์ จึงไม่อาจกระทำได้ อีกทั้งการขอแก้ไขสัญญาจะต้องกระทำก่อนการตรวจรับงานงวดสุดท้าย เมื่อปรากฏว่าสัญญาสิ้นสุดแล้ว จึงไม่อาจแก้ไขสัญญาได้ หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 46474 ลว. 23 มิ.ย. 49

  48. 1.3 การตรวจรับงาน

  49. ผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จ - ไม่ตรวจรับ ทต.นาดูน (มหาสารคาม) จ้าง หจก. ท. ก่อสร้างถนนลาดยาง แต่ห้างฯ ไม่สามารถทำงานตามสัญญา เทศบาลจึงบอกเลิกสัญญาและจ้างผู้รับจ้างรายใหม่ ดังนั้น เมื่อเทศบาลได้บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาก็กลับคืนสู่สภาพเดิม ไม่มีความผูกพันต่อกัน หากงานที่ทำไปไม่เป็นประโยชน์แก่เทศบาล เทศบาลก็ไม่ต้องจ่ายค่างานนั้น (คำวินิจฉัยของอัยการสูงสุด ที่ 139/2541) และเทศบาลสามารถปรับผู้รับจ้างได้นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดสัญญา จนถึงวันบอกเลิกสัญญา หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 11886 ลว. 17 ก.ย. 50

  50. แก้ไขสัญญาเพื่อตรวจรับงานเฉพาะส่วนแก้ไขสัญญาเพื่อตรวจรับงานเฉพาะส่วน อบต.กำแพงดิน (พิจิตร) จ้าง ศ. ก่อสร้างถนน คสล. ระยะทาง 105 เมตร ศ. ก่อสร้างถูกต้องตามแบบเพียง 80 เมตร อีก 25 เมตร ไม่เป็นไปตามแบบ แต่ ศ. จะขออุทิศถนนในส่วน 25 เมตร ให้ อบต. โดยขอรับค่าจ้างเพียงส่วน 80 เมตรเท่านั้น จะสามารถตรวจรับงานจ้างในส่วน 80 เมตร ได้หรือไม่ กรณีผู้รับจ้างก่อสร้างถนนแล้วเสร็จแต่ไม่ถูกต้องตามสัญญา โดยจะขออุทิศถนนในส่วน 25 เมตร นั้น เห็นว่าหากถนนดังกล่าวได้รับการรับรองเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงจากวิศวกรหรือสถาปนิก และ อบต.เห็นว่าการรับถนนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ อบต. ย่อมเป็นดุลพินิจของ อบต. (นัย นส.มท. ที่ มท 0313.4/ 13590 ลว. 31 ส.ค. 38) ดังนั้น หาก อบต.จะตรวจรับงานเฉพาะส่วนที่ถูกต้อง ก็อาจพิจารณาแก้ไขสัญญาได้ โดยพิจารณาหลักเกณฑ์ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 58 หนังสือ สถ. ที่ มท 0808.2/ 43919 ลว. 25 พ.ค. 49

More Related